วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
เตรียมเสนอธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ มส.ประทับตราประกาศใช้
คกก.ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคมเห็นชอบธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ หวังสร้างให้ "พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข" เตรียมเสนอมหาเถรสมาคมมีมติเห็นรับทราบแล้วจะมีการประกาศในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 20-22 ธันวาคม 2560 นี้
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารมหาเจษฏาบดินทร์ ชั้น 3 วัดยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ ได้มีการประชุมคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม มีพระพรหมวชิรญาณ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรรมการมหาเถรสมาคม และประธานกรรมการคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม เป็นประธานที่ประชุมเพื่อขับเคลื่อนงานสาธารณสงเคราะห์สนองงานมหาเถรสมาคมตามแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา (2560-2564)
การนี้มีคณะกรรมการฯ ประกอบด้วยพระพรหมจริยาจารย์, พระธรรมเสนานุวัตร,พระธรรมบัณฑิต,พระธรรมสุธี,พระเทพกิตติเวที,พระเทพมุนี,พระเทพวราจารย์ เป็นต้น พร้อมด้วยคณะกรรมการฯและคณะอนุกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน โดยได้มีการแจ้ง (1) คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและสำนักงานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคมเพื่อช่วยส่งเสริมสนับสนุนงานสาธารณสงเคราะห์ และประสานขับเคลื่อนงานสาธารณสงเคราะห์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และ(2) การรายงานผลการดำเนินงานสาธารณสงเคราะห์ ประจำปี 2560 เพื่อรับทราบ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การสนองงานมหาเถรสมาคมอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ได้มีมติเห็นชอบ"คู่มือการปฏิบัติงานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม" เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสงเคราะห์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นมาตรฐาน เป้าหมาย ได้ผลผลิตตามแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนางานด้านสาธารณสงเคราะห์ทั้งในภาวะวิกฤติและภาวะปกติ
นอกจากนั้นที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ"ระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยงานสาธารณสงเคราะห์" เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับงานสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคมทั้งการเป็นศูนย์กลางการดำเนินงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมถึงกองทุนกิจการพระพุทธศาสนาเพื่อการสาธารณสงเคราะห์
อนึ่งในการประชุมครั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่าง"ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ฉบับที่1พ.ศ.." ซึ่งนับเป็นธรรมนูญฉบับแรกของโลก ที่ผ่านการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ 5 เวที ของคณะสงฆ์มหานิกายในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้ และคณะสงฆ์ธรรมยุต แล้วนำมาปรับปรุงให้เป็นธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ มีเนื้อหาหลัก 7 หมวด ได้แก่ คำปรารภ นิยามศัพท์ ปรัชญาและแนวคิดหลักของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ การดูแลสุขภาวะพระสงฆ์ตามหลักพระธรรมวินัย ชุมชนและสังคมกับการดูแลอุปัฏฐากพระสงฆ์ที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย บทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม และการขับเคลื่อนธรรมนูญสู่การปฏิบัติ ภายใต้หลักการ"ใช้ทางธรรมนำทางโลก"และ "กระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน" รวมทั้งมาตรการสำคัญในการดำเนินงาน 5 ด้าน ได้แก่ ได้แก่ ความรู้ ข้อมูล การพัฒนา การบริการสุขภาพ และการวิจัย
การดำเนินการจัดทำธรรมนูญดังกล่าว ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณหลักจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) คณะทำงานจัดทำธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ โดยมีพระราชวรมุนี,ดร.(พล อาภากโร ป.ธ.9) รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มจร และรองเจ้าคณะภาค 6 เป็นประธานฯ ซึ่งการดำเนินงานได้มีจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น 4 ภาคคณะสงฆ์มหานิกาย และ 1 ภาคคณะสงฆ์ธรรมยุต โดยนิมนต์/เชิญคณะสงฆ์ องค์กรภาคีเครื่อข่ายที่เกี่ยวข้อง รวมเวทีภาคละ 100 รูป/คน เข้าร่วมเวที ได้มีการประชุมเพื่อสรุป ปรับปรุง และจัดทำให้สมบูรณ์มาโดยลำดับและเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมาได้เข้ากราบถวายรายงานผลการดำเนินงานและขอคำแนะจากพระพรหมบัณฑิตและพระพรหมวชิรญาณ กรรมการมหาเถรสมาคม และนำมาสู่การเสนอคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์พิจารณาให้ความเห็นชอบในครั้งนี้ เพื่อเสนอมหาเถรสมาคมรับทราบและดำเนินการขับเคลื่อนตามแผนที่กำหนดไว้ โดยยึดโยงโครงสร้างการปกครองสงฆ์ ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ในระดับต่างๆ สถาบันการศึกษาสงฆ์ทั้งสองแห่ง คือ มจร และ มมร รวมถึงเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาทั่วประเทศภายใต้การสนับสนุนขององค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
และสำคัญที่สุดในระยะเวลาอันใกล้นี้ ภายหลังจากมหาเถรสมาคมมีมติเห็นรับทราบแล้วจะมีการประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 20-22 ธันวาคม 2560 นี้ เพื่อเป็นกรอบและแนวทางการส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ในทุกระดับและส่งเสริมบทบาทของพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคมต่อไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น