วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

เพลงเมนูคางดำปลาหมอผู้ถูกล่า


แต่งโดยส.สมพงษ์ 

สร้างสรรค์โดย suno 


(Verse 1)

บัดนี้จะมาเล่า เรื่องราวปลาหมอ

คางดำเนื้อหวานมัน อร่อยนักหนา

นำมาคั้วแดดเดียว กินกับน้ำยา

หรือทอด ทาเกลือ โรยพริกป่น อร่อยเหาะ


(Chorus)

แต่อนิจจา ปลาหมอผู้ล่า

กลายเป็นเหยื่อมนุษย์ ล่ากินอย่างโหดร้าย

กรมประมงประกาศ ห้าซ่าล่าปลา

จับมาทำปุ๋ย โรยดิน เพิ่มผลผลิต


(Verse 2)

ยามนี้ข้าวยาก หมากแพง แร้นแค้นใจ

จะหาปลาอะไร กินประทังชีวิต

ปลาแซลมอน ไกลเกินเอื้อม

ปลาหมอคางดำ ใกล้ตัว ดีกว่า


(Chorus)

แต่อนิจจา ปลาหมอผู้ล่า

กลายเป็นเหยื่อมนุษย์ ล่ากินอย่างโหดร้าย

กรมประมงประกาศ ห้าซ่าล่าปลา

จับมาทำปุ๋ย โรยดิน เพิ่มผลผลิต


(Bridge)

ปลาหมอคางดำ เคยเป็นราชา

ครองบ่อน้ำ ลำธาร กว้างใหญ่ไพศาล

บัดนี้ถูกมนุษย์ ล่าจนสิ้นเผ่า

อนาคตไม่รู้ ว่าจะเป็นอย่างไร


(Chorus)

แต่อนิจจา ปลาหมอผู้ล่า

กลายเป็นเหยื่อมนุษย์ ล่ากินอย่างโหดร้าย

กรมประมงประกาศ ห้าซ่าล่าปลา

จับมาทำปุ๋ย โรยดิน เพิ่มผลผลิต


(Outro)

มนุษย์เรานั้น โลภมาก ไม่เคยพอ

ล่าปลา ล่าสัตว์ กินจนสิ้นเผ่า

ธรรมชาติร้องไห้ อนาคตมืดมน

เราต้องร่วมใจ กันดูแลรักษา

.............

บัดนี้จะกล่าวถึงเมนูอร่อย

คางดำปลาหมอรสแซบดี

คั้วแดดเดียวน้ำยาขนมจีน

ทอดเผาเกลือราดพริกกินได้


อนิจจาคางดำปลาหมอผู้ล่า

บัดนี้กลับกลายเป็นผู้ถูกล่า

กรมประมงประกาศห้าซ่า

ทั้งส่งปลาผู้ล่าทำปลาปุ่นปุ๋ย


ยามนี้ข้าวยากหมากแพงแร้นแค้นนัก

จะเที่ยวหาภักษาหารเขตขัณฑ์ไหน

ปลาจาระเม็ดแซลมอนก็อยู่แสนไกล

ที่เห็นอยู่ใกล้ใกล้ปลาหมอคางดำแล้วกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...