"มจร"ติวเข็มพระวิทยากรยุค4.0 แนะยึดพระพุทธเจ้าเป็นต้นแบบ เน้นกิจกรรมมากกว่าการสอน เปลี่ยนจากสอนหนังสือเป็นสอนชีวิต
ระหว่างวันที่ 24-27 ธ.ค.2560 มีการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนาผู้อำนวยการเรียนรู้วิถีพุทธ (Learning Facilitator) ตามโครงการพัฒนาสมรรถนะพระสอนศีลธรรมระดับเชี่ยวชาญ ซึ่งจัดโดยสำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ร่วมกับสถาบันอาศรมศิลป์ และโรงเรียนรุ่งอรุณ เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งจัดการเรียนรู้มากกว่าการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย "ครูยุคใหม่ไม่เน้นการสอน แต่เน้นจัดการเรียนรู้" ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการเข้าอบรมในครั้งนี้
โดยวันที่ 26 ธ.ค.นี้ พระศรีธรรมภาณี ดร. ผู้อำนวยการสำนักงานครูพระสอนศีลธรรม มจร ได้ร่วมแบ่งปัน "การร่วมเรียนรู้กับเด็ก" ความว่า เราจะต้องเรียนรู้กับเด็กจากสภาพจริง เด็กเขามีการเรียนรู้อย่างเร็วในยุคปัจจุบัน ครูต้องต้องปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน
จากนั้นพระมหานพดล ธัมมานันโท นักวิชาการการศึกษา สำนักงานครูพระสอนศีลธรรม มจร ได้ชวนแบ่งปันประเด็น "จุดพลิกของเราในการสอน" คืออะไร ซึ่งพระปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร วิทยากรกระบวนการธรรมะโอดี ได้ระบุว่า จุดของธรรมะโอดี คือ "พลิกเพราะครู พลิกเพราะสถานการณ์ และพลิกเพราะองค์ความรู้ใหม่" การมีครูเป็นแรงบันดาลใจจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการสอนให้มีส่วนร่วมในการเกิดการเรียนรู้ ผู้สอนต้อง "ลงจากบัลลังก์" มาร่วมเรียนรู้กับผู้เรียน ให้เขาเปลี่ยนชีวิตด้วยตัวเขาเอง อย่าเน้นบังคับให้เปลี่ยนแปลง
เรียนรู้ด้านการอภิวัฒน์การสอนพระพุทธศาสนาของครูพระสอนศีลธรรม เปลี่ยนวิธีการจากสอนหนังสือเป็นสอนคนให้เป็น ในฐานะครูพระสอนศีลธรรมระดับเชี่ยวชาญ ต้องยึดคำกล่าวว่า " จิตวิญญาณความเป็นพระสูงกว่าจิตวิญญาณของความเป็นครู " เมื่อจิตวิญญาณของความเป็นพระไม่มี จะทำให้จิตวิญญาณความเป็นครูหายไป อย่ามีแต่จิตวิญญาณความเป็นครู เราต้องฝึกถอดบทเรียนบ่อยๆ เราจะเห็นความบกพร่องของตนเอง และจุดเด่นของตนเองมากขึ้น สถานที่ถอดบทเรียนต้องสัปปายะผ่อนคลาย เราต้องฝึกข้อความที่ส่งผลให่เกิดการพัฒนา
ทำไมเราต้องอภิวัฒน์การสอนของพระสอนศีลธรรม เป็นการแลกเปลี่ยนเป็นการสอนแบบ Active learning ซึ่งการสอนจากบุคคลภายนอกมอง คือ " ธรรมะสะอาด ฉลาดประยุกต์ สนุกมีสาระ ตลกคาเฟ่ " พระสอนศีลธรรมเชี่ยวชาญจึงควรใช้ "ฉลาดประยุกต์ สนุกมีสาระ" เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางพัฒนาไปถึงคุณค่าแท้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน ทุกวันนี้ท่านจัดการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาอย่างไร? เน้นสาระวิชาเป็นตัวตั้ง และเน้นผู้เรียนเป็นตัวตั้ง เราต้องไม่เป็น " เผด็จการในการสอน " สั่งให้เด็กทำนั่นนี่ ใช้อำนาจให้ห้องเรียน คำถามเราจะสอนพระพุทธศาสนาอย่างไรให้มีความสุข เราต้องออกแบบการสอนให้ผู้เรียนมีความสุข นโยบายการสอน " เราอย่าทอดทิ้งเด็กไว้ข้างหลัง " ถ้าเราเน้นผู้เรียนเป็นตัวตั้ง เราต้องเป็นนักจินตนาการออกแบบการสอนสร้างความคิดสร้างสรรค์
ครูยุคใหม่ไม่เน้นการสอนแต่เน้นจัดการเรียนรู้ ต้นแบบของนักสอน Active learning คือ พระพุทธเจ้าสอนผ่านประสบการณ์ตรง เช่น กรณีนางกีสาโคตมีถือว่าเป็นการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง ครูยุคใหม่ต้องมี Mindset หรือ วิธีคิด ด้วยการไม่เน้นสอนแต่เน้นจัดการเรียนรู้ทักษะและความรู้ที่จำเป็นActive learning ทำไมพระพุทธเจ้าไม่ใช้เทคนิคการสอนแบบบรรยายเพราะนางกีสาโคตมียังมีความทุกข์ พระพุทธเจ้าจึงออกแบบการสอนด้วยการเป็นโค้ชนางกีสาโคตมี ถามว่าเวลาเราไปสอนเราจึงต้องออกแบบ กระบวนการโครงงานคุณธรรมถือว่าเป็น Active learning เน้นลงมือการปฏิบัติ บทบาทของพระพุทธเจ้าในการสอนนางกีสาโคตมี พระพุทธเจ้ามีบทบาท 20% ส่วนนางกีสาโคตมีเรียนรู้ 810% ผู้สอนต้อง " พูดให้น้อย เรียนรู้ให้มาก " พระพุทธเจ้าสอนไตรลักษณ์นางกีสาโคตมี จึงมีการบูรณาการเป็นหลักปฏิบัติ 5 ประการ คือ " ปฏิเสธความจริง ประวิงเวลา โทษเทวดาฟ้าดิน ถวิลหาร่ำไห้ ทำใจยอมรับ "
"ดังนั้น ทำอย่างไรให้เด็กไทยหัวใจพุทธ เราจะต้องสอน 1) ให้ความรู้ คือ สุตมยปัญญา 2) ให้ความเข้าใจพัฒนาควมมคิด คือ จินตามยปัญญา 3)ให้ถึงคุณค่าแก่นแท้ คือ ภาวนามยปัญญญา ด้วยการลงมือปฏิบัติ ถือว่าเป็น Active learning หรือ AL จึงต้องออกแบบการสอนให้เด็กไทยหัวใจพุทธ ผู้สอนจะต้องมีการออกแบบการสอนแบบลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นเจ้าของการเรียนรู้" วิทยากรกระบวนการธรรมะโอดี ระบุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น