วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ผอ.ยุติธรรมจังหวัดอยุธยา แบ่งปันประสบการณ์ไกล่เกลี่ย แก่ผู้เข้าอบรมที่ "มจร"



วันที่ ๑๘ ธันวาคม  ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  ดูแลกระบวนการมาตรฐานการฝึกอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มจร  เปิดเผยว่า วันที่ ๑๗  ธันวาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา ดร. มยุรี จำจรัส ผู้อำนวยการยุติธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในฐานะกำกับดูความยุติธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยบริการประชาชน เป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์การทำงานด้านยุติธรรมกับผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๖๒ รุ่น ๔ จัดโดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม    

โดยสะท้อนถึงประเด็นทางสังคมและคดีความต่างๆ ที่ภาครัฐเข้าไปเยียวยาจำนวนมาก ซึ่งมีประเด็นการข่มขืน การค้ามนุษย์ ยาเสพติด กับเด็กเยาวชนและบุคคลทั่วไป ซึ่งรัฐจะต้องเข้าไปช่วยเหลือให้การเยียวยาในมิติต่างๆ  ถือว่าเป็นบทบาทสำคัญของยุติธรรมจังหวัด โดยท่าน ดร. มยุรี จำจรัส ใช้เครื่องมือตามแนวทางพระพุทธศาสนากับคนที่มีความทุกข์ผ่านการสวดมนต์เจริญสติ โดยไม่ใช่เยียวยาเพียงแค่ร่างกายแต่เป็นการเยียวยาทางด้านจิตใจ เพราะผู้ได้รับผลกระทบหรือเกิดคดีต่างๆ ย่อมได้รับความเจ็บปวด นำไปสู่ยุติธรรมกระแสหลัก ซึ่งประชาชนได้รับความเดือดร้อนถือว่ามีความทุกข์ โดยผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องเข้าใจบริบทหลากหลายในการทำงาน ความทุกข์ของประชาชนจะต้องเราจะต้องเข้าไปช่วย

การขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนให้สำเร็จ ภาคใต้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จัวหวัดพระนครศรีอยุธยาถือว่าเป็นจังหวัดนำร่องในการขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชน ดูแลประชาชน ปัจจุบันมีการขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชนผ่าน "บวร"  ผ่านวัดรวมถึงศาสนาอื่นๆ ผ่านศูนย์ยุติธรรมชุมชน มีการขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแบบเกรด A สร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ซึ่งวัดเข้ามาขับเคลื่อนเป็นศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน เพื่อเป็นยุติธรรมกระแสทางเลือก โดยไม่ได้ใช้ยุติธรรมกระแสหลักอย่างเดียว ซึ่งมหาจุฬาถือว่าเป็นศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนที่มีความเป็นมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน แบ่งออก ๔ ด้าน ๓๕ ตัวชี้วัด ของ ศกช. ประกอบด้วย ด้านโครงสร้างกายภาพ  ด้านบุคลากร ด้านบริหารจัดการ และด้านการบริการ จึงเชิญชวนท่านที่ผ่านการฝึกอบรมตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนเพื่อช่วยเหลือคนในสังคมลดความความขัดแย้งลดความรุนแรงในสังคมไทย 

ดังนั้น เพราชีวิตมันทุกข์ ความเจ็บปวดของประชาชนจึงต้องเข้าไปช่วยเหลือ เรียกว่า ยุติธรรมเยียวยาแบบเชิงรุก เหตุนี้ยุติธรรมจังหวัดจึงมีความสำคัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยานำโดย   ดร. มยุรี จำจรัส จึงเป็นยุติธรรมจังหวัดต้นแบบพุทธสันติวิธี จึงกล่าวได้ว่าประชาชนเดือดร้อนกรุณานึกถึงยุติธรรมประจำจังหวัด 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...