วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

มส.ร่วมเปิดงานรัฐบาลจีนพัฒนาพุทธศาสนา ภาคพื้นทะเลจีนใต้ให้ยั่งยืน



วันที่ 26 พ.ย.2560 พระพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ในฐานะประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ร่วมเปิดงานรัฐบาลจีนจัดการประชุมปฏิญญาเซินเจิ้น เชิญผู้นำพุทธศาสนา นานาชาติกว่า 10 ประเทศ เพื่อการพัฒนาพุทธศาสนา ภาคพื้นทะเลจีนใต้ให้ยั่งยืน


พระพรหมสิทธิได้เป็นประธานเปิดการประชุมความว่า  ขอเจริญพร ท่าน"หวังจั้วอัน" รัฐมนตรีกระทรวงการศาสนา ท่านเจ้าคุณ"ยิ้น ซุ่น" และท่าน ผู้มีเกียรติทุกท่าน ขออนุโมทนา ชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาเปิดการประชุมทางพุทธศาสนาแห่งทะเลจีนใต้ ณ เมืองเซินเจิ้นแห่งนี้ ในการสร้างความร่วมมือ แลกเปลี่ยนทัศนคติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้พุทธศาสนามีความมั่นคง ก่อเกิดสันติสุขในภูมิภาคแห่งนี้ 

พุทธศาสนาในประเทศไทย และประเทศจีน ล้วนมาจากรากฐาน และแหล่งกำเนิด เดียวกัน มีความผูกพันเกี่ยวข้องกัน มาอย่างยาวนาน การพัฒนาศาสนาจึงต้องพัฒนาควบคู่กับการพัฒนาประเทศ จะเห็นได้จากวิสัยทัศน์ ของท่านประธานาธิบดี "สี จิ้น ผิง"ในการกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมพรรคคอมมิวส์แห่งชาติจีน ครั้งที่ 19 ที่ผ่านมาซึ่งจะทำให้มั่นใจ ว่า ภาคพื้นทะเลจีนใต้แห่งนี้ จะได้รับการพัฒนาอย่างไร้พรมแดน

ในภูมิภาคทะเลจีนใต้นี้ มีความเป็นพี่น้องให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ ใกล้ชิดกัน ดุจดั่งญาติมิตร ดังเช่น เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2560 ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งประธานาธิบดี "สี จิ้น ผิง "ได้มอบหมายให้ ท่านรองนายก "จาง เกา ลี่ "เป็นผู้แทน มาร่วมพระราชพิธี ฯลฯ และทำให้ตะหนักถึง สายสัมพันธ์ทั้งชาวไทยและชาวจีน ที่ผูกพันธ์กันมาอย่างยาวนาน

และสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย ได้ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ไม่เพียงในประเทศไทย แต่ยังยกย่อง พระสงฆ์ ที่บำเพ็ญประโยชน์ ในฝ่ายมหายานด้วย เมื่อปี ค.ศ. 2011 ได้พระราชทาน สมณศักดิ์ แด่ท่านพระอาจารย์จีน "ยิ้น ซุ่น" เป็นพระราชาคณะ ฝ่ายจีน หรือที่เรียกว่า "เจ้าคุณ ยิ้น ซุ่น"นั่นเอง อย่างที่ท่านบำเพ็ญประโยชน์อย่างมากมาย อาทิเช่น เมื่อวันที่ 23 กันยายน ที่ผ่านมานี้ ได้ก่อตั้งสถาบันวิทยาลัยสงฆ์ แห่งทะเลจีนใต้ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ทั้ง เถรวาท มหายาน และวัชรยาน(ธิเบต) ให้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนทางการศึกษา วัฒนธรรม เพื่อสายสัมพันธ์ ไทย-จีน

ในการลงนามปฏิญญา เซินเจิ้น เพื่อพระพุทธศาสนา ในภูมิภาค ทะเลจีนใต้ ในปีที่ผ่านมานั้นได้ปรากฏชัดเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน จึงขออนุโมทนาชื่นชมในน้ำใจและความเสียสละของท่านอาจารย์จีน" ยิ้น ซุ่น" ที่ทุ่มเทในการจัดงานประชุมครั้งนี้เชื่อว่ามีการพัฒนายกระดับให้ขึ้นสู่ความร่วมมือในระดับนานาชาติ เช่นประเทศจีน ,ไทย,กัมพูชา,ศรีลังกา,ลาว,เวียดนาม,ภูฏาน,เนปาล พม่า และมองโกเลียในที่นี้

ข้อที่หนึ่ง พระพุทธศาสนาจะสามารถหล่อหลอม รวมพื้นที่ให้เกิดความสงบสุขได้ จะข้ามพ้นปัญหาความขัดแย้ง ความตึงเครียดทั้งหลาย แม้ว่าพวกเราจะมาจากต่างชาติ ต่างภาษา ต่างเชื้อชาติ แต่เราจะอยู่กันโดยความสามัคคีธรรมเพื่อให้พระพุทธศาสนา สามารถหยั่งรากลึกลงไปและเบ่งบานสร้างความสุขในภูมิภาคนี้

ข้อสอง ด้วยความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะสามารถสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาพระพุทธศาสนาให้เกิดความยั่งยืนโดยมีการทำปฏิญญาเซินเจิ้น จะเป็นต้นแบบอย่างดีเยี่ยม เจ้าคุณ "ยิ้น ซุ้น "เป็นผู้ริเริ่มกองทุนเส้นทางสายไหมทางทะเลจีนใต้ ทำให้เราสามารถที่จะช่วยเหลือกันได้อย่างเต็มที่

อย่างแน่นอนที่สุดสันติภาพในทุกวันนี้ไม่สามารถจะสำเร็จโดยง่าย แต่เราก็เชื่อว่าทางประเทศจีนจะสามารถข้ามพ้นอุปสรรคไปได้ด้วยพุทธวิธี พุทธธรรมในการที่จะสามารถสร้างความเข้าใจเกิดความร่วมมือกันในภาคพื้นทะเลจีนใต้เพื่อความอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

ขอกล่าวถึงพระมหาเถระพระธรรมาจารย์ใหญ่ " เปิ่นฮ้วน" ด้วยความเคารพยิ่ง ท่านเป็นพระมหาเถระ เป็นที่เคารพ ของพระสงฆ์ ทั่วทั้งแผ่นดินจีน เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความสัมพันธ์ไทยจีน บูรพาจารย์ท่านอุทิศตน เพื่อมุ่งหวังให้เกิดสันติภาพ สันติสุขของพระพุทธศาสนาในทะเลจีนใต้

ในการเจริญตามรอยท่านเปิ่นห้วน เราควรจะตั้งสถาบันวิจัยพระพุทธศาสนาแห่งทะเลจีนใต้ให้เป็นพื้นที่สำหรับการร่วมมือกัน เราควรจะมีการประชุมพระพุทธศาสนาแห่งทะเลจีนใต้เป็นประจำ เพื่อพูดคุยถึงเรื่องสำคัญ และท้ายที่สุดเราควรจะแต่งตั้งเลขาธิการเพื่อรับผิดชอบกิจวัตรประจำวันของสถาบัน มีแต่งานที่ถูกจัดสรรเป็นระบบเท่านั้นที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จระยะยาวในการรักษาสันติภาพในภูมิภาคได้

ขอให้การประชุมปฏิญญาเซินเจิ้นทะเลจีนใต้ในที่นี้ประสบความสำเร็จและมีความร่มเย็นเป็นสุขร่วมกัน สาธุ
.........
(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก วัดไทยพุทธคยา ๙๓๕ งานเผยแผ่พระธรรมทูตอินเดีย-เนปาล)
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ณพลเดช" ปิ๊งไอเดีย! เชียงรายศูนย์กลางการเงินโลก-โมเดลสวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย หลังออกกฎหมาย เขต ศก.พิเศษ

วันที่ 19 เมษายน 2567     เวลา 11.00 น. ที่ประเทศลาว  ดร.ณพลเดช มณีลังกา คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำส...