วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

พบพระนักพัฒนาเชียงใหม่ตั้งกลุ่มกู้ภัยช่วยสังคม




ปิดฉากกิจกรรมการขับเคลื่อนโครงการสังฆพัฒนาวิชชาลัย ครั้งที่ 2 ที่ มจร วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน พบพระนักพัฒนาเชียงใหม่ ตั้งกลุ่มช่วยเหลือสังคม "ตาย เจ็บ เก็บ ส่ง โลงฟรี " ภายใต้การทำงานของกู้ภัยตั้งแต่เกิดจนตาย



ระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2560  ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีกิจกรรมการขับเคลื่อนโครงการสังฆพัฒนาวิชชาลัย ครั้งที่ 2 โดยความร่วมมือของ มจร วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ภายใต้การนำของพระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร  มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ภายใต้การนำของพระมหาบุญเลิศ อินทปัญโญ,รศ. รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ ฝ่ายวิชาการ      และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) โดยมีพระสงฆ์และภาคีในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง และวัดหนองกวาง บ้านแม่ป๊อกใน ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน 



หลังจากมีพิธีเปิดโดยพระเทพรัตนนายก ที่ มจร วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และได้เปิดเวทีความคิดเพื่อการยกระดับคุณภาพพระสงฆ์สู่การเป็นพระสงฆ์นักพัฒนา เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 เรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าร่วมโครงการได้ลงพื้นที่พบพระนักพัฒนาต้นแบบ ทั้งนี้พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร ได้ร่วมโครงการด้วยได้รายงานความคืบหน้าเป็นระยะๆ ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว Pramote OD Pantapat เป็นระยะ



วันที่ 22 พฤศจิกายน 2560  เป็นวันสุดท้ายของโครงการ โดยมีการถอดบทเรียนพระนักพัฒนาต้นแบบในพื้นที่จริง ซึ่งผ่านการประสบการณ์ในการทำงานกับชุมชน จึงมีการแบ่งปันแลกเปลี่ยนการทำงานด้านการพัฒนาของพระสงฆ์ต้นแบบ โดยหน่วยกู้ชีพกู้ภัยอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการเริ่มต้นจากพระสงฆ์เห็นปัญหาของการเกิดอุบัติหน้าวัดบ่อยครั้ง การช่วยเหลือไม่ทัน พระสงฆ์จึงตั้งกลุ่มช่วยเหลือสังคม เรียกว่า " ตาย เจ็บ เก็บ ส่ง โลงฟรี "ภายใต้การทำงานของกู้ภัยตั้งแต่เกิดจนตาย พระสงฆ์ในปัจจุบันมิใช่รอรับจากญาติโยมอย่างเดียว แต่มาถึงวันนี้พระสงฆ์ต้องให้สังคม พระสงฆ์ได้เรียนรู้การกู้ชีพกู้ภัย ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี เพราะเป็นงานสาธารณสงเคราะห์ ของคณะสงฆ์ เป็นการช่วยเหลือชาวบ้านด้วย


ปัจจุบันมีรถ 15 คัน มีอาสาสมัครจำนวน 65 คน ได้รับการบริจาคจากประชาชนด้วยการทำบุญ นำมาเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในสงเคราะห์ พระสงฆ์ช่วยเหลือคนเป็นโรคเอดส์ในชุมชน ช่วยให้คนอื่นพ้นทุกข์ ซึ่งเป็นทุกข์ในปัจจุบัน การติดเชื้อเอดส์มีผลกระทบต่อคนติดเชื้อโดดยตรง และครอบครัว ทำให้ส่งผลต่อครอบครัวด้านเศรษฐกิจในครอบครัว พระสงฆ์จะต้องก้าวออกไปช่วยเหลือสังคม ไม่เพียงแต่มุ่งอยู่ในวัด งานของพระสงฆ์นักพัฒนามี 2 ประเด็น คือ



1) ประเด็นเย็นคือ ประเด็นการทำงานด้านสุขภาพ เศรษฐกิจพอเพียง ทำการเกษตรอินทรีย์ ทำไปตามวิถีชีวิต เป็นประเด็นไม่สร้างความขัดแย้งกับใคร



2) ประเด็นร้อน คือ ประเด็นความขัดแย้งของคนในชุมชน การทำงานด้านผลประโยชน์การแย่งผลประโยชน์ในชุมชน ทำให้เป็นประเด็นร้อน



เวลาพระสงฆ์ไปอยู่ในชุมชนก็ปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิตามพระพุทธเจ้าด้วยการนำพาญาติโยมปฏิบัติ แต่ญาติโยมไม่มีเวลามาปฏิบัติ จึงได้ศึกษาปัญหาของชาวบ้าน พบว่า ปัญหาของชาวบ้านคือ "ปากท้อง ความเป็นอยู่ ปัญหาหนี้สิน" ทำให้คนในชุมชนต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด พระสงฆ์จึงต้องมีบทบาท พระสงฆ์ที่ออกไปทำงานถือว่ามีความเสี่ยงเพราะเป็นประเด็นร้อนภายในสังคม ประเด็นสร้างความขัดแย้ง พระสงฆ์จึงพยายามจัดการความขัดแย้งภายในชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งภายในชุมชน
พระสงฆ์ออกไปทำค่ายคุณธรรมแต่พัฒนาไปช่วยงานเด็กพิเศษเด็กที่มีปัญหา เด็กกลุ่มเสี่ยง ไปเยี่ยมถึงบ้านมีกระบวนการอย่างต่อเนื่อง



พระสงฆ์ลงไปช่วยเด็กเหล่านี้ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พระสงฆ์ต้นแบบจะบอกตนเองว่าเราจะเป็นต้นแบบแบบใด เรารักงานแบบใด จงทำสิ่งที่รักและเราถนัดที่สุด เราต้องค้นหาอุดมการณ์ที่แท้จริงของเรา โดยดาวมี 2 ประเภท คือ " ดาวที่อาศัยแสงสว่างจากคนอื่น และดาวที่ส่องแสงสว่างด้วยตนเอง " การทำงานต้องเอาใจเป็นที่ตั้งมากกว่าเอาเงินเป็นปัจจัย



หัวใจของสังฆพัฒนาวิชาลัยต้องการสร้างพระนักพัฒนาเพื่อการออกช่วยกันขับเคลื่อนพระพุทธศาสนาให้มีชีวิต พระพุทธศาสนาพบปัญหารอบด้าน ทั้งปัญหาภายในและปัญหาภายนอก เราต้องสร้างเครือข่ายในการทำงาน จึงมีการนำเสนอโครงการในการพัฒนาสังคมให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปพระพุทธศาสนา โดยพระสงฆ์นักพัฒนาลำพูนเสนอผู้เกี่ยวกับผู้ป่วยติดเตียงทั้งผู้สูงอายุและพระสงฆ์



จะมีการสร้างพระสงฆ์แกนนำให้มีความรู้ ทักษะ ด้วยการสำรวจผู้ป่วยติดเตียง มีการอบรมพัฒนาแกนนำจิตอาสาดูแลผู้ป่วยติดเตียง ลงพื้นที่ในวัดและชุมชนและมีการถอดบทเรียน ความสำเร็จในโครงนี้ด้านคุณภาพและด้านปริมาณ โครงการจึงต้องการผลลัพธ์จริงๆ ให้เกิดขึ้น พระสงฆ์นักพัฒนาลำปางเสนอโครงการเกี่ยวสุขภาพของพระสงฆ์ เห็นความสำคัญของบุคลากรของพระสงฆ์ว่ามีความสำคัญจึงต้องสร้างเสริมสุขภาวะของพระสงฆ์ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรในบุคคล องค์กร สังคม พระสงฆ์ต้นแบบเชียงใหม่เสนอโครงการสุขภาวะด้นสุขภาพ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง สำเร็จสิทธิสวัสดิการพระสงฆ์สามเณร



ปัจจุบันนี้คณะสงฆ์มีแผนของการพัฒนาแล้ว จะสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนสังคมและพระพุทธศาสนา โดยเริ่มต้นจากโครงการเล็กๆ มีการขับเคลื่อนไปด้วยกัน เรามีแผนชัดเจนแล้วแต่เราจะไม่มีเครือข่ายในการทำงานร่วมด้วยกันให้มีพลัง แหล่งทุนในการสนับสนุนมีมากมายแค่เราทำจริง เราทำงานเพื่อสังคมต้องเผนแพร่ให้สังคมรับทราบ พระสงฆ์ทำงานมากแต่ขาดการประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนรับรู้รับทราบ



ดังนั้น พระครูสิริสุตานุยุต,ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน  กล่าวปิดโครงการว่า ตอนนี้สังคมต้องการพระสงฆ์ต้นแบบ เราทำงานอาจจะมีปัญหาแต่ต้องมีสติในการในการทำงานร่วมกัน ทำงานต้องให้เกียรติทุกคนที่เราต้องร่วมงาน จึงฝากคิดว่า " มองโลกให้มองต่ำ มองธรรมให้มองสูง "เราจะทำงานพัฒนาอย่างครูบาศรีวิชัยได้อย่างไร? เราต้องยึดครูบาศรีวิชัยเป็นแบบอย่างในการทำงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"พวงเพ็ชร" มาแล้วมอบสำนักพุทธจับมือ "พม." ตรวจสอบ พ่อ-แม่ ‘น้องไนซ์ เชื่อมจิต’ หากเข้าข่ายหลอกลวง ปชช. สั่งฟันทันที

เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีประชาชนเรียกร้องให้สำนักงานพระพุทธศาส...