วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564

อ.ม.รังสิต"แนะสื่อยุค 5 จี คำนึงถึงผลกระทบก่อนเสนอข่าว



หวั่นกระทบสังคมแนะดูแลเด็ก-คนแก่ ครอบครัวร่วมโต๊ะเซ็นเซอร์ข่าวโลกโซเชียลหวั่นเป็นเหยื่อมิตรฉาชีพ

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม 2564 ที่ศูนย์อบรมพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้จัดให้มีการเสวนา "นั่งคุยเรื่องสื่อในยุค 5G ใครๆก็เป็นสื่อคุณภาพได้"ภายใต้โครงการ"Media Mee Dee ศูนย์รวมความรู้เท่าทันสื่อบนโลกดิจิทัล" โดยผศ.ดร.อานิก ทวิชาชาติ คณะวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ในปัจจุบันมีคนทำงานสื่อดิจิทัลหรือโซเชียลมีเดียมากขึ้น เนื่องจากระบบการสื่อสารเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และรวดเร็วสะดวก มากขึ้นโดยเฉพาะภาคประชาชนและนักข่าวพลเมือง  การนำเสนอเนื้อหาเหตุการณ์รวดเร็วถือว่าเป็นสิ่งดีที่จะนำเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้สาธารณะชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารมากขึ้น แต่คนที่จะมาทำหน้าที่นี้และเรียกตนเองว่าเป็นสื่อต้องละเอียดรอบคอบ คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ก่อนนำเสนอเพราะหากไม่มีการตรวจสอบรายละเอียดที่ชัดเจนจะทำให้เกิดผลเสียอย่างมากเพราะบางข่าว โยงไปถึงชีวิตความเป็นอยู่คนที่เป็นข่าวและผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบในระยะยาวหรือเสียหายประเมินค่าไม่ได้

ทั้งนี้สื่อที่นำเสนอข่าวแยกออกเป็นสองส่วนคือสื่อที่มีต้นสังกัด ที่ในวันนี้ไม่น่าห่วงเพราะมีกรอบจริยธรรมชัดเจน ตรวจสอบได้  ที่ผ่านมาสื่อหลัก ๆ มีองค์กรสื่อ รวมตัวชัดเจนตรวจสอบได้  ก่อนให้บุคคลากรหรือผู้สื่อข่าวทำข่าว ทุกสำนักข่าว มีการฝึกอบรมเรื่องจริยธรรมที่ชัดเจนก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ ส่วนสื่อไม่มีต้นสังกัดโดยเฉพาะสื่อออนไลน์ใหม่ ๆ ทั้ง youtube  tiktok  น่าเป็นห่วงเพราะมีอิสระในการนำเสนอที่ส่วนใหญ่ไม่รู้กฏระเบียบ คนเหล่านี้ไม่ผ่านการอบรม เรื่องระบบการนำเสนอข่าว ไม่มีกรอบ กฏระเบียบ กติการทำสื่อ ทำให้การเสนอเนื้อหาที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบผู้เป็นข่าว ทำเพื่อความสะใจมากกว่า

"ขณะนี้กระแสในโลกโซเชียลเอง ก็ได้ตรวจสอบสื่อด้วยกันเองเช่นกันว่าสื่อประเภทใดเป็นสื่อน้ำดีหรือไม่ดี โดยดูจาก content ของสื่อเหล่านั้นนั่นเอง ฉะนั้นทุกคนที่ต้องการจะเป็นสื่อในยุค5Gต้องคำนึงถึงจริยธรรม ความถูกต้อง การไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล  ปัจจุบันองค์กรที่ผลิตบุคคลากรที่จะมาทำสื่อสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้สร้างจิตสำนึก ปลูกฝัง ให้นักศึกษา ด้วยการยึดหลักจริยธรรม"ผศ.ดร.อานิกกล่าว

ส่วนการรับรู้สื่อของภาคประชาชนควรใช้วิจารณญาณในการรับรู้ หรือรู้เท่าทัน แยกแยะ การติดตามข่าวสารหลายช่องทาง กลุ่มที่น่าเป็นห่วงคือเด็กที่ผู้ปกครองควรเข้ามาดูแลการใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับดูสื่อเพื่อป้องกันการเสพสื่อที่ไม่เหมาะสม อีกกลุ่มที่น่าห่วงคือผู้สูงอายุ ที่อาจตกเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จากการโฆษณาแฝง ดังนั้นครอบครัวต้องมีระบบเซ็นเซอร์ ข่าวสารให้คนในสองกลุ่มมากขึ้น

ข๖ะที่นายสุธี จันทร์แต่งผล"บรรณาธิการบริหาร เว็บไซด์เอ็มไทย กล่าวว่า การนำเสนอข่าวของสื่อควรยึดหลักความจริง ความถูกต้อง มีการกลั่นกรองข่าวสารอย่างละเอียดก่อนนำเสนอ องค์กรสื่อก็ต้องตรวจสอบบุคคลากรตนเองว่าต้องยึดความตรงไปตรงมาในการนำเสนอข่าวเพื่อไม่ให้นำอคติส่วนตัวไปเสนอข่าวสารโดยใช้สื่อองค์กรตนเองเป็นช่องทาง อีกทั้งไม่ควรนำเสนอข่าวในการสร้างสิ่งเร้าใจมากกว่าข้อเท็จจริง ในส่วนสื่อขององค์กรตนนั้นมีกระบวนการกลั่นกรอง และตรวจสอบเน้นความถูกต้องเป็นหลักไม่เน้นความรวดเร็ว รวมถึงองค์กรอื่น ๆ ก็อาจปฏิบัติเช่นเดียวกัน แทนการนำเสนอข่าวที่รวดเร็วแต่อาจมีการผิดพลาดได้ จนมีผลกระทบในระยะยาวต่อสังคม 

"อยากให้ประชาชนที่ติดตามข้อมูลข่าวสารควรใช้วิจารณญาณ โดยเฉพาะผู้ปกครองที่จะต้องดูแลบุตรหลาน ต้องให้คำแนะนำ และติดตามอย่างใกล้ชิดด้วย"นายสุธี กล่าว

ด้านนายอิทธิพันธ์ ปิ่นระโรจน์" หัวหน้าข่าว ผู้ประกาศข่าวภาคสนาม เนชั่นทีวี 22 กล่าวว่า การนำเสนอข่าวของสื่อต้องมีวิจารณญาณคำนึงถึงผลกระทบผู้เป็นข่าว โดยเฉพาะข่าวอาชญากรรม จะโยงกับคนที่มีชีวิตอยู่ โดยเฉพาะกรณีฆาตกรรม ที่อาจถูกสังคมประนาม ไปด้วยแม้ไม่ได้ก่อเหตุก็ตาม สื่อต้องยึดหลักไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น เนื่องจากปัจจุบัน การนำเสนอข่าวทางโซเชียลจะเน้นรวดเร็ว และเรียลไทม์ ส่งผลให้ละเมิดสิทธิคนอื่นโดยไม่รู้ตัว และบางครั้งทำให้เกิดความแตกแยก ฟ้องร้องในภายหลัง จึงมีคำถามว่าทำอย่างไรจะสามารถควบคุมสื่อประเภทนี้ให้ได้  สื่อเองก็ต้องมีการสอดส่องสื่อด้วยกันเองเพื่อป้องกันการละเมิด อย่างไรก็ตามที่น่าเป็นห่วงอีกประด็นคือเยาวชนที่เสพสื่ออาจมีพฤติกรรมการเลียนแบบและก่อให้ความเสียหายได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...