วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560
แม่ชีทองสุขผู้เบิกบานกับการให้ทาน จากทรัพย์ภายนอกพัฒนาสู่ทรัพย์ภายใน
แม้จะเสร็จสิ้นลงแล้ว สำหรับโครงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนานาชาติถวายเป็นพระราชกุศล ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยมีนิสิตทั้งพระภิกษุ ภิกษุณี สามเณรี แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งชาวไทยและต่างประเทศเข้าร่วมประมาณ 130 รูป/คน ได้รับความเมตตาจาก ดร.สยาดอภัททันตะวิโรจนะ มหาคันถวาจกบัณฑิต มหากัมมัฏฐานาจริยะ สำนักวิปัสสนาวัดงุยเตาอูกัมมัฏฐาน ท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์ เป็นประธานนำฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและแสดงธรรมแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
เป็นโครงการที่เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัย ซึ่งจัดโดยวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติร่วมกับหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ภายใต้การนำของพระหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและผู้อำนวยการหลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา มจร ระหว่างวันที่ 1-15 ธ.ค. 2560 ซึ่งมีผู้สนใจร่วมสนับสนุนอาหาร-น้ำปานะผู้ปฏิบัติธรรมตลอดเวลาในจำนวนนี้มีแม่ชีทองสุข นามเจ็ดสี จากประเทศฮ่องกง รวมอยู่ด้วย
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร ได้ร่วมโครงการด้วย กล่าวถึงบรรยากาศที่แม่ชีทองสุขเดินทางไปถวายภัตราหารและสนับสนุนอาหาร-น้ำปานะผู้ปฏิบัติธรรมเมื่อวันที่ 15 ธ.ค.ซึ่งเป็นวันปิดโครงการพอเพียง ได้ปรารภธรรมผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว Pramote OD Pantapat ความว่า
จาคะเป็นการเสียสละ เป็นการแบ่งปันการให้ การแบ่งปัน หรือการให้เป็นคุณธรรมพื้นฐานที่สมานหมู่ชนให้อยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความสามัคคี ไมตรี และสันติสุข เหมือนอย่างที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “ททมาโน ปิโย โหติ” ซึ่งแปลว่า “ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก” การให้เป็นทั้งมรรคและผลโดยตัวของมันเอง การให้เป็นมรรค เมื่อเป็นกุศโลบายให้คนรู้จักแบ่งปันเป็นผล เมื่อก่อให้เกิดความสำราญบานใจ ขณะกำลังให้หรือครั้งให้ไปแล้ว เมื่อยามอนุสรณ์ถึงก็ก่อให้เกิดความสดชื่นรื่นเย็นในหัวใจที่ตนได้ทำกรรมดีไว้แก่เพื่อมนุษย์ หรือสรรพสัตว์ที่ใดก็ตามที่การให้ยังเป็นสารถที่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ ณ สถานที่นั้น สวรรค์เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงส่วนที่ใด ที่ปราศจากการให้ที่นั้นไซร์ คือนรกบนดิน อารยธรรมของมนุษย์รุ่งเรืองเฟื่องฟูมาถึงทุกวันนี้ เพราะเรายังมีบุคคลผู้เบิกบานกับการให้กระจายกันอยู่ทุกหนทุกแห่ง
การให้เป็นปัจจัยแห่งการฝึกตนและฝึกคนเป็นต้นว่าการให้เพื่อสงเคราะห์ในยามยากทำให้เราได้บำเพ็ญเมตตาธรรม ต่อเพื่อมนุษย์ การให้แก่ผู้ด้อยโอกาสทำให้เราได้ถมช่องว่างทางสังคมให้เต็ม การให้แก่คนรู้จักมักคุ้นทำให้เราได้เชื่อมสัมพันธไมตรีการให้คืนแก่สังคมของนักธุรกิจทำให้เขาได้มีส่วนร่วม ในการรับผิดชอบต่อสังคมการให้ของนักบวชเป็นการป้องกันการสะสมเกินจำเป็น การให้ของปัจเจกบุคคลเป็นการฝึกกำจัดความละโมบโลภมากแต่หัวใจสำคัญที่สุดของการให้ก็คือ การกำจัด ความยึดติดถือมั่นใน “อัตตา” หรือตัวฉันของฉันกล่าวสั้นที่สุดการให้อย่างไม่มีตัวฉัน คือ สาระสำคัญของการให้เมื่อมนุษย์เรียนรู้ที่จะเป็นผู้ให้โลกจะกลายเป็นดินแดนสุขาวดีทรัพยากรจะยังพอมีสำหรับอนุชนที่กำลังจะตามมาในวันพรุ่งนี้
จึงขออนุโมทนาบุญกับคุณแม่ชีทองสุข นามเจ็ดสี จากฮ่องกง ทราบข่าวการปฏิบัติธรรมของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดโดยวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม จึงเกิดศรัทธา น้อมบริจาคปัจจัยจำนวน 20,000 บาท เพื่อการสนับสนุนโครงการเป็นค่าอาหาร น้ำปานะ ค่าน้ำ ค่าไฟ ขอบุญกุศลอันเกิดจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของคณะผู้ปฏิบัติธรรมตั้งแต่วันแรกจนถึงสิ้นสุดโครงการ ขอบุญรักษา เทวดาคุ้มครองตลอดไป สาธุ...
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ ๗. วรรคที่ ๗ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย เถรคาถา เอกกนิบาต
วิเคราะห์ ๗. วรรคที่ ๗ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย เถรคาถา เอกกนิบาต: ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พระไตรปิฎก...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น