วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

"สภามหาวิทยาลัย มจร" มีมติมอบ-ถวาย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ "ชวน-ปลัดมท.-หลวงพ่อพัฒน์"

 


เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565  ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ในฐานะอุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เป็นประประธานการประชุมประชุมสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมีพระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดี มจร  พระเทพปวรเมธี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร   พร้อมด้วยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณารายชื่อ ผู้สมควรได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์และเข็มเกียรติคุณประจำปีพุทธศักราช 2565  จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


พระเทพปวรเมธี   ในฐานะเลขานุการสภามหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงมติที่ประชุมว่า  การมอบปริญญากิตติมศักดิ์และเข้มเกียรติคุณของ มจร ปีนี้ โดยพิจารณาจากบุคคลหลากหลายอาชีพ ทั้งคณะสงฆ์และฆราวาส เน้นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและสังคม ปีนี้คณะกรรมการมีมติมอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 64 รูป/คน   มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน  2  รูป/คน และเข็มเกียรติคุณอีก  56  รูป คน

“สำหรับพระสงฆ์มีทั้งต่างประเทศ เช่น สังฆราชประเทศเมียนมา,ประเทศลาว ส่วนในประเทศ  อาทิ พระเทพโสภณ เจ้าคณะภาค 8 วัดราชบูรณะ กรุงเทพมหานคร  พระเทพสีมาภรณ์ เจ้าคณะจังหวั ดนครราชสีมา พระเทพวัชรเมธี อธิการมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย (มมร)  พระราชปัญญาเมธี (สมชัย กุสลจิตฺโต) พระราชมงคลวัชราจารย์ (หลวงพ่อพัฒน์)   วัดห้วยด้วน จังหวัดนครสวรรค์ พระกิตติโสภณวิเทศ เจ้าอาวาสวัดนาคปรก กรุงเทพมหานคร พระมหาธรรมทส ขันติพโล เจ้าอาวาสวัดตะโก (วัดหลวงพ่อรวย ) จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น 

ในส่วนของฆราวาส อาทิ นายชวน หลีกภัย  ประธานรัฐสภา   นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ (ปลัดเก่ง)  ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายฐาปน สิริวัฒนภักดี  ประธานกรรมการบริหารไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) นายพินิจ จารุสมบัติ  นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย -จีน,อดีตรองนายกรัฐมนตรี และนายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี จำกัด (มหาชน) และนายวิรัช ชินวินิจกุล อดีตรองประธานศาลฏีกา  ผู้ร่วมบุกเบิกหลักสูตรสาขาสันติศึกษา มจรเป็นต้น สำหรับวันมอบวันไหนทางสภามหาวิทยาลัยจะต้องประเมินสถานการณ์ร่วมกันอีกครั้ง ซึ่งเราจะต้องปรึกษาร่วมกับหลายฝ่ายทั้งคณะสงฆ์ ฝ่ายการเมือง และท้องถิ่น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 นั่นเอง..” พระเทพปวรเมธี กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...