วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560
แนะนำวิปัสสนาเสริมครูพระสอนธรรมศึกษาทั่วไทย
พระศรีธรรมภาณี แนะนำวิปัสสนาเสริมครูพระสอนศีลธรรม"มจร" สอนธรรมศึกษาทั่วประเทศ สนองนโยบายรัฐกับคณะสงฆ์ มุ่งพัฒนานวัตกรรมการสอนวิชาพระพุทธศาสนาสร้างตระหนักรู้ เครือข่าย ขยายความรู้ สร้างครูผู้เชี่ยวชาญ บริหารอย่างมืออาชีพ
วันที่ 27 ธ.ค.2560 พระศรีธรรมภาณี ดร. ผู้อำนวยการสำนักงานครูพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เป็นประธานปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนาผู้อำนวยการเรียนรู้วิถีพุทธ (Learning Facilitator) ตามโครงการพัฒนาสมรรถนะพระสอนศีลธรรมระดับเชี่ยวชาญระหว่างวันที่ 24-27 ธ.ค.2560 ที่ร่วมกับสถาบันอาศรมศิลป์ และโรงเรียนรุ่งอรุณ เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งจัดการเรียนรู้มากกว่าการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย "ครูยุคใหม่ไม่เน้นการสอน แต่เน้นจัดการเรียนรู้" ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการเข้าอบรมในครั้งนี้
ในโอกาสนี้พระศรีธรรมภาณี ได้กล่าวว่า ในฐานะเป็นผู้บริหารพระสอนศีลธรรมแสดงความยินดีกับทุกรูป ในการผ่านการพัฒนาตนในหลักสูตรผู้อำนวยการเรียนรู้วิถีพุทธ เรามีหลักสูตรแรกรับพระสอนศีลธรรมคือ 1) มีหลักสูตรการจัดการเรียนรู้(Active learning-AL) 2) มีหลักสูตรประกาศนียบัตรพระสอนศีลธรรม 3) มีหลักสูตรพัฒนาในอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาพระให้ออกไปทำงาน อดีตเรารู้เฉพาะแผนการสอน นำเสนอบุคคลที่สอนเกิดความสำเร็จ มาถึงปัจจุบันเรามีการพัฒนาหลักสูตร โดยเฉพาะหลักสูตร ALโดยมีพระมหานพดล ธัมมานันโท นักวิชาการการศึกษา สำนักงานครูพระสอนศีลธรรม มจร เป็นผู้ประสานงาน ดำเนินการ ถือว่าเป็นผู้มีประสบการณ์มากในการสอนมารับงานนี้
หลักสูตรนี้จะใช้พัฒนาครูพระทั่วประเทศ มีการทดลองหลักสูตรที่วัดพุน้อย จังหวัดลพบุรี เมื่อผ่านการทดลองจึงนำมาพัฒนาในปัจจุบันนี้ เราจะต้องไปพัฒนาพระสอนศีลธรรม 4 ภูมิภาค และออกประเมินผลพระศีลธรรม 4 ภูมิภาค ประเมินโรงเรียนวิถีพุทธทั่วประเทศ โครงการนี้มีเป้าหมายชัดเจนมีพันธกิจ 4 ประการ คือ " สร้างเครือข่าย ขยายองค์ความรู้ สร้างครูผู้เชี่ยวชาญ บริหารอย่างมืออาชีพ " เราทำงานเผยแผ่ธรรมต้องมีเครือข่ายจึงจะสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีพลัง ช่วยกันขยายความรู้สร้างกิจกรรมการเรียนรู้
ภารกิจสำคัญของสำนักงานครูพระสอนศีลธรรม คือ " สอนสาระการเรียนพระพุทธศาสนา อบรมศีลธรรมจรรยา สอนธรรมศึกษา ร่วมกันพัฒนาวิถีพุทธ " ครูพระสอนพระพุทธศาสนาจะต้องสอนแบบ AL การสอนธรรมศึกษาเป็นประเด็นร้อนว่า " สอบธรรมศึกษาเพื่ออะไร "ธรรมศึกษาเป็นของดีแต่กระบวนการเรียนรู้เรายังไม่ชัด ปัจจุบันมีการทำหลักสูตรแบบบูรณาการธรรมศึกษาตรี พันธกรณียกิจซึ่งเป็นคำมั่นสัญญาระหว่างรัฐกับคณะสงฆ์ สะท้อนให้เด็กมีศีลธรรมต้องมีการสะท้อน เหมือนการสร้างอาคารสิ่งสะท้อนมาคือได้วัตถุ ใช้ประโยชน์
รัฐลงทุนให้เราสอนศีลธรรมคนในประเทศ ถามว่าทำอย่างไรเราจะทำให้คุ้มค่าที่สุด สิ่งสะท้อนอะไรจากการลงทุนของการสอนศีลธรรม ตัวผู้เรียนคือ สิ่งสะท้อนด้านพฤติกรรม สิ่งสะท้อนจากการรับประทานอาหารผ่านกระบวนการต่าง รัฐบาลหวังว่าเด็กจะมีพฤติกรรมที่ดี ถือว่าเป็นสิ่งสะท้อน รัฐนิมนต์ให้เราไปพัฒนาด้านจิตใจของเด็กเยาวชน
พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) อธิการบดี มจร เคยกล่าวไว้ว่า การสอนจะสำเร็จจะต้อง K-A-P ประกอบด้วย K หมายถึง ความรู้ผ่านกระดานดำ ความรู้ที่ไม่ใช่ทำข้อสอบได้ รู้บาปบุณคุณโทษ คือ สัมมาทิฐิ ในอริยมรรคมีองค์ 8 เน้นเรื่องกรรมการกระทำ เป็นกระบวนการการเรียนการสอนของบาปบุญคุณโทษ คิดให้เป็นเห็นให้ทะลุ กิน อยู่ ดู ฟัง เป็นอย่างมีสติ A หมายถึง สอนให้เข้าถึงจิตใจ มีความศรัทธา สอนให้เข้าถึงว่าพ่อแม่มีพระคุณ ปรับเปลี่ยนทัศนคติของตนเอง และ P คือ อยากจะทำ อยากจะปฏิบัติ น้อมนำไปปฏิบัติ
"ดังนั้น ให้เรานึกถึงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พระวิปัสสนาเป็นเพียงผู้อำนวยการเรียนรู้ แต่ให้ผู้ปฏิบัติฝึกเรียนรู้ด้วยตนเอง วิชากรรมฐานที่ติดในใจของนิสิต โดยมีเกรด A ติดภายในใจของเรา เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอด เราโดนฝึกมาให้เรียนเพื่อสอบ เรียนแบบขนมชั้น เราจะต้องเอาความเก่งของทุกรูปมาช่วยกันทำงานขับเคลื่อนอย่างมีพลัง งานของเราในการขับเคลื่อนเป็นที่ท้าทายที่สุด เราทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาไม่มีคำว่าอดตาย แต่ขอให้จริงใจกับพระพุทธศาสนาเท่านั้น ด้วยการมาช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงขออนุโมทนากับ รศ.ประภาภัทร นิยม อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์และผู้ก่อตั้งโรงเรียนรุ่งอรุณ และทีมงานในการสร้างกระบวนพัฒนาในการสอนแบบ AL เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้าเป็นกระบวนการที่ดีที่สุด" พระศรีธรรมภาณี กล่าว
................
(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท วิทยากรกระบวนการธรรมะโอดี)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"
กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น