วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2564

"นิสิตสันติศึกษา มจร" ปันมื้อสามัคคีกับ "โจน จันได" สัมผัสโลกทัศน์วิถีชีวิตใหม่ โคกหนองนาอาสาชาวนามหานคร

 


เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 2564  พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ,ดร. เจ้าอาวาสวัดสารอด กรุงเทพมหานคร อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า วันที่ 18 ธันวาคม 2564 ได้รับมอบหมายจากพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา มจร นำคณะนิสิตลงพื้นที่ศึกษาดูงาน #ปันมื้อสามัคคีเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน  ที่โคกหนองนาอาสาชาวนามหานคร ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมการศึกษาเรียนในรายวิชา พระพุทธศาสนากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs 



การลงพื้นที่ครั้งนี้ ทำให้นิสิต ป.เอก สาขาวิชาสันติศึกษา รุ่น 5 ได้เก็บเกี่ยวความรู้ประสบการณ์ใหม่ โดยเฉพาะการได้รับฟังองค์ความรู้ ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ จาก อาจารย์โจน จันได ผู้คร่ำหวอดการออกแบบชีวิตภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

อาจารย์โจน จันได ได้อธิบายแนวคิด คุณค่าความสำคัญของบ้านดินว่า การสร้างบ้านดินทำให้มีที่อยู่อาศัยที่ยั่งยืนเพราะบ้านดินมีอายุหลายร้อยปี สามารถลดค่าใช้จ่ายในการทำบ้านได้อย่างมากด้วย ราคาไม่แพง บ้านดินทำไม่ยาก เด็กอายุ 9 ขวบก็เคยทำได้มาแล้ว เขาสามารถทำอิฐเองได้แล้วก่อเองได้ ผู้ใหญ่จะช่วยก็คงตอนทำหลังคา 



อาจารย์โจน จันได ได้อธิบายขั้นตอนการทำอย่างละเอียด ตั้งแต่การเลือกที่ดินจุดสร้าง จุดทำอิฐดิน พร้อมแนะวิธีการคิด การคำนวน เน้นการออกแบบตามใจคนอยู่ แต่ต้องไปดูงานของคนอื่น ดูมากๆ เดี๋ยวเราจะรู้ว่าเราชอบแบบไหน ตั้งคำถามกับตนเองว่า สร้างบ้านไว้ใช้ประโยชน์อะไร จากนั้นได้ทำตัวอย่างตามขั้นตอนการทำอิฐดิน ภายใต้กิจกรรม “ย่ำโคลน โจนพาทำ” 

นอกจากได้รับความรู้จากอาจารย์โจนแล้ว ยังได้รับความรู้จากคุณวรเกียรติ เจ้าของโคกหนองนาอาสาชาวนามหานคร นักธุรกิจพลิกผันชีวิตมาออกแบบชีวิตอิสรภาพบนพื้นที่ดินส่วนตัวกว่า 200 ไร่ คุณวรเกียรติ ได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการพัฒนาพื้นที่เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมุ่งเน้นทั้งสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม 


พระครูปลัดอดิศักดิ์ กล่าวด้วยว่า จึงนับได้ว่า ที่ดินแห่งนี้เป็นต้นแบบการพัฒนาสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร อนาคตพื้นที่แห่งนี้จะกลายเป็นศูนย์การเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติกรุงเทพมหานคร ที่พร้อมส่งมอบองค์ความรู้ด้านกสิกรรมแก่ชาวนามหานคร โดยมีอาจารย์ยักษ์ เป็นที่ปรึกษาหลักที่สำคัญ โอกาสนี้ขออนุโมทนาขอบคุณ อาจารย์โจน จันได และคุณวรเกียรติ ที่เปิดพื้นที่สำหรับการปันมื้อสามัคคีเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่นั่นคือ จิกซอสำคัญของการพัฒนาฟูมฟักทัศนคติ สติปัญญา ที่จะหล่อหลอมให้กับนิสิตนำเอาไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองได้ต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...