วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

คณะสงฆ์นางรองบุรีรัมย์ พัฒนาศักยภาพพระสงฆ์แกนนำวัด ส่งเสริมสุขภาพพัฒนาแบบยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 


เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เดือน กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๕  เวลา ๐๙.๐๐-๑๖๓๐ น.  ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมคณะสงฆ์อำเภอนางรอง วัดสิงห์วงศ์ ตำบลหนองไทร อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีพระสงฆ์จากวัดในเขตพื้นที่อำเภอนางรอง จำนวน ๑๐๑ วัด กว่า  ๑๒๐ รูป ประกอบด้วยเจ้าคณะ พระสังฆาธิการ ผู้บริหารกิจการคณะสงฆ์อำเภอนางรอง ได้แก่ เจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบลทุกตำบล รองเจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาสวัด เจ้าสำนักสงฆ์ ประธานหรือหัวหน้าที่พักสงฆ์ ทุกวัด และกองงานเลขานุการคณะสงฆ์อำเภอและเลขานุการเจ้าคณะตำบล  ได้เข้าประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์แกนนำวัดส่งเสริมสุขภาพ 

พระครูปริยัติภัทรคุณ เจ้าคณะอำเภอนางรอง ประธานศูนย์ส่งเสริมศาสนกิจสาธารณสงเคราะห์ อสว.พระคิลานุปัฏฐาก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  คณะสงฆ์ภาค ๑๑  กล่าวว่า สืบเนื่องจากที่คณะสงฆ์อำเภอนางรอง ได้กำหนดแผนการดำเนินศาสนกิจสาธารณสงเคราะห์ ทั้งระยะยาวและระยะเฉพาะกิจกรณีเร่งด่วน นั้น  สำหรับการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์แกนนำวัดส่งเสริมสุขภาพ ในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการเพื่อรองรับแผนระยะยาว ด้วยการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญา เพื่อให้พระภิกษุ สามเณร มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะในการดูแลสุขภาพอนามัยตามหลักพระธรรมวินัย รวมถึงส่งเสริมให้มีบทบาทต่อการดูแลสุขภาพตนเอง ชุมชน สังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและทางสังคม ตลอดจนให้คำแนะนำการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขอนามัย โดยก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างวัดกับชุมชนสามารถให้บริการพระสงฆ์อาพาธภายในวัดและเกื้อกูลพุทธศาสนิกชนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข ตามธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่จัดทำขึ้นภายใต้มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๗/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคมพ.ศ. ๒๕๖๐ มติที่ ๑๙๑/๒๕๖๐ เรื่อง การดำเนินงานพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะที่กำหนดให้ดำเนินการวัดส่งเสริมสุขภาพและธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ เพื่อเป็นกรอบและแนวทางการส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ ทั่วประเทศ ตามหลักการของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ



ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปิยวัฒน์ คงทรัพย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ผู้ประสานงานการจัดกิจกรรม กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีประเด็นสุขภาวะ ที่หลากหลาย ประกอบด้วย การเสวนาพิเศษเรื่อง “พุทธปรัชญาสุขภาวะ” โดย  พระมหาดนัยพัชร์ คมฺภีรปญฺโญ, ดร. รองคณบดีฝ่ายบริหาร บัณฑิตวิทยาลัย  มจร  พระครูศรีปัญญาวิกรม, ผศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มจร นำเปิดประเด็นและขับเคลื่อนการเสวนาโดย พระอาจารย์วิสิทธิ์ ฐิตวิสิทโธ,ผศ.ดร. อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา มจร วิทยาเขตเชียงใหม่และมูลนินิโพธิยาลัย นายธวัชชัย จันจุฬา นักวิชาการ โครงการวัดส่งเสริมสุขภาพ วัดปลอดบุหรี่  สรางความดี สรางสุขภาวะชุมชน (สสส.) นำเสนอแนวทางระดมพลังจัดทำแผนพัฒนา เพื่อขับเคลื่อน “โครงการวัดส่งเสริมสุขภาพ ๑ วัด 


๑ รพ.สต. นายพินิจศักดิ์ ณ รังศรี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ กลุ่มงานประกันสุขภาพ รพ.นางรอง  แลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำสู่การปฏิบัติเพื่อเข้าถึง “บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะและการเข้าถึงการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สําหรับพระภิกษุสามเณร” นายชยุต ชำนาญเนาว์ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำนางรอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแนวปฏิบัติว่าด้วย “พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 กับแนวปฏิบัติตามเกณฑ์วัดปลอดบุหรี่” ปิดท้ายรายการด้วยวิธีปฏิบัติเพื่อทราบ “ขั้นตอน แนวทางการคัดเลือก พระ อสว. และการประเมินผลงาน วัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น ประจำปี 2565 ” โดย นางพักตร์พิไล เตนากุล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย สสจ.บุรีรัมย์ ร่วมกับ นางภัทรานิษฐ์ จริยาโสวรรณ นักวิชาการศาสนาชำนาญการพิเศษ พศจ.บุรีรัมย์ 



กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์แกนนำวัดส่งเสริมสุขภาพ ในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการตามโครงการการพัฒนาสุขภาวะวิถีพุทธของพระสงฆ์ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระดับพื้นที่ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ ผู้สูงอายุและพัฒนาวัด เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพในชุมชนให้เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ และ ROAD MAP แผนยุทธศาสตร์ การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ๒๐ปี (ระยะที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๙) นำไปสู่การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ครอบคลุมทั้งด้านกาย ใจ สติปัญญาและสังคม ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม การเสริมสร้างพลังทางสังคม ที่มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญที่ให้ความสำคัญต่อการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน โดยการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนเป็นพลัง “บวร” ในการร่วมคิดร่วมทำเพื่อส่วนรวมและสนองงานคณะสงฆ์ในการขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาอย่างเต็มศักยภาพ ให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่ว่า พุทธศาสน์สถาพร โลกนิกรนิรทุกข์ สังคมสันติสุข และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนำไปสู่ความมั่นคง ยั่งยืน ของพระพุทธศาสนาสืบไป ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...