วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564

"อนุทิน" รับบทผู้ทรงคุณวุฒิสนทนากลุ่ม วิจัยกัญชาทางการแพทย์ นิสิตป.เอก สันติศึกษา "มจร"


วันที่ ๒๑  ธันวาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า เป็นผู้ดำเนินรายการสนทนากลุ่มงานวิจัยระดับปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยนางประทุมพร กำเนิดฤทธิ์  อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค ๓ เป็นนิสิตระดับปริญญาเอกหลักสูตร ๑.๑ หลักสูตรสันติศึกษา มจร ซึ่งทำวิจัยภายใต้หัวข้อ “การพัฒนาปรับปรุงบทบัญญัติแห่งกฎหมายใช้กัญชาทางการแพทย์โดยพุทธสันติวิธี” โดยได้รับควาเมตตาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างดียิ่ง ประกอบด้วย ด้านพระพุทธศาสนา ด้านพุทธสันติวิธี ด้านกฎหมาย ด้านการวิจัย ด้านการแพทย์ และด้านพุทธเกษตร  โดยมีพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,  ศาสตราจารย์ ดร. เป็นประธานควบคุมดุษฎีนิพนธ์ 

ได้รับเกียรติจากนายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมสนทนากลุ่มด้วย โดยได้กล่าวประเด็นสำคัญเชิงนโยบายว่า  ขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จล่วงหน้าในการจบการศึกษาในระดับปริญญาเอก โดยเริ่มต้นจากคำถามว่า มีการรณรงค์ในการใช้พืชกัญชาเพื่อใช้ในการแพทย์ ซึ่งคนตีตรากัญชาไปแล้วว่าเป็นยาเสพติด จึงต้องมีคำว่าการแพทย์เข้าไปบูรณาการ ซึ่งกัญชามีส่วนที่ดี นำพืชกัญชามาใช้ประโยชน์ในการแพทย์เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ คนที่ใช้กัญชาอย่างถูกวิธีสามารถรักษาโรคต่างๆ บรรเทาความเจ็บปวด ทำให้เกิดคุณภาพที่ดี ซึ่งมีสรรพคุณทางการแพทย์ก่อให้เกิดเพื่อสร้างมูลค่า เช่น ครีม สบู่ อาหาร รวมถึงส่วนผสมของยาต่างๆ ถือว่าขยายโอกาสอีกมากมายแต่ในกฎหมายเขียนว่า กัญชาเป็นยาเสพติด 

โดยพยายามมุ่งแก้ไขกฎหมายกัญชา ซึ่งในการแถลงนโยบายของรัฐบาลมีการกล่าวถึงว่าการสนับสนุนให้มีนำพืชกัญชาเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์เพื่อให้ประโยชน์ต่อประชาชน ถือว่าเป็นวาระเร่งด่วน ซึ่งปัจจุบันกัญชาไม่อยู่ในยาเสพติดแล้ว ซึ่งมีการแก้กฎหมาย ให้ต้นให้กิ่งให้ก้านรากใบกัญชา ซึ่งดอกของกัญชานำมาขายไม่ได้ ซึ่งใน ๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ มีผลบังคับใช้ว่าไม่มีกัญชาในการเป็นยาเสพติดอีกต่อไป เพราะมีความเชื่อว่ากัญชามีประโยชน์มาก สิ่งที่น่าห่วงเมื่อกัญชาเข้ามาอาจมีคนเสียผลประโยชน์ ซึ่งกฎหมายมีการบังคับใช้อนาคตสามารถปลูกได้สร้างความเท่าเทียม ผ่านการ “จดแจ้ง” มีการทำสัญญากับองค์กรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครัวเรือนสามารถปลูกได้ ซึ่งสนับสนุนในทางการแพทย์ โดยประชาชนจะเข้าถึงได้ง่าย กัญชามีผลดีในการรักษา สนับสนุนให้เปิดคลินิกกัญชาโดยมีการผลักดันให้กัญชาอยู่ในบัญชียาหลักต่อไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ฌ็อง-ปอล ซาร์ตร์" นักปรัชญาสายอัตถิภาวนิยมในวิถีพุทธสันติวิธี

  ฌ็อง-ปอล ซาร์ตร์ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสผู้ได้รับการยกย่องในฐานะนักปรัชญาอัตถิภาวนิยม (Existentialism) ได้สร้างผลงานทางปรัชญาที่มุ่งเน้นให้คว...