วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

เพลงสมเด็จพระสังฆราช ทรงยก "สัมมาอาชีวะ" พระคติธรรมวันอาสาฬหบูชา

แต่งโดยส.สมพงษ์ 

สร้างสรรค์โดย suno

(Verse 1)

วันอาสาฬหบูชา เวียนมาอีกครั้ง

รำลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้เริ่มธรรมสว่าง

โปรดปัญจวัคคีย์ ณ อิสิปตนมฤคทายวัน

ก่อเกิดพระรัตนตรัย สรณะนำทาง


(Chorus)

ศึกษาและปฏิบัติ อริยมรรคมีแปดองค์

ในยุคสมัยนี้ มีมิจฉาชีพมากมาย

เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ จงเชิดชูสุจริตชน

งดเว้นการทุจริต ให้สังคมไทยร่มเย็น


(Verse 2)

สถานการณ์โลกวันนี้ เต็มไปด้วยความโกงหลอกลวง

เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง มิจฉาชีพทำร้าย

ปลูกฝังค่านิยม ครองชีพด้วยความชอบธรรม

เชิดชูสุจริตชน ให้เป็นแบบอย่างดี


(Chorus)

ศึกษาและปฏิบัติ อริยมรรคมีแปดองค์

ในยุคสมัยนี้ มีมิจฉาชีพมากมาย

เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ จงเชิดชูสุจริตชน

งดเว้นการทุจริต ให้สังคมไทยร่มเย็น


(Bridge)

อาสาฬหบูชา เตือนให้รำลึกคุณพระรัตนตรัย

ตระหนักแน่วแน่ในอริยมรรค ด้วยใจกล้าหาญ

ละทิ้งมิจฉาชีพ หมั่นเพียรในสัมมาชีพ

เพื่อครอบครัวและชุมชน ปลอดจากทุจริตชน


(Chorus)

ศึกษาและปฏิบัติ อริยมรรคมีแปดองค์

ในยุคสมัยนี้ มีมิจฉาชีพมากมาย

เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ จงเชิดชูสุจริตชน

งดเว้นการทุจริต ให้สังคมไทยร่มเย็น


(Outro)

เกื้อกูลตนเองและสรรพชีวิต พ้นจากภยันตราย

ให้ความเจริญงอกงาม ในพระสัทธรรม

อาสาฬหบูชา เวียนมาอีกครั้ง

รำลึกถึงพระพุทธเจ้า ให้สังคมไทยร่มเย็น


เมื่อวันที่ 20  กรกฏาคม พ.ศ.​ 2567  เพจสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้โพสต์ข้อความว่า เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันอาสาฬหบูชา วันเสาร์ ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ความว่า




          “ดิถีอาสาฬหบูชาได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว ควรที่สาธุชนจักได้น้อมรำลึกถึงเหตุการณ์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ ณ อิสิปตนมฤคทายวัน อันเป็นการเริ่มประกาศพระศาสนา กระทั่งบังเกิดมีพระอริยสงฆ์ ครบถ้วนพร้อมเป็น “พระรัตนตรัย” ซึ่งเป็นสรณะนำทางชีวิตของพุทธบริษัท ให้มุ่งหน้าดำเนินไปสู่หนทางดับเพลิงกิเลสกองทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง 

          ปฐมเทศนาที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นั้น คือ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ทรงประกาศวิถีทางดับทุกข์ด้วยมรรคมีองค์ ๘ ที่เรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ทั้งนี้ ท่ามกลางสถานการณ์โลกปัจจุบัน อันเต็มไปด้วยมิจฉาชีพ มีการฉ้อโกง หลอกลวง ประทุษร้ายกัน ประกอบกับเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มิจฉาชีพจึงสบช่องทำอันตรายต่อผู้คนในสังคมทุกระดับอย่างอย่างรวดเร็วและร้ายแรงมากขึ้น ท่านทั้งหลายควรเร่งหันมาศึกษาพิจารณาธรรมะหมวด “อริยมรรค” โดยดำเนินไปบนหนทางแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุประการหนึ่ง กล่าวคือ การปลูกฝังสั่งสมให้สมาชิกในสังคม มีค่านิยมในการครอง “สัมมาอาชีวะ” ซึ่งหมายถึง “การเลี้ยงชีพชอบ” ไว้ให้ได้อย่างมั่นคง ขอให้ช่วยกันเชิดชูสุจริตชนผู้แสวงหาปัจจัยมาบริโภคโดยชอบ ขอให้งดเว้นการคิดคดโกง หลอกลวง ประจบสอพลอ บีบบังคับขู่เข็ญ และต่อลาภด้วยลาภโดยไม่ประกอบด้วยความเพียร ไม่อาศัยกำลังกายและกำลังปัญญาของตน ขอให้หยุดและเลิกการกระทำบนพื้นฐานของความโลภที่เกินประมาณ ถึงขั้นทำลายวัฒนธรรม ศีลธรรมอันดีงาม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสวัสดิภาพของส่วนรวม อันจัดเข้าข่ายว่าเป็นมิจฉาชีพทั้งสิ้น

          วันอาสาฬหบูชา นอกจากจะเตือนใจให้รำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อันเป็นสรณะสูงสุดของพุทธบริษัทแล้ว ยังอาจเตือนใจให้ทุกท่าน ตระหนักแน่วแน่ในอริยมรรคข้อ “สัมมาอาชีวะ” เพราะฉะนั้น หากท่านประสงค์ให้สังคมไทยร่มเย็นเป็นสุข จงหมั่นเพียรศึกษาอบรมและปฏิบัติธรรมะ มีน้ำใจกล้าหาญที่จะละทิ้งความเป็นมิจฉาชีพ แล้วสู้อุตสาหะประกอบสัมมาชีพด้วยกันทุกคน เพื่อให้ทุกครอบครัว และทุกชุมชน เป็นสถานที่ปลอดจากทุจริตชน นับเป็นการเกื้อกูลตนเอง และสรรพชีวิตทั่วหน้า ให้สามารถพ้นจากภยันตราย ได้สมตามความมุ่งมาดปรารถนาอย่างแท้จริง อนึ่ง ขอความเจริญงอกงามในพระสัทธรรม จงพลันบังเกิดมีแด่สาธุชนผู้เลี้ยงชีพชอบ โดยทั่วหน้ากัน เทอญ.”


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 4. อาวาสิกวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 4. อาวาสิกวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ...