วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สกศ. ถอดประสบการณ์ "อะคิตะโมเดล แอ๊คชั่น" ในไทย เร่งผลักดันนโยบาย Active Learning



ที่โรงแรมอมารีวอเตอร์เกต ประตูน้ำ กรุงเทพ ฯ ดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา "อะคิตะโมเดล (Akita Model : ประสบการณ์ และการนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของประเทศไทย" โดยกล่าวว่า 
สกศ. ร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) และคณะกรรมการการศึกษาแห่งจังหวัตอะคิตะ ประเทศญี่ปุ่น ได้ดำเนินต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนกิจกรรมในชั้นเรียนของโรงเรียนนำร่อง 4 แห่ง ได้แก่ 
โรงเรียนราชมนตรี โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพ ฯ และโรงเรียนประชาอุปถัมภ์ โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ เทศบาลนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2560 ในรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Akita Action) ซึ่งเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ไทยอะคิตะที่เริ่มต้นและเป็นต้นแบบการเรียนรู้ในโรงเรียนไทย ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนในชั้นเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยแบ่งเวลาภายในหนึ่งคาบเรียนรู้ที่ผสมผสานระหว่างการตั้งคำถามการแสวงหาคำตอบ ทั้งแบบกลุ่มและรายบุคคล รวมทั้งการลงมือปฏิบัติ เช่นเดียวกรณีศึกษาของจังหวัตอะคิตะ ประเทศญี่ปุ่น ที่ใช้การสอนเชิงรุกแบบอะติตะโมเดลในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในจังหวัตอาคิตะได้สำเร็จ โดยมีผลการประเมิน PISA สูงขึ้น และมีผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของจังหวัดดีขึ้นเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นของประเทศญี่ปุ่น เพื่อขับเคลื่อนเป็นนโยบายการศึกษาชาติต่อไป

"เด็กทุกคนมีศักยภาพและความถนัดที่แตกต่างกัน จึงต้องมีการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กที่มีความเหมาะสมกับแต่ละคน ท้ายที่สุดครูเป็นผู้สรุปบทเรียนการเรียนรู้เหมือนกับชั้นเรียนอะคิตะ ประเทศญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จในการเพิ่มทักษะความรู้และทักษะชีวิตของผู้เรียนมาแล้ว ดังนั้น หากมีการวางแผนตั้งแต่ระดับประเทศ เขตพื้นที่การศึกษา และระดับสถานศึกษา เชื่อมั่นว่าสามารถขับเคลื่อนปฏิรูปชั้นเรียนไทยเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ" ดร.สุภัทร กล่าว

สำหรับ สกศ. ดำเนินการศึกษาแนวทางและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 อย่างต่อเนื่อง โดยเลือกใช้รูปแบบการสอนเชิงรุกแบบอะคิตะ (Akita Action) ที่มีขั้นตอนของการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน ได้แก่
1.รู้จักตั้งข้อสังเกตในการเรียนรู้
2.มีความคิดเป็นของตนเอง 
3. อภิปรายกันเป็นคู่ เป็นกลุ่ม เป็นชั้นเรียน และ 
4.ทบทวนเนื้อหาและการเรียนรู้

โดยวิธีการดังกล่าวมุ่งให้เกิดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งผ่านการคิดด้วยตนเองและการสนทนาโต้ตอบ โดย สกศ. ดำเนินการวิจัยรูปแบบอะคิตะโมเดล ทดลองในสถานศึกษาไทย

คณะนักวิจัยจาก มธบ. ได้อภิปรายผลการศึกษาและการทดลองใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบ "Akita Model" ในประเทศไทย โดยดร.เฉลิมชัย มนูเสวต ที่ปรึกษาโครงการวิจัย ฯ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของการเรียนรู้เชิงรุกอะคิตะ พบว่ามี 5 ปัจจัย
1.ครูผู้สอน
2.ครอบครัว ชุมชน
3.ความร่วมมือหน่วยจัดการศึกษาที่เกี่ยวข้อง 
4.การขับเคลื่อนงานศึกษานิเทศก์เชิงรุก รวมถึงความเข้มแข็งของคณะกรรมการสถานศึกษา และ
5.การขับเคลื่อนการเรียนรู้ตามแนวทางการสอนเชิงรุกแบบอะคิตะ ซึ่งต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการขับเคลื่อนพัฒานาไปพร้อมกัน และขยายผลไปยังโรงเรียนในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี รวมถึงโรงเรียนในเครือข่ายสภาคริสตจักรในประเทศไทย

นางพนิตา อุสายพันธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนประชาอุปถัมภ์ เทศบาลนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า 
โรงเรียนได้ขับเคลื่อนการสอนเชิงรุกแบบอะคิตะอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 - ปัจจุบัน 
โดยนำร่องระดับชั้น ป.1 ตามแผนการสอนร่วมกับคณะครูจากจังหวัดอะคิตะ พัฒนาครูแกนนำวิชาวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ และขยายความรู้จนครบ 8 สาระกลุ่มวิชา นำมาปรับใช้การสอนเชิงรุกในชั้นเรียนภายใต้ 4 ขั้นตอน สังเกต - คิดเอง - อภิปราย - ทบทวน พบว่า นักเรียนชั้น ป.3 มีผลสัมฤทธิ์การเรียนที่ดี ประเมินจากผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ปีการศึกษา 2561 ดีกว่าปีการศึกษา 2560 ทั้งด้านภาษา ด้านคำนวณ ด้านเหตุผล และภาพรวมความสามารถทั้ง 3 ด้าน และส่งผลกระทบที่ดีทั้งด้านผู้สอนได้ร่วมกันระดมความคิดเพื่อออกแบบการจัดการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะใช้สอน มีความกระตือรือร้นในการสอน และดเานผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ผ่านการคิดด้วยตนเอง มีความสนใจและใฝ่เรียนรู้ รู้จักสนทนาโต้ตอบ มีความคิดเป็นของตนเองที่มีความกว้างและลึกซึ้งมากขึ้น สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองและรับฟังความคิดเห็นแตกต่างได้

ทั้งนี้ ภายหลังนำอะคิตะ แอ๊คชั่น มาใช้ในการสอนเชิงรุก โรงเรียน ฯ มุ่งหวังให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีเป้าหมายชัดเจน ครูมีความเป็นมืออาชีพ สร้างความสุขในการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างให้เกิดสังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีความเอื้ออาทร แบ่งปันกัน เกิดวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีความทันสมัย เป็นโรงเรียนแห่งความสุข นักเรียนเก่ง ดี มีความสุข มีคุณภาพการศึกษาเพิ่มขึ้น

ขณะที่ ดร.รัตนา แสงบัวเผื่อน รองผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (สพฐ.) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสถานศึกษาของ สพฐ. มีนโยบายส่งเสริมการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ (Active Learning) มาโดยตลอด เร่งพัฒนาครูให้รู้จักสร้างการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับผู้เรียนมากกว่าแค่บรรยายให้ฟังในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของ สพฐ. ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระเท่านั้น และพัฒนาวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาให้มีความเข้าใจและสนับสนุนครูในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนที่ทันสมัย  และปรับใช้แนวคิดใหม่ ๆ เข้ามาออกแบบกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการขับเคลื่อนให้เกิดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารการศึกษาทุกระดับต้องมุ่งเน้นส่งเสริมและพัฒนาออกแบบการจัดการเรียนรู้อย่างยั่งยืนต่อไป

Cr.อีทีวีแม็ค เวทีสาธารณะเพื่อการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ณพลเดช" ปิ๊งไอเดีย! เชียงรายศูนย์กลางการเงินโลก-โมเดลสวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย หลังออกกฎหมาย เขต ศก.พิเศษ

วันที่ 19 เมษายน 2567     เวลา 11.00 น. ที่ประเทศลาว  ดร.ณพลเดช มณีลังกา คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำส...