วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ชาวจีนแผ่นดินใหญ่คนแรกรับเหรียญรางวัลจากสถาบันคาร์เนกี



"Mei Hing Chak"ชาวจีนแผ่นดินใหญ่คนแรกที่ได้รับเหรียญรางวัล Carnegie Medal of Philanthropy นำองค์กรการกุศลจีนผงาดบนเวทีโลก


เมื่อไม่นานมานี้ สถาบันคาร์เนกีได้จัดพิธีมอบเหรียญรางวัล Carnegie Medal of Philanthropy 2017 ขึ้นที่นิวยอร์ก โดยได้มอบรางวัลอันทรงเกียรติดังกล่าวให้แก่ผู้ใจบุญ 9 ท่าน เพื่อยกย่องความเป็นผู้นำอันโดดเด่นและสร้างสรรค์ในด้านการกุศล โดยหนึ่งในผู้ที่ได้รับรางวัลคือคุณ Mei Hing Chak ประธานมูลนิธิ Heungkong Charitable Foundation ซึ่งถือเป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่คนแรกและชาวจีนคนที่สองต่อจากคุณ Li Ka-shing ที่ได้รับรางวัลนี้


คุณ Mei Hing Chak และสามีคือคุณ Chi Keung Lau ได้ก่อตั้งธุรกิจโดยเริ่มต้นจากศูนย์เมื่อกว่า 20 ปีมาแล้ว ทั้งคู่ได้เปลี่ยน Heungkong Group ให้กลายเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ระดับตำนานที่ทำหลายธุรกิจ ทั้งโลจิสติกส์ การพัฒนาเขตเมือง บริการทางการเงิน การดูแลสุขภาพ การศึกษา การท่องเที่ยว การแปรรูปโลหะ และพลังงาน นอกจากนี้ Heungkong Group ยังติดหนึ่งในบริษัทเอกชน 50 อันดับแรกของจีนด้วย



กระบอกเสียงเพื่อการกุศลจากจีน



เหรียญรางวัล Carnegie Medal of Philanthropy จัดตั้งขึ้นโดยมูลนิธิคาร์เนกี และทุกๆ 2 ปีจะมีการมอบให้แก่ผู้ที่มีจิตวิญญาณของผู้ให้เฉกเช่นเดียวกับคุณ Andrew Carnegie ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ และในฐานะรางวัลการกุศลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก การตัดสินรางวัลจึงเป็นความลับสุดยอด โดยผู้เสนอชื่อหรือใครก็ตามไม่มีวันรู้ล่วงหน้าว่าใครจะได้รับรางวัล ด้วยเหตุนี้ คุณ Mei Hing Chak จึงรู้สึกประหลาดใจมากเมื่อทราบว่าตนเองได้รับรางวัลนี้



คุณ Mei Hing Chak ทุ่มเทให้กับงานการกุศลมานานกว่า 20 ปี



สถาบันในเครือคาร์เนกี 22 แห่งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป จะเสนอชื่อผู้เข้าชิงรางวัลนี้ โดยจะมี 7 ท่านที่ได้ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย สำหรับผู้ได้รับรางวัลจะต้องเป็นผู้ที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งดีๆสู่สังคม รวมถึงต้องสร้างคุณูปการอันใหญ่หลวงและยั่งยืนต่อแวดวงต่างๆ ทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ



คุณ Wang Ming คณบดีสถาบันเพื่อการกุศลแห่งมหาวิทยาลัยชิงหัว กล่าวว่า การที่คุณ Mei Hing Chak ได้รับรางวัลนี้ไม่เพียงเป็นเกียรติแก่ตัวเธอเองเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องพิสูจน์พัฒนาการอันแข็งแกร่งของงานสังคมสงเคราะห์ยุคใหม่ในประเทศจีน ซึ่งเป็นที่ยอมรับในเวทีโลกมากขึ้น



คุณ Mei Hing Chak ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเอกชนแห่งแรกในประเทศจีน



ในช่วงเริ่มต้นของการทำงานการกุศล คุณ Mei Hing Chak ได้บริจาคเงินให้กับมูลนิธิเพื่อการกุศลของภาครัฐ แต่เธอรู้สึกผิดหวังเพราะไม่สามารถเลือกมอบเงินให้กับโครงการที่มีความสำคัญและสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของตัวเองได้ ต่อมาในปี 1998 เธอจึงตัดสินใจตั้งมูลนิธิเพื่อการกุศลด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้นทางการจีนยังไม่อนุญาตให้บุคคลหรือบริษัทเอกชนตั้งมูลนิธิของตัวเอง จนกระทั่งปี 2005 ทางการจีนได้ผ่อนคลายกฎข้อบังคับต่างๆ ส่งผลให้คุณ Mei Hing Chak เป็นชาวจีนคนแรกที่เดินเรื่องขอตั้งมูลนิธิเพื่อการกุศล และได้รับการอนุมัติอย่างถูกต้องจากภาครัฐ ทั้งนี้ มูลนิธิ Heungkong Charitable Foundation ได้จดทะเบียนในฐานะมูลนิธิเอกชน (หรือสถาบันการกุศลที่ไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐ) หมายเลข 001 ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันว่า Heungkong Charitable Foundation คือมูลนิธิเอกชนแห่งแรกของจีนอย่างแท้จริง



นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง Heungkong Charitable Foundation ก็มุ่งให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา บรรเทาความยากจน รวมถึงให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นและบรรเทาภัยพิบัติใน 18 เมืองและมณฑลทั่วประเทศจีน ซึ่งรวมถึงมณฑลกวางตุ้ง กุ้ยโจว และเสฉวน ต่อมาในปี 2007 ทางองค์กรได้เปิดตัวโครงการ "Five 1000" เพื่อสร้างห้องสมุด 1,000 แห่ง ช่วยเหลือนักเรียนผู้ด้อยโอกาส 1,000 คน และดำเนินกิจกรรม 1,000 โครงการร่วมกับอาสาสมัคร ทางมูลนิธิเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา จนปัจจุบันมีทีมอาสาสมัครเกือบ 20,000 คน ซึ่งช่วยงานด้านการกุศลกว่า 100,000 โครงการ อันเป็นประโยชน์ต่อผู้คนกว่า 3 ล้านชีวิต



ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสผ่านการศึกษาและการดูแลสุขภาพ



หลังจากที่มูลนิธิ Heungkong Charitable Foundation ให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสผ่านการศึกษา พร้อมกับมอบความช่วยเหลือเบื้องต้นและบรรเทาสาธารณภัยมาโดยตลอด ประสบการณ์นานนับทศวรรษได้ผลักดันให้คุณ Mei Hing Chak ตัดสินใจกำหนดจุดยืนที่ชัดเจนให้แก่มูลนิธิ ด้วยการมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสผ่านการศึกษาและการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะ ในส่วนของการศึกษานั้น ทางมูลนิธิจะเน้นไปที่สองโครงการ คือการสร้างห้องสมุดและการสนับสนุนนักศึกษาระดับวิทยาลัยผู้ด้อยโอกาส สำหรับในส่วนของสุขภาพ คุณ Mei Hing Chak จะบริจาคเงิน 1 พันล้านหยวน (ราว 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ให้แก่มูลนิธิต่างๆที่อุทิศตนเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชน ซึ่งจะส่งต่อให้แก่โรงพยาบาลในพื้นที่ขาดแคลนเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสต่อไป โครงการดังกล่าวสามารถสร้างกระแสเงินสดด้วยตัวเองผ่านการดำเนินงานของโรงพยาบาล ซึ่งจะทำให้มีเงินต่อยอดในการพัฒนาโครงการต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: ‘กอดนี้ 120 ล้านบาท’ ถวายหลวงพ่อเณร สร้างรพ.ศูนย์มะเร็งบางแค​

บุญในปริบทพุทธสันติวิธีเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างสันติภาพในสังคมไทย  บุญเป็นปัจจัยที่นำไปสู่สังคมที่สงบสุขและยั่งยืน  เมื่อวันที่ 21 พฤศจ...