วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

แม่ชีศันสนีย์รักษามะเร็งตามวิถีพระพุทธเจ้า




แม่ชีศันสนีย์รักษามะเร็งทางแพทย์-ธรรมชาติบำบัด  ตามวิถีพระพุทธเจ้า เชื่อจะสามารถฟื้นฟูกลับมาตามปกติ



วันที่ 29 พ.ย.แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต แห่งเสถียรธรรมสถาน  ได้กล่าวถึงอาการป่วยโรคมะเร็งโดยมีพิธีกรคือ "อุ๊"ช่อผกา วิริยานนท์ "ปอย"ตรีชฎา เพชรรัตน์ "บุ๋ม"รัญญา ศิยานนท์ "ต่าย"สายธาร นิยมการณ์ และ"ออม" สุชาว์ สุชาร์ มานะยิ่ง  ในการแถลงโครงการ “70 ปี 70 ล้านความดี อนุสาวรีย์มีชีวิตถวายพ่อ”
สนับสนุนการทำงาน #สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.



แม่ชีศันสนีย์ กล่าวว่า ได้ทราบว่าเป็นโรคมะเร็งตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.2560 ที่กระเพาะอาหาร หลังจากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการรักษาทั้งทางแพทย์และธรรมชาติบำบัดด้วยสมาธิภาวนา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาตามแนวพระพุทธเจ้าสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมูตรเน่า จนทำให้เชื้อมะเร็งเหลือเพียง 3 เซนติเมตร ซึ่งแพทย์ได้แนะนำว่าผ่าตัดไม่ได้เพราะเกรงว่าจะกระจาย  โดยได้นอนติดเตียงเป็นเพียง 1 อาทิตย์ หลังจากนั้นก็ทำงานตามปกติ และเชื่อว่าจะสามารถฟื้นฟูกลับตามปกติได้ ดังนั้นจึงขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วยโรคนี้ และจะเป็นบทเรียนสำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้ เชื่อว่าจะเป็นนวัตกรรมออกมา



ก่อนหน้านี้เฟซบุ๊เสถียรธรรมสถาน Sathira Dhammasathanได้โพสต์ว่า



"ที่ความเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่เรา ‘ปฏิเสธไม่ได้’
แต่เราเลือกที่จะ ‘ไม่ทุกข์’
เพราะมันได้
...
แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต"




วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

"แม่ชีศันสนีย์"เตรียมแถลงป่วยโรคมะเร็ง


วันที่ 28 พ.ย.2560 เฟซบุ๊ก เสถียรธรรมสถาน Sathira Dhammasathan ได้โพสต์ว่า เสถียรธรรมสถาน ขอเรียนเชิญทุกท่าน ลูกหลานของคุณยายจ๋ามาร่วมฟัง แถลงข่าว อาการป่วยของท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต พร้อมให้กำลังใจคุณยายจ๋า รวมถึงสอบถามการเจ็บป่วยจากโรคมะเร็ง ตามข่าวนะเจ้าคะ วันพรุ่งนี้ (29 พ.ย.) เวลา 13.00 น.ณ เสถียรธรรมสถาน"



ทั้งนี้ "หนิง ปณิตา" นักแสดงมากความสามารถและผู้จัดละคร  โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า  "เห็นรอยยิ้มและแววตาของยายจ๋าในภาพนี้มั้ย???? ในขณะที่ยายกำลังยิ้มและเมตตาทุกๆคนที่ได้เข้าไปในบ้านเสถียรธรรมสถาน จะมีใครรู้มั้ยว่ายายทำงานหนักมากแค่ไหน หนิงเองก้อเช่นกัน ถ้าไม่ได้เข้าไปบวชก้อไม่เคยรู้ สิ่งที่ยายทำก้อเพื่อเมตตาคนที่อยากเข้าไปปลดทุกข์ ……..แววตาและรอยยิ้มนี้ ใครจะรู้บ้างว่ายายท่านกำลังป่วย …….. หนิงทราบแต่ไม่ทราบโดยรายละเอียดเพราะเกรงใจไม่กล้าถาม หนิงได้บอกยายในวันนั้นที่ทราบว่า ยายจ๋ายายต้องพักผ่อนมากๆนะเจ้าคะ ……. ยายท่านตอบหนิงว่า ชั้นจะยังไม่ตาย ลูกหลานมีอีกมากที่ชั้นยังเป็นห่วง……….วันนี้ได้รู้ว่าอาการของท่านเป็นมะเร็งในระยะลุกลาม น้ำตาไหล หนิงกับณิรินขอเป็นกำลังใจให้คุณยายจ๋า หายป่วยไวๆ นะคะ ขอให้ยายหายจากโรคร้าย เพื่อยายจะได้สร้างสิ่งดีๆ ธรรมะดีๆ ให้กับพวกเราไปนานๆ รักคุณยายที่สุด”



“พรุ่งนี้จะมีแถลงข่าว 13.00 น.ที่เสถียรธรรมสถาน อยากให้พวกเราลูกหลานไปให้กำลังใจคุณยายเยอะๆ นะคะ”

..............................
(หมายเหตุ :

ต้องการให้ดูแลสุขภาพผ่านอาหารเสริมของบริษัท http://www.bhipthailand.co.th/ โดยมี"ฟลุค เกริกพล มัสยวาณิชเป็นผู้บริหาร (“รวยได้ แค่ใช้เงินเป็น” เคล็ดลับพารวยของ “ฟลุค เกริกพล”!! https://www.youtube.com/watch?v=7QkOJV8u7cc) สามารถติดต่อผ่านทางอินบล็อก FB-Samran Sompong  อีเมล off_38@hotmail.com หรือโทร.0815583865)

เจ้าชายแฮร์รีจะทรงเข้าพิธีเสกสมรสต้นปีหน้า



สำนักงานของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ประกาศ เจ้าชายแฮร์รี จะทรงเข้าพิธีเสกสมรสกับ น.ส.เมแกน มาร์เคิล นักแสดงสาวชาวอเมริกัน คาดในฤดูใบไม้ผลิช่วงต้นปีหน้า



วันที่ 27 พ.ย.2560 แคลเรนซ์เฮาส์ สำนักงานของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ประกาศว่า เจ้าชายแฮร์รี จะทรงเข้าพิธีเสกสมรสกับ น.ส.เมแกน มาร์เคิล นักแสดงสาวชาวอเมริกัน หลังจากคบหากันมาตั้งแต่ ปี 2016 และหมั้นหมายกันเมื่อต้นเดือน พ.ย.นี้  ทั้งนี้เจ้าชายแฮร์รี ทรงจูงมือแฟนสาวออกที่สาธารณะครั้งแรก



ทั้งนี้เฟซบุ๊ก  Prince Harry ได้แชร์ลิงก์เผยแพร่การประกาศดังกล่าว พร้อมกันนี้ได้แชร์ลิงก์ข่าวที่เสด็จออกงานพร้อมกัน



อย่างได้ก็ตามเฟซบุ๊กบีบีซีไทยได้แจ้งว่า พิธีเสกสมรสจะมีขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ ช่วงต้นปีหน้า จากนั้นทั้งคู่จะพำนักที่ น็อตติงแฮม คอตเทจ ภายในพระตำนักเคนซิงตัน ในกรุงลอนดอน

............

(หมายเหตุ : ที่มา https://www.thecrownchronicles.co.uk/royal-news/breaking-prince-harry-meghan-markle-engaged/)

จาก’เด็กวัด’…ใจสู้!! สู่นักธุรกิจ 7 พันล้าน!!


หลายคนคงเคยเห็นหรือเคยเป็นลูกค้าของ “J.I.B. Computer” ร้านขายอุปกรณ์ไอทีชื่อดังที่มีสาขาอยู่ในแทบทุกห้างฯ ทั่วประเทศส่วนใหญ่ คงคิดว่าน่าจะเป็นร้านของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ หรือไม่ก็เป็นของบริษัทข้ามชาติ แต่ความจริงนั้น ร้านนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากเด็กใต้ฐานะยากจน ที่ตรากตรำเรียนหนังสือและทำงานสารพัด จนก้าวข้ามความจนในวัยเด็ก กลายมาเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีรายได้ 7 พันล้านบาทต่อปี



“สมยศ เชาวลิต” หรือ จิ๊บ (JIB) เจ้าของบริษัท เจ.ไอ.บี.คอมพิวเตอร์ กรุ๊ป จำกัด เล่าย้อนถึงช่วงชีวิตในวัยเด็กว่า เขาเกิดมาในครอบครัวยากจน ที่อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช พ่อแม่แยกทางกันตั้งแต่อยู่ ป.4 พ่อแต่งงานใหม่ส่วนเขาอยู่กับแม่ที่ทำงานรับจ้างทั่วไปเพื่อหาเงินมาเลี้ยงลูก 4 คน ด้วยความที่เขาเป็นพี่ชายคนโต เมื่อเริ่มที่จะมีกำลังแรงพอก็ออกไปช่วยแม่ทำงาน ทั้งรับจ้างปลอกมะพร้าว รับจ้างไถนา และอีกสารพัดเพื่อหาเงินมาช่วยแบ่งเบาลดภาระแม่ทำให้ชีวิตในวัยเด็กแทบจะไม่ได้เล่นสนุกเหมือนกันคนอื่นทั่วไป



หลังจากเรียนจบชั้น ป.6 สมยศก็ได้บวชภาคฤดูร้อน โดยคิดว่าจะบวชแค่ช่วงสั้นๆ แต่ด้วยความซึ้งในรสพระธรรม และได้ถูกชักชวนจากพระผู้ใหญ่ที่เป็นตาแท้ๆ ให้มาอยู่ในกรุงเทพฯ เขาจึงตัดสินใจอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ต่ออีก 2 ปี จนได้ฟังพระพะยอมเทศน์ทางวิทยุ ว่า..

“บางคนมาบวช แต่พ่อแม่ยังลำบากอยู่เลย แต่ตัวเองกลับมาอาศัยผ้าเหลืองกิน ถ้าไปช่วยพ่อแม่จะได้บุญกว่าบวชอีก”พอได้ฟังแล้วสมยศ ก็ตัดสินใจลาสิกขาออกมา แล้วกลับบ้านไปช่วยแม่ทำงานอีกครั้ง  เมื่อกลับบ้านมาอยู่กับแม่แล้ว เขาก็ได้ช่วยแม่ทำงานอยู่ตลอด จนมีความคิดที่อยากจะกลับไปเรียนอีกครั้ง เพราะตอนนั้นเขามีวุฒิ กศน. แค่ ชั้นม.3 ซึ่งความรู้ก็ไม่ได้มีมากนัก เขาจึงกลับเข้ามาที่กรุงเทพฯ อีกครั้งโดยมาอาศัยอยู่ที่วัดเดิมที่เคยบวช แล้วเข้าเรียนต่อมัธยมปลายที่โรงเรียนสวนอนันต์

ในช่วงที่เป็นเด็กวัดอยู่นั้น เขาก็ถูกรังแกอยู่บ่อยครั้ง จนต้องไปฝึกเรียนป้องกันตัวกับเพื่อนๆ เด็กวัดด้วยกันที่เป็นนักมวย จนทางเจ้าของค่ายมวยเห็นว่าหน่วยก้านดี จึงติดต่อให้ไปขึ้นสังเวียน โดยใช้ช่วงเวลาหลังเรียนไปฝึกซ้อมเก็บหอมรอมริบเงินที่ได้จากการชกมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน จนกระทั่งเรียนจบม.ปลายก็เลิกชก

สมยศ ได้พบกับเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต!! เมื่อเขาได้ลองหยิบหนังสือคอมพิวเตอร์ของเพื่อนที่อยู่ในวัดด้วยกันมาอ่าน จนรู้สึกสนใจคอมพิวเตอร์อย่างมาก จึงตัดสินใจเข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยอาชีวะธนบุรี ด้านคอมพิวเตอร์ พอเรียนไปเรียนมาเขาก็ยิ่งรู้สึกหลงรักกับวิชาแขนงนี้ จนสามารถเรียนจบด้วยเกรดเฉลี่ย 3.90 จากนั้นธนาคารไทยพาณิชย์ก็รับเข้าทำงานทันที โดยคัดเลือกจากเด็กเรียนดีในหลายๆ วิทยาลัย



ในปี 2538 สมยศเริ่มต้นทำงานธนาคาร โดยเป็นพนักงานด้านนิติกรรมฝ่ายสินเชื่อ แต่ด้วยความที่จบด้านคอมพิวเตอร์มา จึงทำให้มีเพื่อนๆ ในสำนักงานคอยมาปรึกษาเรื่องคอมฯ อยู่บ่อยครั้ง รวมทั้งคอยพาไปซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่พันธุ์ทิพย์พลาซ่าอยู่ตลอด เขาจึงเห็นลู่ทางทำเงิน โดยที่จะคิดเงินเพิ่มจากราคาปกติ แต่เขาจะไปเลือกซื้อให้เอง พร้อมมีเซอร์วิสดูแลอุปกรณ์และซอฟท์แวร์ 1 ปี เรียกได้ว่าทำตัวกลายๆ เป็นร้านขายคอมฯ ควบคู่ไปกับงานธนาคาร จนมีคนมาติดต่อมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เขาตัดสินใจทิ้งชีวิตพนักงานธนาคารแล้วหันมาเปิดร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นของตัวเอง

ช่วงก่อนหน้าเปิดร้าน สมยศได้ไปฝึกงานเป็นพนักงานขายกับร้านคอมของรุ่นพี่ที่รู้จัก อยู่ร่วมเดือน ช่วงนั้นก็เก็บเอากล่องคอมที่ขายไปมาสะสมไว้ จนได้มาเปิดร้าน “J.I.B. Computer” สาขาแรกเปิดที่ห้างฯ เซียร์รังสิต ในปี 2544 โดยเป็นร้านเล็กๆ และเขาได้เอากล่องเหล่านั้นมาตั้งโชว์ไว้หน้าร้านทำให้ดูเหมือนว่าเปิดร้านใหม่แต่มีของเยอะ เพื่อเรียกความสนใจจากลูกค้า

“ร้านเราเป็นร้านเล็กๆ จึงต้องใช้กลยุทธ์มัดใจลูกค้า ด้วยการเข้าไปพูดคุยด้วยตัวเอง คอยสอบถามรายละเอียดเลยว่าเขาต้องการสเปคเครื่องแบบไหน การใช้งานแบบใดแนะนำตัวสินค้าหรือสิ่งที่เหมาะสำหรับเขา มากกว่ายัดเยียดไปว่า เครื่องนี้ราคา 3 หมื่น หรือ 2 หมื่น ซื้อไปเลย” สมยศ กล่าวเสริม

นอกจากเรื่องของการพุดคุยกับลูกค้าแล้ว การบริการหลังการขายก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญโดยเฉพาะสินค้าไอทีที่บางครั้งก็เสียง่าย เวลามีลูกค้านำเครื่องมาซ่อม สมยศก็จะบอกพนักงานทุกคนว่า ให้รีบเข้าไปดูแลแก้ไข แล้วพูดคุยให้เขาสึกดีขึ้น ด้วยเทคนิคเหล่านี้เองทำให้ร้านขยายสาขาที่ 2 ได้ ในเวลาเพียง 3 เดือน จากนั้นธุรกิจก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง


อีกหนึ่งจุดเด่นของร้าน J.I.B. Computer ที่เหล่านักเล่นคอมและเกมเมอร์รู้จักดี คือเรื่องของ “คอมประกอบ” ที่ทางร้านจะขายแยกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น เคสคอม, เมนบอร์ด, CPU,RAM การ์ดจอ เป็นต้น โดยลูกค้าสามารถนำไปประกอบเองได้หรือให้ทางร้านทำให้ ปัจจุบันร้านมีทั้งหมด 140 สาขาทั่วประเทศ ซึ่งแต่ละแห่งก็จะมีคาแรคเตอร์ต่างกันไป เช่น สาขาสำหรับนักเล่นเกม, สำหรับคนทั่วไป พร้อมแตกแบรนด์ลูก “mine” และ “mine Xtreme” ร้านจำหน่ายสินค้าไอทีไลฟ์สไตล์ระดับพรีเมียม เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ

สมยศ อาศัยประสบการณ์จากการที่เคยทำงานธนาคารมาก่อน มาประยุกต์ใช้กับการบริหารสาขาแต่ละแห่ง รวมไปถึงเรื่องการบริหารสต็อกสินค้าซึ่งเป็นอุปกณ์ไอทีที่การออกรุ่นใหม่ๆ อยู่แทบทุกเดือนจากกลยุทธ์ธุรกิจและความโดดเด่นเหล่านั้น ทำให้ JIB สามารถสร้างรายได้มากกว่า 7 พันล้านในปี 2559 ที่ผ่านมา มาจากคอมพิวเตอร์ประกอบ 50% โน้ตบุ๊ก 30% และสินค้าไอทีอื่นๆ 20%


“ถ้าเราชอบอะไรแล้วพอที่จะเป็นธุรกิจได้ ก็ให้ศึกษามันเต็มที่ อย่างผมเริ่มต้นจากไม่มีอะไรเลย ผมก็ต่อสู้ทำทุกอย่าง มุ่งมั่นเต็มที่ เพื่อให้มีชีวิตที่ดีขึ้นและให้พ่อแม่สบาย อยากให้ทุกคนสู้และมุ่งมันกับสิ่งที่ทำ แล้วสักวันหนึ่งก็จะประสบความสำเร็จได้เช่นกัน” สมยศ กล่าวทิ้งท้าย

......................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจาก ชี้ช่องรวย)

และหากต้องการให้ดูแลสุขภาพผ่านอาหารเสริมของบริษัท http://www.bhipthailand.co.th/ โดยมี"ฟลุค เกริกพล มัสยวาณิชเป็นผู้บริหาร (“รวยได้ แค่ใช้เงินเป็น” เคล็ดลับพารวยของ “ฟลุค เกริกพล”!! https://www.youtube.com/watch?v=7QkOJV8u7cc) สามารถติดต่อผ่านทางอินบล็อก อีเมล off_38@hotmail.com หรือโทร.0815583865)

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

มส.ร่วมเปิดงานรัฐบาลจีนพัฒนาพุทธศาสนา ภาคพื้นทะเลจีนใต้ให้ยั่งยืน



วันที่ 26 พ.ย.2560 พระพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ในฐานะประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ร่วมเปิดงานรัฐบาลจีนจัดการประชุมปฏิญญาเซินเจิ้น เชิญผู้นำพุทธศาสนา นานาชาติกว่า 10 ประเทศ เพื่อการพัฒนาพุทธศาสนา ภาคพื้นทะเลจีนใต้ให้ยั่งยืน


พระพรหมสิทธิได้เป็นประธานเปิดการประชุมความว่า  ขอเจริญพร ท่าน"หวังจั้วอัน" รัฐมนตรีกระทรวงการศาสนา ท่านเจ้าคุณ"ยิ้น ซุ่น" และท่าน ผู้มีเกียรติทุกท่าน ขออนุโมทนา ชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาเปิดการประชุมทางพุทธศาสนาแห่งทะเลจีนใต้ ณ เมืองเซินเจิ้นแห่งนี้ ในการสร้างความร่วมมือ แลกเปลี่ยนทัศนคติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้พุทธศาสนามีความมั่นคง ก่อเกิดสันติสุขในภูมิภาคแห่งนี้ 

พุทธศาสนาในประเทศไทย และประเทศจีน ล้วนมาจากรากฐาน และแหล่งกำเนิด เดียวกัน มีความผูกพันเกี่ยวข้องกัน มาอย่างยาวนาน การพัฒนาศาสนาจึงต้องพัฒนาควบคู่กับการพัฒนาประเทศ จะเห็นได้จากวิสัยทัศน์ ของท่านประธานาธิบดี "สี จิ้น ผิง"ในการกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมพรรคคอมมิวส์แห่งชาติจีน ครั้งที่ 19 ที่ผ่านมาซึ่งจะทำให้มั่นใจ ว่า ภาคพื้นทะเลจีนใต้แห่งนี้ จะได้รับการพัฒนาอย่างไร้พรมแดน

ในภูมิภาคทะเลจีนใต้นี้ มีความเป็นพี่น้องให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ ใกล้ชิดกัน ดุจดั่งญาติมิตร ดังเช่น เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2560 ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งประธานาธิบดี "สี จิ้น ผิง "ได้มอบหมายให้ ท่านรองนายก "จาง เกา ลี่ "เป็นผู้แทน มาร่วมพระราชพิธี ฯลฯ และทำให้ตะหนักถึง สายสัมพันธ์ทั้งชาวไทยและชาวจีน ที่ผูกพันธ์กันมาอย่างยาวนาน

และสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย ได้ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ไม่เพียงในประเทศไทย แต่ยังยกย่อง พระสงฆ์ ที่บำเพ็ญประโยชน์ ในฝ่ายมหายานด้วย เมื่อปี ค.ศ. 2011 ได้พระราชทาน สมณศักดิ์ แด่ท่านพระอาจารย์จีน "ยิ้น ซุ่น" เป็นพระราชาคณะ ฝ่ายจีน หรือที่เรียกว่า "เจ้าคุณ ยิ้น ซุ่น"นั่นเอง อย่างที่ท่านบำเพ็ญประโยชน์อย่างมากมาย อาทิเช่น เมื่อวันที่ 23 กันยายน ที่ผ่านมานี้ ได้ก่อตั้งสถาบันวิทยาลัยสงฆ์ แห่งทะเลจีนใต้ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ทั้ง เถรวาท มหายาน และวัชรยาน(ธิเบต) ให้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนทางการศึกษา วัฒนธรรม เพื่อสายสัมพันธ์ ไทย-จีน

ในการลงนามปฏิญญา เซินเจิ้น เพื่อพระพุทธศาสนา ในภูมิภาค ทะเลจีนใต้ ในปีที่ผ่านมานั้นได้ปรากฏชัดเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน จึงขออนุโมทนาชื่นชมในน้ำใจและความเสียสละของท่านอาจารย์จีน" ยิ้น ซุ่น" ที่ทุ่มเทในการจัดงานประชุมครั้งนี้เชื่อว่ามีการพัฒนายกระดับให้ขึ้นสู่ความร่วมมือในระดับนานาชาติ เช่นประเทศจีน ,ไทย,กัมพูชา,ศรีลังกา,ลาว,เวียดนาม,ภูฏาน,เนปาล พม่า และมองโกเลียในที่นี้

ข้อที่หนึ่ง พระพุทธศาสนาจะสามารถหล่อหลอม รวมพื้นที่ให้เกิดความสงบสุขได้ จะข้ามพ้นปัญหาความขัดแย้ง ความตึงเครียดทั้งหลาย แม้ว่าพวกเราจะมาจากต่างชาติ ต่างภาษา ต่างเชื้อชาติ แต่เราจะอยู่กันโดยความสามัคคีธรรมเพื่อให้พระพุทธศาสนา สามารถหยั่งรากลึกลงไปและเบ่งบานสร้างความสุขในภูมิภาคนี้

ข้อสอง ด้วยความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะสามารถสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาพระพุทธศาสนาให้เกิดความยั่งยืนโดยมีการทำปฏิญญาเซินเจิ้น จะเป็นต้นแบบอย่างดีเยี่ยม เจ้าคุณ "ยิ้น ซุ้น "เป็นผู้ริเริ่มกองทุนเส้นทางสายไหมทางทะเลจีนใต้ ทำให้เราสามารถที่จะช่วยเหลือกันได้อย่างเต็มที่

อย่างแน่นอนที่สุดสันติภาพในทุกวันนี้ไม่สามารถจะสำเร็จโดยง่าย แต่เราก็เชื่อว่าทางประเทศจีนจะสามารถข้ามพ้นอุปสรรคไปได้ด้วยพุทธวิธี พุทธธรรมในการที่จะสามารถสร้างความเข้าใจเกิดความร่วมมือกันในภาคพื้นทะเลจีนใต้เพื่อความอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

ขอกล่าวถึงพระมหาเถระพระธรรมาจารย์ใหญ่ " เปิ่นฮ้วน" ด้วยความเคารพยิ่ง ท่านเป็นพระมหาเถระ เป็นที่เคารพ ของพระสงฆ์ ทั่วทั้งแผ่นดินจีน เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความสัมพันธ์ไทยจีน บูรพาจารย์ท่านอุทิศตน เพื่อมุ่งหวังให้เกิดสันติภาพ สันติสุขของพระพุทธศาสนาในทะเลจีนใต้

ในการเจริญตามรอยท่านเปิ่นห้วน เราควรจะตั้งสถาบันวิจัยพระพุทธศาสนาแห่งทะเลจีนใต้ให้เป็นพื้นที่สำหรับการร่วมมือกัน เราควรจะมีการประชุมพระพุทธศาสนาแห่งทะเลจีนใต้เป็นประจำ เพื่อพูดคุยถึงเรื่องสำคัญ และท้ายที่สุดเราควรจะแต่งตั้งเลขาธิการเพื่อรับผิดชอบกิจวัตรประจำวันของสถาบัน มีแต่งานที่ถูกจัดสรรเป็นระบบเท่านั้นที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จระยะยาวในการรักษาสันติภาพในภูมิภาคได้

ขอให้การประชุมปฏิญญาเซินเจิ้นทะเลจีนใต้ในที่นี้ประสบความสำเร็จและมีความร่มเย็นเป็นสุขร่วมกัน สาธุ
.........
(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก วัดไทยพุทธคยา ๙๓๕ งานเผยแผ่พระธรรมทูตอินเดีย-เนปาล)
 

วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

หลักสูตรพุทธม.ราชภัฏโคราชนำสื่อไอทีเสริมการเรียนการสอน



 หลักสูตรพุทธม.ราชภัฏโคราชนำสื่อไอทีเสริมการเรียนการสอน



วันที่ 25 พ.ย.2560 การจัดการศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา คณะครุศาสตร์และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาในปัจจุบัน เป็นการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และแสวงหาข้อมูลที่ถูกต้อง โดยการใช้สื่อการเรียนรู้หรือนวัตกรรมต่างๆ ที่นำมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้หากมีความหลากหลายทั้ง สื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยีและสื่ออื่นๆ จะช่วยส่งเสริมให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปอย่าง มีคุณค่า น่าสนใจ ชวนคิด ชวนติดตาม เข้าใจง่ายและรวดเร็วขึ้น รวมทั้งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการแสวงหาความรู้ เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้งและต่อเนื่องตลอดเวลา


กิจกรรมสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ตรงให้แก่นักศึกษาเพื่อที่จะได้นำความรู้ประสบการณ์ที่ได้ไปถ่ายทอดอย่างถูกต้อง นอกจากนั้นยังเป็นการให้บริการวิชาการให้กับองค์กรทางพระพุทธศาสนาเพื่อจะได้มีความเข้าใจในระบบสารสนเทศทางพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น  ด้วยเหตุผลและความสำคัญดังกล่าว หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา


จึงจัดให้มีโครงการสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาดังกล่าวขึ้น ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 ณ อาคาร 27 (ห้อง 27.03.09) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์ฐิติวัสส์ กาญจนพิมาย  อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มาเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 22 คน 

วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เตรียมเสนอธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ มส.ประทับตราประกาศใช้



คกก.ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคมเห็นชอบธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ หวังสร้างให้ "พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข" เตรียมเสนอมหาเถรสมาคมมีมติเห็นรับทราบแล้วจะมีการประกาศในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 20-22 ธันวาคม 2560 นี้


เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารมหาเจษฏาบดินทร์ ชั้น 3 วัดยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ ได้มีการประชุมคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม มีพระพรหมวชิรญาณ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรรมการมหาเถรสมาคม และประธานกรรมการคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม เป็นประธานที่ประชุมเพื่อขับเคลื่อนงานสาธารณสงเคราะห์สนองงานมหาเถรสมาคมตามแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา (2560-2564)


การนี้มีคณะกรรมการฯ ประกอบด้วยพระพรหมจริยาจารย์, พระธรรมเสนานุวัตร,พระธรรมบัณฑิต,พระธรรมสุธี,พระเทพกิตติเวที,พระเทพมุนี,พระเทพวราจารย์ เป็นต้น พร้อมด้วยคณะกรรมการฯและคณะอนุกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน โดยได้มีการแจ้ง (1) คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและสำนักงานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคมเพื่อช่วยส่งเสริมสนับสนุนงานสาธารณสงเคราะห์ และประสานขับเคลื่อนงานสาธารณสงเคราะห์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และ(2) การรายงานผลการดำเนินงานสาธารณสงเคราะห์ ประจำปี 2560 เพื่อรับทราบ


อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การสนองงานมหาเถรสมาคมอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ได้มีมติเห็นชอบ"คู่มือการปฏิบัติงานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม" เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสงเคราะห์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นมาตรฐาน เป้าหมาย ได้ผลผลิตตามแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนางานด้านสาธารณสงเคราะห์ทั้งในภาวะวิกฤติและภาวะปกติ


นอกจากนั้นที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ"ระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยงานสาธารณสงเคราะห์" เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับงานสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคมทั้งการเป็นศูนย์กลางการดำเนินงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมถึงกองทุนกิจการพระพุทธศาสนาเพื่อการสาธารณสงเคราะห์


อนึ่งในการประชุมครั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่าง"ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ฉบับที่1พ.ศ.." ซึ่งนับเป็นธรรมนูญฉบับแรกของโลก ที่ผ่านการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ 5 เวที ของคณะสงฆ์มหานิกายในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้ และคณะสงฆ์ธรรมยุต แล้วนำมาปรับปรุงให้เป็นธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ มีเนื้อหาหลัก 7 หมวด ได้แก่ คำปรารภ นิยามศัพท์ ปรัชญาและแนวคิดหลักของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ การดูแลสุขภาวะพระสงฆ์ตามหลักพระธรรมวินัย ชุมชนและสังคมกับการดูแลอุปัฏฐากพระสงฆ์ที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย บทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม และการขับเคลื่อนธรรมนูญสู่การปฏิบัติ ภายใต้หลักการ"ใช้ทางธรรมนำทางโลก"และ "กระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน" รวมทั้งมาตรการสำคัญในการดำเนินงาน 5 ด้าน ได้แก่ ได้แก่ ความรู้ ข้อมูล การพัฒนา การบริการสุขภาพ และการวิจัย


การดำเนินการจัดทำธรรมนูญดังกล่าว ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณหลักจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) คณะทำงานจัดทำธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ โดยมีพระราชวรมุนี,ดร.(พล อาภากโร ป.ธ.9) รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มจร และรองเจ้าคณะภาค 6 เป็นประธานฯ ซึ่งการดำเนินงานได้มีจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น 4 ภาคคณะสงฆ์มหานิกาย และ 1 ภาคคณะสงฆ์ธรรมยุต โดยนิมนต์/เชิญคณะสงฆ์ องค์กรภาคีเครื่อข่ายที่เกี่ยวข้อง รวมเวทีภาคละ 100 รูป/คน เข้าร่วมเวที ได้มีการประชุมเพื่อสรุป ปรับปรุง และจัดทำให้สมบูรณ์มาโดยลำดับและเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมาได้เข้ากราบถวายรายงานผลการดำเนินงานและขอคำแนะจากพระพรหมบัณฑิตและพระพรหมวชิรญาณ กรรมการมหาเถรสมาคม และนำมาสู่การเสนอคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์พิจารณาให้ความเห็นชอบในครั้งนี้ เพื่อเสนอมหาเถรสมาคมรับทราบและดำเนินการขับเคลื่อนตามแผนที่กำหนดไว้ โดยยึดโยงโครงสร้างการปกครองสงฆ์ ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ในระดับต่างๆ สถาบันการศึกษาสงฆ์ทั้งสองแห่ง คือ มจร และ มมร รวมถึงเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาทั่วประเทศภายใต้การสนับสนุนขององค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง


และสำคัญที่สุดในระยะเวลาอันใกล้นี้ ภายหลังจากมหาเถรสมาคมมีมติเห็นรับทราบแล้วจะมีการประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 20-22 ธันวาคม 2560 นี้ เพื่อเป็นกรอบและแนวทางการส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ในทุกระดับและส่งเสริมบทบาทของพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคมต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ชาวจีนแผ่นดินใหญ่คนแรกรับเหรียญรางวัลจากสถาบันคาร์เนกี



"Mei Hing Chak"ชาวจีนแผ่นดินใหญ่คนแรกที่ได้รับเหรียญรางวัล Carnegie Medal of Philanthropy นำองค์กรการกุศลจีนผงาดบนเวทีโลก


เมื่อไม่นานมานี้ สถาบันคาร์เนกีได้จัดพิธีมอบเหรียญรางวัล Carnegie Medal of Philanthropy 2017 ขึ้นที่นิวยอร์ก โดยได้มอบรางวัลอันทรงเกียรติดังกล่าวให้แก่ผู้ใจบุญ 9 ท่าน เพื่อยกย่องความเป็นผู้นำอันโดดเด่นและสร้างสรรค์ในด้านการกุศล โดยหนึ่งในผู้ที่ได้รับรางวัลคือคุณ Mei Hing Chak ประธานมูลนิธิ Heungkong Charitable Foundation ซึ่งถือเป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่คนแรกและชาวจีนคนที่สองต่อจากคุณ Li Ka-shing ที่ได้รับรางวัลนี้


คุณ Mei Hing Chak และสามีคือคุณ Chi Keung Lau ได้ก่อตั้งธุรกิจโดยเริ่มต้นจากศูนย์เมื่อกว่า 20 ปีมาแล้ว ทั้งคู่ได้เปลี่ยน Heungkong Group ให้กลายเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ระดับตำนานที่ทำหลายธุรกิจ ทั้งโลจิสติกส์ การพัฒนาเขตเมือง บริการทางการเงิน การดูแลสุขภาพ การศึกษา การท่องเที่ยว การแปรรูปโลหะ และพลังงาน นอกจากนี้ Heungkong Group ยังติดหนึ่งในบริษัทเอกชน 50 อันดับแรกของจีนด้วย



กระบอกเสียงเพื่อการกุศลจากจีน



เหรียญรางวัล Carnegie Medal of Philanthropy จัดตั้งขึ้นโดยมูลนิธิคาร์เนกี และทุกๆ 2 ปีจะมีการมอบให้แก่ผู้ที่มีจิตวิญญาณของผู้ให้เฉกเช่นเดียวกับคุณ Andrew Carnegie ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ และในฐานะรางวัลการกุศลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก การตัดสินรางวัลจึงเป็นความลับสุดยอด โดยผู้เสนอชื่อหรือใครก็ตามไม่มีวันรู้ล่วงหน้าว่าใครจะได้รับรางวัล ด้วยเหตุนี้ คุณ Mei Hing Chak จึงรู้สึกประหลาดใจมากเมื่อทราบว่าตนเองได้รับรางวัลนี้



คุณ Mei Hing Chak ทุ่มเทให้กับงานการกุศลมานานกว่า 20 ปี



สถาบันในเครือคาร์เนกี 22 แห่งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป จะเสนอชื่อผู้เข้าชิงรางวัลนี้ โดยจะมี 7 ท่านที่ได้ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย สำหรับผู้ได้รับรางวัลจะต้องเป็นผู้ที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งดีๆสู่สังคม รวมถึงต้องสร้างคุณูปการอันใหญ่หลวงและยั่งยืนต่อแวดวงต่างๆ ทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ



คุณ Wang Ming คณบดีสถาบันเพื่อการกุศลแห่งมหาวิทยาลัยชิงหัว กล่าวว่า การที่คุณ Mei Hing Chak ได้รับรางวัลนี้ไม่เพียงเป็นเกียรติแก่ตัวเธอเองเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องพิสูจน์พัฒนาการอันแข็งแกร่งของงานสังคมสงเคราะห์ยุคใหม่ในประเทศจีน ซึ่งเป็นที่ยอมรับในเวทีโลกมากขึ้น



คุณ Mei Hing Chak ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเอกชนแห่งแรกในประเทศจีน



ในช่วงเริ่มต้นของการทำงานการกุศล คุณ Mei Hing Chak ได้บริจาคเงินให้กับมูลนิธิเพื่อการกุศลของภาครัฐ แต่เธอรู้สึกผิดหวังเพราะไม่สามารถเลือกมอบเงินให้กับโครงการที่มีความสำคัญและสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของตัวเองได้ ต่อมาในปี 1998 เธอจึงตัดสินใจตั้งมูลนิธิเพื่อการกุศลด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้นทางการจีนยังไม่อนุญาตให้บุคคลหรือบริษัทเอกชนตั้งมูลนิธิของตัวเอง จนกระทั่งปี 2005 ทางการจีนได้ผ่อนคลายกฎข้อบังคับต่างๆ ส่งผลให้คุณ Mei Hing Chak เป็นชาวจีนคนแรกที่เดินเรื่องขอตั้งมูลนิธิเพื่อการกุศล และได้รับการอนุมัติอย่างถูกต้องจากภาครัฐ ทั้งนี้ มูลนิธิ Heungkong Charitable Foundation ได้จดทะเบียนในฐานะมูลนิธิเอกชน (หรือสถาบันการกุศลที่ไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐ) หมายเลข 001 ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันว่า Heungkong Charitable Foundation คือมูลนิธิเอกชนแห่งแรกของจีนอย่างแท้จริง



นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง Heungkong Charitable Foundation ก็มุ่งให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา บรรเทาความยากจน รวมถึงให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นและบรรเทาภัยพิบัติใน 18 เมืองและมณฑลทั่วประเทศจีน ซึ่งรวมถึงมณฑลกวางตุ้ง กุ้ยโจว และเสฉวน ต่อมาในปี 2007 ทางองค์กรได้เปิดตัวโครงการ "Five 1000" เพื่อสร้างห้องสมุด 1,000 แห่ง ช่วยเหลือนักเรียนผู้ด้อยโอกาส 1,000 คน และดำเนินกิจกรรม 1,000 โครงการร่วมกับอาสาสมัคร ทางมูลนิธิเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา จนปัจจุบันมีทีมอาสาสมัครเกือบ 20,000 คน ซึ่งช่วยงานด้านการกุศลกว่า 100,000 โครงการ อันเป็นประโยชน์ต่อผู้คนกว่า 3 ล้านชีวิต



ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสผ่านการศึกษาและการดูแลสุขภาพ



หลังจากที่มูลนิธิ Heungkong Charitable Foundation ให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสผ่านการศึกษา พร้อมกับมอบความช่วยเหลือเบื้องต้นและบรรเทาสาธารณภัยมาโดยตลอด ประสบการณ์นานนับทศวรรษได้ผลักดันให้คุณ Mei Hing Chak ตัดสินใจกำหนดจุดยืนที่ชัดเจนให้แก่มูลนิธิ ด้วยการมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสผ่านการศึกษาและการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะ ในส่วนของการศึกษานั้น ทางมูลนิธิจะเน้นไปที่สองโครงการ คือการสร้างห้องสมุดและการสนับสนุนนักศึกษาระดับวิทยาลัยผู้ด้อยโอกาส สำหรับในส่วนของสุขภาพ คุณ Mei Hing Chak จะบริจาคเงิน 1 พันล้านหยวน (ราว 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ให้แก่มูลนิธิต่างๆที่อุทิศตนเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชน ซึ่งจะส่งต่อให้แก่โรงพยาบาลในพื้นที่ขาดแคลนเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสต่อไป โครงการดังกล่าวสามารถสร้างกระแสเงินสดด้วยตัวเองผ่านการดำเนินงานของโรงพยาบาล ซึ่งจะทำให้มีเงินต่อยอดในการพัฒนาโครงการต่อไป


วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

พบพระนักพัฒนาเชียงใหม่ตั้งกลุ่มกู้ภัยช่วยสังคม




ปิดฉากกิจกรรมการขับเคลื่อนโครงการสังฆพัฒนาวิชชาลัย ครั้งที่ 2 ที่ มจร วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน พบพระนักพัฒนาเชียงใหม่ ตั้งกลุ่มช่วยเหลือสังคม "ตาย เจ็บ เก็บ ส่ง โลงฟรี " ภายใต้การทำงานของกู้ภัยตั้งแต่เกิดจนตาย



ระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2560  ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีกิจกรรมการขับเคลื่อนโครงการสังฆพัฒนาวิชชาลัย ครั้งที่ 2 โดยความร่วมมือของ มจร วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ภายใต้การนำของพระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร  มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ภายใต้การนำของพระมหาบุญเลิศ อินทปัญโญ,รศ. รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ ฝ่ายวิชาการ      และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) โดยมีพระสงฆ์และภาคีในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง และวัดหนองกวาง บ้านแม่ป๊อกใน ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน 



หลังจากมีพิธีเปิดโดยพระเทพรัตนนายก ที่ มจร วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และได้เปิดเวทีความคิดเพื่อการยกระดับคุณภาพพระสงฆ์สู่การเป็นพระสงฆ์นักพัฒนา เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 เรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าร่วมโครงการได้ลงพื้นที่พบพระนักพัฒนาต้นแบบ ทั้งนี้พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร ได้ร่วมโครงการด้วยได้รายงานความคืบหน้าเป็นระยะๆ ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว Pramote OD Pantapat เป็นระยะ



วันที่ 22 พฤศจิกายน 2560  เป็นวันสุดท้ายของโครงการ โดยมีการถอดบทเรียนพระนักพัฒนาต้นแบบในพื้นที่จริง ซึ่งผ่านการประสบการณ์ในการทำงานกับชุมชน จึงมีการแบ่งปันแลกเปลี่ยนการทำงานด้านการพัฒนาของพระสงฆ์ต้นแบบ โดยหน่วยกู้ชีพกู้ภัยอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการเริ่มต้นจากพระสงฆ์เห็นปัญหาของการเกิดอุบัติหน้าวัดบ่อยครั้ง การช่วยเหลือไม่ทัน พระสงฆ์จึงตั้งกลุ่มช่วยเหลือสังคม เรียกว่า " ตาย เจ็บ เก็บ ส่ง โลงฟรี "ภายใต้การทำงานของกู้ภัยตั้งแต่เกิดจนตาย พระสงฆ์ในปัจจุบันมิใช่รอรับจากญาติโยมอย่างเดียว แต่มาถึงวันนี้พระสงฆ์ต้องให้สังคม พระสงฆ์ได้เรียนรู้การกู้ชีพกู้ภัย ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี เพราะเป็นงานสาธารณสงเคราะห์ ของคณะสงฆ์ เป็นการช่วยเหลือชาวบ้านด้วย


ปัจจุบันมีรถ 15 คัน มีอาสาสมัครจำนวน 65 คน ได้รับการบริจาคจากประชาชนด้วยการทำบุญ นำมาเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในสงเคราะห์ พระสงฆ์ช่วยเหลือคนเป็นโรคเอดส์ในชุมชน ช่วยให้คนอื่นพ้นทุกข์ ซึ่งเป็นทุกข์ในปัจจุบัน การติดเชื้อเอดส์มีผลกระทบต่อคนติดเชื้อโดดยตรง และครอบครัว ทำให้ส่งผลต่อครอบครัวด้านเศรษฐกิจในครอบครัว พระสงฆ์จะต้องก้าวออกไปช่วยเหลือสังคม ไม่เพียงแต่มุ่งอยู่ในวัด งานของพระสงฆ์นักพัฒนามี 2 ประเด็น คือ



1) ประเด็นเย็นคือ ประเด็นการทำงานด้านสุขภาพ เศรษฐกิจพอเพียง ทำการเกษตรอินทรีย์ ทำไปตามวิถีชีวิต เป็นประเด็นไม่สร้างความขัดแย้งกับใคร



2) ประเด็นร้อน คือ ประเด็นความขัดแย้งของคนในชุมชน การทำงานด้านผลประโยชน์การแย่งผลประโยชน์ในชุมชน ทำให้เป็นประเด็นร้อน



เวลาพระสงฆ์ไปอยู่ในชุมชนก็ปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิตามพระพุทธเจ้าด้วยการนำพาญาติโยมปฏิบัติ แต่ญาติโยมไม่มีเวลามาปฏิบัติ จึงได้ศึกษาปัญหาของชาวบ้าน พบว่า ปัญหาของชาวบ้านคือ "ปากท้อง ความเป็นอยู่ ปัญหาหนี้สิน" ทำให้คนในชุมชนต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด พระสงฆ์จึงต้องมีบทบาท พระสงฆ์ที่ออกไปทำงานถือว่ามีความเสี่ยงเพราะเป็นประเด็นร้อนภายในสังคม ประเด็นสร้างความขัดแย้ง พระสงฆ์จึงพยายามจัดการความขัดแย้งภายในชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งภายในชุมชน
พระสงฆ์ออกไปทำค่ายคุณธรรมแต่พัฒนาไปช่วยงานเด็กพิเศษเด็กที่มีปัญหา เด็กกลุ่มเสี่ยง ไปเยี่ยมถึงบ้านมีกระบวนการอย่างต่อเนื่อง



พระสงฆ์ลงไปช่วยเด็กเหล่านี้ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พระสงฆ์ต้นแบบจะบอกตนเองว่าเราจะเป็นต้นแบบแบบใด เรารักงานแบบใด จงทำสิ่งที่รักและเราถนัดที่สุด เราต้องค้นหาอุดมการณ์ที่แท้จริงของเรา โดยดาวมี 2 ประเภท คือ " ดาวที่อาศัยแสงสว่างจากคนอื่น และดาวที่ส่องแสงสว่างด้วยตนเอง " การทำงานต้องเอาใจเป็นที่ตั้งมากกว่าเอาเงินเป็นปัจจัย



หัวใจของสังฆพัฒนาวิชาลัยต้องการสร้างพระนักพัฒนาเพื่อการออกช่วยกันขับเคลื่อนพระพุทธศาสนาให้มีชีวิต พระพุทธศาสนาพบปัญหารอบด้าน ทั้งปัญหาภายในและปัญหาภายนอก เราต้องสร้างเครือข่ายในการทำงาน จึงมีการนำเสนอโครงการในการพัฒนาสังคมให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปพระพุทธศาสนา โดยพระสงฆ์นักพัฒนาลำพูนเสนอผู้เกี่ยวกับผู้ป่วยติดเตียงทั้งผู้สูงอายุและพระสงฆ์



จะมีการสร้างพระสงฆ์แกนนำให้มีความรู้ ทักษะ ด้วยการสำรวจผู้ป่วยติดเตียง มีการอบรมพัฒนาแกนนำจิตอาสาดูแลผู้ป่วยติดเตียง ลงพื้นที่ในวัดและชุมชนและมีการถอดบทเรียน ความสำเร็จในโครงนี้ด้านคุณภาพและด้านปริมาณ โครงการจึงต้องการผลลัพธ์จริงๆ ให้เกิดขึ้น พระสงฆ์นักพัฒนาลำปางเสนอโครงการเกี่ยวสุขภาพของพระสงฆ์ เห็นความสำคัญของบุคลากรของพระสงฆ์ว่ามีความสำคัญจึงต้องสร้างเสริมสุขภาวะของพระสงฆ์ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรในบุคคล องค์กร สังคม พระสงฆ์ต้นแบบเชียงใหม่เสนอโครงการสุขภาวะด้นสุขภาพ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง สำเร็จสิทธิสวัสดิการพระสงฆ์สามเณร



ปัจจุบันนี้คณะสงฆ์มีแผนของการพัฒนาแล้ว จะสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนสังคมและพระพุทธศาสนา โดยเริ่มต้นจากโครงการเล็กๆ มีการขับเคลื่อนไปด้วยกัน เรามีแผนชัดเจนแล้วแต่เราจะไม่มีเครือข่ายในการทำงานร่วมด้วยกันให้มีพลัง แหล่งทุนในการสนับสนุนมีมากมายแค่เราทำจริง เราทำงานเพื่อสังคมต้องเผนแพร่ให้สังคมรับทราบ พระสงฆ์ทำงานมากแต่ขาดการประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนรับรู้รับทราบ



ดังนั้น พระครูสิริสุตานุยุต,ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน  กล่าวปิดโครงการว่า ตอนนี้สังคมต้องการพระสงฆ์ต้นแบบ เราทำงานอาจจะมีปัญหาแต่ต้องมีสติในการในการทำงานร่วมกัน ทำงานต้องให้เกียรติทุกคนที่เราต้องร่วมงาน จึงฝากคิดว่า " มองโลกให้มองต่ำ มองธรรมให้มองสูง "เราจะทำงานพัฒนาอย่างครูบาศรีวิชัยได้อย่างไร? เราต้องยึดครูบาศรีวิชัยเป็นแบบอย่างในการทำงาน

"เสี่ยวซาน"จากเขตเศรษฐกิจชั้นนำของจีนสู่เขตเมืองระดับโลก




เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เขตเสี่ยวซาน ในนครหางโจว ซึ่งเป็นเขตเมืองที่มีความเจริญมากที่สุดในภาคตะวันออกของจีน ได้จัดงานรวมญาติครั้งพิเศษขึ้น โดยชาวเสี่ยวซานกว่า 800 คนซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในระดับประเทศและระดับโลก ได้เดินทางกลับมาบ้านเกิดเพื่อเข้าร่วมงานตามคำเชิญของรัฐบาลท้องถิ่นเขตเสี่ยวซาน



เขตเสี่ยวซานซึ่งเป็นศูนย์รวมของนักธุรกิจและนักปฏิรูป ได้ใช้เวลาเกือบ 40 ปีในการพัฒนาจากเขตเศรษฐกิจชั้นนำจนกลายเป็นเขตเมืองระดับโลกที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง



เขตเสี่ยวซานอันทันสมัยตั้งอยู่ทางใต้ของแม่น้ำเฉียนถัง และเป็นที่ตั้งของสถานที่หลักที่ใช้จัดการประชุมสุดยอด G20 นครหางโจว เขตเสี่ยวซานมีชื่อเสียงในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งยังครองตำแหน่งจุดหมายปลายทางการลงทุนที่ดีที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่หลายต่อหลายครั้ง นับตั้งแต่ที่ทางการจีนได้ปฏิรูปและเปิดประเทศ ชาวเสี่ยวซานก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ



หลู่ ก้วนฉิว มหาเศรษฐีชาวจีนผู้ล่วงลับ ก็เป็นคนเสี่ยวซาน เขาได้รับการขนานนามว่าเป็น "เจ้าพ่อ" ของบริษัทเอกชนจีน ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 เขาได้ก่อตั้งบริษัท วั่นเซียง กรุ๊ป ซึ่งต่อมากลายเป็นบริษัท OEM แห่งแรกในจีนที่ผลิตอะไหล่และชิ้นส่วนยานยนต์ให้แก่บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส นอกจากนี้ บริษัทสาขาในสหรัฐอเมริกายังดำเนินธุรกิจใน 26 รัฐ และสร้างงานกว่า 8,000 ตำแหน่งในอเมริกา จนกระทั่งรัฐอิลลินอยส์กำหนดให้วันที่ 12 สิงหาคมของทุกปีเป็นวัน "วั่นเซียง" เพื่อรำลึกถึงสิ่งดีๆที่บริษัทได้ทำให้กับรัฐนี้



นอกจากนั้นยังมีบริษัท ฉวนหัว กรุ๊ป ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1986 ในฐานะบริษัทเคมี ก่อนจะพัฒนาจนกลายเป็นบริษัทเอกชนอันทันสมัยที่มีธุรกิจมากมายในปัจจุบัน ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เขตเสี่ยวซานซึ่งมีอำนาจทางเศรษฐกิจ ต้องแบกรับภารกิจขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและเศรษฐกิจรอบด้านผ่านการปฏิรูปเมือง  รัฐบาลท้องถิ่นตระหนักดีว่า นวัตกรรมคือกลไกหลักที่จะขับเคลื่อนการพัฒนา



Hangzhou Bay Information Port ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเสี่ยวซาน คือศูนย์กลางในการบ่มเพาะอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตของเขตเสี่ยวซาน โดยรวมบริษัทอินเทอร์เน็ตชั้นนำของจีนกว่า 30 แห่งไว้ด้วยกัน และกลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะผลักดันให้เขตเสี่ยวซานก้าวกระโดดจากเขตการผลิตไปเป็นเขตเศรษฐกิจสารสนเทศ



ปัจจุบัน อุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ในเสี่ยวซานที่เน้นระบบการผลิตอัจฉริยะกำลังเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง โดยมีการตั้งกลุ่มความร่วมมือและห้องปฏิบัติการบิ๊กดาต้าเชิงอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกในประเทศจีนที่เขตเสี่ยวซาน ขณะที่บริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่อย่าง อาลีบาบา และ เน็ตอีส ตลอดจนบริษัทไอทีชั้นนำอีกมากมาย ต่างก็เลือกตั้งบริษัทที่นี่ นอกจากนี้ เขตเสี่ยวซานยังเป็นที่ตั้งของสถานที่จัดการประชุมสุดยอด G20 นครหางโจว นั่นคือ Hangzhou International Expo Center ซึ่งตั้งอยู่ใน Olympic Sports Expo City ที่จะเป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ปี 2022



ข้อมูลสถิติระบุว่า นับตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2016 ซึ่ง Hangzhou International Expo Center เปิดตัวจนกระทั่งปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้ได้จัดการประชุมมากกว่า 1,800 ครั้ง และนิทรรศการ 37 ครั้ง กินพื้นที่รวมกว่า 3.5 ล้านตารางเมตร โดยเฉพาะ G20 Summit Experience Hall ที่ต้อนรับผู้มาเยือนกว่า 1 ล้านคน



Hangzhou International Expo Center เป็นที่รู้จักอย่างดีในหมู่บริษัทจัดการประชุมทั่วโลก และในปีนี้ก็ประสบความสำเร็จในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ ICCA (International Congress & Convention Association) ทั้งยังเป็นผู้เดียวในจีนที่ได้เป็นสมาชิกของ UIA (Union of International Associations) ทั้งนี้ Hangzhou International Expo Center จะจัดงานแสดงสินค้า การประชุม และงานเชิงวัฒนธรรมระดับนานาชาติอีกมากมายในอนาคต



เขตเสี่ยวซานจะกลายเป็นศูนย์กลางการจัดนิทรรศการที่คึกคักที่สุดของจีน รวมถึงเป็นจุดหมายปลายทางการประชุมและการจัดนิทรรศการชั้นนำระดับโลก มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2019 รายได้จากการจัดนิทรรศการจะพุ่งทะลุ 1.5 หมื่นล้านหยวน (2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และจะมีการจัดประชุมระดับนานาชาติมากว่า 1,000 ครั้ง ดังนั้นจึงเชื่อกันว่าเขตเสี่ยวซานจะพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมา นั่นคืออุตสาหกรรมการจัดนิทรรศการระดับไฮเอนด์



หลังการประชุมสุดยอด G20 นครหางโจว เสี่ยวซานก็กลายเป็นเขตเมืองที่มีความสำคัญซึ่งเชื่อมโยงนครหางโจวกับทั่วโลก ในอนาคต เขตเสี่ยวซานจะรุกพัฒนาอุตสาหกรรมการจัดนิทรรศการและการประชุม เพื่อผลักดันให้เสี่ยวซานกลายเป็นศูนย์กลางระดับนานาชาติภายใต้แนวคิด "Exhibition +"



ที่มา: รัฐบาลท้องถิ่นเขตเสี่ยวซาน  และรูปภาพ http://asianetnews.net/view-attachment?attach-id=301333   

พบ"นกยูงครูบาศรีวิชัย"สัญลักษณ์ศรัทธาชุมชนลำพูน




ครูบาศรีวิชัยต้นแบบพระสร้างสันติภาพจัดการความขัดแย้งและพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในระดับชุมชน ถึงเวลาพระสงฆ์ต้องเข้าป่ารักษาป่ารักษาชีวิต ภายใต้พลังของเครือข่าย พบ "นกยูงครูบาศรีวิชัย"สัญลักษณ์ศรัทธาชุมชนลำพูน



การขับเคลื่อนโครงการสังฆพัฒนาวิชชาลัย ครั้งที่ 2 โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ภายใต้การนำของพระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร  มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ภายใต้การนำของพระมหาบุญเลิศ อินทปัญโญ,รศ. รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ ฝ่ายวิชาการ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) โดยมีพระสงฆ์และภาคีในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง และวัดหนองกวาง บ้านแม่ป๊อกใน ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2560



หลังจากมีพิธีเปิดโดยพระเทพรัตนนายก ที่ มจร วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และได้เปิดเวทีความคิดเพื่อการยกระดับคุณภาพพระสงฆ์สู่การเป็นพระสงฆ์นักพัฒนา เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 เรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าร่วมโครงการได้ลงพื้นที่พบพระนักพัฒนาต้นแบบ ทั้งนี้พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร ได้ร่วมโครงการด้วยได้รายงานความคืบหน้าเป็นระยะๆ ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว Pramote OD Pantapat




ครูบาศรีวิชัยต้นแบบพระสร้างสันติภาพในระดับชุมชน



ได้มีการลงพื้นที่ศึกษาการทำงานของพระสงฆ์ต้นแบบในการทำงานกับชุมชนในการร่วมมือเป็นเครือข่าย ซึ่งมีปัญหาของนายทุนในการบุกรุกป่าของชาวบ้านรวมถึงต่างศาสนาซึ่งพยายามมาเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของคนในชุมชนซึ่งพื้นฐานนับถือพระพุทธศาสนา จึงถือว่าเป็นปัญหาร่วมของคนในชุมชน ทำให้คนในชุมชนต้องจับมือกันแก้ปัญหา ผ่านการวิจัยชุมชนโดยมีพระสงฆ์เป็นแกนนำในการรักษาอนุรักษ์ป่าและสัตว์ในชุมชน ภายใต้คำว่า " บ่กินปลาร้า บ่ฆ่านกยูง" ซึ่งนกยูง ถือว่าเป็นตัวแทนของความศรัทธาในครูบาศรีวิชัยของคนในชุมชน มีแหล่งอนุรักษ์นกยูงชุมชน โดยให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ นกยูงสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับป่า คนในชุมชนเชื่อว่า “นกยูงครูบาศรีวิชัย” ซึ่งเมื่อท่านมีชีวิตอยู่ได้เลี้ยงไว้ชาวบ้านจึงเชื่อว่าหากทำร้ายนกยูงจะมีอันเป็นไป จึงทำให้นกยูงขยายพันธุ์อยู่เต็มป่า เดิมชาวบ้านกับนกยูงต่างคนต่างอยู่



แต่พอนานวันเข้าชาวบ้านเริ่มมีปัญหาจากการที่พืชผลทางการเกษตรที่ปลูกไว้ต้องกลายมาเป็นอาหารของนกยูง เกิดมาจากการที่ชาวบ้านได้รุกล้ำที่อยู่อาศัยของนกยูงเพื่อทำการเกษตรเมื่อประมาณ 4-5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการปลูกข้าวโพดที่ได้ราคาดี เมื่อชาวบ้านเข้าไปปลูกนกยูงก็ลงมากินพืชการเกษตรที่ปลูกไว้จนเสียหาย เดิมนกยูงใช้ชีวิตในป่าธรรมชาติ แต่เมื่อชาวบ้านกับนกยูงเริ่มมีปัญหากัน เลยมองว่าควรทำแนวกันชนที่จะปลูกพืชที่เป็นอาหารของนกยูงเพื่อเป็นแหล่งอาหารในสามฤดูเช่นข้าวหรือข้าวโพดแต่ตำแหน่งการปลูกยังไม่ชัดเจนด้วยชาวบ้านยังขาดความรู้ จึงทำการวิจัยการใช้ชีวิตของนกยูงในพื้นที่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในอนาคต และให้ชาวบ้านตระหนักถึงคุณค่าของนกยูงที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวมากกว่าทำลาย



ชาวบ้านบางรายมีการวางเครื่องดักเพื่อป้องกันไม่ให้นกยูงมากินพืชผล หรือนำยาฆ่าแมลงผสมในเมล็ดพันธุ์พืชที่นกยูงลงมากิน พอมีการสร้างความเข้าใจกัน เกิดการ "การอนุรักษ์ที่ชัดเจน ป่าที่สมบูรณ์ขึ้น อาหารในป่าชุมชน " แต่มุมของชาวบ้านมองว่าเรื่องการใช้สารพิษหรือฆ่านกยูงในช่วงแรกนั้นเป็นการใส่ร้ายชาวบ้านจากนายทุน เพื่อเข้ามาจัดการเป็นพื้นที่การท่องเที่ยว จริงๆ แล้ววงจรชีวิตของนกยูงเกื้อหนุนต่อชาวบ้านด้านการขยายพันธุ์ของป่าไม้ และเป็นห่วงโซ่อาหารที่สมบูรณ์ เพราะนกยูงกินแมลงต่าง ๆ



สำหรับชาวบ้านแม่ป๊อกใน ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน กล่าวว่า " ด้วยความที่ชาวบ้านเชื่อว่านกยูงเหล่านี้เป็นของครูบาศรีวิชัยจึงไม่ได้ทำร้าย เพราะที่ผ่านมามีบางคนไปทำร้ายแล้วต้องมีอันเป็นไป แต่ด้วยการขยายพันธุ์ของนกยูงมีมากขึ้นทำให้กระทบต่อชาวบ้าน ชาวบ้านใช้ความรู้พื้นบ้านในการแก้ปัญหา แต่ถ้ามีนักวิชาการเข้ามาช่วยเหลือในการสร้างแนวกันชนไม่ให้นกยูงลงมากินพืชผลของชาวบ้านจะเป็นการดีกว่า แต่“ถ้านกยูงเหล่านี้สูญพันธุ์จะมีผลต่อจิตใจของชาวบ้านโดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งคนกะเหรี่ยงถือว่านกยูงเป็นนกที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะสิ่งที่เหลืออยู่ของครูบาศรีวิชัยตอนนี้มีเพียงนกยูงนี้อย่างเดียวที่ยังไม่สูญหาย” ชาวบ้านจึงรักษานกยูงเพราะนกยูงรักษาอนุรักษ์ป่า ด้วยการต่อสู้กับบุคคลและองค์กรต่างๆ ชาวบ้านอาศัยป่าเป็นแหล่งอาหารมาจนถึงปัจจุบันนี้




ถึงเวลาพระสงฆ์ต้องเข้าป่ารักษาป่ารักษาชีวิต




พร้อมกันนี้ได้ลงพื้นที่ศึกษาพลังของชุมชนกับพระสงฆ์ร่วมกันรักษาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ภายใต้คำว่า " คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน สำนึกรักบ้านเกิดตน " โดยพระสงฆ์ร่วมกับชาวบ้านจนเกิดความเข้มแข็งทางจิตใจเพื่อต่อสู้กับอะไรบางอย่าง ชาวบ้านจึงมีความภาคภูมิใจมากในการรักษาไว้ให้ลูกหลาน เมื่อชาวบ้านเชื่อว่า " นกยูงเป็นสัญลักษณ์ของความศรัทธาในครูบาศรีวิชัย " ชาวบ้านจึงไม่เบียดเบียนนกยูง นกยูงอาศัยป่า นกยูงจึงเป็นเครื่องมือของการรักษาป่าเพราะความเชื่อศรัทธาในครูบาศรีวิชัย เรียกว่า " พระพุทธศาสนารักษาธรรมชาติ "



พระพุทธเจ้าจึงเป็นบิดาผู้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก พระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งการอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าตามหลักคำสอนเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ที่ว่า " เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นจึงดับ " เป็นการเน้นถึงความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในโลก ว่ามีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ดังคำกล่าวที่ว่า "น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า ข้าพึ่งเจ้า บ่าวพึ่งนาย และ นายพึ่งบ่าว เจ้าพึ่งข้า ป่าพึ่งเสือ เรือพึ่งน้ำ" ด้วยเหมือนกัน ซึ่งคำว่า "ป่าพึ่งเสือ" มีหมายความว่า " เสือมีเพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินดีเพราะหญ้ายัง หญ้ายังเพราะดินดี "



พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงเป็นบิดาผู้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางพระพุทธศาสนาเพราะ"ประสูติในสวนป่าลุมพินีวัน ตรัสรู้ในป่าใต้ต้นมหาโพธิ์ นิพพานในป่าใต้ต้นสาละ"ซึ่งตามพระวินัยพระพุทธเจ้าทรงห้ามพระสงฆ์มิให้ตัดไม้ทำลายป่า และมิให้ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ บ้วนน้ำลายลงบนพืชพันธุ์ธัญญาหาร และแม่น้ำลำคลอง ที่ยิ่งกว่านั้นทรงบัญญัติให้อยู่โคนไม้ เป็นการรักษาธรรมชาติ เพื่อจะได้พึ่งพาธรรมชาติ สมัยพระพุทธกาลจะมีอาราม คือ สวนป่า เช่น วัดเวฬุวันวนาราม เป็นสวนไผ่ วัดชีวกกัมพวนาราม เป็นสวนมะม่วง กลุ่มพระสงฆ์ผู้พำนักอยู่ในวัดป่าเรียกว่า"อรัญญวาสี" พระสงฆ์จึงเป็นนักอนุรักษ์ป่าไม้ได้เป็นอย่างดี ด้วยการชักชวนศรัทธาประชาชนเห็นคุณค่าของป่าไม้ ถือว่าเป็นการสร้างบุญจากการรักษาสิ่งแวดล้อม



พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน วนโรปสูตร ด้วยความว่า" ชนเหล่าใดปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน สร้างโรงน้ำ ขุดบ่อน้ำ บริจาคอาคารที่พักอาศัย ชนเหล่านั้นได้บุญตลอดเวลาทั้งกลางคืนและกลางวัน" เพราะผู้คนตลอดถึงพระสงฆ์ได้ใช้ประโยชน์นั่นเอง ซึ่งใน "สีสปาวนสูตร" พระพุทธเจ้าใช้ป่าไม้เป็นอุปกรณ์ในการสอนธรรมแก่พระสงฆ์ พระองค์ทรงหยิบใบประดู่ลายแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า "ใบประดู่ลายเล็กน้อยที่เราได้ถือไว้ กับใบที่อยู่บนต้นประดู่ลาย อย่างไหนจะมากกว่ากัน " พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายทูลตอบว่า "ใบประดู่ลายในพระหัตถ์ของพระองค์น้อยกว่า ใบที่อยู่บนต้นประดู่ลายมีมากกว่า" พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า" เรื่องที่เราตรัสรู้แล้ว แต่มิได้บอกท่านทั้งหลายก็มีมากกว่า ฉันนั้น เหมือนกัน เรื่องที่เราบอกท่านทั้งหลายมีน้อยกว่า เหมือนใบไม้ในกำมือนี้"และกล่าวย้ำว่า ตถาคตสอนเรื่องทุกข์ กับความดับทุกข์เท่านั้น



ฉะนั้นภาครัฐต้องการปฏิรูปพระพุทธศาสนา แต่คณะสงฆ์ยังไม่สามารถตอบโจทย์การปฏิรูปได้ เพราะเราไม่มีแผนการพัฒนาพระพุทธศาสนา ไม่มีความเป็นเอกภาพในการพัฒนาว่า 5  ปีข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ทำอะไร ทำอย่างไรเช่นแผนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เป็นเอกภาพควรเป็นอย่างไร ? ปัจจุบันต่างคนต่างทำ ทำให้การเผยแผ่ธรรมไม่มีความเป็นเอกภาพ ทำอย่างไรเราจะมีแผนการพัฒนาพระพุทธศาสนาที่มีความชัดเจน เป็นเอกภาพ มีรูปธรรม ปฏิบัติจริง จึงต้องมีการพัฒนาแผนด้วยการให้พระสงฆ์นักพัฒนาคิดโครงการจากพื้นที่จริง มิใช่คนอื่นคิดให้ แต่ต้องเป็นพระสงฆ์ในชุมชนเริ่มจากปัญหาของชุมชน เพื่อ " การเปลี่ยนแปลงชุมชน ยิ่งทำยิ่งได้เครือข่าย " สังฆพัฒนาต้องการสร้างเครือข่าย ต้องการสร้างเครือข่ายยิ่งมากยิ่งดี สามารถทำงานร่วมกับเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนทุกภาคีเครือข่าย เป็นการต่อยอดงานคณะสงฆ์ที่ทำอยู่แล้วแต่ต้องทำด้วยการสร้างเครือข่าย

วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

พระนักพัฒนาต้องคิดนอกกรอบไม่นอกธรรม





พระนักพัฒนาต้องคิดนอกกรอบไม่นอกพระธรรมวินัย เป้าหมายเพื่อคนอื่น มิใช่เป้าหมายของตนเอง  ทนเห็นคนอื่นมีความทุกข์ไม่ได้ หาวิธีช่วยสุดความสามารถ



การขับเคลื่อนโครงการสังฆพัฒนาวิชชาลัย ครั้งที่ 2 โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ภายใต้การนำของพระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร  มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ภายใต้การนำของพระมหาบุญเลิศ อินทปัญโญ,รศ. รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ ฝ่ายวิชาการ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) โดยมีพระสงฆ์และภาคีในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง และวัดหนองกวาง บ้านแม่ป๊อกใน ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2560 


หลังจากมีพิธีเปิดโดยพระเทพรัตนนายก ที่ มจร วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และได้เปิดเวทีความคิดเพื่อการยกระดับคุณภาพพระสงฆ์สู่การเป็นพระสงฆ์นักพัฒนา เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 เรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าร่วมโครงการได้ลงพื้นที่พบพระนักพัฒนาต้นแบบ ทั้งนี้พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร ได้ร่วมโครงการด้วยได้รายงานความคืบหน้าเป็นระยะๆ ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว Pramote OD Pantapat





พระสงฆ์นักพัฒนามีเป้าหมายเพื่อคนอื่นมิใช่เป้าหมายของตนเอง



พระนักพัฒนารูปแรกที่ผู้เข้าร่วมโครงการได้เดินทางไปถอดบทเรียนคือ หลวงพี่ช้าง หรือพระครูอุภัยโกศล พระสงฆ์นักพัฒนาผู้คิดนอกกรอบชุบชีวิตผู้ด้อยโอกาสในชุมชน หรือคิดว่า " พระสงฆ์คิดนึกกรอบแต่ไม่นอกพระธรรมวินัย " หลวงพี่ช้างเป็นพระที่มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคม ด้วยการเข้าไปเป็นมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงพยาบาลด้วยการเป็นคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาล จึงถามว่าโรงพยาบาลต้องการอะไร? สิ่งที่โรงพยาบาลต้องการตึกผู้ป่วย ในราคา 22 ล้านบาท หลวงพี่ช้างจึงช่วยเหลือสังคมด้วยการหาปัจจัยจากการขายอาหาร "บุญก็ได้ ไส้ก็เต็ม ท้องก็อิ่ม" เป็นการเริ่มต้นไปขายที่กระทรวงแห่งหนึ่ง ไม่มีใครมาซื้อสักคน นี่คือวันแรกของการช่วยโรงพยาบาล สุดท้ายคนในกระทรวงนั้นเข้าใจจึงช่วยกันซื้อ ใน 1 ปี ได้ปัจจัย 22  ล้านบาท สร้างโรงพยาบาล ตึกสร้างเสร็จภายใน 3 ปี จนได้รับนามว่า " ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฝ่ายสงฆ์ " ปัจจุบันขายห่อหมกได้ วันละ 2,000 ชุด



สิ่งสำคัญคือ ชาวบ้านเป็นหนี้สินต้องมาพึ่งพา จึงพยายามให้ชาวบ้านมีอาชีพสุจริต ดำเนินชีวิตตามความพอเพียงและใช้ธรรมะของพระพุทธเจ้า ชาวบ้านหรือเด็กมีต้นทุนต่ำจึงพยายามจะพัฒนาต้นทุนชีวิตให้ดีขึ้น ด้วยใช้หลัก 6  m คือ "พัฒนาคน วัสดุนำมาทำอาหาร รูปแบบสินค้า สินค้าบุญก้าวข้ามราคา " ในวันที่เปิดโรงพยาบาลทำให้หลายคนร้องไห้ ภูมิใจว่าเป็นส่วนร่วมส่วนหนึ่งของการสร้างโรงพยาบาล จึงมีคำถามว่า ใช่กิจของสงฆ์หรือไม่ หลวงพี่ช้างตอบว่า ถ้าคนในชุมชนยังใช้ชีวิตลำบาก เป็นหนี้สิน ประกอบอาชีพ พระสงฆ์จะทำอย่างไร? เป้าหมายจริงๆ หลวงพี่ช้างทำเพื่อคนอื่น ได้แรงบันดาลใจมาจากครูอาจารย์สมัยเรียนปริญญาตรี สาขาปรัชญา มหาจุฬาฯ ปัจจุบันเรียนปริญญาเอกเพื่อพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง



หลวงพี่ช้างพระนักพัฒนาแห่งพรหมพิราม ทำงานอุทิศตัว เพื่อพัฒนาชุมชนและช่วยเหลือสังคม รวมทั้งเด็กด้อยโอกาส จนได้รับการยกย่องให้เป็น "พระนักพัฒนาแห่งพรหมพิราม" เวลาผ่านไป ความตั้งใจอันแรงกล้าของ "หลวงพี่ช้าง" ก็ยังหนักแน่นเช่นเดิม เพื่อให้ชาวบ้านหาแนวทางของตัวเองเจอ เพื่อจะได้นำไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองและครอบครัวในทางสุจริตหลวงพี่ช้างได้เปิดโลกใหม่ให้เด็กด้อยโอกาส เพราะหลวงพี่ช้างยึดความจริงที่ว่า "เพราะชีวิตเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะเป็นคนดีหรือเลวได้" ดังนั้น"หลวงพี่ช้าง"จึงอุปการะเลี้ยงดูเด็ก ๆ ที่บ้านแตกสาแหรกขาดเป็นจำนวนมาก บางคนก็บวชเป็นสามเณรที่วัด ซึ่งหลวงพี่จะใช้วิธีในการปรับเปลี่ยนนิสัยเด็กๆเหล่านั้น แต่ที่สำคัญก็คือ การให้ความรักและการให้อาชีพ จนเด็ก ๆ ทั้งหมดต่างก็รักและเคารพหลวงพี่ช้างไม่ต่างจากพ่อแท้ๆ หลวงพี่ช้างทำด้วยใจ ไม่มีคำว่าเหนื่อย ไม่มีคำว่าย่อท้อ โดยได้แรงบันดาลใจมาจากอดีตของตัวเองที่เคยเป็นเด็กที่มีปมชีวิต หลวงพี่ช้างจึงเข้าใจดีว่าความทุกข์ยากลำบากนั้นเป็นเช่นไร จึงต้องการช่วยเหลือปลดปล่อยสิ่งเหล่านั้นให้กับชาวบ้านและชุมชนในพรหมพิราม ภารกิจในการสร้างคน และชุมชนของหลวงพี่ช้างยังมีหลายมิติ หลวงพี่ช้างจึงเป็นพระนอกกรอบที่อุทิศตัวทำงานเพื่อให้เด็ก ๆ และผู้ยากไร้ให้มีอนาคตที่ดีกว่าด้วยการให้อาชีพ อุปถัมภ์การศึกษา พัฒนาเด็กให้มีคุณภาพ หลวงพี่ช้างจึงมีหัวใจแห่งความกรุณา มี



โครงการดูแลคนไข้ติดเตียง ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ถือว่าเป็นหัวใจแห่งพระโพธิสัตว์ " ทนเห็นคนอื่นมีความทุกข์ไม่ได้ ต้องหาทางวิธีช่วยเหลือเพราะทนเห็นคนทุกข์ไม่ได้ " ฉะนั้น เราจะเห็นวัดอื่นสร้างโบสถ์สร้างวิหารแต่วัดหลวงพี่ช้างสร้างงานสร้างอาชีพสร้างคนให้มีทุนทางสังคม วัดอื่นมีกลิ่นธูปอบอวลแต่วัดหลวงพี่ช้างมีกลิ่นของความรักความเข้าใจ เป็นการแก้ปัญหาชีวิตให้คนมากกว่าจะไปสร้างวัตถุ หลวงพี่ช้างจึงเป็นหัวใจของคนในชุมชนและคนจน เปลี่ยนวัดให้เป็นที่สร้างงานสร้างอาชีพ แก้การจนทรัพย์และจนใจ



หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาหลวงพี่ได้นำไปสู่ชีวิตของผู้คน เช่น อปริหานิยธรรม การรวมตัวกันทำอาชีพสุจริต หมั่นประชุมพูดคุยกัน รวมถึงความออกไปช่วยเหลือบุคคลที่มีความทุกข์ ถือว่า "เอาธรรมไปทำ" ธรรมะจึงต้องมีชีวิต เป็นหนึ่งเดียวกับสังคม เราทำงานพัฒนาต้องมีแก่น ไม้ดีต้องมีแก่น แก่นของเราทำเพื่อส่วนรวมมิใช่ส่วนตน เมื่อเจออุปสรรคจะสนใจคำถาม แล้วตอบคำถามแต่ไม่ตอบโต้ใดๆ เราทำเพื่อคนอื่น อะไรคือความสำเร็จสูงสุดของหลวงพี่ช้างในการเป็นพระนักพัฒนา คำตอบคือ " การอยู่ดีกินดีของคนในชุมชน ช่วยหาทางออกให้คนอื่นให้ชีวิตเขามีหนทางสว่างในชีวิต " พระสงฆ์สายบริหารที่ผ่านการพัฒนา จะเข้าใจพระสงฆ์ที่ทำงานด้านการพัฒนาในบริบทต่าง ปัจจุบันเราห่างจากชุมชน เวลาเราเดือดร้อน คนในชุมชนก็ไม่รักษาเรา จึงแสดงให้เห็นว่า เราต้องเป็นหนึ่งเดียวกันชุมชน สถาบันสงฆ์จะอยู่รอด เป้าหมายสูงสุดก็คือ ความเป็นสันติสุขในสังคม




งานพัฒนาต้องสร้างเครือข่ายในการทำงาน 




พระสงฆ์นักพัฒนารูปต่อมาคือพระครูโสภณปริยัติกิจ พระสงฆ์นักพัฒนาด้านจัดการสุขภาวะชุมชนแบบยั่งยืน สะท้อนว่านิสิตมหาจุฬาออกไปทำงานเพื่อสังคมมากมีโครงการมากมายแต่ขาดความยั่งยืน ทำอย่างไรจะยั่งยืน เราต้องตั้งคำถามว่า เราจะอะไรเพื่อคนอื่น เราต้องตั้งคำถามเราจะแผนยุทธศาสตร์วัดของเราอย่างไร ? 3 ปีแรกไม่มีการสร้างอะไร แต่สวดมนต์ไหว้พระ ปฏิบัติธรรม เป็นการเตรียมความพร้อม มีการเปิดคลีนิคธรรมะ สอนธรรมะกับแก้ไขปัญหาชีวิต คนมามากเขานึกว่าดูดวง เราต้องเป็นพระที่ฝึกตั้งคำถามอันเป็นไปเพื่อการพัฒนา เราต้องสร้างคนมาพัฒนางาน"เป็นการประมาณตน ประมาณคน นำไปสู่ประมาณงาน



"เราจะพัฒนาวัดด้วยกายภาพ นักพัฒนาจึงมีพรแสวง แสวงหาแนวทางไปเรื่อยในการพัฒนา พระพัฒนาต้องพัฒนาไปถึงทำเพื่อคนอื่นมากกว่าตนเอง เมื่อคนอื่นได้รับเขาจะรักษาเรา พระนักพัฒนาต้องบริหารจัดการให้เป็น เช่น การมีโรงเรียนผู้สูงอายุ ราชการให้การสนับสนุน  ฐานของชุมชนจะปกป้องคุ้มครองพระพัฒนา ฉะนั้น จงมีใจรักในการเป็นพระนักพัฒนา"



พระครูวิบูลสิทธิธรรม (หลวงพ่อตูม) พระสงฆ์นักพัฒนาด้านการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน จังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า ชุมชนมีความขัดแย้งเวลาเลือกตั้งก็จะขัดแย้งกัน พวกใครพวกมัน จะตั้งกลุ่มอะไรก็ล้ม ไม่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ในชนบทเราจะขาดพระ พระในชนบทขาดความรู้ความสามารถ แต่ปัจจุบันดีเพราะเรามีมหาจุฬา ทำให้พระมีความรู้ในการบริหาร แต่พอมีความรู้ก็ต่างคนต่างทำ ไม่สามารถทำงานเป็นทีมได้ เราสร้างวัตถุมากกว่าคน ไม่ส่งเสริมการศึกษาให้วัดอย่างจริง บางครั้งพระเป็นผู้รับมากกว่าผู้ให้ พระจะต้องให้ อดีตวัดเป็นเป็นโรงศาลคดีความ ใครมีเรื่องกันก็ให้เจ้าอาวาสหรือหลวงพ่อ เป็นผู้ไกล่เกลี่ยตัดสินคดีความ แต่ปัจจุบันไม่ใช่แบบนี้



ปัจจุบันพระเราเป็นฐานะผู้ประกอบพิธีกรรม ในสื่อออนไลน์ดราม่าว่า " ทำบุญกับพี่ตูนดีกว่าทำบุญกับพระ " กระแสสังคมมาแบบนี้ เราจึงต้องกลับทบทวนว่าจะทำอย่างไร? ปัจจุบันพระสงฆ์เราไม่สามารถเป็นผู้นำได้ ผู้นำมีความสำคัญมาก เราต้องฝึกการเป็นผู้นำ เราต้องเอาส่วนรวมเป็นที่ตั้ง อย่าเอาตนเองเป็นที่ตั้ง การดึงคนเข้าวัดใช้สังคหวัตถุ เช่น งานศพ เราต้องไปช่วยญาติโยม เป็นงานสูญเสียพระจะต้องช่วย ถือว่าเป็นการให้ทาน แบ่งปัน มีปิยวาจา อย่าไปด่าใคร อย่าไปสร้างศัตรู ทำให้เราได้ใจญาติโยม จะทำอะไรญาติโยมจะมาช่วย ในปัจจุบันพระสงฆ์มี 3 ประเภท คือ 1)พระเคร่ง เน้นการปฏิบัติอยู่ในป่าไม่สนใจใครมุ่งปฏิบัติ 2)พระครู พระที่ชอบเรียนส่งเรียน เรียนจบมาทำงานเป็นครู 3)พระเครียด ชีวิตเครียดจึงต้องพาทำก่อสร้าง และคนมี 3 ระดับคือ 1)ต่ำกว่าเรา เราต้องเมตตากัน 2)เสมอกัน ช่วยงานกันและกัน ให้เกียรติกันและกัน 3)สูงกว่าเรา เราต้องเคารพยกย่องเขา ทำงานไม่ติดขัด ผู้ใหญ่ไม่ชอบใครรู้มาก การจะเป็นพระนักพัฒนาจะมีพวกมีเครือข่าย แต่ถ้าอยู่คนเดียวก็ต้องปลีกวิเวก คิดจะทำงานด้านการพัฒนาต้องมีเครือข่าย



ฉะนั้น สิ่งที่ทำจริงๆ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ เอาสัจจะเป็นตั้ง ทุกคนเอาเงินมารวมกัน จะต้องมีสัจจะ คือ ความจริงใจต่อกัน ใครที่ขัดสนก็กู้ไป แต่ต้องมีสัจจะจะต้องจ่ายคืน พร้อมค่าบำรุง ค่าบำรุงนำไปช่วยเหลือคนในชุมชน ปัจจุบันมีเงิน 43 ล้านบาท  เพราะมีสัจจะ มีวินัย มีคณะกรรมการ 2  ปีเลือก 1  ครั้ง พอมีกลุ่มสัจจะก็มีกิจกรรมร่วมกัน มีกิจกรรมด้านคุณธรรมบูรณาการหลักธรรมสู่การดำเนินชีวิต ดังนั้น "เราต้องสร้างความเข้มแข็งจากสถาบันพระพุทธศาสนา " เราต้องมาช่วยกัน ผนังเกิดมาจากก้อนอิฐแต่ละก้อน การทำงานด้านการพัฒนาจะต้องอ่อนน้อมต่อพระเถระผู้ใหญ่เพื่อการสนับสนุน พระสงฆ์นักพัฒนาต้องไม่โดดเดี่ยว ญาติโยมจะถามว่า " พระสงฆ์ให้อะไรกับสังคม " นี่คือสิ่งที่สังคมคาดหวังจากพระสงฆ์ มิติเป็นรูปธรรม จะเป็นพระนักพัฒนาต้องมีแผน แผนการพัฒนาร่วมกัน

วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ทศชาติทศบารมีบูรณาการมรรคมีองค์8


          พระเตมีย์ – สัมมากัมมันตะ เนกขัมมบารมี การละเว้นจากการทำบาป รักษาศีล ประพฤติในธรรม ไม่เบียดเบียนกัน นำมาซึ่งความสุขสงบในสังคม 
          พระมหาชนก – สัมมาวายามะ วิริยะบารมี ความพากเพียร ความกล้าหาญ ความพยายาม ไม่ย่อท้อ นำมาซึ่งแห่งความสำเร็จในการดำเนินชีวิตและประกอบกิจการงาน 
          สุวรรณสาม – สัมมาทิฏฐิ เมตตาบารมี ความรัก ความอ่อนโยน ความปรารถนาดี และการให้อภัยผู้อื่น ส่งผลให้ผู้ประพฤติปฏิบัติเป็นที่รักใคร่และประสบแต่ความสุขความเจริญ 
          พระเนมิราช – สัมมาสมาธิ อธิษฐานบารมี ความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในการสั่งสมความดี เสียสละความสุขของตนเพื่อผู้อื่น ส่งผลให้ผู้ประพฤติปฏิบัติได้รับความเคารพศรัทธาและได้รับการสรรเสริญ
          พระมโหสถ – สัมมาทิฏฐิ ปัญญาบารมี การรู้ทั่ว รู้ถึงเหตุ รู้ถึงผล รู้ดีรู้ชั่ว และใช้สติปัญญาแก้ไขปัญหาอย่างเที่ยงธรรม ส่งผลให้ผู้ประพฤติปฏิบัติดำเนินชีวิตได้อย่างชาญฉลาดและทำให้สังคมสงบสุข 
          พระภูริทัตต์ – สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจาย ศีลบารมี การควบคุมความประพฤติทั้งกายและวาจาให้ตั้งมั่นอยู่ในความดีงาม จักนำพาผู้ประพฤติปฏิบัติหลุดพ้นจากสิ่งยั่วยุทั้งปวง และทำให้เกิดความสุขสงบในชีวิต 
          พระจันทกุมาร - สัมมาวายามะ ขันติบารมี ความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่พอใจ ต่อสิ่งที่มากระทบ และต่อทุกขเวทนาต่างๆ ย่อมนำพาให้ผู้ประพฤติดีรอดพ้นจากสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง 
          พระพรหมนารท – สัมมาทิฏฐิ อุเบกขาบารมี การดำรงตนอยู่บนความถูกต้อง มีใจเที่ยงธรรม หนักแน่น มั่นคง สุขุม เยือกเย็น ย่อมส่งผลให้สังคมเกิดความสามัคคีและความสงบสุข 
          พระวิทูรบัณฑิต – สัมมาทิฏฐิ สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัจจบารมี การตั้งมั่นอยู่ในความสัตย์จริง พูดจริงทำจริง มีความจริงใจ มีความซื่อตรง ส่งผลให้ผู้ประพฤติปฏิบัติประสบความเจริญในหน้าที่และการงานโดยทั่วกัน 
          พระเวสสันดร – สัมมากัมมันตะ ทานบารมี การให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน เพื่อช่วยเหลือคนที่ด้อยและอ่อนแอกว่า ย่อมปลดเปลื้องความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น และส่งผลให้เกิดความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ 

แนะนำพระพุทธเจ้าและครูบาศรีวิชัยต้นแบบพระนักพัฒนา



"มจร"ร่วมกับวิทยาลัยสงฆ์ลำพูนและพศ.ขับโครงการพระสงฆ์กับการพัฒนาภาคเหนือ เจ้าคณะจังหวัดลำพูนแนะจะพัฒนาคนอื่นต้องพัฒนาตัวเองก่อน มีพระพุทธเจ้าและครูบาศรีวิชัยต้นแบบอย่างพอเพียง



ระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2560  ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีกิจกรรมการขับ

เคลื่อนโครงการสังฆพัฒนาวิชชาลัย ครั้งที่ 2 โดยความร่วมมือของ มจร วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ภายใต้การนำของพระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร  มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ภายใต้การนำของพระมหาบุญเลิศ อินทปัญโญ,รศ. รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ ฝ่ายวิชาการ      และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) โดยมีพระสงฆ์และภาคีในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง และวัดหนองกวาง บ้านแม่ป๊อกใน ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน



กิจกรรมเริ่มขึ้นเมื่อวันที่  20 พฤศจิกายน 2560  โดยพระเทพรัตนนายก เป็นประธานเปิดโครงการเเละให้โอวาทเพื่อเป็นเเนวทางในการทำงานพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมความว่า  การจะพัฒนาใครจะต้องเริ่มจากการพัฒนาตนเองก่อนโดยการค้นหาเองว่ามีคุณธรรมจริยธรรมอะไรอยู่ในใจบ้าง โดยพระพุทธเจ้าเป็นต้นแบบนักพัฒนา รวมถึงครูบาศรีวิชัยที่สร้างทานบารมีและศีลบารมี



"พร้อมกันนี้พระนักพัฒนาจะต้องไม่ละเลยเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน สวดมนต์ไหว้พระเป็นนิตย์ การพัฒนาวัดจะต้องสะอาด สว่าง สงบ แต่ต้องมีความพอเพียง การบริหารวัดต้องให้มีส่วนร่วม มีคณะกรรมการมีส่วนร่วมในการบริหาร สิ่งสำคัญคือ ต้องพัฒนากาย วาจา จิตใจ เป็นการพัฒนาภายในควบคู่กับการพัฒนาภายนอก พระสงฆ์รูปใดเป็นผู้นำสงฆ์ต้องทำงานภายในและทำงานภายนอก และต้องตระหนักว่า ผู้นำอยู่ข้างหน้า คนนินทาอยู่ข้างหลัง ทำไมคนถึงใช้เราในการทำงาน เพราะเขากำลังฝึกเราให้เป็นงาน และเรามีศักยภาพเขาจึงใช้งาน" พระเทพรัตนนายก กล่าวและว่า



การเป็นนักพัฒนาด้านพระพุทธศาสนาต้องตระหนักว่า ต้องไม่ทำลายวัฒนธรรมองค์กรสงฆ์ ด้วยการเรียนวิชาการแล้วต้องเรียนวิชาปฏิบัติ พระนักพัฒนากล้าบวชตลอด เรียกว่า บวชจนตาย กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ จึงถือว่าเป็นพระนักพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์



ขณะที่พระมหาบุญเลิศ  กล่าวว่า ทำไมต้องสังฆพัฒนาวิชชาลัย ในโลกนี้มีคนรวย 62  คน แต่ยังมีคนขาดแคลนอาหารอีกจำนวนมาก จึงมีข้อความสำคัญว่า " One day the poor will have nothing to eat but the rich สักวันหนึ่งคนจนไม่มีอะไรกินนอกจากเนื้อของคนรวย : " คนขาดแคลนอาหาร ดูโลกมาดูเรา ปัจจุบันคณะสงฆ์เราต้องปรับตัว พระสงฆ์เราทำอะไรได้บ้าง เราจึงมาทำสังฆพัฒนาวิชชาลัย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เราจะไปเรียนรู้จากพระสงฆ์ต้นแบบ เวทีสังฆพัฒนาเพื่อ แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ เราจะทำโครงการเพื่อให้คนในชุมชนได้รับการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป



พระมหาบุญเลิศ กล่าวด้วยว่า  ภาครัฐต้องการปฏิรูปพระพุทธศาสนา แต่คณะสงฆ์ยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้ เพราะเราไม่มีแผนการพัฒนาพระพุทธศาสนา ไม่มีความเป็นเอกภาพว่า 5  ปีข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง เช่น แผนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เป็นเอกภาพควรเป็นอย่างไร? ปัจจุบันต่างคนต่างทำ ทำให้การเผยแผ่ธรรมไม่มีความเป็นเอกภาพ  ทำอย่างไร? เราจะมีแผนการพัฒนาพระพุทธศาสนาที่มีความชัดเจน เป็นเอกภาพ มีรูปธรรม  จึงต้องมีการพัฒนาแผน ด้วยการให้พระสงฆ์นักพัฒนาคิดโครงการเพื่อการเปลี่ยนแปลงชุมชน ยิ่งทำยิ่งได้เครือข่าย  สังฆพัฒนาต้องการสร้างเครือข่าย เราต้องการสร้างเครือข่ายยิ่งมากยิ่งดี สามารถทำงานร่วมกับเครือข่าย  ต่อยอดงานคณะสงฆ์ที่ทำอยู่แล้วแต่ต้องทำด้วยเครือข่าย



หลังจากนั้นได้เปิดเวทีความคิดเพื่อการยกระดับคุณภาพพระสงฆ์สู่การเป็นพระสงฆ์นักพัฒนาโดยวิทยากร ประกอบด้วยพระชยานันทมุนี,ผศ.ดร. รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์น่าน พระครูสิริสุตานุยุต,ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน พระครูกิตติปริยัตินิเวศน์ เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดลำพูนและนายขยัน วิพรหมชัย นายกเทศมนตรีตำบลอุโมงค์ เพื่ิอสร้างอุดมการณ์พระสงฆ์นักพัฒนาที่สนองงานคณะสงฆ์เเละเพื่อสังคมในอนาคต  โดยมีคำถาม 3 ประเด็นให้วิทยากรตอบโจทย์ 1)ลักษณะการทำงานเป็นอย่างไรด้านสังคมและคณะสงฆ์ 2)วิธีการเทคนิคได้รูปแบบมาจากใคร มีอุปสรรค 3)ข้อเสนอแนะในการทำงานด้านการพัฒนา



เริ่มจากพระครูสิริสุตานุยุต  กล่าวว่า ผมดูแลด้านการศึกษา สร้างหลักสูตรครูสอนปริยัติธรรม ทำให้เกิดความภูมิใจ สิ่งหนึ่งที่ในการทำให้เป็นนักพัฒนาคือ ความใจกว้าง อย่าคิดว่าเราเก่งทุกเรื่อง



นายขยัน กล่าวว่า ผมเป็นเด็กวัดมาก่อนจึงมีแรงบันดาลใจในทำงานเพื่อสังคม โดยการสำรวจความต้องการของคนในชุมชน หรือ ปัญหาในสังคม แล้วนำปัญหามาพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการ มีกิจกรรมเยี่ยมคนติดเตียงที่บ้าน โดยร่วมมือกับคณะสงฆ์ คนป่วยเห็นพระสงฆ์ไปเยี่ยมดีใจ เราขับเคลื่อนแบบการมีส่วนร่วมจะทำให้เกิดความยั่งยืน



พระครูกิตติปริยัตินิเวศน์ กล่าวว่า เกิดแรงบันดาลใจจากครูบาศรีวิชัย ซึ่งพระสงฆ์มีทุนทางสังคม งานที่โดดเด่นคือ ค่ายงานจิตอาสา ด้วยการสร้างถนนขึ้นดอย ระยะทาง 1 กิโลครึ่งที่น่านมีโครงการสังฆพัฒนาร่วมประชาพัฒนาสัมมาชีพ สร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคีเครือข่าย



พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร แสดงความเห็นว่า การทำงานจะต้องเจออุปสรรคเป็นเรื่องธรรมดา เราต้องอย่าลืมอปริหานิยธรรม การให้เกียรติเจ้าของพื้นที่ การทำงานเพื่อสังคมต้องสร้างทีมงาน อย่าเพิ่งท้อเพราะจะเห็นผลช้าในการพัฒนา ต้องสร้างความเข้าใจ พระสงฆ์กับการพัฒนาสังคมเป็นของคู่กัน เราลดการสร้างวัตถุมาสร้างและพัฒนาคนในชุมชนมิติต่างๆ เราต้องเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน อย่าเป็นส่วนเกินในชุมชน พระสงฆ์ต้องทำงานร่วมกับชุมชน ด้วย การพัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาสังคม พระสงฆ์ต้องมีเครื่องมือในการลงชุมชน เราไปขอเรียนรู้จากองค์กรและบุคคลผู้เชี่ยวชาญ งานพัฒนาต้องมีเครือข่ายทำคนเดียวจะเหนื่อยมาก เราจึงสร้างเครือข่ายในการทำงาน 




"สิ่งที่อยากเห็นคือพระสงฆ์เป็นผู้นำในการพัฒนา ร่วมแก้ปัญหากับคนในชุมชน โดยพระสงฆ์มีมิติทางพระพุทธศาสนาในการแก้ปัญหา คิดทำตามแบบฉบับของเรา ไม่ต้องทำเรื่องใหญ่แต่ทำให้มันสุดๆ ทำให้ดีที่สุด มีคนพร้อมสนับสนุนถามว่าเราจะทำจริงหรือเปล่า ฉะนั้น เราจะไปพัฒนาคนอื่น เราต้องพัฒนาตนเองก่อน ประโยชน์ตนเองก่อน แล้วนึกถึงประโยชน์คนอื่น เราต้องเริ่มเป็นแบบอย่างที่ดี เราทำงานแตกต่างวิธีการ แต่เป้าหมายเดียวกัน เริ่มจากตนเองก่อน อยู่เพื่อตนเองอยู่แค่สิ้นลม การทำงานเป็นทีมมีเครือข่ายจะทำให้มีพลัง เกิดผลต่อการพัฒนามนุษย์" พระอาจารย์ปราโมทย์ ระบุ



พระครูวิบูลสิทธิธรรม (หลวงพ่อตูม) พระสงฆ์นักพัฒนาด้านการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน จังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า ชุมชนมีความขัดแย้งเวลาเลือกตั้งก็จะขัดแย้งกัน พวกใครพวกมัน จะตั้งกลุ่มอะไรก็ล้ม ไม่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ในชนบทเราจะขาดพระ พระในชนบทขาดความรู้ความสามารถ แต่ปัจจุบันดีเพราะเรามีมหาจุฬาฯ ทำให้พระมีความรู้ในการบริหาร แต่พอมีความรู้ก็ต่างคนต่างทำ ไม่สามารถทำงานเป็นทีมได้ เราสร้างวัตถุมากกว่าคน ไม่ส่งเสริมการศึกษาให้วัดอย่างจริง บางครั้งพระเป็นผู้รับมากกว่าผู้ให้ พระจะต้องให้




 

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

"อุ๊งอิ้ง"โพสต์"ทักษิณ"ตรวจสุขภาพแข้งแรงดี



วันที่ 20 พ.ย.2560 เฟซบุ๊ก Ing Shinawatra ของ "อุ๊งอิ้ง" น.ส.แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาวคนเล็กของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความว่า "พาคุณพ่อไปตรวจสุขภาพมาเช้านี้ค่ะ หมอบอกแข็งแรงดีมาก พ่อทำตามหมอแนะนำอย่างเคร่งครัดเสมอ ตรวจดูหัวใจ พอหมอบอกว่า แข็งแรงดี ไม่มีอะไรผิดปกติ พ่อยิ้มแล้วหันมาบอกว่า “my heart is fine, not broken, too old for that” แปลง่ายๆว่า “หัวใจผมแข็งแรงดี ไม่ได้อกหัก มันแก่เกินกว่าจะอกหักแล้ว” ฮาาาาา กันยกแก๊งค์  #อารมณ์ดี ก็เป็นส่วนทำให้แข็งแรงได้จริงๆ พ่อยังมีประโยคทิ้งท้ายอีกว่า “เราต้องทานอาหารเป็นยา ไม่งั้นแก่ตัว ต้องมาทานยาเป็นอาหาร” คมมมม!!! "

เจ้าคุณสวีเดนธุดงค์สู่แดนหิมะพระอาทิตย์เที่ยงคืน





เจ้าคุณสวีเดนธุดงค์สู่แดนหิมะพระอาทิตย์เที่ยงคืน สอนวิปัสสนาเด็กลูกครึ่งไทยถวายพระราชกุศล"ในหลวงร.9"


ระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย.2560 ที่ผ่านมา พระวิเทศปุญญาภรณ์ (เจ้าคุณสวีเดน) เจ้าอาวาสวัดพุทธาราม ประเทศสวีเดน ทูตสันติภาพ  เลขานุการสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป ได้เดินทางขึ้นเหนือด้วยรถไฟจากกรุงสตอกโฮล์มสู่เมืองคิรุน่า อันเปนเมืองที่อยู่เหนือสุดของประเทศสวีเดนจากเมืองหลวงไปประมาณ1,500 กิโลเมตร ซึ่งเดินทางด้วยรถยนต่อไปที่เมือง Gällevare เพื่อไปร่วมงานการทำบุญถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9  และเทศนาเรื่องพระราชายอดกตัญญู



หลังจากนั้นได้นำเด็กๆลูกครึ่งไทยที่เกิดและเติมโตในประเทศสวีเดนได้ฝึกกราบพระและฝึกนั่งสมาธิ ทั้งนี้เพราะเห็นว่าเด็กไทยที่อยู่ห่างไกลเมืองไทยจะเริ่มพูดไทยมิได้ ลืมวัฒนธรรมรวมทั้งความเป็นไทย จึงได้นำธรรมสัญจรด้วยวิปัสสนากรรมฐานนำทางให้เด็กไทยในต่างเดนได้เข้าถึงและรักสถาบันชาติศาสนาและพระมหากษัตริย์
   


ต่อมาได้มาเยี่ยมธรรมะสัจจรเทศนาให้คนไทยฟังที่เมืองคิรุน่า เมืองสุดท้ายของสวีเดนที่มีหิมะปกคลุมและหนาวเย็นที่สุด รวมทั้งเป็นเมืองที่มีแสงเหนือปรากฎมากที่สุด โดยคนไทยได้มารวมกันฟังเทศน์ที่ร้านไทย



ต่อมาในวันอาทิตย์ได้รับนิมนต์ธรรมสัญจร เข้าเดนจากประเทศสวีเดนสู่ประเทศนอร์เวย์ การเดินทางเส้นทางนี้ในฤดูหนาวจะลำบากมากที่สุดประรถไฟจะวิ่งลำบากเพราะหิมะตกมากพร้อมกับเส้นทางที่ผ่านภูเขาสูงชัน  และบางทีหิมะตกมาถนนถูกปิดหลายชั่วโมง. คนที่เดินทางจะต้องเตรียมตัวและเตรียมใจให้พร้อม แต่ด้วยความที่จะไปพบกับชาวไทยที่ที่รอคอยที่จะได้ถวายเพลและปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานจึงได้เดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางจนได้. โดยในการเดินทางครั้งนี้นอกจากจะสอนธรรมแล้ว ก็เป็นการเดินทางเพื่อประกาศพระศาสนาสนา และนำสันติภาพสู่โลกและการแจ้งข่าวการประชุมใหญ่ทั้งสองงานคือ 30 มิ.ย.2561 มิถุนายน การประชุมสันติภาพโลก 8-9 ก.ค. 2561 การประชุมสงฆ์ยุโรป ที่ประเทศสวีเดน

วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

พระมหาสุรศักดิ์วัดประดู่ออกเหรียญนาคปรกรุ่นแรก



หลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข ถือเป็นอีกหนึ่งสุดยอดพระเกจิแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง ที่ได้รับความศรัทธาจากสาธุชนชาวไทยอย่างแพร่หลาย และได้รับความ


ศรัทธาจากลูกศิษย์ชาวต่างชาติอย่างท่วมท้น ท่านได้ศึกษาตำราพระเวทพุทธาคมและกรรมฐานจากสำนักต่างๆ และยังได้รับความเมตตาจากครูบาอาจารย์ อาทิ หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว  เป็นต้น ประสิทธิ์ประสาทสรรพวิชาอาคมให้อย่างเต็มที่  อีกทั้งท่านเป็นนักพัฒนาทั้งทางด้านศาสนสมบัติ และศาสนาบุคคล ได้ส่งเสริมการเรียนการสอนพระภิกษุสามเณร ใหศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกนักธรรมและบาลี ส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ ให้นักเรียน นักศึกษา ได้มีการศึกษาที่ดี ทั้งมอบทุนการศึกษาจำนวนมากในแต่ละปี ให้มีโครงการให้นักเรียนมาเป็นไกด์บรรยายความรู้ให้แก่ผู้มาชมวัด ส่งเสริมอาชีพให้ประชาชน เป็นต้น ในด้านศาสนสมบัติ ได้พัฒนาพระอุโบสถให้สวยงาม สร้างหอมหาปราบ พิพิธภัณฑ์ หอสวดมนต์ กุฏิอาสนะสงฆ์ให้สวยงาม จนได้รับพระราชทานเป็นวัดพระอารามหลวง
 

วัตถุมงคลของหลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์นั้น เป็นที่นิยมอย่างมากในศิษย์ที่เคารพนับถือทั้งชาวไทยและต่างชาติ วัตถุมงคลท่านแต่ละรุ่นนั้นมีราคาสูงมาก เพราะเป็นที่นิยมของผู้สะสมพระเครื่อง มีประสบการณ์มากมาย และวัตถุมงคลของท่านแต่ละรุ่นนั้น จะต้องได้รับการทำพิธีพุทธาภิเษกตามตำราของวัดประดู่ที่มาแต่โบราณ จึงทำให้วัตถุมงคลของท่านจึงมีพุทธคุณอันเต็มเปี่ยมและเกิดประสบการณ์ต่างๆมากมาย เหมือนด้วยวาทะกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ "รวยแน่นแน่น" โดยทีเดียว



​ในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ ดาวพระเสาร์ ย้ายจากราศีพฤศจิก ไปราศีธนู โบราณเชื่อว่า ผู้ที่เกิดในราศีต่างๆ จะได้รับกระทบทั้งด้านการเป็นอยู่ ชีวิต การเงิน การค้า ความรัก เป็นต้น จึงมักทำบุญในโอกาสนี้ และมักจะนำวัตถุมงคล มีพระนาคปรก เป็นต้น มาติดตัวไว้ เชื่อกันว่า      เพื่อป้องกันเหตุเภทภัยต่างๆ
​พระ “ปางนาคปรก” เป็นชื่อเรียกพระพุทธรูปลักษณะนั่งสมาธิ และมีพญานาคแผ่หัวเป็นพังพานขึ้นจากไหล่ไปปรกพระเศียรของพระพุทธรูป   เกจิอาจารย์สมัยก่อน มีหลวงพ่อทิม วัดระหานไร่ จังหวัดระยอง หลวงพ่อโต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เจ้าคุณนร วัดเทพศิรินทร์ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ หลวงพ่อหมุน วัดบ้านจาน เป็นต้น ได้จัดสร้างไว้ให้ศิษยานุศิษย์เพื่อบูชาพกติดตัว เพื่อป้องกันภยันตรายต่างๆ 
ดังนั้น


​พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (พระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข) ในโอกาสทำบุญอายุวัฒนมงคล ครบ ๕๖ ปี และพระเสาร์ย้ายราศี นั้น ท่านจึงได้จัดสร้างเหรียญพระนาคปรก วัดประดู่ ห่วงเชื่อมรุ่นแรก และพระนาคปรกใบมะขาม รุ่นแรก เพื่อสมทบทุนในการบูรณะพระอาราม


ลักษณะเหรียญนาคปรก วัดประดู่ ห่วงเชื่อมรุ่นแรก


ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน สิงห์1 ประทับนั่งบนนาคปรก 7 เศียร มีอักขระ เป็นหัวใจพระพุทธเจ้า ชนะมาร และหัวใจพระอภิธรรม ด้านหลังเป็นยันต์มงกุฏพุทธเจ้า ส่วนพระนาคปรกใบมะขาม รุ่นแรกนั้น มีขนาด 1.5 เซนติเมตร เรียกง่ายว่า จิ๋วแต่แจ๋ว ด้านหน้าเป็นพระนาคปรก ด้านหลังเป็นยันต์มงกุฏพุทธเจ้า



ในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๙.๑๙ น. วัดประดู่ จะได้จัดพิธีนพเคราะห์พุทธาภิเษก วัตถุมงคลดังกล่าว โดยนิมนต์พระเกจิจำนวนมาก เพื่อประกอบพิธีดังคกล่าว  ได้ข่าวว่า ยอดจองบางรายการเต็มตั้งแต่วันแรกเลยที่เดียว จัดสร้างน้อย มีจำนวนจำกัด วัตถุมงคลทุกองค์ มีเบอร์และหมายเลขกำกับ


สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ห้องวัตถุมงคล วัดประดู่พระอารามหลวง  โทร.034-772-299,099-090-9060,099-559-0959 ไลน์ Phramh555

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ปุ๋ยอินทรีย์ผลิตภัณฑ์ R5 บริษัท ซีโก้ไฮ-ออแกนิค จำกัด



สนใจติดต่อตัวแทนจำหน่าย นายสำราญ สมพงษ์ โทร. 0815583865 หรือ off_38@hotmail.com
หรือดูรายการสิ้นค้าอื่นๆ ได้ที่ http://deelee2559.wixsite.com/shop/r5

เคทีซีมอบสิทธิพิเศษสมาชิกลุ้นทริปหรูสู่ซิดนีย์



เคทีซี จับมือโรงแรมชั้นนำ สานต่อแคมเปญ “กิน พัก เที่ยว เปรี้ยวยกแก๊ง”มอบสิทธิพิเศษสมาชิกลุ้นทริปหรูสู่ซิดนีย์

​              ​

บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “เคทีซี” โดย นางสาวปริม ปัญญาเสรีพร ผู้อำนวยการ -  การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวและสันทนาการ (โรงแรม) ร่วมส่งเสริมและกระตุ้นการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลท่องเที่ยว สานต่อแคมเปญ “กิน พัก เที่ยว เปรี้ยวยกแก๊ง” เอาใจสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่ชื่นชอบการเดินทาง กับสิทธิพิเศษในการเลือกพักผ่อน หรืออิ่มอร่อยไปกับห้องอาหารชั้นเลิศ ในโรงแรมและ  รีสอร์ทชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ พร้อมร่วมลุ้นรางวัลใหญ่ ทริปสุดหรูสู่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย 5 วัน 4 คืน รางวัลห้องพักในประเทศ และบัตรรับประทานอาหาร รวมทั้งสิ้น 79 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 1,000,000 บาท เพียงสมาชิกใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีในหมวดโรงแรมครบ 1,000 บาท ต่อเซลส์สลิป รับ 1 สิทธิ์ โดยส่งข้อความลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ พิมพ์ KPT เว้นวรรค ตามด้วยหมายเลขบัตรเครดิต 16 หลัก ส่งมาที่หมายเลขโทรศัพท์ 061 384 5000 หรือลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ ผ่านเว็บไซต์ www.ktc.co.th/kinpaktiew2017  ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ถึง 31 มกราคม 2561


รายละเอียดของรางวัลจากแคมเปญ “กิน พัก เที่ยว เปรี้ยวยกแก๊ง” รางวัลที่ 1 แพ็คเกจท่องเที่ยวซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย 4 คืน สำหรับ 2 ท่าน จำนวน 1 รางวัล ประกอบด้วยห้องพักที่โรงแรม วินด์แฮม ซิดนีย์ สวีท (Wyndham Sydney Suite) พร้อมบัตรโดยสารเครื่องบิน ไป – กลับ กรุงเทพฯ – ซิดนีย์ มูลค่า 120,000 บาท 


รางวัลที่ 2 ห้องพักโรงแรมชั้นนำ 3 คืน พร้อมอาหารเช้า สำหรับ 2 ท่าน จำนวน 18 รางวัล  อาทิ ศาลาภูเก็ต รีสอร์ท แอนด์ สปา (Sala Phuket Resort and Spa) 137 พิลล่าร์ เฮาส์ เชียงใหม่ (137 Pillars House) วิลล่า มาร็อก รีสอร์ท ปราณบุรี (Villa Maroc Resort Pranburi) เดอะ โฟลท์เฮ้าส์ ริเวอร์แคว (The Float House River Kwai) อคีรา แมเนอร์ เชียงใหม่ (Akyra Manor Chiang Mai) หน้าผา เขาใหญ่ รีสอร์ท (Nhapha Khao Yai Resort) มารดาดี เฮอริเทจ ริเวอร์ วิลเลจ เชียงใหม่ (Marndadee Heritage River Village) รวมมูลค่า 748,752บาท


รางวัลที่ 3 บัตรรับประทานอาหารที่โรงแรมชั้นนำ สำหรับ 2 ท่าน จำนวน 60 รางวัล อาทิ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ (Renaissance Bangkok Ratchaprasong Hotel) โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ (JW Marriott Hotel Bangkok) และโรงแรมแบงค็อก แมริออท มาคีส์ ควีนส์ปาร์ค (Bangkok Marriott Marquis Queen's Park Hotel) รวมมูลค่า 277,380 บาท


ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE โทรศัพท์ 02 123 5000 หรือที่เว็บไซต์ www.ktc.co.th/kinpaktiew2017 หรือสมัครบัตรเครดิตได้ที่ศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือคลิกลิงค์เพื่อสมัครบัตรเครดิตได้ที่นี่: http://bit.ly/2uPcS19

วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

2มส.รับรายงานคืบหน้าธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์



คณะทำงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเข้าพบ 2 มส.คือพระพรหมวชิรญาณและพระพรหมบัณฑิต รายงานความคืบหน้ารับข้อเสนอแนะโครงการธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ



วันที่ 15 พ.ย.2560  พระราชวรมุนี รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ในฐานะประธานคณะทำงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และนายแพทย์ณรงค์ศักดิ์  อังคะสุวพลา ประธานคณะขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ นำผู้แทนคณะทำงานโครงการธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ เข้าถวายรายงานความก้าวหน้าโครงการฯ แก่พระพรหมวชิรญาณ กรรมการมหาเถรสมาคม และประธานฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์ ที่วัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร และเข้าพบพระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม และอธิการบดี มจร ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา



พระราชวรมุนี ได้ถวายรายงานโดยสรุปว่า สืบเนื่องจากที่ประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่7/2560 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2560 ได้มีมติมหาเถรสมาคมที่191/2560 เรื่อง พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ  โดยให้ดำเนินการจัดทำธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ โดยมอบหมายให้พระพรหมวชิรญาณและพระพรหมบัณฑิตเป็นที่ปรึกษา



การนี้เพื่อสนองมติดังกล่าวมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยพระพรหมบัณฑิต ได้มีคำสั่งมหาวิทยาลัยที่769/2560 แต่งตั้งคณะทำงานโครงการจัดทำธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ มีพระราชวรมุนีเป็นประธาน มีคณาจารย์ มจร ผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรภาคีที่เกี่ยวเป็นกรรมการ มีอาจารย์ เจ้าหน้าที่ มจร และ สช.เป็นคณะเลขานุการ โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)



การดำเนินงานได้มีการประชุมคณะทำงานวิชาการยกร่างธรรมนูญฯ จัดทำแผนกิจกรรมดำเนินงาน และจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ 4 ภาคสงฆ์มหานิกาย และ 1 ภาคคณะสงฆ์ธรรมยุต โดยใช้หลักการ "ใช้ทางธรรมนำทางโลก" ที่พระพรหมบัณฑิตเมตตาให้หลักการไว้ ซึ่งคณะทำงานได้ยึดเป็นการสำคัญในการดำเนินงาน โดยมีเป้าประสงค์สำคัญ 3 ประการ คือ (1) พระสงฆ์กับการดูแลสุขภาพตนเองตามพระธรรมวินัย (2) ชุมชนและสังคมกับการดูแลอุปัฎฐากพระสงฆ์ที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย (3) บทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม รวมถึงการขับเคลื่อนธรรมนูญฯ สู่การปฏิบัติ



การจัดทำธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ มีทั้งหมด 5 หมวด โดยสอดคล้องกับเป้าหมายสำคัญข้างต้น รวมถึงการสนับสนุนของภาครัฐและองค์การภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องใน 4 ประเด็นสำคัญ คือ(1) สิทธิประโยชน์พื้นฐานในระบบหลักประกันสุขภาพ (2)ระบบการตรวจสุขภาพ (3) พระอาสาสมัครสาธารณสุขประจำวัด(พระอสว.) หรือพระคิลานุปัฎฐาก และ(4) กองทุนสุขภาพพระสงฆ์ระดับชาติ



ทั้งนี้ในการขับเคลื่อนธรรมนูญฯ ได้ยึดโยงกับโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์ โดยคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ทั่วประเทศ สถาบันการศึกษาของคณะสงฆ์ และเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนา โดยการสนับสนุนขององค์กรภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง



ในการนี้พระเดชพระคุณทั้ง 2 ได้เมตตาให้คำแนะนำถึงแนวทางการประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ และแนวทางในการขับเคลื่อนธรรมนูญฯเพื่อความยั่งยืน นับเป็นสิริมงคลแก่คณะทำงานเป็นอย่างยิ่ง

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บรรจุอีก!อนุศาสนาจารย์จำกองทัพสหรัฐฯ



"นิพนธ์ สุขอ้วน" ศิษย์เก่า "มมร"  จบโทที่มธ.และสหรัฐฯ นับเป็นชาวพุทธคนแรกที่รับตำแหน่งสังกัดที่ sobirin




วันที่ 15 พ.ย.2560 เฟซบุ๊ก 7th Infantry Division ได้รายงาน ร้อยเอกนิพนธ์ สุขอ้วน ได้ทำสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอนุศาสนาจารย์สังกัดกองพันที่ 1 กองพันทหารราบที่ 23 หรือ 1-2 SBCT, 7th Infantry Division Sobirin ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ค่ายฟอร์ท หลุยส์ รัฐวอชิงตัน ดีซี เป็นอนุศาสนาจารย์พระพุทธศาสนาแรกที่ให้บริการที่ sobirin และเป็นหนึ่งในสี่ของพุทธศาสนิกชนในปัจจุบันให้บริการในกองทัพสหรัฐอเมริกา



ร้อยเอกนิพนธ์เรียนจบปริญญาตรีศาสนศาสตรบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(มมร) ปี 2544 ปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และที่ประเทศสหรัฐอเมริกา



ทั้งนี้ชาวพุทธดำรงตำแหน่งอนุศาสนาจารย์ในกองทัพสหรัฐฯคือ ร.อ.สมญา มาลาศรี อนุศาสนาจารย์ทหารกองประจำการกองทัพบก ประเทศอเมริกา ซึ่งเดิมบวชเป็นสามเณรและพระศึกษาพระธรรมวินัยภาษาบาลีจนสามารถจบปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยสงฆ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยา(มจร) รุ่นเดียวกับพระมหาสมปอง ตาลปุตโต พระนักเทศน์ชื่อดัง เป็นพระธรรมทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สึกหาลาเพศเป็นทหารที่กองทัพสหรัฐอเมริกา และพัฒนาตัวเองมาโดยตลอดปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาเอก



การที่ ร.อ.สมญา มีตำแหน่งเป็นอนุศาสนาจารย์ครูสอนทหาร โดยผลงานปรากฏทางสื่อมวลชนทั้งในประเทศไทยและสหรัฐอยู่เสนอคือการฝึกทหารในกองทัพสหรัฐฯนั่งสมาธิ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่สนใจของคนตะวันตก โดยเฉพาะที่ธรรมศาลาน้อย ภายในมหาวิหารใหญ่ ที่วิทยาลัยนายเรืออากาศ เมืองโคโลราโด สปริงส์ รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา นั้นมีสอนสมาธิทุกวันอาทิตย์ และเปิดให้นักศึกษามานั่งสมาธิทุกวัน



ในกองทัพบกนั้นนอกจาก ร.อ.สมญา ดำรงตำแหน่งเป็นอนุศาสนาจารย์แล้วยังมีคนไทยเข้าไปทำหน้าที่นี้ด้วยอีกหลายนายล่าสุดได้เลื่อนตำแหน่ง เป็น Sergeant นอกจากนี้มีชาวพุทธเกาหลีคนแรกที่เป็นอนุศาสนาจารย์ในกองทัพบกด้วย ส่วนที่เป็นทหารอากาศมีคนที่เข้าไปทำหน้าที่ 2 นาย ตำแหน่งอนุศาสนาจารย์ในกองทัพสหรัฐฯนั้นนอกจากจะทำหน้าที่ประจำแล้วยังคงทำหน้าที่เหมือนทหารทั่วไปอย่างเช่นการช่วยน้ำท่วมจากพายุเฮอริเคนล่าสุด



ส่วนที่กองทัพเรือกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามีคนไทยที่เข้าไปทำหน้าที่คือ "สวัสดิ์ อุ่นแก้ว"  โดยเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล ด้านการเงิน และสวัสดิการโ รงพยาบาลทหารเรือบิวฟอร์ท Beaufort ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เมืองบิวฟอร์ท รัฐเซาท์แคโรไลนา ซึ่ง "สวัสดิ์ อุ่นแก้ว"  นั้นเป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) รุ่น  46 เคยประจำการที่เรือ USS GEORGE WASHINGTON, US Naval Base เมือง Yokosuka, Japan ผ่านการเดินเรือมากกว่า 2000 วัน จบหลักสูตรการต่อสู้ทั้งทางบก น้ำ และอากาศ Surface Warfare/Air Warfare


............

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก 7th Infantry Division และSomya Malasri)





วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ถกสันติภาพกรุงโซลนำวิปัสสนาเป็นฐานสร้างเมตตาธรรม

เจ้าคุณสวีเดนผงาดกลางงานสันติภาพกรุงโซล เกาหลีใต้ ฐานะเป็นผู้นำตัวแทนองค์กรสันติภาพทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาและจากทวีปยุโรป นำวิปัสสนาเป็นฐานสร้างเมตตาธรรมอภัยให้แก่กันเป็นฐานสร้างสันติภาพ


ระหว่างวันที่ 10-14 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 มีการประชุมผู้นำศาสนาเพื่อสันติภาพ Interreligious Leadership Conference ที่ World cup stadium และLotte Hotel กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ โดยมีพระวิเทศปุญญาภรณ์ (เจ้าคุณสวีเดน) ทูตสันติภาพ  เลขานุการสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป ได้เข้าร่วมประชุมด้วยในฐานะเป็นผู้นำตัวแทนองค์กรสันติภาพทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาและจากทวีปยุโรป ขณะที่ประเทศไทยนั้นได้มีผู้ตัวแทนทั้งจากศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลามเข้าร่วม


การประชุมเริ่มขึ้นด้วยกาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อนสันติภาพ ตามด้วยการอ่านสารจากผู้นำสำคัญๆ  ทุกวงการที่เข้าร่วมประชุมทั้งผู้นำศาสนาและอดีตนักการเมือง และผู้แทนจากรัฐบาล ทั้งนี้พระวิเทศปุญญาภรณ์  ได้นำเสนอบทความต่อที่ประชุมความว่า

     
"โลกที่มีการแข่งขันในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอดของทุกมนุษย์ ต่างคนต่างมองเรื่องของตนเป็นหลัก จึงทำให้มนุษย์เริ่มเห็นแก่ตัวมากขึ้น โลกเริ่มร้อนขึ้นทุกๆวัน ตราบใดที่คนต่างคิดต่างทำต่างมองเอาเรื่องส่วนตัวเป็นที่ตั้ง ทำให้มนุษย์เกิดความโลภ โกรธ หลง จนแทบจะมองไม่เห็นว่าผิดถูกตรงไหน สุดท้ายทำความชั่วโดยมิเกรงว่าคนอื่นจะเดือนร้อนหรือไม่
     

หากปล่อยให้โลกเราเป็นไปอย่างนี้ จะทำให้ผู้นำทุกระดับชั้นหลงอำนาจจนลืมตัวและมองไม่เห็นอะไรผิดถูก ขาดจริยธรรม ขั้นพื้นฐานของทุกศาสนา ดังนั้น เราจึงต้องกลับมาคิดและหันหน้าเข้าหากันโดยทิ้งประโยชน์ตน ไว้ภายหลังใช้หลักเมตตาธรรมนำหน้า การมุ่งประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักยอมอภัยให้แก่กัน และต้องยอมรับที่จะทำความดีร่วมกัน ยอมรับการเปลี่ยนเปลงที่จะเกิดขึ้นแบ่งปันกันอยู่ให้มีความเสมอภาคช่วยกันกำจัดความทุกข์ยากลำบากหิวโหยให้มนุษย์ชาติมีสวัสดิภาพสวัสดิการพื้นฐานเท่าเทียมกันให้โลกเกิดสันติภาพอย่างยั่งยืน
 

สงครามอาจจะเกิดขึ้นอีกไม่นานถ้าผู้นำขาดเมตตาธรรม หรือคิดที่เอาเอาชนะการด้านอาวุธ อำนาจการเมือง เราต้องยอมรับความจริงว่าเราไม่อาจจะปฏิเสธเรื่องเทคโนโลยีที่ไปไกลเกินกว่าที่จะหยุดยั่งไว้ได้ และมีคนจำนวนมากที่ไม่อาจตามทัน แต่สิ่งที่เราจะหยุดได้คือใจเรา สิ่งสำคัญคือการสร้างสันติภาพให้เกิดที่ใจให้ได้แล้วโลกจะเกิดสันติภาพแบบยั่งยืน ให้มนุษยชาติอยู่ร่วมกันอย่างสันติภาพ ภราดรภาพ โดยมิจัดกันเชื้อชาติและศาสนา เพราะสุดท้ายแท้ที่จริงทุกคนเกิดมามีความเสมอกันแต่ต้นจนสุดท้านคือความเป็นอนัจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่คือหลักธรรมชาติและเป็นไตรลักษณ์ที่คู่กับโลกนี้ตราบชั่วนิจนิรันดร์
     

ขอให้การประชุมผู้นำศาสนาและสันติภาพครั้งนี้จนสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ และขอเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมประชุมและมอบรางวัลสันติภาพ  ในงานworld peace 2018 ในวันที่ 30 มิถุนายน 2561 ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน"

วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

หนังสือพิมพ์ระลึกงานสลายสรีรธาตุหลวงพ่อปัญญา




หนังสือพิมพ์ระลึกงานสลายสรีรธาตุหลวงพ่อปัญญา พระสงฆ์ผู้สร้างนวัตกรรมในการเผยแผ่ธรรมแห่งยุค


วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จฯ ในงานพระราชทานเพลิงศพพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทมหาเถระ)  อดีตเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์  จ.นนทบุรี โดยการสลายสรีรธาตุยึดตามธรรมเนียมพุทธกาล ไม่ใช้ดอกไม้จันทน์ และผู้มาร่วมงานจะนั่งสวดมนต์ในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้นั้น


ในการนี้พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส  ผู้ช่วยอธิการบดี  ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) และหลักสูตรสาขาสันติศึกษา  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)  เปิดเผยว่า เป็นผู้แทนพระพรหมบัณฑิต กรรมกามหาเถรสมาคม(มส.) อธิการบดี  มจร  เดินทางไปที่วัดชลประทานรังสฤษฏ์ เพื่อถวายหนังสือแก่พระปัญญานันทมุนี เจ้าอาวาสเพื่อมอบให้พุทธศาสนิกชนที่เดินทางมาร่วมสลายสรีระของหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ 


"ทั้งนี้ ได้ถวายกล่องหนังสือเรื่องปัญญาคู่กรุณา เพื่อทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  สำหรับหนังสือที่เรียบเรียงโดยพระพรหมบัณฑิต ซึ่งทางมหาจุฬาฯจัดพิมพ์ถวายซึ่งประกอบด้วยเรื่องปัญญาคู่กรุณา   ๓,๕๐๐ เล่ม "สติดี กรรมดี ชีวิตดี"  ๒,๐๐๐  เล่ม  มิลินทปัญหา   ๒,๐๐๐  เล่ม ขออนุโมทนาเป็นพิเศษแก่นายภิญโญ ไตรสุริยะธรรมาที่ได้จัดอาร์ตหนังสือ และถวายกล่องหนังสือในครั้งนี้ด้วย" พระมหาหรรษา กล่าว


หลวงพ่อปัญญาพระสงฆ์ผู้สร้างนวัตกรรมในการเผยแผ่ธรรมแห่งยุค 


อย่างไรก็ตามวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๐    ทางวัดชลประทานรังสฤษฏ์ได้มีพิธีร่วมแสดงกตัญญูกตเวทิตาคุณ โดยเคลื่อนสรีรธาตุหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ขึ้นตั้ง ณ จิตกาธาน หน้าโรงเรียนพุทธธรรม  และมีการแสดงปาฐกถาธรรม เรื่อง "วันเวลาเปลี่ยน แต่ปณิธานไม่เปลี่ยน" โดยพระพรหมบัณฑิต  ความว่า ความยิ่งใหญ่ของบุคคลในโลกใบนี้อย่างมหาตมะคานธีเป็นบุคคลที่สร้างความยิ่งใหญ่ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ สร้างความยิ่งใหญ่ รวมถึงหลวงปัญญานันทะมีความยิ่งใหญ่ เพราะที่ท่านมีชีวิตอยู่ เราก็ฟังคำสอนของหลวงปัญญานันทะ แต่เราไม่ได้ถอดรหัสอย่างลึกซึ้ง แต่พอท่านจากไปแล้ว นิยามชีวิตของท่านสมบูรณ์ เราจึงเริ่มมองว่าในประเทศไทยมีพระสงฆ์ที่มี "ความกล้าหาญทางจริยธรรม" เป็นต้นแบบของพระนักเผยแผ่พระนักเทศน์ที่ทำได้จริงๆ ตลอด ๗๗ ปี หลวงพ่อมีปณิธานที่ชัดเจนไม่เคยเปลี่ยนแปลงปณิธาน "หลวงปัญญานันทะไม่เคยเปลี่ยนปณิธาน" เพราะปณิธานคือเข็มทิศชีวิต เป็นความตั้งมั่นมุ่งมั่นจะทำอะไร จะเป็นอะไร และดำเนินตามปณิธาน


พระปฐมบรมราชโองการของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ว่า " เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม " ๗๐ ปีที่ครองราชย์ไม่เคยเปลี่ยนปณิธานนี้เลย ถือว่าเป็นอัศจรรย์ ปฏิบัติตามคำมุ่นสัญญา เดินทางสู่เข็มทิศที่ตั้งไว้ สังคมต้องบุคคลแบบนี้มาเป็นผู้ทางบ้านเมืองและจิตวิญญาณ ชาวพุทธไทยโชคดีที่มีผู้นำจิตวิญญาณที่มีความตรง ที่ชื่อว่า ปัญญานันทะภิกขุ เป็นพระสงฆ์ที่มีความมุ่งมั่นแบบหลวงพ่อปัญญานันทะฝรั่งกล่าวว่า " เป็นบุคคลแห่งทุกฤดูกาล " ซึ่งในยุโรปและอเมริกาในฤดูหนาวเราจะเห็นหิมะตกต้นไม้ปกคลุมด้วยหิมะนึกว่าต้นไม้ตาย ผ่านฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ต้นไม้เปลี่ยนสีตามฤดูกาล แต่มีต้นไม้หนึ่งไม่ยอมเปลี่ยนสีตามฤดูกาล เป็นไม้แห่งทุกฤดูกาล คือ ต้นสน เราจึงเรียกต้นสนว่าเป็นต้นไม้แห่งทุกฤดูกาล บุคคลที่ไม่เปลี่ยนแปลงปณิธานจึงเป็นบุคคลแห่งทุกฤดูกาล หลวงพ่อปัญญาเป็นพระแห่งทุกฤดูกาล เสมอต้นเสมอปลาย เคยเทศน์เคยอย่างไร ก็สอนเหมือนเดิม ยึดปณิธาน ตามอุดมการณ์ที่ตั้งไว้ เป็นพระสงฆ์ที่กล้าพูดกล้าทำ ชีวิตต้องมีปณิธานชีวิตจึงดำเนินไปไม่ออกนอกเส้นทาง เราต้องมีเรือที่มีหางเสือ เพื่อไปถึงจุดหมายปลายทาง คือ อุดมการณ์ ปณิธานเป็นกลยุทธ์เพื่อเดินทางสู่เป้าหมาย คนที่มีปณิธานจะมีความมุ่งมั่นเหมือนสุเมธดาบส นอนเป็นสะพานให้พระพุทธเจ้าชื่อว่าธีปังกรเหยียบข้ามไป ตั้งปณิธานว่า ขอเป็นพระพุทธเจ้า นั่นคือจุดเปลี่ยน จะเจอปัญหาอะไรก็มีความมุ่งมั่นตามปณิธาน คนที่มีปณิธานจะไปถึงเป้าหมาย ดั่งพุทธพจน์ว่า " เกิดเป็นคนต้องพยายามล้ำไปจนกว่าจะได้ในสิ่งที่ปรารถนา "


ชีวิตหลวงพ่อปัญญานันทะเป็นชีวิตที่สมหวัง เพราะเป็นไปตามมโนปณิธานที่ตั้งไว้ สิ่งสำคัญปณิธานต้องลงมือทำ สุภาษิตจีนกล่าวว่า " ระยะทางหมื่นลี้ต้องมีก้าวแรก " เราต้องตั้งปณิธานให้มั่นคง เราจะทำดีอะไรเพื่อฝากไว้ในสังคม เราอาจจะไม่มีปณิธานอันยิ่งใหญ่เหมือนหลวงพ่อปัญญานันทะ แต่เราต้องมีปณิธาน ถ้าใครไม่มีปณิธานคือ คนพาล ส่วนบัณฑิตจะมีปณิธาน ฝากอะไรไว้กับโลกใบนี้ไว้บ้าง ซึ่งผู้มีปัญญาจะรู้ประโยชน์ ๒ ประการ คือ รู้ประโยชน์ภายหน้าในปัจจุบันและประโยชน์ระยะยาวในอนาคต หรือ การเกื้อกูล เช่น ในปี ๒๕๐๓ มีการสร้างวัดชลประทาน นิมนต์พระหนุ่มชื่อปัญญานันทะมาสร้างประโยชน์โดยตรงแต่ผู้ที่สร้างประโยชน์โดยอ้อมคือกรมชลประทาน ไม่มีวัดชลประทานก็ไม่มีเจ้าอาวาสชื่อปัญญานันทะ เกิดมาทั้งทีต้องมีอะไรฝากไว้ นี่คือ ปณิธานของชีวิต


หลวงปัญญานันทะภิกขุมีปณิธานชีวิตอะไรที่เป็นเข็มทิศพาชีวิตไปสู่เป้าหมาย ปณิธานมี ๖ ข้อ จึงทำหลวงพ่อปัญญานันทะเป็นตำนาน หลวงพ่อปัญญานันทะทำได้จริง ไม่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล หลวงพ่อเสมอต้นเสมอปลาย ปณิธาน ๖ ประการ คือ


๑) อยู่เพื่อพระรัตนตรัย เพื่อรับใช้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หลวงพ่อปัญญานันทะอุทิศตนเพื่อพระรัตนตรัย เอาธรรมะเป็นใหญ่ เรียกว่า ธรรมาธิปไตย แต่ถ้าเพื่อตนเองเรียกว่า อัตตาธิปไตย ทำเพื่อเด่นดีเพื่อตนเองเท่านั้น และทำดีเพื่อคนอื่น คนอื่นเป็นใหญ่ เรียกว่า โลกาธิปไตย แต่ถ้าเพื่อความถูกต้องดีงาม เรียกว่า ธรรมาธิปไตย เป็นการขับเคลื่อนของรัชกาลที่ ๕ จะทาสเพราะความถูกต้อง เพื่อสิทธิมนุษยชน ใช้เวลาในการเลิกทาสมาก เพราะมีปณิธานที่มุ่งมั่น หลวงพ่อปัญญาเป็นแม่ทัพธรรมต่อต้านความไม่ถูกต้อง ต่อต้านไสยศาสตร์ หลวงพ่อปัญญานันทะถือธงนำหน้า เป็นธงแห่งธรรมะ มีผลกระทบต่อพระสงฆ์ในปัจจุบัน หลวงพ่อปัญญาถวายจิตวิญญาณไว้ในพระพุทธศาสนา อธิษฐานถวายชีวิตไว้กับพระพุทธศาสนา ถวายกายใจไว้ในพระพุทธศาสนา อธิษฐานและประกาศให้คนอื่นทราบ เหมือนรัชกาลที่ ๕ จะเสด็จประพาสยุโรป กลัวว่าจะไปเปลี่ยนศาสนา พระองค์ทรงประกาศในพระบรมมหาราชวังต่อหน้าพระบรมวงศานุวงต่อหน้าพระสงฆ์ ว่า " ไปยุโรปครั้งนี้เพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง จะไม่นับถือศาสนาอื่น นอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ " มีความมั่นคงในพระรัตนตรัย เป็นเรื่องที่หนึ่งที่หลวงปัญญาได้กระทำ โดยมีกัลยาณมิตรร่วมเดินทางคือ " พุทธทาส หมายถึง ทาสของพระพุทธเจ้า " บุคคลที่จะทำการใหญ่จึงต้องมีกัลยาณมิตรมีแนวร่วม นโปเลียนมหาราช กล่าวว่า การจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ต้องมี ๒ สิ่ง คือ ๑) มีศัตรูที่กล้าแข็งที่สุด ๒) มีมิตรที่ซื่อสัตย์ที่สุด หลวงพ่อปัญญาต่อสู้กับความโง่อวิชชาของผู้คน โดยอาศัยกัลยาณมิตรมาช่วย มาอยู่วัดชลประทานก็สร้างธรรมทายาท เพื่อสนองงานเผยแผ่ สร้างแนวร่วมมากมาย สนับสนุนกิจการของมหาจุฬาเพื่อ "ต่อสู้กับความโง่ด้วยการให้การศึกษาของพระสงฆ์สามเณร" และแก่ชาวพุทธทั่วโลก


๒) ประกาศคำสอนแท้ของพระพุทธศาสนา มีคำสอนแท้และคำสอนไม่แท้ เหมือนผลไม้มีเปลือก คำสอนไม่แท้เหมือนเปลือกของผลไม้ เช่น พิธีกรรมต่างๆ คนชอบติดเปลือกผลไม้จึงไม่ได้ประโยชน์สาระของพระธรรม หลวงพ่อปัญญาปอกเปลือกเพื่อนำเนื้อในของผลไม้ คือ แก่นแท้ของพระศาสนา


๓) มีความกล้า การจะปอกเปลืองต้องเป็นบุคคลที่กล้าพูดความจริง ทุกกาลเทศะ พูดความจริงความถูกต้องดีงาม กล้าพูดในความจริงซึ่งเป็นแก่นคำสอนทางพระพุทธศาสนา ท่านต่อสู้กัยไสยศาสตร์


๔) ต่อสู้กับสิ่งเหลวไหลในพระพุทธศาสนา และนำความเข้าใจมาถึงชาวพุทธ โดยยึดพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าทำลายสิ่งเหลวไหลของคนที่มีความเชื่อผิดๆ บางทีปฏิวัติบางทีปฏิรูป ปฏิวัติเรื่องความเชื่อว่าพระพรหมสร้างโลก เชื่ออำนาจงมงาย เชื่อว่าทำบาปมามากมาย ถ้าอยากบริสุทธิ์ก็ลงไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคา เป็นการล้างบาป พระพุทธเจ้าตรัสว่าไม่ใช่ แบบนี้ปลาเต่าก็ขึ้นสวรค์หมด พระพุทธเจ้าเสนอให้ล้างที่ใจ ในโอวาท คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำดีให้ถึงพร้อม และทำจิตใจให้ผ่องใส พระพุทธเจ้าจรัสว่า " ความบริสุทธิ์และความเศร้าหมองเป็นของเฉพาะตน คนอื่นไม่สามารถทำให้เราบริสุทธิ์หรือเศร้าหมอง " ส่วนปฏิรูป พรหมสี่หน้าก็สนองเรื่องพรหมวิหารธรรม หลวงพ่อปัญญาเดินตามรอยพระพุทธเจ้า พิธีกรรมรักษาไว้แต่ใส่เนื้อหาสาระไว้ เหมือน การสวดศพแต่มีการเทศน์เข้าไปให้ปัญญาด้วย หลวงพ่อปัญญาวางระบบไว้เป็นอย่างดี หลวงพ่อปัญญานันทะรับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดชลเพราะอยากทำงาน เพราะเป็นวัดที่สร้างใหม่ง่ายต่อการปฏิรูป มีการวางระบบใหม่ ยึดหลักเป็นระเบียบ เรียบง่าย ประหยัด ประโยชน์ ตามพระธรรมวินัย เจ้าอาวาสรุ่นต่อมาต้องรักษาปณิธานไว้


๕) ขอเพียงมีปัจจัย ๔ เลี้ยงชีพ สอดรับกับเศรษฐกิจพอเพียง พอเพียงมาจากคำว่า จำเป็น บริโภคตามความจำเป็น แต่บางคนบริโถคอาหารด้วยความพอใจ มีคุณค่าแท้คือ มีกำลังกายในการปฏิบัติธรรม แต่อร่อย สีสัน แสดงฐานะทางสังคม เป็นคุณค่าเทียม เหมือนรถเก่าๆ เขียนข้อความว่า" ดีกว่าเดิน " ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเน้นความจำเป็น เหมือนนักศึกษามีกระเป๋าราคาแพง มีความจำเป็นขนาดไหน เป้าหมายเป็นตัวกำหนด หลวงพ่อปัญญาบอกว่า ขอเพียงมีปัจจัย ๔ ในการเลี้ยงกายเพื่อทำงานพระพุทธศาสนา ปณิธานต้องพอเหมาะกับเป้าหมาย บางคนเป้าหมายสูง จึงต้องมีปณิธานสูง พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า " จงสันโดษในการบริโภคปัจจัย ๔ แต่อย่าสันโดษในความดี " รักษาศีล ๕ ได้ก็รักษาศีล ๘ เลื่อนขั้นความดี พระพุทธเจ้าตรัสรู้เพราะคุณสมบัติ ๒ ประการ คือ ๑) ไม่สันโดษในการทำความดี ๒) ไม่ท้อถอยในการบำเพ็ญเพียร หลวงพ่อปัญญานันทะมีครบทั้ง ๒ ข้อ ไม่เคยสันโดษในการทำความดี และไม่ท้อถอยถึงจะเจออุปสรรค


๖) ประพฤติตามหลักธรรม ใครที่มีอุดมการณ์เดียวกันท่านถือว่าเป็นแนวร่วม ท่านออกไปเทศน์ไปสอนด้วยการผูกมิตร เป็นการให้ธรรมทาน ปัจจัยที่ได้จากนิตยภัตถวายมูลนิธิมหาจุฬาเพื่อการศึกษา จับมือสร้างพระธรรมทายาท " ท่านเผยแผ่เองด้วย และจัดการให้คนอื่นเผยแผ่ด้วย " ทำให้หลวงพ่อปัญญาเป็นแม่ทัพนำในการด้านการเผยแผ่ สร้างกัลยาณมิตรให้พระหนุ่มเณรน้อยเดินตาม ประโยคคำพูดหนึ่งที่เป็นแรงบันดาลใจ คือ " คนสร้างงาน งานสร้างคน " หลวงพ่อปัญญาท่านเล่าเรื่องความกล้า กล้าด้วยการใช้ปัญญา ซึ่งคนกล้ากับคนบ้าบิ่นมีความแตกต่างกัน คนบ้าบิ่นขาดปัญญา แต่คนกล้ามีปัญญา เหมือนหลวงพ่อปัญญาเป็นพระสงฆ์ที่กล้า


สุดท้ายหลวงพ่อปัญญานันทะเป็นแม่ทัพธรรมมิใช่ออกส่งคนอื่นออกหน้าอย่างเดียว ท่านทำเองเป็นแบบอย่าง สอนได้ครบ ๔ ส. นักพูด นักเทศน์ นักเผยแผ่ที่ดี ต้องทำได้ ๔ ประการ เหมือนพระพุทธเจ้าเทศน์ คือ ๑) สันทัสสนา สอนได้แจ่มแจ้ง ๒) สมาทปนา สอนได้จูงใจ ๓) สมุตเตชนา สอนให้แกล้วกล้า ๔) สัมปหังสนา สอนได้น่าเริงบันเทิงธรรมไม่น่าเบื่อ ๔ ข้อนี้มีในหลวงพ่อปัญญานันทะ เหมือนคนจะขึ้นบ้านใหม่มาถามหลวงพ่อ หลวงพ่อบอกว่า ถ้าบ้านมีบันไดขึ้นได้เลย หรือ การเจิมรถ หลวงพ่อบอกว่าเจิมคนขับดีกว่าต้องมีสติอย่าประมาทจะปลอดภัย พระพุทธเจ้าตรัส " ประโยชน์เป็นฤกษ์ยามในตัวดวงดาวจะทำอะไรได้ "เราศรัทธาในท่านหลวงพ่อปัญญานันทะ เพราะ"สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เย็นให้สัมผัส" สอนอย่างไรทำอย่างนั้น วัดชลประทานเป็นต้นแบบในการเทศน์หรือปาฐกถาในงานศพ วัดอื่นก็เลียนแบบ วัดชลประทานสร้างพระธรรมทายาท วัดประยุรวงศาวาสก็สร้างพระนักเทศน์ หลวงพ่อปัญญานันทะเป็นพระสงฆ์รูปแรกในการยืนปาฐกถา ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในการสอน จนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน หลวงพ่อปัญญานันทะมีการสอนที่ทันสมัยมีสื่อการสอน โดยใช้สิ่งรอบข้างเป็นสื่อการสอน ดังนั้น วัดชลประทานเป็นวัดที่หลวงพ่อปัญญาจุดเทียนส่องธรรมให้เราทุกคนเดินตาม ปณิธานของหลวงพ่อยังคงอยู่ด้วยพวกเราเหล่าศิษย์มีการการปฏิบัติบูชาครูอาจารย์ เป็นการบูชาที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องสรรเสริญ


..........................
(หมายเหตุ : ขอบคุญข้อมูลจากเฟซบุ๊กhansa dhammahaso และPramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท)





เพลง: สันติกวี วิเคราะห์กวีในบริบทพุทธสันติวิธี: ยกตัวอย่างในพระไตรปิฎก

  กวีในพระไตรปิฎกเป็นแหล่งคำสอนที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในพุทธสันติวิธี เพื่อสร้างความสงบสุขในสังคม การดำเนินงานที่สอดคล้องกับหลักการและวิสัย...