วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560

วิจัย"มจร"พบวิธีปลูกฝังยั้งคิดแก้ทะเลาะวิวาท





วิจัย"มจร"พบวิธีปลูกฝังยั้งคิดแก้ทะเลาะวิวาท สำหรับนักเรียนอาชีวศึกษาตามแนวพุทธ


วันที่ 21 ธ.ค.2560 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า ได้ร่วมสัมมนาประชาวิจารณ์ดุษฏีนิพนธ์ สาขาพระพุทธศาสนาภาคพิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย มจร   ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยการวิจัย  โดมีผศ.ดร.ประพันธ์ ศุภษร ผู้อำนวยการหลักสูตรพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มจร กล่าวเปิด  มีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกคือ ผศ.ดร.วุฒินันท์ กันทะเตียน จากมหาวิทยาลัยมหิดล และผศ.ดร.อุทัย สติมั่น จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นผู้วิจารณ์ และดร.ตวงเพชร สมศรี เป็นผู้ดำเนินรายการ 





การสัมมนาประชาวิจารณ์ดุษฏีนิพนธ์มีประเด็นเรื่องน่าสนใจ 2 เรื่อง คือ 1)เรื่อง "กระบวนการปลูกฝังการยั้งคิดเพื่อแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษาตามแนวพุทธ" โดยพระภิญโญ ตสฺสนาโม นิสิตปริญญาเอก สาขาพระพุทธศาสนา นำเสนอว่า รูปแบบในการแก้ปัญหานักเรียนทะเลาะวิวาท ด้วยการใช้หลักโยนิโสมนสิการในแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษา ผลการวิจัยพบรูปแบบในการแก้ปัญหา 4 ประการ คือ 1)รูปแบบโยนิโสมนสิการ 2)รูปแบบภูมิปัญญาสากลภูมิปัญญาท้องถิ่น 3)รูปแบบการปลูกฝังนักคิดแก้ปัญหา 4)รูปแบบการเรียนรู้ โดยมีการทดลองจริงในวิทยาลัยอาชีวศึกษา ประเด็นนี้จะมีวิธีการยั้งคิดอย่างไร?โดยใช้กระบวนการของโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ออกมาจากภายในของนักศึกษาอาชีวศึกษา



2) เรื่อง "การปฏิบัติธรรมของสตรีในสังคมไทย:การพิจารณาขันธ์ 4" โดย พันตำรวจโทหญิงสุชาดา พระเขียนทอง นิสิตปริญญาเอก สาขาพระพุทธศาสนา นำเสนอว่า เป็นการศึกษาปฏิบัติธรรมของสตรีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และการปฏิบัติธรรมโดยการพิจารณาขันธ์ 5  ของสตรีในสังคมไทย ตามหลักสติปัฏฐาน 4  คือ กาย เวทนา จิต ธรรม โดยการศึกษาการปฏิบัติธรรมของสตรีในสมัยพุทธกาลซึ่งฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าโดยตรง จำนวน 7 คน  เช่น นางสุชาดา เป็นต้น และสตรีในปัจจุบันปฏิบัติหลักสติปัฏฐาน 4  ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติบัติ 3  ประการ คือ มีความเพียร มีความรู้ตัวทั่วพร้อม และมีสติตลอดเวลา มีกระบวนการในการพิจารณาขันธ์ 5  สำหรับสตรีอย่างไร ?



"จากการเข้าร่วมสัมมนารับฟังความเห็นสาธารณะดุษฏีนิพนธ์ (Public Hearing) ทำให้มิติการทำดุษฏีนิพนธ์ เน้นกระบวนการตามหลักของ PDCA จนทำให้งานวิจัยบรรลุเป้าหมายของนิสิต เห็นความเข้มข้นทางวิชาการของนิสิตมหาจุฬา มุ่งสู่ความสำเร็จต้องมีหลักอิทธิบาทธรรม 4  เป็นเครื่องมือสู่ความสำเร็จ คือ " ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา " สิ่งสำคัญคือ ความเพียรอันต่อเนื่อง อย่างเสมอต้นและเสมอปลายในการพัฒนางานวิจัย ต้องอาศัยปรโตโฆสะ เสียงจากครูอาจารย์ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำชี้แนะแนวทางการทำงานวิจัย ให้สมบูรณ์แบบที่สุด" พระปราโมทย์ ระบุ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"พิชิต" ตรวจเยี่ยม "มจร" หารือจัดงานวิสาขบูชานานาชาติ

เมื่อวันที่  9 พฤษภาคม 2567 หลังจากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แบ่งงานรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทั้ง 3 ท่านเป็นที่เรีย...