วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

นายกสมาคมปกป้องพุทธค้าน ส.ส.เสนอร่างแก้ไขกม.ปมวิพากษ์วิจารณ์ศาสนา


เมื่อเมื่อวันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565  เวลา 10.50 น. ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น1(โซนกลาง) อาคารรัฐสภา น.ส. ผ่องศรี ธาราภูมิ  ผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  รับยื่นหนังสือจาก  น.ส.พาศิกา  สุวจันทร์  นายกสมาคมปกป้องพระพุทธศาสนา เรื่อง ขอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติ และขอแก้ไขเพิมเติ่มประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 206/1 และมาตรา 206/2 โดยขอให้ทบทวนและรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของประชาชนในชาติ  เพราะพระพุทธศาสนาเป็นความศรัทธาของประชาชน ซึ่งประชาชนจะมีการบันทึกภาพ และวิพากษ์วิจารณ์พุทธศาสนาตามความคิดเห็นของประชาชน แต่กฎหมายฉบับดังกล่าวจะต้องมีการตีความว่า ภาพ หรือการวิพากษ์วิจารณ์ใดเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นพระพุทธศาสนา  และมีการระบุโทษด้วย ซึ่งการแก้ไขกฎหมายนั้นควร สอบถามประชาชน และขอข้อเสนอแนะจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศก่อน 

ด้าน น.ส. ผ่องศรี กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า จะนำเรื่องดังกล่าวดำเนินการกระบวนการตามขั้นตอน และนำกราบเรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สืบเนื่องจากล่าสุดนายสุพจน์ อาวาส โฆษกพรรคประชาชาติ กล่าวเรื่องการให้ความสำคัญกับการยื่นขอแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาซึ่งอาจมีการใช้ถ้อยคำที่อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือ เคลือบแคลงสงสัยในเจตนารมณ์ จึงขอ อธิบายเหตุผลและความจำเป็นในการเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 206/1 และ มาตรา 206/2 ว่า การเสนอแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา กรณีการลบหลู่หรือ เหยียดหยามในประการที่น่าจะทำให้ศาสนาเสื่อมเสีย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทศาสนา ตามที่ทราบกันโดยทั่วกัน และมีประเด็นที่เกี่ยวข้อง หรือ มี เหตุผล ตลอดจน ความจำเป็นในการเสนอกฎหมายฉบับนี้ รวม 3 ข้อ ประกอบด้วย

ข้อ 1. บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเกลียดชังในสังคม" และ หมวด 6 แนวนโยบาบแห่งรัฐ มาตรา 67 กำหนด "ให้รัฐต้องอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกใน พ.ศ.2560

หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยมาตรา 31 กำหนด (ว่า) "บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและ หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย มาตรา 50 (6) กำหนด "ให้บุคคลมีหน้าที่เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นและไม่กระทำการใดที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยกหรือการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใดและพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย"

ข้อ 2. มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอันเป็นข้อมูลเท็จที่มีลักษณะลบหลู่ เหยียดหยามคำสอนและศาสดาของศาสนาที่เป็นที่เคารพนับถือของหมู่ชนในประเทศกันอย่างกว้างขวาง อันอาจให้เกิดอันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐและความสงบสุขของประชาชนโดยส่วนรวม

"ปัจจุบันมีบุคคลและกลุ่มบุคคลบางกลุ่มใช้เสรีภาพในการนับถือศาสนาของตนเองก่อให้เกิดความแตกแยก ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จมีลักษณะ ลบหลู่ และเหยียดหยามคำสอนและศาสดาของศาสนาที่มีหมู่ชนจำนวนมากเลื่อมใสศรัทธาเคารพนับถือ

ซึ่งการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความเกลียดชังกันหมู่ของประชาชนโดยส่วนรวม เป็นอันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐและเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมทั้ง เป็นการขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นในการนับถือศาสนาและการประกอบพิธีกรรมตามหลักความเชื่อตามหลักการทางศาสนาของตน

พฤติการณ์ของบุคคลและกลุ่มบุคคลดังกล่าว มีการเจตนาเผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จ ใส่ความ บิดเบือนเกี่ยวกับเนื้อหาคำสอนของศาสดาของศาสนาบางศาสนา การเผยแพร่ข้อความอันเป็นความเท็จดังกล่าวทำให้ประชาชนผู้ได้รับข้อมูลข่าวสารนั้นหลงเชื่อ ทำให้ผู้เลื่อมใสศรัทธาในศาสนาที่ถูกใส่ความ บิดเบือน ลบหลู่ หรือ เหยียดหยามได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง

เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในหมู่ของประชาชนภายในประเทศ เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ ประกอบกับประมวลกฏหมายอาญาซึ่งเป็นกฏหมายที่มีบทบัญญัติเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นหลัก

ยังไม่มีบทกำหนดโทษผู้กระทำการลบหลู่ ดูหมิ่น เหยียดหยามศาสนาไว้เป็นการเฉพาะ ต่างกับที่กฏหมายอาญาได้กำหนดโทษผู้กระทำความผิดฐาน ดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาไว้ในมาตรา 326 และมาตรา 328 เพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่บุคคลอื่นจะละเมิดมิได้ไว้อย่างชัดเจน "

ข้อ 3. เนื้อหาสาระสำคัญของร่างแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอาญาฉบับนี้ มีดังต่อไปนี้

"ร่างแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอาญาฉบับนี้ เป็นการเพิ่มเติมมาตรา 206 เป็นมาตรา206/1 และมาตรา 206/2 สำหรับมาตรา 206 เป็นมาตราอยู่ในลักษณะ 4 ความผิดเกี่ยวกับศาสนาซึ่งมีบทบัญญัติว่า " ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ แก่วัตถุหรือสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น ต้องระวางดทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือรับตั้งแต่สองพันบาทถีงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในมาตรา206 นี้ กฏหมายบัญญัติไว้เฉพาะมีการกระทำละเมิดต่อวัตถุหรือสถานที่อันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนเท่านั้น มิได้ครอบคลุมถึงการลบหลู่ เหยียดหยามศาสดา และคำสอนของศาสนาที่เป็นที่เคารพของหมู่ชนใดด้วย จึงยังเป็นช่องว่างของกฏหมายที่ทำให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่มไปละเมิดสิทธิของ บุคคลอื่นด้วยการลบหลู่ ดูหมิ่น เหยียดหยาม ศาสนาของหมู่ชนที่เขานับถือศาสนาของตน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง และเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ

และมาตราที่เพิ่มเติม คือ มาตรา 206/1 บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆที่เป็นการลบหลู่หรือเหยียดหยามหรือในประการที่น่าจะทำให้ศาสนาเสื่อมเสีย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทศาสนา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

อนึ่ง รายละเอียดในมาตรานี้ มีสาระสำคัญตรงกันกับ มาตรา 326 การหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา รวมทั้งบทกำหนดโทษที่มีอัตราโทษเท่าเทียมกันกับมาตรา 326

"ส่วนมาตรา 206/2 บัญญัติว่า 'ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทศาสนาได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆแผ่นเสียงหรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพหรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียงหรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น

ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท" และรายละเอียดในมาตรานี้ มีสาระสำคัญตรงกันกับ มาตรา 328 คือการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาทางสื่อต่าง ๆ เช่นเดียวกับการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาด้วยการโฆษณาทางสื่อต่าง ๆ รวมทั้งบทกำหนดโทษที่มีอัตราโทษเท่าเทียมกันกับมาตรา 328 "

ทั้งนี้ ขอเรียนเพิ่มเติมว่า "คณะกรรมการบริหาร รวมถึง คณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรคประชาชาติ ตระหนักถึงความรู้สึกและความเข้าใจของพี่น้องประชาชนทุกศาสนิก ตลอดจน ภาคีและพันธมิตรทางการเมืองที่ร่วมกันต่อสู้เชิงประเด็นต่างๆมาโดยตลอด พร้อมทั้ง ขออภัยที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ อีกทั้ง ขอยืนยันอีกคำรบหนึ่งว่า การต่างๆ ทั้งหมด

เป็นการปกป้องและป้องกันสิ่งที่ไม่บังควรที่เกิดขึ้น หรือ อันอาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างของ 'สังคมพหุวัฒนธรรม' " นาย สุพจน์อาวาส กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...