วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560
มส.แนะร่วมมือทำแผนยกระดับบัณฑิตวิทยาลัย"มจร"
อธิการบดี"มจร"แนะแนวแผนยกระดับบัณฑิตวิทยาลัย เน้นสร้างความร่วมมือ มุ่งการวิจัยสร้างนวัตกรรมใหม่ ให้สอดรับกับยุคไทยแลนด์ 4.0 พร้อมสนับสนุนทุนนิสิต
วันที่ 16 ธ.ค.2560 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดี มจร เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "จัดทำแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัย 2560-2564" ที่มีพระมหาสมบูรณ์ วุฒิกโร เป็นคณบดี ระหว่างวันที่ 16-17 ธ.ค.2560 พร้อมกับบรรยายเรื่อง "แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัย " โดยกล่าวว่า การทำแผนบัณฑิตวิทยาลัยต้องดูพันธกิจ เป็นหลัก ซึ่งมีการจัดการศึกษาศึกษาต่างจากคณะต่างๆ ในมหาจุฬา ในมหาวิทยาลัยต่างๆนั้น เขาให้บัณฑิตวิทยาลัยควบคุมมาตรฐานของคณะต่างๆ แต่มหาจุฬาฯของเราจัดศึกษาการเอง ซึ่งจริงๆ แล้วบัณฑิตวิทยาลัยต้องทำหน้าที่กำกับคุณภาพการศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัยแต่ละคณะ แต่ปัจจุบันบัณฑิตวิทยากำกับเฉพาะคณะพุทธศาสตร์เท่านั้น ดังนั้น บัณฑิตวิทยาลัยควรมีนโยบายอย่างไร?
"ในการเปิดหลักสูตรบัณฑิตศึกษานั้นควรจัดการศึกษาตนเองด้วยและควบคุมกำกับด้วย สิ่งที่อยากเห็นในแผน 5 ปี คือ ความร่วมมือในการเปิดการศึกษาระดับบัณฑิตของคณะต่างๆ คำถามคือทำไมเราถึงเพิ่งมาทำแผน เราต้องร่วมกับคณะต่างๆ บัณฑิตวิทยาลัยจะต้องไปสัมพันธ์กับทุกคณะและวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติด้วย
นโยบายของมหาจุฬาในการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัยถือว่ามีความสำคัญมาก มหาวิทยาลัยจึงมี 3 ประเภท คือ "ด้านวิจัย ด้านบริการ ด้านท้องถิ่น ส่วนมหาวิทยาลัยด้านการวิจัย จะมีการผลิตนิสิตปริญญาโทเอกเป็นหลักเน้นวิจัย เช่น นิด้า เป็นต้น มหาวิทยาลัยทั่วไป เช่นร าชภัฎมีจัดการศึกษาตามความเป็นท้องถิ่นนั้น ๆ การวิจัย การบริการ การท้องถิ่น มหาจุฬาฯ มีครบทั้ง ด้าน บัณฑิตวิทยาลัยจะต้องเชื่อมไปถึงความเป็นท้องถิ่นนั้นๆ การวิจัย การบริการ เรามีวิทยาลัยเขตทั่วประเทศ จึงต้องจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับท้องถิ่น มหาจุฬาฯ พยายามไม่จัดการศึกษาที่ส่วนกลางเท่านั้น แต่ส่งเสริมด้านภูมิภาค เพื่อไม่ให้พระสงฆ์เข้ามาส่วนกลางมาก เพราะไม่อยากให้ระดับเจ้าอาวาสออกมาจากวัด อยากให้อยู่กับชุมชน มหาจุฬาฯจึงส่งเสริมการศึกษางานคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน" อธิการบดี มจร กล่าวและว่า
มหาจุฬาฯส่วนกลางเราเน้นมหาวิทยาลัยด้านการวิจัย เราเน้นระดับบัณฑิตวิทยาลัย เป็นการผลิตบัณฑิตทั่วโลกมาเรียนที่นี่ คือ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ห้องสมุดจึงสร้างในส่วนนานาชาติ บัณฑิตวิทยาลัยต้องร่วมมือกับสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ เราต้องพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยวิจัย ปริญญาเอกจริงๆ ไม่อยากเปิดในวิทยาเขตเลย ต้องการมีปริญญาเอกในส่วนกลางเพื่อการควบคุมคุณภาพ ปริญญาเอกต้องมาเรียนส่วนกลางเท่านั้น บัณฑิตวิทยาลัยต้องรับผิดชอบ ต่อไปบุคลากรบัณฑิตต้องจบระดับปริญญาเอก อยากจะเห็นบัณฑิตวิทยาลัยผลิตงานวิจัย อยากให้มีวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพ ต้องคุมคุณภาพวิทยานิพนธ์ ชื่อเรื่องต้องผ่านบัณฑิตวิทยาลัยก่อน เพราะการป้องการซ้ำซ้อนเรื่องเดิมๆ เราต้องมีคุณภาพด้านการวิจัย บัณฑิตวิทยาลัยเป็นส่วนด้านวิจัย หน้าที่หลักของบัณฑิตวิทยาลัย คือ การวิจัยของนิสิต จะต้องเชื่อมกับวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาตินำหน้าเราไปไกล
งานวิจัยเราจะต้องสอดรับกับยุคไทยแลนด์ 4.0 คือ มีนวัตกรรม งานวิจัยนิสิตบัณฑิตวิทยาลัยเรามีนวัตกรรมใหม่ๆ งานวิจัยนิสิตเรามีแนวซ้ำๆ เราต้องมีอะไรบุกเบิกใหม่ๆ ในการพัฒนานวัตกรรม มหาจุฬาฯเราทำงานบริการด้านสังคมมาก เช่น บวชเณรภาคฤดูร้อน พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ทำมานานแล้ว ขอให้มีอะไรใหม่ๆ ช่วยกันคิด สินค้าต้องมีอะไรใหม่ๆ ถึงจะน่าสนใจและติดตาม เช่น โทรศัพท์มือถือมีนวัตกรรมใหม่ๆ ผู้คนจึงต้องเปลี่ยนตามนวัตกรรมแต่ละรุ่น พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เรามีนวัตกรรมอะไรบ้าง ? หรือทำแบบเดิมๆ การเรียนอภิธรรมมีนวัตกรรม เช่น มีการเรียนทางไกล วิชากรรมฐานต้องมีนวัตกรรม เรามีงานวิจัยอะไรบ้างที่มีนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัยต้องทำให้เกิดขึ้น
รวมถึงการจัดการบริหารจะใช้เทคโนโลยีอะไรจะช่วยให้สื่อสารกันง่ายขึ้น เข้าใจกัน เราจะทำวิจัยอย่างไรถึงจะได้นวัตกรรมเพื่อการมีการเรียนภาษาอังกฤษภาษาบาลีให้เกิดความสนใจอยากจะเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัยต้องกำกับควบคุมคุณภาพการศึกษามหาจุฬาฯ ในระดับบัณฑิตวิทยาลัย กำกับควบคุมการศึกษาตามแบบมาตรฐาน ทุกคณะต้องให้ความร่วมมือกัน เราอย่าเปิดสาขาเพราะคนอยากเรียนแต่เราต้องมีคุณภาพของหลักสูตร อาจารย์ ด้วย
ส่วนการจัดการศึกษาในบัณฑิตวิทยาลัยนั้น ใจจริงอยากให้กำกับควบคุมมาตรฐานการศึกษา ประสานสัมพันธ์หน่วยงานอื่นให้จัดการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย คณะพุทธศาสตร์ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ต้องจับมือทำงานร่วมกัน แต่ปัจจุบันเรายังไม่สามารถร่วมกันได้ ถ้า 3 ส่วนงานนี้ไม่คุยกันได้จะไม่มีพลัง เพราะต่างคนต่างทำ เพราะเราไม่มีแผนงานร่วมกัน ถือว่าเป็นจุดอ่อนในการจัดการศึกษา ทำอย่างไรจะให้หมุนเวียนไปช่วยกันได้ เรามีวิทยาลัยเขตเยอะแต่ไม่การเคลื่อนย้ายไปช่วยกัน แต่ถ้าดีจริง ต้อง เราต้องมีการเคลื่อนย้ายไปช่วยกัน ปัจจุบันเรากลุ่มใครกลุ่มมันเพราะขาดแผนร่วมกัน บัณฑิตวิทยาต้องดูแล ต้องมีการเชื่อมประสานภาพรวมทั้งหมด ถ้าเกี่ยวกับปริญญาโท-เอกแล้ว
บัณฑิตวิทยาลัยต้องทราบ รวมถึงการทำ Mou กับต่างประเทศ เราต้องประสานงานกันจริงๆ เช่น จีนมาทำ Mou กับมหาจุฬาฯ เพราะจีนเขาไม่มีการรับรองปริญญาด้านศาสนาในจีน จีนยินดีมาร่วมกับเรา แต่เราเองยังไม่มีความเอกภาพด้านการศึกษา จีนมีทรัพยากรเยอะจะสนับสนุนทางการศึกษา
มหาจุฬาเราอาศัยทุนทางสังคม คือ ศรัทธามาตลอดยาวนาน บุคคลต่างๆ มาช่วยกันสอนที่มหาจุฬาฯ พอเรามี พรบ. เราก็พึ่งแต่งบประมาณ โดยงบประมาณมีจำกัดมาก เราต้องให้ทุนทางสังคมเข้ามาช่วย บัณฑิตวิทยาลัยต้องมีทุนทางสังคม มีหน้าที่ในการจัดสรร เรามีทุนวิจัยให้นิสิตในระดับปริญญาโท เอก เราต้องมีทุนเพื่อสร้างนวัตกรรมทางการวิจัย ถ้าทำวิจัยด้านนวัตกรรม เรามีทุนวิจัยให้ เรื่องทุนไม่ใช่เรื่องยาก เราระดมทุนทางสังคมมาสร้างบัณฑิตวิทยาลัย เราสร้างวัตถุมามาก แต่เรายังไปไม่ถึงงานวิจัยหรือการพัฒนาอาจารย์นิสิต
คณบดีบัณฑิตที่มีคุณภาพต้องไม่รองบประมาณจากแผ่นดินเท่านั้น แต่เขามีกองทุนเพื่อการพัฒนานิสิต งานวิจัย และอาจารย์ที่มีคุณภาพ เช่น ในมหาวิทยาลัยของโลกอย่างอ๊อกฟอร์ด ในสหรัฐอเมริกาเขามุ่งสร้างด้านการศึกษา แต่เรามุ่งสร้างวัตถุ ฉะนั้นจะต้อง " ลงทุนและระดมทุน " ให้เป็น ในต่างประเทศไม่รองบประมาณแต่จะระดมทุนเพื่อการพัฒนา มหาจุฬาสร้างตึกสร้างอาคารมากแล้ว ต่อไปเราสร้างคนสร้างงานวิจัยเพื่อความเจริญของมหาวิทยาลัย
"ดังนั้น การทำแผนเราจะติดงบประมาณจึงหยุดเท่านั้น งบประมาณ มี 2 ส่วนคือ งบประมาณจากรัฐสนับสนุน และงบจากการระดมทุนจากส่วนต่าง แต่การระดมทุนที่เข้ามาครอบงำเรา พึงระวัง เราจะต้องบริหารเป็นกลางในเชิงวิชาการ การบริหารต้องมีธรรมาภิบาล ในฐานะมหาวิทยาลัยสงฆ์" พระพรหมบัณฑิต ระบุ
ภาคบ่ายพระราชปริยัติกวี ศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มจร บรรยายเรื่อง " กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ " กล่าวว่า อดีตมหาจุฬาฯ ได้รับฉายาว่ามหาวิทยาลัยเถื่อน เพราะไม่มี พรบ. ปริญญารับรอง ไม่มีการรับรองสถานภาพ เรามีการต่อสู้จนได้รับ พรบ. รับรอง บัณฑิตวิทยาลัยจึงมีการพัฒนาตามลำดับ มหาจุฬาในปัจจุบันมีบุคลากรเป็นจำนวนมากมีตำแหน่งทางวิชาการ "ตำแหน่ง ศ.6 ท่าน ตำแหน่ง รศ.45 ท่าน ตำแหน่ง ผศ 175 ท่าน " ซึ่งจำนวนทรัพยากรบุคคลไม่น่าเป็นห่วง แต่เป็นห่วงด้านคุณภาพมาตรฐาน การสอบวิทยานิพนธ์ต้องมีมาตรฐาน มีความคล้องตัวรวดเร็วในโครงสร้างการบริหาร ด้วยการเน้นเรื่องของวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตวิทยาลัย ต้องมีมาตรฐาน สร้างมาตรฐานในตัวนิสิต อาจารย์ที่ปรึกษา การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์
ยุทธศาสตร์ชาติคือ "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน"เราจะต้องดูยุทธศาสตร์ภาพใหญ่ของชาติด้วย เราจะผลิตบัณฑิตให้เกิด " ศรัทธามั่นคง วิชายอดเยี่ยม จรณะน่าเลื่อมใส " เรารับนิสิตมาจากทุกสาขา เราต้องมีการปูวิชาพื้นฐานเพื่อสร้างความเข้าใจเบื้องต้น หรือ ระดับปริญญาเอกเรียนให้น้อยลงในรายวิชา แต่มุ่งเน้นให้ทำวิทยานิพนธ์ องค์ความรู้จะเกิดจากการทำวิจัย วิทยานิพนธ์ของนิสิตต้องเป็นส่วนหนึ่งของอาจารย์ที่ปรึกษาด้วย เป็นการลดภาระของการอ้างว่าอาจารย์ต้องทำวิจัย บัณฑิตวิทยาลัยต้องมีการวางกรอบการทำวิทยานิพนธ์ คือ 1) ด้านคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา 2)ด้านประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนา 3)ด้านการบูรณาการศาสตร์สมัย วิทยานิพนธ์เรามักจะเป็นแนวเดียวกัน เราจะต้องมีคู่มือในการทำวิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัยต้องสร้างความเป็นมาตรฐาน ชาติเราที่ไปไม่รอดเพราะเราไม่ค่อยกันคิดเอง เรามีแต่ลอกกัน จะเจริญต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำ ลองไปดูวิธีการในการผลิตบัณฑิตในอดีต ที่เมืองพาราณสีไม่มีเรียนรายวิชา ทำไมอาจารย์ที่จบมามีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการยอมรับ เราจะต้องแสดงความเป็นอัตลักษณ์ของบัณฑิตวิทยาลัย ส่วนกลางต้องมีความมาตรฐานทางวิชาการ ขอเป็นกำลังใจให้ท่านคณบดีและบุคลากรบัณฑิตวิทยาลัยทุกท่านในการจัดทำแผนการพัฒนา
..............
(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"
กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น