วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
แนะนำพระพุทธเจ้าและครูบาศรีวิชัยต้นแบบพระนักพัฒนา
"มจร"ร่วมกับวิทยาลัยสงฆ์ลำพูนและพศ.ขับโครงการพระสงฆ์กับการพัฒนาภาคเหนือ เจ้าคณะจังหวัดลำพูนแนะจะพัฒนาคนอื่นต้องพัฒนาตัวเองก่อน มีพระพุทธเจ้าและครูบาศรีวิชัยต้นแบบอย่างพอเพียง
ระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2560 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีกิจกรรมการขับ
เคลื่อนโครงการสังฆพัฒนาวิชชาลัย ครั้งที่ 2 โดยความร่วมมือของ มจร วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ภายใต้การนำของพระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ภายใต้การนำของพระมหาบุญเลิศ อินทปัญโญ,รศ. รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ ฝ่ายวิชาการ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) โดยมีพระสงฆ์และภาคีในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง และวัดหนองกวาง บ้านแม่ป๊อกใน ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
กิจกรรมเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 โดยพระเทพรัตนนายก เป็นประธานเปิดโครงการเเละให้โอวาทเพื่อเป็นเเนวทางในการทำงานพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมความว่า การจะพัฒนาใครจะต้องเริ่มจากการพัฒนาตนเองก่อนโดยการค้นหาเองว่ามีคุณธรรมจริยธรรมอะไรอยู่ในใจบ้าง โดยพระพุทธเจ้าเป็นต้นแบบนักพัฒนา รวมถึงครูบาศรีวิชัยที่สร้างทานบารมีและศีลบารมี
"พร้อมกันนี้พระนักพัฒนาจะต้องไม่ละเลยเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน สวดมนต์ไหว้พระเป็นนิตย์ การพัฒนาวัดจะต้องสะอาด สว่าง สงบ แต่ต้องมีความพอเพียง การบริหารวัดต้องให้มีส่วนร่วม มีคณะกรรมการมีส่วนร่วมในการบริหาร สิ่งสำคัญคือ ต้องพัฒนากาย วาจา จิตใจ เป็นการพัฒนาภายในควบคู่กับการพัฒนาภายนอก พระสงฆ์รูปใดเป็นผู้นำสงฆ์ต้องทำงานภายในและทำงานภายนอก และต้องตระหนักว่า ผู้นำอยู่ข้างหน้า คนนินทาอยู่ข้างหลัง ทำไมคนถึงใช้เราในการทำงาน เพราะเขากำลังฝึกเราให้เป็นงาน และเรามีศักยภาพเขาจึงใช้งาน" พระเทพรัตนนายก กล่าวและว่า
การเป็นนักพัฒนาด้านพระพุทธศาสนาต้องตระหนักว่า ต้องไม่ทำลายวัฒนธรรมองค์กรสงฆ์ ด้วยการเรียนวิชาการแล้วต้องเรียนวิชาปฏิบัติ พระนักพัฒนากล้าบวชตลอด เรียกว่า บวชจนตาย กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ จึงถือว่าเป็นพระนักพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์
ขณะที่พระมหาบุญเลิศ กล่าวว่า ทำไมต้องสังฆพัฒนาวิชชาลัย ในโลกนี้มีคนรวย 62 คน แต่ยังมีคนขาดแคลนอาหารอีกจำนวนมาก จึงมีข้อความสำคัญว่า " One day the poor will have nothing to eat but the rich สักวันหนึ่งคนจนไม่มีอะไรกินนอกจากเนื้อของคนรวย : " คนขาดแคลนอาหาร ดูโลกมาดูเรา ปัจจุบันคณะสงฆ์เราต้องปรับตัว พระสงฆ์เราทำอะไรได้บ้าง เราจึงมาทำสังฆพัฒนาวิชชาลัย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เราจะไปเรียนรู้จากพระสงฆ์ต้นแบบ เวทีสังฆพัฒนาเพื่อ แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ เราจะทำโครงการเพื่อให้คนในชุมชนได้รับการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
พระมหาบุญเลิศ กล่าวด้วยว่า ภาครัฐต้องการปฏิรูปพระพุทธศาสนา แต่คณะสงฆ์ยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้ เพราะเราไม่มีแผนการพัฒนาพระพุทธศาสนา ไม่มีความเป็นเอกภาพว่า 5 ปีข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง เช่น แผนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เป็นเอกภาพควรเป็นอย่างไร? ปัจจุบันต่างคนต่างทำ ทำให้การเผยแผ่ธรรมไม่มีความเป็นเอกภาพ ทำอย่างไร? เราจะมีแผนการพัฒนาพระพุทธศาสนาที่มีความชัดเจน เป็นเอกภาพ มีรูปธรรม จึงต้องมีการพัฒนาแผน ด้วยการให้พระสงฆ์นักพัฒนาคิดโครงการเพื่อการเปลี่ยนแปลงชุมชน ยิ่งทำยิ่งได้เครือข่าย สังฆพัฒนาต้องการสร้างเครือข่าย เราต้องการสร้างเครือข่ายยิ่งมากยิ่งดี สามารถทำงานร่วมกับเครือข่าย ต่อยอดงานคณะสงฆ์ที่ทำอยู่แล้วแต่ต้องทำด้วยเครือข่าย
หลังจากนั้นได้เปิดเวทีความคิดเพื่อการยกระดับคุณภาพพระสงฆ์สู่การเป็นพระสงฆ์นักพัฒนาโดยวิทยากร ประกอบด้วยพระชยานันทมุนี,ผศ.ดร. รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์น่าน พระครูสิริสุตานุยุต,ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน พระครูกิตติปริยัตินิเวศน์ เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดลำพูนและนายขยัน วิพรหมชัย นายกเทศมนตรีตำบลอุโมงค์ เพื่ิอสร้างอุดมการณ์พระสงฆ์นักพัฒนาที่สนองงานคณะสงฆ์เเละเพื่อสังคมในอนาคต โดยมีคำถาม 3 ประเด็นให้วิทยากรตอบโจทย์ 1)ลักษณะการทำงานเป็นอย่างไรด้านสังคมและคณะสงฆ์ 2)วิธีการเทคนิคได้รูปแบบมาจากใคร มีอุปสรรค 3)ข้อเสนอแนะในการทำงานด้านการพัฒนา
เริ่มจากพระครูสิริสุตานุยุต กล่าวว่า ผมดูแลด้านการศึกษา สร้างหลักสูตรครูสอนปริยัติธรรม ทำให้เกิดความภูมิใจ สิ่งหนึ่งที่ในการทำให้เป็นนักพัฒนาคือ ความใจกว้าง อย่าคิดว่าเราเก่งทุกเรื่อง
นายขยัน กล่าวว่า ผมเป็นเด็กวัดมาก่อนจึงมีแรงบันดาลใจในทำงานเพื่อสังคม โดยการสำรวจความต้องการของคนในชุมชน หรือ ปัญหาในสังคม แล้วนำปัญหามาพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการ มีกิจกรรมเยี่ยมคนติดเตียงที่บ้าน โดยร่วมมือกับคณะสงฆ์ คนป่วยเห็นพระสงฆ์ไปเยี่ยมดีใจ เราขับเคลื่อนแบบการมีส่วนร่วมจะทำให้เกิดความยั่งยืน
พระครูกิตติปริยัตินิเวศน์ กล่าวว่า เกิดแรงบันดาลใจจากครูบาศรีวิชัย ซึ่งพระสงฆ์มีทุนทางสังคม งานที่โดดเด่นคือ ค่ายงานจิตอาสา ด้วยการสร้างถนนขึ้นดอย ระยะทาง 1 กิโลครึ่งที่น่านมีโครงการสังฆพัฒนาร่วมประชาพัฒนาสัมมาชีพ สร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคีเครือข่าย
พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร แสดงความเห็นว่า การทำงานจะต้องเจออุปสรรคเป็นเรื่องธรรมดา เราต้องอย่าลืมอปริหานิยธรรม การให้เกียรติเจ้าของพื้นที่ การทำงานเพื่อสังคมต้องสร้างทีมงาน อย่าเพิ่งท้อเพราะจะเห็นผลช้าในการพัฒนา ต้องสร้างความเข้าใจ พระสงฆ์กับการพัฒนาสังคมเป็นของคู่กัน เราลดการสร้างวัตถุมาสร้างและพัฒนาคนในชุมชนมิติต่างๆ เราต้องเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน อย่าเป็นส่วนเกินในชุมชน พระสงฆ์ต้องทำงานร่วมกับชุมชน ด้วย การพัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาสังคม พระสงฆ์ต้องมีเครื่องมือในการลงชุมชน เราไปขอเรียนรู้จากองค์กรและบุคคลผู้เชี่ยวชาญ งานพัฒนาต้องมีเครือข่ายทำคนเดียวจะเหนื่อยมาก เราจึงสร้างเครือข่ายในการทำงาน
"สิ่งที่อยากเห็นคือพระสงฆ์เป็นผู้นำในการพัฒนา ร่วมแก้ปัญหากับคนในชุมชน โดยพระสงฆ์มีมิติทางพระพุทธศาสนาในการแก้ปัญหา คิดทำตามแบบฉบับของเรา ไม่ต้องทำเรื่องใหญ่แต่ทำให้มันสุดๆ ทำให้ดีที่สุด มีคนพร้อมสนับสนุนถามว่าเราจะทำจริงหรือเปล่า ฉะนั้น เราจะไปพัฒนาคนอื่น เราต้องพัฒนาตนเองก่อน ประโยชน์ตนเองก่อน แล้วนึกถึงประโยชน์คนอื่น เราต้องเริ่มเป็นแบบอย่างที่ดี เราทำงานแตกต่างวิธีการ แต่เป้าหมายเดียวกัน เริ่มจากตนเองก่อน อยู่เพื่อตนเองอยู่แค่สิ้นลม การทำงานเป็นทีมมีเครือข่ายจะทำให้มีพลัง เกิดผลต่อการพัฒนามนุษย์" พระอาจารย์ปราโมทย์ ระบุ
พระครูวิบูลสิทธิธรรม (หลวงพ่อตูม) พระสงฆ์นักพัฒนาด้านการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน จังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า ชุมชนมีความขัดแย้งเวลาเลือกตั้งก็จะขัดแย้งกัน พวกใครพวกมัน จะตั้งกลุ่มอะไรก็ล้ม ไม่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ในชนบทเราจะขาดพระ พระในชนบทขาดความรู้ความสามารถ แต่ปัจจุบันดีเพราะเรามีมหาจุฬาฯ ทำให้พระมีความรู้ในการบริหาร แต่พอมีความรู้ก็ต่างคนต่างทำ ไม่สามารถทำงานเป็นทีมได้ เราสร้างวัตถุมากกว่าคน ไม่ส่งเสริมการศึกษาให้วัดอย่างจริง บางครั้งพระเป็นผู้รับมากกว่าผู้ให้ พระจะต้องให้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น