วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ระดมสมองปรับโฉมใหม่ หลักสูตร ป.โท สันติศึกษา"มจร" แนะต้องตอบโจทย์คนรุ่นใหม่


วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)  กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการพัฒนาหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสันติศึกษา มจร เปิดเผยว่า ในฐานะเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการพัฒนาหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มจร เข้าร่วมรับฟังผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรปริญญาโท สันติศึกษา มจร นำการพัฒนาโดย พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ซึ่งขับเคลื่อนการพัฒนาหลักสูตรโดย พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มจร ร่วมกับ อาจารย์ ผศ.ดร. ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษาในฐานะกำกับมาตรฐานการประกันคุณภาพของหลักสูตรสันติศึกษาแบบ AUN  ทำให้หลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกของสันติศึกษามีคุณภาพอันดับหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญได้สะท้อนถึงการพัฒนาได้อย่างดียิ่ง     

๑)นพ.ดร.บรรพต  ต้นธีรวงค์ สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า ทำไมสันติศึกษา โดยสันติศึกษาจะต้องขยับไปแก้ปัญหาในด้านภาพใหญ่ต้องสามารถตอบโจทย์ผู้เรียนให้มากที่สุด โดยทุกวัยสามารถเข้าถึงสันติศึกษาอนาคตอาจจะพัฒนารตั้งแต่ระดับปริญญาตรี หลักสูตรสันติศึกษาสามารถเชื่อมโยงกับการศึกษาประชาธิปไตย เพราะแท้จริงแล้วสันติศึกษาคือประชาธิปไตย มุ่งบูรณาการยุติธรรม และมุ่งบูรณาการสิทธิมนุษยชน  ควรพัฒนาเนื้อหาให้มีความทันสมัยมากขึ้น เข้าใจกับชีวิตวิถีใหม่ให้สอดรับกับวิถีใหม่ ช่องว่างระหว่างวัยรวมถึงเจเนอเรชั่น ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร จะอยู่ร่วมกันอย่างไรอย่างสันติ ควรมีเนื้อหาประเด็นในสันติศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นซึ่งมีประเด็นความขัดแย้ง ส่งเสริมให้ผู้บริหารระดับท้องถิ่นเข้ามาศึกษาเพิ่มมากขึ้น ส่วนเนื้อหาการพัฒนาเกี่ยวกับสันติศึกษา จึงอยากให้มีทฤษฎีสันติภาพระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม และระหว่างประเทศ ควรมีทฤษฎีองค์รวมอะไรในการบูรณาการได้ในทุกระดับความขัดแย้ง เพื่อสร้างสันติภาพในทุกระดับเพื่อเป็นแนวทางร่วมกัน ย้ำว่าจุดประสงค์ของมหาบัณฑิตคือ นักวิจัย นักเจรจาไกล่เกลี่ย และนักเจรจาสันติภาพ เราจะพัฒนาวิศวกรสันติภาพไปสู่ระดับใด หลักสูตรของเราเน้นไปด้านใดในฐานะเราเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ในการพัฒนาสู่ความเป็นพุทธศาสนาและศาสตร์สมัยใหม่ จะต้องใช้แนวทางแบบบูรณาการทั้งศาสตร์สมัยใหม่และพุทธสันติวิธี ในประเด็นการเรียนการสอนจะต้องมองระบบเป็น ให้นิสิตมองอย่างเป็นระบบคิดเชิงระบบ จะต้องมีการถกแถลง ปรับวิธีการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ   

๒)ศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ  สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า สันติศึกษาอยู่ภายใต้หลักสูตรพุทธศาสตร์มหาบัณฑิตจะต้องรักษาอัตลักษณ์ โดยพระพุทธศาสนามีหลักการเกี่ยวกับสันติอย่างไรบ้างในสมัยพุทธกาล ซึ่งมูลนิธิต่อต้านการทุจริตเข้ามาส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านช่อสะอาดในการนำไปสู่การลงมือปฏิบัติเพื่อให้ประชาชนได้รับสิ่งที่ดีงาม ซึ่งเวลาพูดถึงสันติจะมองได้หลากหลาย เช่น อนุญาโตตุลาการ        แต่หลักสูตรจะต้องพัฒนาไปถึงวิชาพุทธศาสตร์ให้เกิดการกระทบใจ โดยไม่ได้มุ่งเพียงความรู้แต่ต้องเป็นผู้นำของชุมชน ให้กระบวนการเรียนการสอนให้มีความหลากหลาย มีการจัดของกลุ่มวิชาเป็นวิชาเลือก           นิสิตสามารถเลือกเรียนได้ เช่น กระทรวงต่างประเทศต้องการรู้สันติวิธีเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับต่างประเทศ รวมถึงรู้ถึงกระบวนการไกล่เกลี่ยในมิติต่าง มุ่งแก้ปัญหาความรุนแรงแบบต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำในสังคม ทำอย่างไรจะมีกระบวนการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในมิติพระพุทธศาสนามีคำสอนหรือหลักการอะไร  เราจะไปแก้ปัญหาของชุมชนอย่างไร ผู้เรียนได้เครื่องมืออะไรในการไปแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ เราจะแก้ปัญหาแบบลงรากลึกอย่างไรสามารถแก้ปัญหาแบบถาวร ซึ่งคนที่จะมาแก้ปัญหาความขัดแย้งจะต้องมีความเข้มแข็งไม่ใช่คนอ่อนแอ “อ่อนโยนในตัวแต่แข็งแกร่งในหลักการ” โดยญี่ปุ่นใช้หลักจารีตประเพณีในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ในออสเตรเลียมีกระบวนการประกาศขอโทษอย่างยิ่งใหญ่กับกลุ่มเมาลี แต่สหรัฐอเมริกาไม่เคยขอโทษอินเดียแดงเลย หลักสูตรสันติศึกษาจะต้องสร้างในสิ่งที่มนุษย์ทั่วไปไม่เคยทำแต่พระพุทธเจ้าเคยทำคือ กระบวนการขอโทษ กระบวนการให้อภัย ซึ่งกันและกัน ซึ่งมหาจุฬาเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์จะต้องพัฒนาและสร้างการมีส่วนร่วมให้กับเด็กเยาวชนมีการรับฟังอย่างแท้จริง ขอให้นิสิตไปแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ทุกมิติที่มีความขัดแย้ง           

๓)รองศาสตรจารย์ ดร. อำนาจ บัวศิริ สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า เราต้องการคนแบบใด เราต้องการคนที่มองปัญหาเป็น มองสภาพปัญหาให้เป็นแล้วค้นหาสาเหตุและมองวิธีการแก้ไขปัญหาผ่านพุทธสันติวิธี          ซึ่งหลักธรรมทุกหลักสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหา คนที่มาเรียนจะต้องทราบแนวทางพุทธสันติวิธีอย่างลึกซึ้งและบูรณาการ เช่น สร้างการมีส่วนรวม โยนิโสมนสิการ นิสิตจะต้องทราบพุทธสันติวิธีในการไปแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ในการสร้างผลผลิตของสันติศึกษาจะต้องสามารถ “มองปัญหา หาสาเหตุ  เห็นแนวทางแก้ปัญหา   และใช้พุทธวิธีมาบูรณาการได้” ประเด็นสำคัญของสังคมที่เป็นประเด็นร้อนที่เข้ามาบูรณาการคือ ข่าวปลอม จะต้องมีเครื่องมือในการหาสาเหตุ และวิธีการแก้ปัญหา ด้วยการจัดการกับข่าวปลอม อะไรเป็นกระแสหลักในสังคมนิสิตจะต้องรู้เท่าทันในสิ่งที่เกิดขึ้น       

๔)รองศาสตรจารย์ ดร. โกนิฏฐ์  ศรีทอง สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า การพัฒนาหลักสูตรจะต้องมองว่าเรามีปัญหาอะไร เพราะผ่านมา ๕ ปี ให้นำสิ่งที่สะท้อนมาพัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น โดยแบ่งสามกลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่งทฤษฎี เพียง ๒๐ เปอร์เซ็นต์  กลุ่มที่สอง เทคนิควิธีการ ๓๐ เปอร์เซ็นต์  กลุ่มที่สาม ปฏิบัติการ ๕๐   เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้เทคนิควิธีการจะนำไปสู่การปฏิบัติการได้เป็นอย่างดี ทำอย่างไรจะทำให้บัณฑิตมีคุณลักษณะที่มีจิตอาสามากกว่าคนทั่วไป อยากให้เน้นกิจกรรมที่เน้นความเป็นจิตอาสาในการเป็นวิศวกรสันติภาพ     

๕)รองศาสตรจารย์ ดร. โคทม  อารียา สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า จากการดูหลักสูตรแล้วมีความประทับใจมีประเด็นลดความเหลื่อมล้ำ และลดความรุนแรง โดยใช้แนวทางพระพุทธศาสนาเป็นฐาน ซึ่งการเรียนการสอนเราใช้นิสิตเป็นศูนย์กลาง โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีกระแสเกี่ยวโควิด ในหลักสูตรจะต้องบูรณาการประเด็นโควิดเข้ามาด้วย ประเด็นความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สันติศึกษา มจร มีท่าทีอย่างไร ประเด็นความขัดแย้งในการเมืองสันติศึกษา มจร มองประเด็นนี้อย่างไร ประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนตาม SDG สันติศึกษา มจร มองประเด็นนี้อย่างไร แต่อย่าลืมจุดเด่นของหลักสูตรคือ พระพุทธศาสนา โดยมีวิชาวิปัสสนากรรมฐานในการพัฒนานิสิตถือว่าดีมาก แต่ต้องบูรณาการทั้งแนวทางเถรวาท มหายาน และวัชรยาน ซึ่งมีความหลากหลายในทางคำสอนและหลักปฏิบัติ รวมถึงสิทธิมนุษยชนแต่ก็ยากเพราะมีแง่มุมทางการเมืองเข้ามาประกอบด้วย แต่หลักสูตรสันติศึกษาจะต้องบูรณาการในประเด็นสิทธิมนุษยชน ซึ่งไม่ใช่การเรียกร้องกับคนอื่นแต่ควรเรียกร้องกับตนเองด้วย หลักสูตรจะต้องพัฒนาไปสู่ท้องถิ่นชุมชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่พูดถึงพุทธสันติวิธีเท่านั้นแต่อยากให้เพิ่มเครื่องมือปฏิบัติไร้ความรุนแรง การเสวนาหาทางออก สันติสนทนา การรู้จักฟัง  มุ่งเน้นการเรียนการสอนเราจะสอนแบบใด “เอาครูอาจารย์เป็นตัวตั้ง หรือ เอาเนื้อหาเป็นตัวตั้ง”  ควรให้นิสิตมีการค้นคว้าล่วงหน้าเพื่อมาแลกเปลี่ยนกัน อาจารย์จะต้องปรับวิธีการสอนที่เหมาะสมในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปแบบวิถีใหม่  ส่วนวิทยานิพนธ์ควรมุ่งเน้นเนื้อหาและนำไปใช้จริงมากกว่ารูปแบบ วิทยานิพนธ์มีการนำไปใช้ได้มากน้อยเพียงใด ข้อเสนอแนะในวิทยานิพนธ์ถือว่าเป็นตัวชี้วัดได้เป็นอย่างดี  โดยย้ำว่า เรื่องการไกล่เกลี่ยถือว่ามีความสำคัญมากนิสิตจะต้องได้เรียนรู้อย่างยิ่งแบบเรื่องเล่าที่สร้างสรรค์และมานุษยวิทยา ซึ่งนิสิตจะต้องอยู่กับชุมชนให้ระยะยาวนานเพื่อปฏิบัติการอย่างแท้จริง 

๖)รองศาสตรจารย์ ดร. ประพันธ์ ศุภษร  สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า จะต้องลงลึกในการปฏิบัติการสำหรับนิสิต จะต้องพัฒนาแนวคิดของมหายานในการช่วยแบบพระโพธิสัตว์ โดยการยึดคำสอนที่มุ่งอยากช่วยเหลือสังคมผ่านศีลกับปัญญาในการช่วยเหลือมนุษย์ แต่ต้องบูรณาการกับเถรวาทโดยพระพุทธเจ้าไม่หนีปัญหาแม้จะเผชิญกับปัญหาต่าง โดยไม่หนีปัญหาจะต้องนำมาบูรณาการของหลักสูตร ซึ่งใน มคอ. ๒ ของหลักสูตรจะต้องออกแบบให้มีพลังมากขึ้นมีการวัดผลประเมินผลให้ทักษะทางปัญญา มีการประเมินรายวิชาอย่างเข้มข้น ผู้เรียนสะท้อนอย่างไรบ้างต้องนำมาพัฒนาให้หลักสูตรดียิ่งขึ้นต่อไป 

๗)พ.ต.ท. ดร. พงษ์ธร ธัญญสิริ  สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า การวางรายวิชาจะต้องมีการวางให้มีความเหมาะสม นิสิตควรจะต้องจบภายในสองปีหรือไม่ ซึ่งในวิชาเลือกบางวิชามีคล้ายกันมากเกี่ยวกับวิชายุติธรรม เช่น  ยุติธรรมชุมชน การใช้ความรุนแรง จะต้องมองเจเนอเรชั่นที่มีความเห็นต่างทำอย่างไรจะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุข ปริญญาโทถือว่าเป็นจุดเริ่มของการปฏิบัติ ซึ่งปริญญาโทเรียน ๑ ได้สองคือ สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยมุ่งเน้นให้มีการปฏิบัติ และสนับสนุนให้มีโครงการนิพนธ์ให้มีชีวิตแทนที่จะทำตามรูปแบบเดียวกันทั้งหมด 

๘)อาจารย์อดุลย์ ขันทอง  สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า อยากให้เน้นพุทธสันติวิธีให้มากเพราะเราเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ซึ่งความขัดแย้งไม่หมดแน่นอนแต่เราพยายามพัฒนาวิศวกรสันติภาพออกไปสู่สังคมให้มากขึ้น หรือจะเปิดเรียนตั้งแต่ปริญญาตรีเลยดีไหม ซึ่งทางภาครัฐพยายามมุ่งให้มีไกล่เกลี่ยมากขึ้น ชุมชนมีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๖๒ ลดการฟ้องคดีเข้าสู่ศาลได้มาก ต่อไปข้อพิพาทใดถ้าไม่มีการพูดคุยก่อน ถ้าไม่ผ่านกระบวนการไกล่เกลี่ยจะไม่สามารถฟ้องร้องได้ โดยพยายามให้หาโอกาสในการคุยกัน “ฟ้องคดีไม่ได้ถ้าไม่ผ่านการพูดคุยกันก่อน” เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จะต้องศึกษาพุทธสันติวิธีอย่างมีความเข้มแข็ง หลักสูตรที่สันติศึกษาจัดดีขึ้นแต่เราจะพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างไร ยิ่งในวิถีใหม่จะต้องพัฒนาตลอดจะทำให้หลักสูตรไม่ตกยุค   

๙)ศาสตราจารย์ นพ.วันชัย วัฒนศัพท์  สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า สิ่งที่หลักสูตรสันติศึกษา มจร พัฒนาถือว่าดีมาก ซึ่งผลของการเรียนรู้จะต้องนำไปสู่นวัตกรรม ขอให้พัฒนาไปสู่ SOAR ในการนำไปสู่การพัฒนา โดยผ่านการตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์ เราจะต้องมีนวัตกรรมเพื่อสร้างความรู้ใหม่ในการพัฒนา เราจะใช้วิธีเดิมไม่ได้แล้วจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่เพื่อได้ผลลัพธ์ใหม่ เราต้องไม่ถามเพื่อหาว่าใครผิดเพราะเราเน้นพุทธสันติวิธี เพราะถ้าหาว่าใครผิดจะทำให้เกิดความขัดแย้ง แต่ต้องมองว่าเรามีความเด่นเรื่องใด เรามีความแข็งแรงเรื่องใดมุ่งพัฒนาจุดเด่น จะต้องมอง Need ของคนในองค์กรด้วยอย่ามองแต่ Need แต่กลุ่มเป้าหมายของเรา รวมถึงความรู้สึกร่วมของคนในหน่วยงานองค์กร จะต้องค้นหาร่วมกันเพื่อการออกแบบร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งหลักสูตรที่จะออกแบบจะต้องสอดรับกับสถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน จึงต้องพัฒนาวิศวกรสันติภาพที่สามารถเอาใจเขามาใส่ใจเรา ส่วนการวิทยานิพนธ์จะต้องมีโครงการรองรับ นิสิตควรทำโครงการนิพนธ์จะทำให้เห็นรูปธรรม สามารถเป็นโครงการที่จับต้องได้ ครูอาจารย์จะต้องทำโครงการนิพนธ์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อสังคม เป็นการป้องกันว่าวิทยานิพนธ์ลอกๆ กันมา จะต้องทำโครงการนิพนธ์ของแต่ละนิสิตอย่างแท้จริง ประเด็นสุนทรียสารในที่นี่หมายถึงอะไร โดยไปมองประเด็นรายวิชาแต่ละวิชา อาจจะต้องมีวิชายุติธรรมสมานฉันท์ด้วยในรายวิชาในระดับปริญญาโท            ของหลักสูตรสันติศึกษา มจร รวมถึงกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทถือว่าเป็นรายวิชาที่จะต้องมีในหลักสูตรการเรียนการสอน เพราะการลงโทษไม่เชื่อว่าจะทำให้คนเลิกกระทำผิด อนาคตผู้พิพากษาอาจจะตกงานเพราะการลงโทษไม่สามารถทำให้คนเลิกกระทำผิด          

๑๐)ศาสตราจารย์พิเศษ ร้อยโท ดร. บรรจบ บรรณรุจิ  สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า สันติศึกษา มจร ถือว่าเป็นสันติศึกษาเชิงพุทธ ถือว่าเป็นจุดเด่นของมหาจุฬา เราจะกระจายเนื้อหาของพระพุทธศาสนาอย่างไร     กับ ประเด็นต่างๆทางสังคม ขอให้ทฤษฎีทางพุทธศาสนามีความเด่น ส่วนทฤษฎีอื่นนำมาสนับสนุนส่งเสริมเท่านั้น ซึ่งจิตใจของนิสิตมาเรียนสันติศึกษามุ่งอยากจะเป็นวิศวกรสันติภาพ เราจะพัฒนาไปสู่การเป็นวิศวกรสันติภาพอย่างไร อะไรคือเงื่อนไขของการพัฒนาวิศวกรสันติภาพ โจทย์คือหลักสูตรจะออกแบบอย่างไรให้สามารถเป็นวิศวกรสันติภาพ จึงเสนอว่า เวลาเรียนปริญญาโทแต่สามารถทำวิทยานิพนธ์ให้สมารถยกระดับเป็นปริญญาเอกได้เลย ทำหลักสูตรปริญญาโทให้เชื่อมปริญญาเอกได้เลย “เรียนโทได้เอก” แต่ต้องมีตัวชี้วัด หลักสูตรสันติศึกษาจะต้องทำงานหนักบูรณาการทฤษฎีพุทธ สันติศึกษาเราเป็นพุทธอย่าลืมอัตลักษณ์ของตนเอง เพราะพุทธเน้นความเป็นธรรม เน้นความถูกต้อง  ซึ่งพระพุทธศาสนาสามารถเข้าได้ด้วยทุกทฤษฎี   

๑๑)ดร. จตุพร วิศิษฎ์โชติอังกูร  สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า  เราต้องทบทวนว่าเราต้องการคนแบบไหนในการมาเรียนรู้พุทธสันติวิธี การพัฒนาทักษะนิสิตจะต้องมีการปรับนำไปบูรณาการในหลักสูตร เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ให้ความร่วมมือ พัฒนาอารมณ์ เป็นต้น กระบวนการเรียนรู้จะต้องมีประเด็นหัวข้อการเรียนรู้ที่สนุกสร้างความแตกต่าง และวิทยานิพนธ์ต้องมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อตอบโจทย์สังคม จึงต้องมีกระบวนการคิดเชิงระบบนิสิตจะต้องมีกระบวนการคิดเชิงระบบ เราจะทำอย่างไรให้นิสิตสามารถคิดเชิงระบบ ซึ่งจบมาจะทำให้มีความสง่างาม 

๑๒)ผศ.ดร. อุทัย สติมั่น   สะท้อนเพื่อการนำสู่พัฒนาว่า  สันติศึกษาเห็นการพัฒนาการที่ดีขึ้น ซึ่งการเรียนการสอนนำไปสู่การปฏิบัติไม่ใช่เรียนเพียงในห้องเรียน หันกลับมาดูคนรุ่นใหม่ในการเรียนรู้แบบออนไลน์ จะต้องจับกระแสของสังคม สามารถเข้ากับกระแส ส่วนอื่นสามารถทำได้เป็นอย่างยิ่ง ขอชื่นชมหลักสูตรสันติศึกษาในการขับเคลื่อนงานสันติศึกษา   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...