วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564

"นิสิตป.เอกสันติศึกษา มจร" เปิดโลกทัศน์พระพุทธศาสนากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สวนโมกข์กรุงเทพฯ


วันที่ 19 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  มอบหมายให้ พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญโญ, ดร. อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา รับผิดชอบดูแลรายวิชา พระพุทธศาสนากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยรายวิชานี้เป็นวิชาเลือกของนิสิตระดับปริญญาเอก สาขาวิชาสันติศึกษา ซึ่งนิสิต ป.เอก รุ่น 5 ที่สนใจเลือกเรียนวิชานี้ มุ่งหวังองค์ความรู้ทั้งแนวคิด ทฤษฎี และแนวปฏิบัติการพระพุทธศาสนากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนลงสู่การปฏิบัติจริง



ตามนโยบายของผู้อำนวยการหลักสูตรมุ่งเน้นให้นิสิตได้มุมมองแนวคิดที่หลากหลายตามความสนใจของนิสิต ไม่ปิดกั้นตีกรอบแนวทางการจัดการศึกษาแบบบังคับรู้ แต่เน้นให้ลงพื้นที่ เฟ้นหาแหล่งความรู้ที่ตอบโจทย์วัตถุประสงค์รายวิชา บูรณาการแนวคิดในมิติที่นิสิตสนใจสู่การปฏิบัติจริง  ทั้งนี้เพื่อเพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์แยกแยะ (โยนิโสมนสิการ) และการนำเอาไปประยุกต์ใช้ บูรณาการกับงานที่ตนเองกำลังทำหรือกำลังสนใจที่จะทำนั้นเอง

ในฐานะอาจารย์ประจำรายวิชา จึงนำนิสิตลงพื้นที่แลกเปลี่ยนรู้ดูของจริง จำนวน 2 วัน คือ วันแรกลงพื้นที่ โคกหนองนา อาสาชาวนามหานคร ศึกษาการพัฒนาอย่างยั่งยืนวิถีโลก เน้นการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของชีวิตภายใต้แนวคิด “สันติภาพลงดินกินได้” 

วันที่สอง ลงพื้นที่สวนโมกข์กรุงเทพฯ ศึกษาการพัฒนาอย่างยั่งยืนวิถีธรรม ฟูมฟัก แนวคิด ทฤษฎี อุดมการณ์ทางพระพุทธศาสนาผ่านแนวคิดการเผยแผ่ของหลวงพ่อพุทธทาส ที่สร้างความสุขสมสมัยอย่างยั่งยืน หลวงพ่อพุทธทาสถือว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาด้านพระพุทธศาสนา โดยปัจจุบันแม้หลวงพ่อพุทธทาสจะสิ้นไปแล้ว แต่ธรรมของพระพุทธเจ้าที่หลวงพุทธทาสแสดงไว้ ยังคงอยู่ยั่งยืนเป็นโยชน์เกื้อกูลต่อชาวโลกให้เข้าถึงพัฒนาความสุขที่แท้จริง เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนวิถีธรรม ที่เน้นการพัฒนาจิตใจให้สามารถเข้าถึงสันติภาพภายในตามแนวทางพระพุทธศาสนา

พระครูปลัดอดิศักดิ์ กล่าวด้วยว่า จึงถือได้ว่า นิสิตได้สัมผัสวิถีการเรียนรู้นอกห้องเรียน เกิดประสบการณ์และทักษะจากการลงมือทำ ทักษะจากการคลุกตัวในพื้นที่ ตอบโจทย์รายวิชานี้ได้อย่างดี โอกาสนี้ขออนุโมทนาผู้อำนวยการสวนโมกข์กรุงเทพฯ (หอจดหมายเหตุพุทธทาส) ที่เอื้อเฟื้อวิทยากรเพลินธรรมนำชม คือ คุณเพียงพร ลาภคล้อยมา ซึ่งได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เหล่านิสิตได้เข้าถึงสวนโมกข์กรุงเทพได้อย่างดียิ่ง ที่สำคัญขออนุโมทนากับมูลนิธิโพลวพลือ (ทางสว่าง) ที่อุปถัมภ์กิจกรรมการลงพื้นที่ศึกษาดูงานในครั้งนี้ ทำให้การดูงาน 2 วัน เกิดความคล่องตัวบรรลุตามวัตถุประสงค์เรียบร้อยด้วยดีมีประสิทธิภาพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...