วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

"กากัน มาลิค" ผู้รับบทเจ้าชายสิทธัตถะบวชแล้ว ได้ฉายา "อโสโก" ผู้ไร้ซึ่งความโศก





เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565  "กากัน มาลิค" ผู้รับบทเจ้าชายสิทธัตถะ ในเรื่อง Sri Siddhartha Gautama ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เพื่อศึกษาหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้อวัตรปฏิบัติของนักบวช และเรียนรู้วิถีสันติภายใน เช้าวันนี้ที่วัดธาตุทอง พระอารามหลวง  ตามที่ได้เคยปวารณาตนเป็นศิษย์วัดไว้

หลังจากได้เข้ารับการขลิบผม และรับผ้าไตร อัฐบริขาร จากพระธรรมโพธิวงศ์ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล  ที่วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี 989 อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อเวลา 18.30 น. วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565  

การบวชครั้งนี้ได้ดำเนินการตามประเพณีไทยทุกประการโดยได้ฉายาภาษาบาลีว่า "อโสโก" แปลว่า "ผู้ไร้ซึ่งความโศก"   ก่อนเข้าพิธีอุปสมบทนั้น นักแสดงหนุ่มได้ให้สัมภาษณ์เป็นพิเศษ ผ่านเพจของ "ชมรมไตรรัตนภูมิ" ดังนี้

วัตถุประสงค์ของการบวช? "ผมขอเล่าเท้าความ เหตุผลก่อนว่าทำไมถึงต้องมาที่นี่ อย่างที่เรารู้กันว่าประเทศอินเดีย เป็นดินแดนต้นกำเนิดของพระพุทธศาสนา หลายๆ คนจึงเข้าใจว่าที่อินเดีย คนนับถือศาสนาพุทธเยอะ แต่ความจริงมีชาวพุทธในอินเดียแค่หนึ่งถึงสองเปอร์เซ็นต์เท่านั้น ผมจึงอยากมาที่นี่ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้คนอินเดียที่โน่น ได้เห็น และการมาบวชเป็นพระสงฆ์ที่นี่ ก็เพื่อที่จะเรียนรู้ในกฎข้อปฏิบัติ พระสงฆ์ในไทยปฏิบัติยังไง เขาเรียนรู้อะไร ต้องการมาฝึกเพื่อที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ว่าชาวพุทธที่ดีต้องปฏิบัติอย่างไร ผมคิดว่า ด้วยตัวผมเองเป็นนักแสดงอยู่แล้ว ก็อาจจะสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนอินเดียมาทำตามอย่างได้ เพื่อที่เราชาวพุทธจะได้เริ่มหมุนวงล้อธรรมจักรอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนี้ ผมอยากกลับไปสอนคนอินเดียได้ถูกว่าการเป็นชาวพุทธ ทำอย่างไร เรียนรู้อะไรกันบ้าง แต่ทั้งนี้ผมไม่ได้ต้องการเปลี่ยน คนอินเดียที่โน่นให้ทุกคนนับถือศาสนาพุทธ แค่อย่างน้อยได้กลับไปสอนธรรมะ นั่นคือสิ่งที่ผมต้องการ ผมไม่ได้ต้องการคนอินเดียมาเป็นพุทธ ผมต้องการสอนธรรมะ นำธรรมะกลับไปสู่ดินแดนที่พระพุทธเจ้าเคยประสูติ"

สาเหตุที่เลือกบวชในเมืองไทย? "ผมเชื่อในเรื่องศาสนาพุทธ เรื่องเวียนว่ายตายเกิด เชื่อว่าน่าจะทำกรรมดีไว้ในประเทศไทย รู้สึกผูกพัน เชื่อมโยง อาจจะเคยเกิดที่ประเทศไทยจึงเชื่อมโยงผมกลับมาที่นี่ ทั้งนี้สองสิ่งที่ผมเดินทางมาอุปสมบทในครั้งนี้ หนึ่ง ผมบวชเพื่อเรียนรู้ ศึกษาให้รู้จักตัวเองมากขึ้น สอง อยากพลิกฟื้นศาสนาพุทธในอินเดีย ตามรอยพระเจ้าอโศก ที่เคยสร้างเจดีย์ไว้แปดหมื่นสี่พันองค์ ผมจึงเตรียมโครงการร่วมกับมิตรสหายเครือข่ายสหายธรรมในประเทศไทยก่อตั้ง ชมรมไตรรัตนภูมิ ร่วมกับ ว่าที่ร้อยเอกณัฏฐกิตติ์ ชัยเฉลิมมงคล และ นางสาวฐิติรัตน์ เฮงสกุล จัดทำโครงการบริจาคพระพุทธรูปแปดหมื่นสี่พันองค์ให้กับชาวพุทธในอินเดีย ไม่ว่าจะสักการะตามบ้าน สำนักวิปัสสนา ตามวัด และอยากเชิญชวนทุกคนร่วมกันทำโครงการฯ นี้ให้สำเร็จ" 

ขอบคุณภาพข้อมูลและภาพจาก https://www.banmuang.co.th/news/entertain/269091 และhttps://www.facebook.com/DrPornchai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...