วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

"หมอสุริยเดว" มองระบบนิเวศยุวชนไทยไร้ไอดอลวิถีคุณธรรม หนุนวิจัยนิสิต "สันติศึกษามจร" พัฒนาผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านคุณธรรม

 


วันที่ ๑  กุมภาพันธ์  ๒๕๖๕ พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่  ๓๑  มกราคม ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา มีการสนทนากลุ่มเฉพาะงานวิจัยดุษฎีนิพนธ์ของนิสิตระดับปริญญาเอก หลักสูตรสันติศึกษา มจร จำนวน ๓ เรื่องร่วมระยะ ๑๐ ชั่วโมง ซึ่งในภาคเช้าโฟกัสรูปแบบการพัฒนาผู้ประนีประนอมต้นแบบสันติภาพ  ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิระดับผู้พิพากษาผู้เชี่ยวชาญทำงานด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทร่วมสะท้อน  ภาคบ่ายโฟกัสรูปแบบการพัฒนาผู้นำกระบวนกรต้นแบบสันติภาพ ซึ่งเป็นงานสันตินวัตกรรมมีผู้ทรงวุฒิระดับโค้ช วิทยากร ผู้นำกระบวนกร นักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนารวมถึงพุทธสันติวิธีร่วมสะท้อน ซึ่งจะยกระดับเป็นงานวิจัยขึ้นห้าง เปิดหลักสูตรพัฒนาในอนาคตต่อไป  

ในภาคเย็นมีการโฟกัสรูปแบบการฝึกอบรมผู้นำเยาวชนด้านคุณธรรม โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศช่วยสะท้อนอย่างดียิ่ง หนึ่งในนั้นคือ รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี   ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม สะท้อนด้วยความห่วงใยยุวชนในประเทศว่า แท้จริงเป็นวัยรุ่นไม่ได้มีปัญหาแต่ระบบนิเวศของเด็กแย่กว่าตัวเด็ก วิถีแห่งคุณธรรมไม่มีหาต้นแบบไม่เจอ ถือว่าเป็นวิกฤตที่ท้าทายมาก ซึ่งยุวชนวัยชั้น ม.๑-๓ เป็นจุดเปลี่ยนของเด็ก ถ้าดีจะดีเลยถ้าไม่ดีหนักเลย ทำให้เห็นตัวชี้วัดคุณธรรมในปี ๒๕๖๔ ด้านวินัยและด้านความซื่อสัตย์ติดสีส้มทั่วประเทศ ในบางภูมิภาคติดสีแดง  จึงต้องเติมในด้านการจัดการอารมณ์ มีหิริโอตตัปปะ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป  กระบวการพัฒนาต้องไม่ใช้รูปแบบวังวนแห่งคววามล้มเหลว หมายถึง ฝึกอบรมและสั่งสอนเท่านั้น แต่ต้องทำให้เป็นวิถี ผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านคุณธรรมจึงต้องเป็นวิถีชีวิต จึงมองว่างานวิจัยของนิสิตสันติศึกษาพัฒนาผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านคุณธรรม ถือว่าเป็นประเด็นร้อนของประเทศ  

สำหรับการสนทนากลุ่มในครั้งทำให้ผู้วิจัยได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง เพราะมุมมองในการเปลี่ยนแปลงจะเกิดจาก ๒ วิธี คือ วิธีที่ ๑ คือ #การช็อก (Shock) คือ การทำให้เกิดการกระทบกับระดับจิตใต้สำนึกของเราอย่างรุนแรง รวดเร็ว ฉับพลัน ไม่สามารถตั้งตัวได้ ทั้งเรื่องดีและเรื่องร้าย ลักษณะนี้สามารถเปลี่ยน Mindset ระดับจิตใต้สำนึกได้ทันที ส่วนใหญ่จะเป็นอุบัติเหตุหรือเรื่องสะเทือนใจขั้นรุนแรง เช่น แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคร้าย คนนั้นจะเปลี่ยนMindset เปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตทันที หรือ พ่อทิ้งแม่ไปมีภรรยาใหม่ แฟนนอกใจ ลูกตายเหตุการณ์แบบนี้ทำให้เกิดการช็อกได้ทั้งนั้น

ส่วนวิธีที่ ๒ คือ #การทำซ้ำ (Repetition) เมื่อเราคิด จินตนาการ พูด ทำ อะไรซ้ำๆ สมองเราจะเก็บบันทึกเอาไว้ ซ้ำจนเพียงพอที่สมองรับรู้แล้วว่า สิ่งที่เราทำซ้ำๆ คือส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา การทำซ้ำจึงต้องอาศัยหลักธรรมอิทธิบาท ๔ ในการมีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา  จึงมีคำกล่าวว่า #ถ้าเราควบคุมอารมณ์ไม่ได้เราจะควบคุมชีวิตไม่ได้เพราะ ๙๕% ในการตัดสินใจของมนุษย์ใช้อารมณ์นำเสนอ  Cristino Ronaldo จึงกล่าวย้ำว่า "พรสวรรค์ที่ปราศจากการฝึกฝนอย่างหนักนั้นสูญเปล่า"  :Talent without working hard is nothing  จึงขอให้กำลังใจทุกท่าน โดยการนำสิ่งที่ผู้ทรงสะท้อนมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ แล้วมาบูรณาการต่อไปให้เป็นงานของเราให้ได้ต่อไป  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...