วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

"สนธิรัตน์" เผยแนวพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เริ่มที่พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็ง



เมื่อวันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565   นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ แกนนำและผู้ร่วมก่อตั้งพรรคสร้างอนาคตไทย  ได้เปิดเผยถึงการพัฒนาประเทศโดยเริ่มจากการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแบบยั่งยืนผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวความว่า ทุกท่านเคยได้ยินได้ฟังการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแบบน้ำพุไหมครับ


(CR..https://www.youtube.com/watch?v=87VJb0UkA2g) 

ผมขอมาเล่าให้ฟังกันครับว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้ยั่งยืนนั้น หัวใจสำคัญคือ องค์ความรู้และประสบการณ์ของชุมชน ชาวบ้าน ประกอบกับการส่งเสริมองค์ความรู้ให้พวกเขา และรัฐมีหน้าที่เพียงสนับสนุนงานและนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาสร้างให้เกิดเป็นงาน เป็นนโยบายที่มาจากฐานรากขึ้นสู่ด้านบน มิใช่มาจากด้านบนลงสู่ด้านล่างเหมือนอย่างที่ผ่านมา

การไม่เข้าใจไม่รู้วิธีการแก้ปัญหา ในลักษณะของพื้นที่ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน นำมาสู่การออกแบบและสร้างนโยบายจากภาครัฐที่มีลักษณะแบบทฤษฎีน้ำตก (Top-Down)  ที่สั่งการจากหน่วยงานภาครัฐลงมาสู่ท้องถิ่น 

การรับฟังและรู้ปัญหาจึงขาดองค์ประกอบสำคัญนั่นคือ ท้องถิ่น/ ชุมชน นโยบายที่ไม่ตอบโจทย์นี้เองที่ทำให้การขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศมีปัญหามาโดยตลอด เปรียบเสมือน การแก้เงื่อนเชือกเพียงแค่ไม่กี่ปมแต่ไม่ได้แก้ไม่ได้รื้อโครงสร้างทั้งหมดว่าปมปัญหามาจากจุดไหน 

การจะแก้ปมเงื่อนและรื้อโครงสร้างจะอาศัยฐานคิดแบบเดิมไม่ได้อีกต่อไป จำเป็นต้องปรับฐานคิดและเปลี่ยนการสั่งการ จากการสั่งการที่มีลักษณะแบบน้ำตก (Top-Down)  ให้มาเป็นการสั่งการแบบน้ำพุ (Bottom-up) ที่เป็นการสั่งการมาจากประชาชนแทน 

การสั่งการจากประชาชนต้องอาศัยความต่อเนื่อง มิใช่ชั่วครั้งคราว ต้องเข้าไปรับฟังวิถีชีวิต ชุมชนท้องถิ่นซึ่งเขามีบุคลากรอย่าง ปราญ์ชาวบ้านและผู้นำชุมชน ที่เป็นหัวหอกในการพัฒนาโดยอาศัยศาสตร์และศิลป์ในการสร้างงาน สร้างผลิตภัณฑ์ สร้างนโยบายของตัวเอง รวมทั้งยังมีวิธีในการแก้ไขปัญหาในลักษณะของภูมิปัญญาที่ตกทอดมายังรุ่นสู่รุ่น 

ตัวอย่างในกรณีอย่างวิสาหกิจชุมชนทำนาหนองสาหร่าย ที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นอีกกรณีที่น่าศึกษาและนำมาขยายต่อยอดเป็นนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของภาครัฐอย่างยิ่ง

หัวใจหลักของการพัฒนาที่นี้เน้นการพัฒนาโดยการจัดการตนเองของชุมชนเป็นหลัก การมีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างแผนเศรษฐกิจและแผนพัฒนาชุมชนของตนเอง อาทิ ธนาคารชุมชน สวัสดิการของชุมชน ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีที่ปรับใช้ไปสู่กระบวนการผลิตและแปรรูป 

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ที่ชุมชนแห่งนี้และจะยิ่งต่อยอดได้อีกหากภาครัฐเปิดใจยอมรับและเข้าใจในวิถีของพวกเขา เปิดกระบวนการเรียนรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยี สนับสนุนทุนและบุคลากรในการส่งเสริมงานหรือนโยบายของชุมชนผ่านตัวแทนภาควิชาการหรือภาครัฐในการเข้าไปอำนวยความสะดวก แต่ไม่ใช่การสั่งการ หากทำได้ในลักษณะดังกล่าวจะทำให้การขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศด้วยนโยบายที่มาจากประชาชนให้ยั่งยืนได้นั้น ไม่ยาก และไม่ไกลเกินเอื้อมครับ

ผมเชื่อและย้ำเสมอว่าประเทศจะแข็งแรงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ และสังคม เราจะต้องทำให้ฐานรากเข้มแข็ง  ซึ่งการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากนอกจากจะต้องรับฟังและผสานการมีส่วนร่วมจากพี่น้องในพื้นที่ เราก็จำเป็นต้องได้คนทำงานด้านนี้โดยตรงเข้ามาช่วยในการวางทิศทางนโยบายที่ครอบคลุมทั้งมิติการพัฒนา การแก้ปัญหาให้สอดคล้องกับท้องถิ่นจริงๆ ครับ


1 ความคิดเห็น:

แนะแนวแก้ "ขัดแย้ง-รุนแรง" ของชาวพุทธ ในปริบทพุทธสันติวิธี

การใช้หลักพุทธสันติวิธีในการแก้ไขความขัดแย้งในวงการพระสงฆ์และสังคมไทยสามารถเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการลดปัญหาความรุนแรงและเสริมสร้าง...