วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564

"อิทธิพล" เปิดมหกรรมสื่อฯ โชว์ 50 ผลงาน ชูเครือข่ายพระสงฆ์ "มจร" เยี่ยมช่วยแก้ขัดแย้งทางศาสนา


"อิทธิพล" เปิดมหกรรมสื่อฯ โชว์ 50 ผลงานปลอดภัย-สร้างสรรค์-สร้างรายได้  ชูเครือข่ายพระสงฆ์ "มจร" เยี่ยมช่วยแก้ขัดแย้งทางศาสนา 

วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2564 ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดงานมหกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ก้าวสู่ปีที่ 7  ระหว่างวันที่ 3-5 ธันวาคม พ.ศ.2564 เวลา 12.00 - 20.00 น. ณ เวทีใหญ่ ลานแฟชั่น ฮอลล์ ชั้น 1 และเวทีย่อย ลานไลฟ์สไตล์ ฮอลล์ชั้น 2   ศูนย์การค้าสยามพารากอน

นายอิทธิพล กล่าวว่า นับตั้งแต่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 จวบจนปัจจุบัน ก็เป็นเวลาร่วม 7 ปี แล้ว ที่ประเทศไทยได้มีแหล่งทุนสำหรับสนับสนุนผู้ผลิตสื่อน้ำดี ในการสร้างสรรค์สังคม


"ระยะเวลา 7 ปี หากเปรียบกับชีวิตมนุษย์ ก็อาจเปรียบได้กับชีวิตของเด็กน้อยคนหนึ่ง ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านและเติบโตไปสู่การเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ถือเป็นช่วงชีวิตแห่งการเรียนรู้ ปรับตัว และทำความรู้จักเพื่อนใหม่ เช่นเดียวกันกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผลงานและความสำเร็จของกองทุน ที่ทุกท่านได้มาร่วมเป็นประจักษ์พยาน ณ งานมหกรรมแห่งนี้ คือหมุดหมายสำคัญแห่งการเจริญเติบโตของกองทุน ผ่านกระบวนการ “เรียนรู้” “ปรับตัว” และ “ขยายเครือข่าย”  การใช้ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก หรือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มีวัมนธรรมเข้าไปมีส่วนร่วม  คือ การวางรากฐานของการพัฒนาประเทศ ให้เป็นประเทศที่มีรายได้สูงตลอดจนมีการกระจายรายได้อย่างเสมอภาคและทั่วถึง โดยการส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่น ให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการแข่งขัน สามารถพึ่งพาตนเองได้ ดังนั้น การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยมิติทางวัฒนธรรม จึงเป็นเรื่องที่สมควรสนับสนุนและสามารถดำเนินการได้ในทันที เพราะต้นทุนทางวัฒนธรรมเป็น Soft Power ที่ทุกสังคมและชุมชนมีพร้อมอยู่ในมืออยู่แล้ว.." 


พร้อมกันนี้นายอิทธิพลยังได้กล่าวถึงผลงาน"เครือข่ายพระสงฆ์เฝ้าระวังสื่อชวนเชื่อทางศาสนา" โดยมีพระมหาบุญเลิศ ช่วยธานี,ศ.ดร. รักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี (วัดไร่ขิง) เป็นหัวหน้าโครงการว่า ปัจจุบันนี้มีสื่อที่สร้างความเข้าใจผิดด้านศาสนา สร้างความแตกแยกระหว่างศาสนิกอยู่ 

"โครงการนี้จะมีส่วนในการเฝ่าระวัง เป็นโครงการที่ได้ประโยชน์โดยตรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยให้ศาสนิกทุกศาสนาอยู่ร่วมกันอย่างสงบ ซึ่งหัวหน้าโครงการก็ได้ทำเครือข่ายสร้างสังคมเฝ้าระวัง ซึ่งจะมีส่วนช่วยอย่่างมาก เพราะประเด็นทางศาสนาเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนทางสังคม และเมื่อพระสงฆ์ทำเครือข่ายเองเช่นนี้ก็ทำให้เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือตามหลักธรรมคำสอนทางศาสนามากยิ่งขึ้น เพราะมีความถูกต้องและเป็นทางการ ถือว่ายอดเยี่ยม" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าว 



ดร.ธนกร ศรีสุขใส  ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวรายงานว่า ภายในงานมหกรรมดังกล่าวมีนิทรรศการแสดงผลงาน กิจกรรมการแสดง การเสวนาเกี่ยวกับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งได้รวบรวมและเผยแพร่ผลงานความคิดสร้างสรรค์หลากหลายมิติ ทั้งงานกิจกรรม งานวิจัยและนวัตกรรม งายผลิตสื่อในรูปแบบต่างๆ ของผู้รับทุน ผู้รับจ้าง ภาคเครือข่าย รวมถึงโครงการ ภายใต้การดำเนินงานคณะอนุกรรมการตามมาตรา 21(13) พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ.2558  รวมกว่า 50 ผลงานสร้างสรรค์ 

"วัตถุประสงค์การจัดการมหกรรมในครั้งนี้ เพื่อเผยแพร่ผลงานสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมถึงเปิดพื้นที่สาธารณะ ขยางช่องทางการสื่อสาร สร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้รับการสนับสนุนและประชาชนที่สนใจการผลิตและการดำเนินการเกี่ยวกับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ผลิตสื่อในการมุ่งมั่นผลิดสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง" ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวและว่า

การจัดงานมหกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ดังกล่าว เป็นการขยายผลต่อยอด"สื่อสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนสังคม" เพื่อให้เกิดการรู้เท่าทันสื่อ สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านการสื่อสารให้เกิดมีนิเวศที่ดียิ่งขึ้นสำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชนให้วงกว้างในท้ายที่้สุด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...