วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2564

"อ.บรรจบ" แนะนิสิตสันติศึกษา "มจร" นำองค์ความรู้ที่เรียนมามาก ปั้นให้เป็นศิลปะถึงจะเป็นมงคลอันสูงสุด


วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม 2564  พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ, ดร.อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า จากนโยบายของ พระอาจารย์ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ป.เอก รวมถึงพระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ, ผศ.ดร. ผอ.หลักสูตรสันติศึกษา ป.โท ต้องการให้นิสิตได้รับองค์ความรู้จากปราชญ์ที่หลากหลาย ไม่เน้นการบรรยายของอาจารย์ประจำรายวิชาเป็นหลัก เพื่อสร้างความหลากหลาย ให้นิสิตได้แนวคิดรอบด้านหลากหลายมุมมองเพื่อบูรณาการแนวคิดในมิติต่างๆทางพระพุทธศาสนา อีกทั้ง เป็นการได้โอกาสพบและรู้จักครูบาอาจารย์ผู้เป็นกัลยาณมิตร

"ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเป็นอาจารย์ประจำรายวิชา พุทธสันติวิธี ป.โท รุ่น 9 จึงได้เชิญท่าน อาจารย์ ศ. (พิเศษ) รท.ดร. บรรจบ บรรณรุจิ บรรยายพิเศษแก่ นิสิต ป.โท สาขาวิชาสันติศึกษา รุ่น 9 ในหัวข้อ พุทธสันติวิธีการสื่อสาร : โทนพราหมณ์" พระครูปลัดอดิศักดิ์ กล่าวและว่า  

โทนพราหมณ์ ถือว่าเป็นผู้ไกล่เกลี่ยมีวาจาอันเป็นเอก ได้จัดการปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ นิสิต ป.โท รุ่น 9 สาขาสันติศึกษา มจร ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านอาจารย์บรรจบ ในประเด็นต่างๆ ด้วยความสนใจ เพราะถือว่าที่เป็นการใช้โอกาสที่ได้พบกับพหูสูต หรือ บัณฑิต ที่มีความรู้ประดุจพระไตรปิฎกเคลื่อนที่ ทุกประเด็นที่ถามได้คำตอบที่เข้าใจได้ดี เป็นการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดการศึกษารายวิชา พุทธสันติวิธี

อาจารย์บรรจบ ได้เสนอมุมมอง ทางด้านพุทธสันติวิธีการสื่อสาร ท่านเน้นวิเคราะห์ชุดความคิดในมงคลอันสูงสุดเป็นแนวทางการปฏิบัติสำหรับพัฒนานิสิต ป.โท สันติศึกษา ว่าที่ วิศวกรสันติภาพ รวมถึงผู้ไกล่เกลี่ยด้วย ท่านได้ยกแนวคิดของ พระพุทธเจ้าตามที่พระองค์ ตรัสไว้ว่า “ความเป็นพหูสูต การมีศิลปะ การมีวินัยที่ฝึกหัดดีแล้ว การพูดดี (วาจาสุภาษิต) เป็นมงคลอันสูงสุด”

อาจารย์บรรจบ มองว่า ชุดแนวคิดนี้ มีนัยสำคัญที่สัมพันธ์กันไม่ได้แบ่งออกเป็นข้อเดียวแต่มาเป็นชุดโดยไม่แยกจากกัน สามารถวิเคราะห์ได้ว่า การเรียนรู้ให้มาก เพื่อนำเอาองค์ความรู้มาเป็นศิลปะ คือ การแสดงศักยภาพความสามารถออกมาให้เป็นที่ยอมรับได้จริง ประกอบกับมีความประพฤติอันดีงาม คือ การมีวินัยในชีวิต เน้นวินัยตามหลักศีล 5 ประการ โดยมีคุณธรรมควบคุมการใช้ศีล 5 คือ หลักกุศลกรรรมบถ 10 ประการ

ดังนั้น การแสดงออกทางกายใจด้วย ต้องแสดงออกให้ถึงความสุจริต เป็นการใช้ความรู้สู่ความสุจริต คนมีความรู้แล้วแสดงองค์ความรู้ออกไปด้วยการสื่อสารผ่านคำพูด บ้านเรามีปัญหามากมาย ก็มาจากคำพูดทั้งนั้น โดยเฉพาะการพูดที่ทำให้เกิดความโต้แย้งกัน อีกทั้ง ปัจจุบันปัญหาบ้านเราคอรัปชั่นมาก ก็เพราะความหายนะมาจากคนที่มีการศึกษาทั้งนั้นเลย เพราะการศึกษานั้นยังไปไม่ถึงความสุจริตนั่นเอง 

ดังนั้น จะแก้ปัญหาได้ต้องมีการศึกษาที่มีองค์ประกอบครบชุดความรู้ตามแนวคิดที่พระพุทธเจ้าสอนเอาไว้ คือ ความเป็นพหูสูต การมีศิลปะ การมีวินัยที่ฝึกหัดดีแล้ว การพูดดี ชุดความคิดนี้แหละที่เป็นมงคลอันสูงสุด


 

1 ความคิดเห็น:



  1. The Right Views & The Right Thoughts are The First Two Sources of all Rights:
    สาธุ ๆๆๆ : Sadhu Sadhu Sadhu
    จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม ธมฺเม โหนฺตุ สคารวา:
    ขอพระสัทธรรม จงดำรงมั่นตลอดกาล
    ขอสาธุชนทั้งหลาย ควรให้ความเคารพในพระธรรม
    Ciraṅ titthatu saddhammo dhamme hontu
    sagāravā:
    May the Noble Dhamma stay forever,
    may all the Noble people be humblely respectable
    the Dhamma.
    May all our Determinations be Successfull
    and prosperities with all well being efforts.
    นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ :Nibbāna paccayo hotu:
    May all our good deeds support us to gain
    the Ultimate Truth, Nibbāna.
    ขอทุกบุญหนุนทุกผู้ทุกนามสู่อริยมรรค ผล
    พระนิพพานดังเจตน์จำนงค์เทอญ

    ตอบลบ

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...