วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

"ปลัด อว." ยก "ม.สงฆ์ มจร" เป็นฐาน พัฒนาประเทศไทยให้มีคุณธรรม ควบคู่ศาสตร์สมัยใหม่



วันที่ ๘  กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  เปิดเผยว่า ได้ร่วมรับฟังยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติเพื่อยกระดับพุทธปัญญาสู่สากล (แผน ๑๓) ผ่านออนไลน์ Zoom  เริ่มโดย พระธรรมวัชรบัณฑิต ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภายใต้หัวข้อ "ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติเพื่อยกระดับพุทธปัญญาสู่สากล" กล่าวประเด็นสำคัญว่า 

"เราสร้างวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติเพราะเรามองอนาคตเพื่อชาวโลก ก่อนสถานการณ์โควิดจึงต้องปรับวิธีการในการใช้ประโยชน์ คำถามวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติจะเดินต่อไปอย่างไร ประเด็นอยู่ที่ผู้เรียนในการสร้างเนื้อหาในการเรียนการสอนในออนไลน์และออฟไลน์อย่างไร ซึ่งการบริหารในการเป็นอธิการบดีมาเกือบ ๔ ปี จึงมองว่ามหาจุฬามีเวทีหลากหลายมากกว่าสถาบันอื่นๆ แต่การสร้างพุทธนวัตรรมของนิสิตยังมีน้อยเพราะมุ่งจบการศึกษา แม้แต่ครูอาจารย์จะต้องสร้างพุทธนวัตกรรม แต่การบริการวิชาการน่าพอใจยิ่ง จึงต้องดูเรา โดยทีมงานที่จะร่วมเคลื่อนไปได้หรือยังไม่ว่าจะเป็นจำนวนและประสิทธิภาพ คณาจารย์จะต้องพัฒนาไปสู่ทางตำแหน่งทางวิชาการ แต่สิ่งที่น่าห่วงความสามารถทางวิชาการ ความสามารถในการสื่อสารภาษาต่างประเทศ จะต้องพัฒนาอย่างจริงจัง อย่าเอาพออยู่พอกินจะต้องพัฒนา จะต้องพัฒนาครูอาจารย์คนไทยให้มีความสามารถสื่อสารภาษาต่างประเทศ จึงต้องดูตนเองให้มาก จะต้องพัฒนาบุคลากรให้เป็นเกรด A หรือ B จะต้องสร้างอัตลักษณ์ของตนเองแล้วโฟกัส  

นอกจากดูเราแล้วจะต้องดูเขา เพื่อนำไปสู่การพัฒนา ไม่ต้องไปแข่งขันกับใครแต่ต้องมุ่งพัฒนาตนเองให้พร้อม ในโลกถ้ามองนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาชาวโลกเขามองประเทศศรีลังกาและอินเดีย แต่การบริหารจัดการยังไม่สมบูรณ์ยิ่งนัก แต่กรรมฐานต้องเป็นประเทศเมียนม่าร์  โดยเป้าหมายผู้เรียนจะต้องจากคนไทยก่อน เช่น พระสงฆ์ไทยในต่างเเดน ในยุโรป อเมริกา เรามีเนื้อหาภาษาไทยจำนวนมากแต่เนื้อหาภาษาอังกฤษยังมีน้อยจะต้องทำให้เกิดขึ้นอย่างยิ่ง จะต้องสร้างเนื้อหาทางพระพุทธศาสนาให้โลกรับรู้รับทราบ"        

ต่อจากนั้น ศ.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) หัวข้อบรรยาย "พลิกโฉมมหาจุฬาสู่การตอบโจทย์ปัญญาและคุณธรรม" กล่าวประเด็นสำคัญว่า สิ่งที่มหาจุฬาขับเคลื่อนถือว่ามีความสำคัญมากในปัจจุบัน ซึ่งเป็นบทบาทของมหาวิทยาลัย การขับเคลื่อนของมหาวิทยาลัย การจัดกลุ่มของมหาวิทยาลัย โดยกำลังคนสำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศในการสร้างกำลังคน มิติของจิตใจรวมถึงนวัตกรรมต่างๆ มหาจุฬาถือว่าเป็นสถาบันที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยมีหลักคิดเกี่ยวอุดมการศึกษาสู่การพัฒนาประเทศภายใต้สร้างคนสร้างความรู้สู่การพัฒนาประเทศ และหลักคิดการพัฒนาประเทศผ่านศาสตร์ต่างๆ มีความหลากหลายโดยมองวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่ต้องมีศาสตร์อื่นๆ มากำกับด้วย เช่น สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ รวมถึงคุณธรรมจริยธรรม อว.จึงต้องให้มีองค์ประกอบเพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศ จึงต้องความหลากหลายของคนในสังคม โดยสถาบันอุดมศึกษาจะต้องสร้างความโดดเด่นของตนเองภายใต้กลุ่มมหาวิทยาลัย พร้อมขับเคลื่อนกลุ่มอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้มาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา ให้มีการจัดกลุ่มสถาบัน เพื่อความโดดเด่นและความเลิศ โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอยู่ในกลุ่มการพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา  ถือว่าสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการวิจัยและสร้างนวัตกรรมโดยยึดหลักคุณธรรม ซึ่งปัจจุบันมีผลงานด้านศาสนาในการขอตำแหน่งทางวิชาการ โดยมีพระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ ศ.ดร (พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส). เป็นพระสงฆ์ในมหาจุฬามาช่วย อว. ขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ  โดยทุกมหาวิทยาลัยจะต้องใช้จุดแข็งของตนเองในการขับเคลื่อนสู่สังคม  โดยเฉพาะมหาจุฬาจะต้องเป็นฐานการพัฒนาประเทศให้มีคุณธรรมเป็นฐาน เพราะศาสนาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม อุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หัวข้อบรรยาย "ภาพอนาคตวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติกับการตอบโจทย์สังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป" กล่าวประเด็นสำคัญว่า  แผนพัฒนาวิทยาพุทธศาสตร์นานาชาติ ๕ ปีข้างหน้าจึงต้อง Swot เพื่อมองข้างหลังอะไรคือจุดแข็งของเรา อะไรคือจุดอ่อนของเรา  แต่เราจะมองย้อนหลังอย่างเดียวจนลืมมองอนาคต แท้จริงคือมองอนาคตว่าเรามีเป้าหมายอะไร คำถามคือ Ibsc อยากมีอนาคตอย่างไร อะไร  แล้วเรามีความพร้อมอะไรให้เราไปถึงเป้าหมาย "จะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนก่อน" อย่าลืมว่าเราเป้าหมายเราเพื่อนานาชาติ อย่าเอารถม้าไปวิ่งนำหน้าม้า เป้าหมายของเราคืออะไร คำถามภูเขาอยู่ต่อหน้าเป็นได้ทั้ง Swot  คำถามคือไปเพื่ออะไร ไปเที่ยวภูเขาจุดแข็ง  ข้ามไปอีกฝากภูเขาคืออุปสรรค หาสมุนไพรภูเขาคือโอกาส สุดท้ายอยู่ที่เป้าหมาย 

การทำแผนจะต้องตอบโจทย์ ๒ เรื่อง คือจะต้องตอบโจทย์มหาจุฬาเป็นโจทย์ร่วม  และตอบโจทย์สังคมในประเทศไทย โดยเฉพาะ อว. คือ บ้านเมือง รวมถึงตอบโจทย์สังคมโลก   

คำถามทำไมต้องมี Ibsc  ถือว่าต้องตอบโจทย์จากมหาจุฬา เพราะเราต้องการฟื้นฟูนาลันทาในวังน้อย ซึ่งนาลันทามาเคยรุ่งเรืองเราอยากจะฟื้นความเป็นพระพุทธศาสนาในมีชีวิต มหาจุฬาจึงเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาของโลก ถือว่าเป็นจุดแข็งแต่เราจะใช้ประโยชน์อย่างไร ? จากจุดแข็งที่เรามี ซึ่งมหาจุฬาจะต้องมีแหล่งเครือข่ายในการเป็นมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาระดับโลก แต่วิทยาลัยเขต วิทยาลัยสงฆ์ของ มจร ใน ๔๐ จังหวัดจะต้องเชื่อมกับนานาชาติในมิติต่างๆ จะต้องมีการบูรณาการ จะต้องเชื่อมกันเป็นปัญญาวัฒนธรรม อนาคตจะต้องสาขาวัฒนธรรมให้เกิดขึ้น จะต้องไปลงนามความร่วมมืออย่างจริงจัง ใช้ประโยชน์จากการลงนามความร่วมมือ จึงตอบโจทย์มหาจุฬาให้ได้  สิ่งสำคัญคือเราไม่สามารถผลิตนิสิตให้สื่อสารภาษาอังกฤษ ซึ่ง ibsc ควรจะสื่อสารกันเป็นภาษาอังกฤษ "ผลิตบัณฑิตคนไทยให้ไปสู่นานาชาติ" วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติจะต้องผลิตบัณฑิตคนไทยให้ไปสู่นานาชาติ โดยมีการพัฒนาห้องสมุดนนานาชาติให้เป็นฐานสำคัญ รวมถึงเป็นแหล่งรวมนักปราชญ์ทั่วโลกมีแลกเปลี่ยนในมหาจุฬาเป็นการแรงบันดาลใจให้นิสิตและคณาจารย์ของเรา จึงต้องเร่งผลิตตำราเป็นภาษาอังกฤษมีพระไตรปิฎกที่มีความเป็นสากล  

Ibsc มหาจุฬาจะต้องตอบโจทย์คุณธรรมระดับนานาชาติ มีการแลกเปลี่ยนนิสิต คณาจารย์กับสถาบันสมทบทั่วโลก สถาบันสบทบมีไว้ทำไม ? อยากเรียนภาษาอังกฤษไปสิงคโปร์ อยากเรียนภาษาจีนไปไต้หวัน นิสิตเรียนกับibsc จะต้องไปอยู่กับสถาบันสมทบอย่างน้อย ๑ ปี ขอให้รีบดำเนินการ ปัจจุบันโลกเปลี่ยนจะต้องเอาที่เก่งมารวมกันมาสอนสอดรับ คนเก่งทั่วโลกเป็นซีพี ใครเก่งต้องเชิญมาเป็นอาจารย์ เราจะต้องรวมเป็นแหล่งวิจัยระดับโลก ด้านภาษามิใช่เพียงพูดแต่ต้องใช้ภาษาการอ่าน การเขียน จึงต้องมีสถาบันภาษาอ่านเอาเรื่อง วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติจะต้องตระหนัก อย่าเอาเเค่สื่อสารในชีวิตจะต้องเขียนได้ อ่านได้ สรุปได้ โดยแท้จริงอยากให้วิทยาลัยพุทธศาสตร์ร่วมมือกับวิทยาลัยพระธรรมทูต พัฒนาพระธรรมทูตร่วมกัน ibscต้องร่วมมือกับวิทยาลัยธรรมทูตอย่างจริงจัง  พึงตระหนักว่า ออนไลน์ได้ปัญญาแต่ไม่ได้คุณธรรม จะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยทิ้งท้ายว่า เราสร้างมหาจุฬาไม่ใช่แค่ชาวมหาจุฬา แต่เราสร้างมหาจุฬาเพื่อชาวโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"สมเด็จพระธีรญาณมุนี-ปลัด มท." ประกอบพิธียกช่อฟ้าอุโบสถคู่หน้าวัดสโมสรนนทบุรี

    เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2567  เวลา 09.39 น.ที่วัดสโมสร บ้านคลองหม่อมแช่ม หมู่ 9 ตำบลไทรใหญ่ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี นายสุทธิพงษ์ จุลเจ...