วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ก.ยุติธรรมจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ยธ.กรุงเก่าจับมือ "พระ มจร" อบรมกม.แก่ประชาชน



เมื่อวันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงยุติธรรม โดยกรมบังคับคดีและกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขอเชิญชวนประชาชนที่มีคดีข้อพิพาทก่อนฟ้อง และหลังศาลมีคำพิพากษา ร่วมงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภายใต้แนวคิด "มีหนี้ต้องแก้ไข รุกก้าวไปอย่างยั่งยืน" ระหว่างวันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา

การจัดงานในครั้งนี้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ตั้งเป้าหมายในปี พ.ศ. 2565 เป็น "ปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน" มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาให้ครอบคลุมทั้ง 8 กลุ่ม ซึ่งกระทรวงยุติธรรมได้มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.แก้ปัญหาหนี้ กยศ. 2.การแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล 3.แก้ปัญหาหนี้เช่าซื้อรถยนต์ (ลิสซิ่ง) และ 4.ปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม อำนวยความสะดวกในการไกล่เกลี่ย ภายในงานมีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาและสถาบันการเงินต่าง ๆ เข้าร่วมกว่า 16 แห่ง 

สำหรับสิทธิประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับเบื้องต้นได้ 1.การขยายเวลาการชำระหนี้ 2.การลดเบี้ยปรับการ ลดดอกเบี้ย การลดค่างวดรายเดือน 3.ไม่ถูกฟ้อง ไม่ถูกบังคับคดี 4.งดยึดทรัพย์ งดขายทอดตลาด 5.สิทธิประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ การจัดงานได้เน้นถึงความปลอดภัยแก่ผู้เข้าร่วมงานตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดี หมายเลขโทรศัพท์ 0 2881 5072 หรือสายด่วนกรมบังคับคดี 1111 กด 79 และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ 0 2141 2768 - 73


ยธ.กรุงเก่าจับมือ "พระ มจร" อบรมกม.แก่ประชาชน  


พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  เปิดเผยว่า 

วันนี้(18ก.พ.) เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เข้าร่วมโครงการอบรมให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม การป้องกันการกระทำผิดกฎหมายและการกระทำผิดซ้ำ ซึ่งจัดโดยสำนักงานยุติธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำโดย นางสาวมยุรี จำจรัส ผู้อำนวยการสำนักงานยุติธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 


โดยจัดฝึกอบรม ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา (หันตรา) ซึ่งสนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนยุติธรรม โดยมีพระมหาดนัย อุปวฑฺฒโน  พระธเนศ ฐานิโย และนางสาวสุดธิดา พาดฤทธิ์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เข้าร่วมเรียนรู้ในครั้งนี้ ซึ่งได้รับมอบหมายจากพระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ (หรรษา ธมฺมหาโส ศ.ดร.) ประธานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือว่าเป็นการขับเคลื่อนงานที่มีประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกับเครือข่ายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  


โดยมีความรู้เกี่บวกับกฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ.2558 และพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2554  ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559  พร้อมมีการอภิปรายกลุ่มเพื่อให้ความรู้ทางกฎหมาย ผ่านเกม The Choice เกมทางเลือกทางรอด ถือว่าเป็นการให้ความรู้ทางด้านกฎหมายที่ดีอย่างยิ่งสำหรับประชาชน


จะสอดรับกับการทำงานเชิงรุกขับเคลื่อนกิจกรรมของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร พระนครศรีอยุธยา และศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ตำบลสวาย ปรางค์กู่ ศรีสะเกษ ซึ่งจะมีการสันติสนทนาผ่านออนไลน์ในวันเสาร์ที่ 19  เดือนกุมภาพันธ์ 2565  โดยได้รับความเมตตาจาก พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ (หรรษา ธมฺมหาโส) ศ.ดร. ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เป็นประธานร่วมสันติสนทนา  ซึ่งจะมีคณะสงฆ์อำเภอวังน้อย  คณะกรรมการขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  คณาจารย์หลักสูตรสันติศึกษาภาคภาษาไทยและภาคอินเตอร์ IBSC คณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  คณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ตำบลสวาย ศรีสะเกษ คณะกรรมการรุ่น 1 2 3 4 6 ของการฝึกอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตาม พรบ 2562 เข้าร่วมในครั้งนี้  โดยประเด็นการสันติสนทนา ประกอบด้วย

 

1)แลกเปลี่ยนสรุปการเรียนรู้การเข้าโครงการอบรมให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน จัดโดยสำนักงานยุติธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาใน (18 กุมภาพันธ์ 2565)

2)รายงานการจัดฝึกอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตาม พรบ. 2562 รุ่น 6 แบบออนไลน์  (สำหรับนิสิตสันติศึกษาและบุคคลทั่วไป)

3)เตรียมการจัดฝึกอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตาม พรบ. 2562 รุ่น 7 (27 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2565  ณ มจร วังน้อย พระนครศรีอยุธยา)

4)เตรียมการจัดฝึกอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตาม พรบ. 2562รุ่น 5 (18-22 มีนาคม 2565 ณ สถาบันสติภาวนา วัดท่าคอยนาง ศรีสะเกษ)

5)เตรียมจัดการฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมายสำหรับประชาชนของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ตำบลสวาย ปรางค์กู่ ศรีสะเกษ   (17 มีนาคม 2565 ณ สถาบันสติภาวนา วัดท่าคอยนาง ศรีสะเกษ)

6)เตรียมจัดการฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมายสำหรับประชาชนของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร พระนครศรีอยุธยา   (10 มีนาคม 2565  ณ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร)

7)การสร้างการรับรู้ การสื่อสารของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ในอำเภอวังน้อย กับกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย คณะสงฆ์ โรงเรียน โรงพยาบาล สถานีตำรวจ โรงงาน บริษัท อำเภอ อบต หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในเขตอำเภอวังน้อย   

8)พิจารณารายชื่อคณะกรรมการทำแผนพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เพื่อการขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยอย่างเป็นระบบและให้เกิดรูปธรรม

๙)การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพระสงฆ์ช่อสะอาด โดยมูลนิธิต่อต้านการทุจริต ร่วมกับศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...