วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2565

"มท.1"ปลื้มสำเร็จเกือบ 100% แล้ว! รบ.แก้จนตามแนวพอเพียงแบบพุ่งเป้า เห็นด้วยเสนอเพิ่มเบี้ยสูงอายุ 3,000 บาท

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2565 เวลา 08.00 น. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวในรายการ “คุยเรื่องบ้าน คุยเรื่องเมือง คุยทุกเรื่องกับรัฐมนตรี” ถึงการขจัดความยากจนแบบและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 92.5 MHz ว่า การขจัดความยากจนแบบพุ่งเป้า เป็นแนวทางที่รัฐบาลต้องการแก้ปัญหาให้เข้าถึงประชาชน ตามแนวทางพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ที่ผ่านมารัฐบาลดูแลในแต่ละเรื่อง โดยมีหน่วยงานรัฐ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ เข้าไปดำเนินการเป็นเรื่องๆไป ใน  5 มิติ คือสุขภาพ,ชีวิตความเป็นอยู่,เรื่องการศึกษา,เรื่องรายได้ การประกอบอาชีพ,และการเข้าถึงบริการภาครัฐ ซึ่งการบริหารราชการของรัฐบาล ได้กำหนดประชาชน ที่มีปัญหาดังกล่าวเป็นเป้า เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาแบบพุ่งเป้าที่รัฐบาลต้องเข้าไปแก้ 

โดยใช่คำว่าพุ่งเป้าเป็นรายบุคคล รายครัวเรือน ผ่านกลไกที่จะเข้าไปแก้ปัญหา คือ บุคลากร เจ้าหน้าที่ ข้าราชการ ของแต่หน่วยงาน ผ่านการขับเคลื่อนศูนย์ขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.) ที่จะมีกลไลทำงานในแต่ละระดับตั้งแต่ระดับนโยบาย ลงไปที่คณะกรรมการระดับพื้นที่จังหวัด และกทม.และระดับพื้นที่ แต่ละอำเภอ เมืองพัทยา และสำนักงานเขต และที่สำคัญคือ ระดับปฎิบัติการ ได้แก่ ตำบล ที่จะเก็บข้อมูลปัญหาของประชาชน นำเรื่องไปสู่ระดับอำเภอเพื่อให้แก้ปัญหาให้จบที่จุดนี้ โดยจะมีทีมพี่เลี้ยงหลายหมื่นทีมในขณะนี้ที่จะอยู่ติดกับประชาชน ลงไปพูดคุยและเก็บข้อมูลใส่ในทีพีแมป หรือระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มฐานข้อมูลปัญหา เพื่อวิเคราะห์ จะได้รับทราบว่า ได้ทราบว่าจะไปแก้ปัญหาอย่างไร จะดำเนินการกับกลุ่มใด มีการติดตามและประสานงานกับหน่วยเกี่ยวข้อง เข้าไปแก้ไข โดยทีมพี่เลี้ยงแต่ละทีมจะรับผิดชอบ 10-15 ครัวเรือน


ทั้งนี้ทีพีแมป จะเก็บข้อมูลของผู้เดือดร้อน คนจน ปัญหาดำรงชีวิต ที่รวบรวมจากหลายฐานทั้งฝ่ายปกครอง ข้อมูลเศรษฐกิจ จากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และกระจายข้อมูลลงไปในพื้นที่ที่จะแก้ปัญหา แพลตฟอร์มจะตอบว่าใครอยู่ที่ไหน มีปัญหาเรื่องอะไร จะเก็บเป็นข้อมูลไว้ และจะแก้อย่างไร เพื่อวิเคราะห์ได้ว่าสิ่งที่รัฐบาลใช้เงินภาษีลงไปแก้ปัญหาแล้วแต่ทำไมยังมีปัญหา จะต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงการหรือไม่ หรือต้องเข้าไปปรับแก้อย่างไร โดยนับตั้งแต่เดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ได้เริ่มดำเนินการเก็บฐานข้อมูลว่าใครคือเป้า ยกตัวอย่าง เหมือนการสอนหรือเรียนหนังสือ จะมีทั้งคนที่สอบผ่าน แต่บางส่วนอาจยังไม่เข้าใจครูก็ต้องไปดูว่าไม่เข้าใจเรื่องใด และแนะนำแนวทางให้เด็กมีความรู้และสอบผ่าน จากการเก็บข้อมูล มีฐานข้อมูลของประชาชน ที่ลำบาก กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 1 ล้านคน โดยส่วนใหญ่กว่า 6 แสนครอบครัว อยู่ตามชนบท มีทั้งคนแก่ ผู้ป่วยติดเตียง มีภาระไร้คนดูแล เป็นต้น ซึ่งขอให้มั่นใจว่ารัฐบาลจะไม่ทอดทิ้งกลุ่มคนเหล่านี้ ซึ่งเวลานี้ทีมพี่เลี้ยงได้เข้าไปดูแล 3 แสนครัวเรือนจาก 6 แสน และจะดำเนินการต่อเนื่อง


พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า สำหรับแนวทางดำเนินการตามกรอบ จะมีขั้นตอนดูแลให้สามารถอยู่รอด เช่น การทำมาหากิน ทำเกษตร แล้วเป็นหนี้ ไม่คุ้ม ขาดทุน ผลผลิตราคาตก ขั้นต้นเริ่มต้นต้องทำให้เกษตรกรรู้ว่าทำอย่างไรให้สอบผ่านก่อนในขั้นต้น ให้อยู่รอด เมื่อรอดต่อไปคืออยู่ได้แบบพอเพียง ขั้นต่อไปยืนด้วยตัวเองก็จะยั่งยืน ซึ่งคนสำคัญคือทีมพี่เลี้ยง จะถือข้อมูลจากทีพีแมป ลงไปในพื้นที่ ไปคุยกับประชาชนแต่ละคนที่มีปัญหา


โดยกรมการพัฒนาชุมชน จะมีเจ้าหน้าที่ที่ใช้หลัก “4 ท.” ไปพูดคุย ดูทัศนคติที่จำเป็นมากเพราะการแก้ปัญหาถ้าประชาชนยังไม่มีทัศนคติ ที่จะมีส่วนร่วมก็จะยากเหมือนแม่นกสอนลูกได้ แต่คนบินคือลูกนก นอกจากนั้นจะมีแบบสอบถามลงไปตรวจสอบจากข้อมูลที่มี เช่น คนเจ็บป่วยเจ็บจริงหรือไม่ จากนั้นจะดูทักษะ ที่ประกอบอาชีพและดูเรื่องทรัพยากร มีที่ดิน สิ่งอำนวยความสะดวกหรือไม่ เพื่อช่วยหาทางออกและแก้ไข เมื่อทีมพี่เลี้ยงซึ่งเป็นกลไลระดับพื้นที่ได้ข้อมูลแล้ว จะนำข้อมูลกลับไปทีมตำบลให้กลั่นกรอง แยกแยะปัญหาเพื่อดูว่าหน่วยงานใดจะรับผิดชอบ เช่น มีปัญหาเรื่องเงินทุน ที่มีหลายหน่วยงาน สนับสนุนใด จากนั้นจะส่งต่อให้หน่วยงานระดับอำเภอ โดยเป็นเวทีที่จะจบปัญหาโดยไม่ยกมาที่กระทรวง จะแก้ที่อำเภอ โดยกระทรวงมหาดไทยจะขับเคลื่อน โดยที่หน่วยงานที่จะเป็นคนแก้จะเป็นเจ้าของเรื่องนั้น เช่น เรื่องสุขภาพคือ กระทรวงสาธารณสุข ทีมระดับอำเภอต้องแก้ให้อยู่รอดก่อน และตั้งแต่เดือนพ.ค.เป็นต้นมา ทุกหน่วยงาน เข้าไปแก้ไขและเข้าถึงตัวประชาชนแล้ว โดยดูเรื่องมิติสุขภาพ กว่า1.5 แสนคน ประมาณ 99.57 % ส่วนเรื่องที่อยู่อาศัยดำเนินการ 99.52 % ด้านการศึกษา กว่า 1.5ครัวเรือน ได้ทำไปแล้ว 99.53 %


ขณะที่เรื่องรายได้ กว่า 6 แสนครอบครัว เราเข้าไปแล้วเกือบ 100% การเข้าถึงบริการภาครัฐ ได้รับการช่วยเหลือไปแล้ว 2,263 ครัวเรือน จากทั้งหมด 2,287 ครัวเรือน เช่น เรื่องบัตรประชาชน สามารถแก้ไขได้ทันที จะเดินหน้าแก้ไขปัญหาต่อไปโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ส่วนการเกษตร จะเข้าไปหาตลาด แนะนำปลูกเพิ่มเสริม สร้างรายได้ เวลานี้มีอุทกภัย 25 จ.และใกล้จะเก็บเกี่ยวแล้ว และหากเกิดอุทกภัยก็จะไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ เราไม่ทอดทิ้ง แต่ถ้าผ่านปีนี้ เราเข้าไปแนะนำการปลูกพืชชนิดอื่นเพิ่ม


พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวในช่วงถาม-ตอบในช่วงท้าย ว่า ประชาชนชนทุกคนที่เดือดร้อนและยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการดูอล โดยให้ไปแจ้งที่กำนันผู้ใหญ่บ้าน อปท.ศูนย์ดำรงธรรม เพื่อช่วยแก้ปัญหา ส่วนจะแก้จนได้จริงหรือไม่ นั้น เราจะต้องทำให้ได้ แต่ไม่ใช่หมายความว่าเป็นเป็นเศรษฐีในทันที แต่ต้องทำให้ประชาชนดีขึ้นๆ ทั้งนี้คจพ.ได้รับให้ดูและเรื่องหนี้สิน ที่จะมีกลไกดูแลให้ปัญหาทุเลาลง คลายทุกข์จากหนี้ ทั้งบัตรเครดิต กยศ.เช่าซื้อ ทวงหนี้ไม่เป็นไปตามกฎหมาย การไกล่เกลี่ยหนี้ เพื่อมีโอกาสจะตั้งหลัก และเรื่องนี้จะทำต่อแน่ เพราะต้องดูแล


ส่วนคำถามที่เป็นข้อเสนอ อยากให้เพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุเป็น 3,000 บาทนั้น ก็ตรงกับใจผู้ที่อยู่หน้างาน เพราะบางคนลูกไปอยู่พื้นที่อื่น คนแก่อาจมีลูกพิการ ต้องได้รับการดูแล เราก็คิดเช่นกันและจะนำไปให้รัฐบาลพิจารณาเพื่อดูแลต่อไป


“ปัญหาที่เกิดขึ้นกระทรวงมหาดไทย จะช่วยขับเคลื่อน แต่คนที่จะแก้คือกระทรวง ทบวงกรม ที่รับผิดชอบโดยนายกฯเร่งให้ดำเนินการในปีนี้โดยปรับแผนงาน และงบประมาณให้นำไปแก้ปัญหาให้ประชาชนก่อน โดยไม่ต้องรอเวลาเพราะประชาชนจะยากลำบากต่อไป และปีต่อไปให้ตั้งงบประมาณเพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนตรงนี้”


https://www.banmuang.co.th/news/politic/294716


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: แชทจีพีทีช่วยถึงธรรม อ่านพระไตรปิฎกไม่เข้าใจ แชทจีพีทีช่วยได้

การประยุกต์ใช้แชทจีพีทีในการศึกษาพระไตรปิฎกสามารถช่วยให้ผู้คนเข้าใจคำสอนที่ลึกซึ้งของพระพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น และมีความเข้าใจที่ถูกต้องและลึก...