วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560
นิสิตป.ตรี"มจร"เกือบ2หมื่นปฏิบัตธรรมหวังรู้เท่าทันสื่อ
"มจร"จัดนิสิตป.ตรีเกือบ 2 หมื่นปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐานประจำปีการศึกษา 2560 หวังมีคุณสมบัติ 9 นวลักษณ์ "วิชายอด จรณะเยี่ยม" รู้เท่าทันสังคม-สื่อออนไลน์
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2560 ที่อาคารหอประชุม มวก.48 พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระราชวรมุนี,ดร. (พล อาภากโร ป.ธ.๙) รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มจร ประธานคณะกรรมการโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐาน ได้เป็นประธานเปิดโครงการดังกล่าวประจำปีการศึกษา 2560 ของนิสิตระดับปริญญาตรีในส่วนกลาง ตามระเบียบมหาวิทยาลัยทุกปีการศึกษานิสิตทุกหลักสูตรของมหาวิทยาลัยจะต้องเข้ารับการฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามสถานที่ที่มหาวิทยาลัยกำหนดในพิธีเปิด โดยปีการศึกษานี้มีนิสิตทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 17,694 รูป/คน ระหว่างเดือนธันวาคม 2560 และมกราคม 2561
พระราชวรมุนี ได้ให้โอวาทว่า จัดโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐานดังกล่าว เพื่อพัฒนานิสิตให้รู้วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานที่ถูกต้อง และนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน นำไปใช้และเผยแผ่อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งส่งเสริมและพัฒนานิสิตให้เป็นไปตามอัตลักษณ์บัณฑิต และคุณลักษณ์นิสิตอันพึงประสงค์ หรือ นวลักษณ์ 9 ประการของมหาวิทยาลัย จึงขอให้นิสิตตั้งใจสมกับที่ทุกท่านรอคอยโอกาสนี้มานาน เพื่อให้โอกาสตนเองได้ปฏิบัติสร้างความดี สร้างบารมีพัฒนาจิตใจตนเอง ขอให้ตั้งใจปฏิบัติเพื่อผลให้มีสมาธิ และสติมากยิ่งขึ้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาเล่าเรียน และหากมีบุญกว่านั้นก็เป็นบุญบารมีของแต่ละท่านการเข้ากรรมฐานขอให้ตัดปลิโพธเครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวเหตุกังวล หรือข้อติดข้องเพื่อให้เกิดความปลอดโปร่งพร้อมที่จะเจริญกรรมฐานให้ก้าวหน้าไปได้ดี
การปฏิบัติธรรมติดต่อกัน 10 วัน ทำให้เรามีสติและสัมปชัญญะมากยิ่งขึ้น เพราะเทคโนโลยีเจริญเท่าไร สติสัมปชัญญะต้องคอยไปกำกับดูแล เช่น ไม้ขีดไฟ ปรมาณู โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟนทุกอย่างมีทั้งคุณและโทษอยู่ที่การนำไปใช้ ต้องมีธรรมะคอยกำกับทำดีย่อมได้ดี กรรม เหมือนแรงโน้มถ่วง คนกระโดดตึกก็ต้องตกตึก ทำดีย่อมได้ดี ทุกอย่างมีสองด้าน วิทยาศาสตร์กับศาสนา ต่างมีความสำคัญเหมือนที่ไอน์สไตน์กล่าวไว้ว่า "วิทยาศาสตร์ที่ปราศจากศาสนาคือคนขาพิการศาสนาที่ปราศจากวิทยาศาสตร์คือคนตาบอด" จะเห็นได้ว่าต้องอิงอาศัยกันและกันหากวิทยาศาสตร์ ไม่มีศาสนาก็จะกู่ไม่กลับ ต้องมีศีลธรรมกำกับไม่ให้นำไปใช้ในการทำร้ายมนุษย์ด้วยกันหากศาสนาไม่มีวิทยาศาสตร์มาเป็นพิสูจน์ จะมีความงมงายมากขึ้น
"มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดการศึกษาโดยมีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิต ให้เป็นไปตามคุณลักษณ์บัณฑิตที่พึงประสงค์ และอัตลักษณ์บัณฑิตของมหาวิทยาลัย เรียกว่าจบแล้ว สำเร็จแล้วผลผลิตของมหาวิทยาลัย ต้อง “วิชายอด จรณะเยี่ยม”โดยเฉพาะนวลักษณ์ 9 ประการของมหาวิทยาลัย คือ (1) ปฏิปทาน่าเลื่อมใส (2) ใฝ่รู้ใฝ่คิด (3) ผู้นำด้านจิตและปัญญา (4) มีทักษะด้านภาษา (5) มีศรัทธาอุทิศตน (6) รู้จักเสียสละ (7) รู้เท่าทันสังคม (8) สั่งสมโลกทัศน์ (9) พัฒนานวัตกรรมเชิงพุทธอยากให้นิสิตจำให้ได้นำไปปฏิบัติ นำไปตรวจสอบว่าเราท่านทั้งหลายมีคุณลักษณ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดหรือเปล่าจะได้นำมาตรวจสอบตัวเอง" พระราชวรมุนี กล่าวและว่า
การเข้าฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐาน 10 วันติดต่อกัน แม้จะเป็นการปฏิบัติตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย แต่ก็ถือว่าเป็นโอกาสสำคัญที่ทุกท่านจะได้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐาน ทำบุญสร้างบารมีด้วยตนเองงานกรรมฐานคืองานของท่าน ขอให้ทุกท่าน จงตั้งใจปฏิบัติเพื่อเป็นบุญและเป็นกุศลสำหรับตัวท่านเอง และออกไปเผยแผ่สร้างความมั่นคงให้พระพุทธศาสนาออกไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้พ้นจากความทุกข์ ขอฝากทุกท่านเป็นลูกศิษย์ของพระวิปัสสนาจารย์ขอให้ทุกท่าน เคารพ เชื่อฟัง ตั้งใจ และปฏิบัติตามคำสั่งสอน แนะนำของท่าน ขอให้ทุกท่านจงเป็นผู้มีส่วนในบุญกุศลที่ร่วมกันปฏิบัติกันดีแล้ว จงเป็นปัจจัยเกื้อกูลสนับสนุนให้ทุกท่านได้มีโอกาสเข้าถึงธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยทั่วกัน
ขณะที่พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท, ผศ.ดร. คณบดีคณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้กล่าวรายงานว่า ปีการศึกษา 2560 นี้ มหาวิทยาลัย ได้กำหนดให้ทุกวิทยาเขต วิทยาลัย โครงการขยายห้องเรียน และหน่วยวิทยบริการ จัดโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานพร้อมกันทั่วประเทศตามประกาศของมหาวิทยาลัย (โดยอนุโลม) เฉพาะส่วนกลางกำหนดให้นิสิตปริญญาตรี ทุกคณะ ทุกชั้นปีจำนวนทั้งสิ้น 1782 รูป/คนเข้าฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ระหว่างวันที่ 16-27 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ดังนี้
(1) นิสิตคณะพุทธศาสตร์ เข้าฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ณ สวนเวฬุวัน ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมจำนวน 339 รูป/คน (2) คณะครุศาสตร์ เข้าฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ณศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน ตำบลแคมป์สนอำเภอ เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย จำนวน 414 รูป/คน
(3) คณะมนุษยศาสตร์ เข้าฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน จำนวน 613 รูป/คน (4) คณะสังคมศาสตร์ เข้าฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ณ มหาจุฬาอาศรม ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๔๘๒ รูป/คน และมีแยกปฏิบัติตามสาขาวิชา คือ ( 1) สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ เข้าฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ณ วัดพุน้อย ตำบลชอนม่วง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี(๒) สาขาวิชานิติศาสตร์ณ พุทธอุทยานนครสวรรค์ วัดภัทรสิทธาราม ตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
ในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐาน ครั้งนี้ มีตารางการปฏิบัติประจำวันที่นิสิต จะต้องปฏิบัติร่วมกัน ดังนี้ ภาคเช้า เวลา 04.00-12.00 น. ทำวัตรเช้า /ปฏิบัติ/ฉันภัตตาหารเช้า/ปฏิบัติ/ฉันภัตตาหารเพล ภาคบ่าย เวลา 13.00-17.00 น. แยกกลุ่มปฏิบัติ และสอบอารมณ์กัมมัฏฐาน ภาคเย็นเวลา 18.00-21.00 น. ทำวัตรเย็น/ปฏิบัติ/ฟังบรรยายจากพระวิปัสสนาจารย์/ปฏิบัติ ทั้งนี้ ผู้มีจิตศรัทธาสามารถเดินทางไปร่วมทำบุญกับพระนิสิตทั้งการถวายภัตราหารและน้ำปานะตามสถานที่ดังกล่าว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
โครงสร้างนิยายเรื่อง "สันติที่รัก"
โครงสร้างนิยายเรื่อง "สันติที่รัก" 1. บทนำ เปิดเรื่อง : สันติสุข ชายหนุ่มนักเขียนนิยายธรรมะที่ต้องการค้นหามิติใหม่ของการเล่าเรื่อง...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น