วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
พระนักพัฒนาต้องคิดนอกกรอบไม่นอกธรรม
พระนักพัฒนาต้องคิดนอกกรอบไม่นอกพระธรรมวินัย เป้าหมายเพื่อคนอื่น มิใช่เป้าหมายของตนเอง ทนเห็นคนอื่นมีความทุกข์ไม่ได้ หาวิธีช่วยสุดความสามารถ
การขับเคลื่อนโครงการสังฆพัฒนาวิชชาลัย ครั้งที่ 2 โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ภายใต้การนำของพระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ภายใต้การนำของพระมหาบุญเลิศ อินทปัญโญ,รศ. รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ ฝ่ายวิชาการ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) โดยมีพระสงฆ์และภาคีในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง และวัดหนองกวาง บ้านแม่ป๊อกใน ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2560
หลังจากมีพิธีเปิดโดยพระเทพรัตนนายก ที่ มจร วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และได้เปิดเวทีความคิดเพื่อการยกระดับคุณภาพพระสงฆ์สู่การเป็นพระสงฆ์นักพัฒนา เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 เรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าร่วมโครงการได้ลงพื้นที่พบพระนักพัฒนาต้นแบบ ทั้งนี้พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร ได้ร่วมโครงการด้วยได้รายงานความคืบหน้าเป็นระยะๆ ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว Pramote OD Pantapat
พระสงฆ์นักพัฒนามีเป้าหมายเพื่อคนอื่นมิใช่เป้าหมายของตนเอง
พระนักพัฒนารูปแรกที่ผู้เข้าร่วมโครงการได้เดินทางไปถอดบทเรียนคือ หลวงพี่ช้าง หรือพระครูอุภัยโกศล พระสงฆ์นักพัฒนาผู้คิดนอกกรอบชุบชีวิตผู้ด้อยโอกาสในชุมชน หรือคิดว่า " พระสงฆ์คิดนึกกรอบแต่ไม่นอกพระธรรมวินัย " หลวงพี่ช้างเป็นพระที่มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคม ด้วยการเข้าไปเป็นมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงพยาบาลด้วยการเป็นคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาล จึงถามว่าโรงพยาบาลต้องการอะไร? สิ่งที่โรงพยาบาลต้องการตึกผู้ป่วย ในราคา 22 ล้านบาท หลวงพี่ช้างจึงช่วยเหลือสังคมด้วยการหาปัจจัยจากการขายอาหาร "บุญก็ได้ ไส้ก็เต็ม ท้องก็อิ่ม" เป็นการเริ่มต้นไปขายที่กระทรวงแห่งหนึ่ง ไม่มีใครมาซื้อสักคน นี่คือวันแรกของการช่วยโรงพยาบาล สุดท้ายคนในกระทรวงนั้นเข้าใจจึงช่วยกันซื้อ ใน 1 ปี ได้ปัจจัย 22 ล้านบาท สร้างโรงพยาบาล ตึกสร้างเสร็จภายใน 3 ปี จนได้รับนามว่า " ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฝ่ายสงฆ์ " ปัจจุบันขายห่อหมกได้ วันละ 2,000 ชุด
สิ่งสำคัญคือ ชาวบ้านเป็นหนี้สินต้องมาพึ่งพา จึงพยายามให้ชาวบ้านมีอาชีพสุจริต ดำเนินชีวิตตามความพอเพียงและใช้ธรรมะของพระพุทธเจ้า ชาวบ้านหรือเด็กมีต้นทุนต่ำจึงพยายามจะพัฒนาต้นทุนชีวิตให้ดีขึ้น ด้วยใช้หลัก 6 m คือ "พัฒนาคน วัสดุนำมาทำอาหาร รูปแบบสินค้า สินค้าบุญก้าวข้ามราคา " ในวันที่เปิดโรงพยาบาลทำให้หลายคนร้องไห้ ภูมิใจว่าเป็นส่วนร่วมส่วนหนึ่งของการสร้างโรงพยาบาล จึงมีคำถามว่า ใช่กิจของสงฆ์หรือไม่ หลวงพี่ช้างตอบว่า ถ้าคนในชุมชนยังใช้ชีวิตลำบาก เป็นหนี้สิน ประกอบอาชีพ พระสงฆ์จะทำอย่างไร? เป้าหมายจริงๆ หลวงพี่ช้างทำเพื่อคนอื่น ได้แรงบันดาลใจมาจากครูอาจารย์สมัยเรียนปริญญาตรี สาขาปรัชญา มหาจุฬาฯ ปัจจุบันเรียนปริญญาเอกเพื่อพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง
หลวงพี่ช้างพระนักพัฒนาแห่งพรหมพิราม ทำงานอุทิศตัว เพื่อพัฒนาชุมชนและช่วยเหลือสังคม รวมทั้งเด็กด้อยโอกาส จนได้รับการยกย่องให้เป็น "พระนักพัฒนาแห่งพรหมพิราม" เวลาผ่านไป ความตั้งใจอันแรงกล้าของ "หลวงพี่ช้าง" ก็ยังหนักแน่นเช่นเดิม เพื่อให้ชาวบ้านหาแนวทางของตัวเองเจอ เพื่อจะได้นำไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองและครอบครัวในทางสุจริตหลวงพี่ช้างได้เปิดโลกใหม่ให้เด็กด้อยโอกาส เพราะหลวงพี่ช้างยึดความจริงที่ว่า "เพราะชีวิตเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะเป็นคนดีหรือเลวได้" ดังนั้น"หลวงพี่ช้าง"จึงอุปการะเลี้ยงดูเด็ก ๆ ที่บ้านแตกสาแหรกขาดเป็นจำนวนมาก บางคนก็บวชเป็นสามเณรที่วัด ซึ่งหลวงพี่จะใช้วิธีในการปรับเปลี่ยนนิสัยเด็กๆเหล่านั้น แต่ที่สำคัญก็คือ การให้ความรักและการให้อาชีพ จนเด็ก ๆ ทั้งหมดต่างก็รักและเคารพหลวงพี่ช้างไม่ต่างจากพ่อแท้ๆ หลวงพี่ช้างทำด้วยใจ ไม่มีคำว่าเหนื่อย ไม่มีคำว่าย่อท้อ โดยได้แรงบันดาลใจมาจากอดีตของตัวเองที่เคยเป็นเด็กที่มีปมชีวิต หลวงพี่ช้างจึงเข้าใจดีว่าความทุกข์ยากลำบากนั้นเป็นเช่นไร จึงต้องการช่วยเหลือปลดปล่อยสิ่งเหล่านั้นให้กับชาวบ้านและชุมชนในพรหมพิราม ภารกิจในการสร้างคน และชุมชนของหลวงพี่ช้างยังมีหลายมิติ หลวงพี่ช้างจึงเป็นพระนอกกรอบที่อุทิศตัวทำงานเพื่อให้เด็ก ๆ และผู้ยากไร้ให้มีอนาคตที่ดีกว่าด้วยการให้อาชีพ อุปถัมภ์การศึกษา พัฒนาเด็กให้มีคุณภาพ หลวงพี่ช้างจึงมีหัวใจแห่งความกรุณา มี
โครงการดูแลคนไข้ติดเตียง ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ถือว่าเป็นหัวใจแห่งพระโพธิสัตว์ " ทนเห็นคนอื่นมีความทุกข์ไม่ได้ ต้องหาทางวิธีช่วยเหลือเพราะทนเห็นคนทุกข์ไม่ได้ " ฉะนั้น เราจะเห็นวัดอื่นสร้างโบสถ์สร้างวิหารแต่วัดหลวงพี่ช้างสร้างงานสร้างอาชีพสร้างคนให้มีทุนทางสังคม วัดอื่นมีกลิ่นธูปอบอวลแต่วัดหลวงพี่ช้างมีกลิ่นของความรักความเข้าใจ เป็นการแก้ปัญหาชีวิตให้คนมากกว่าจะไปสร้างวัตถุ หลวงพี่ช้างจึงเป็นหัวใจของคนในชุมชนและคนจน เปลี่ยนวัดให้เป็นที่สร้างงานสร้างอาชีพ แก้การจนทรัพย์และจนใจ
หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาหลวงพี่ได้นำไปสู่ชีวิตของผู้คน เช่น อปริหานิยธรรม การรวมตัวกันทำอาชีพสุจริต หมั่นประชุมพูดคุยกัน รวมถึงความออกไปช่วยเหลือบุคคลที่มีความทุกข์ ถือว่า "เอาธรรมไปทำ" ธรรมะจึงต้องมีชีวิต เป็นหนึ่งเดียวกับสังคม เราทำงานพัฒนาต้องมีแก่น ไม้ดีต้องมีแก่น แก่นของเราทำเพื่อส่วนรวมมิใช่ส่วนตน เมื่อเจออุปสรรคจะสนใจคำถาม แล้วตอบคำถามแต่ไม่ตอบโต้ใดๆ เราทำเพื่อคนอื่น อะไรคือความสำเร็จสูงสุดของหลวงพี่ช้างในการเป็นพระนักพัฒนา คำตอบคือ " การอยู่ดีกินดีของคนในชุมชน ช่วยหาทางออกให้คนอื่นให้ชีวิตเขามีหนทางสว่างในชีวิต " พระสงฆ์สายบริหารที่ผ่านการพัฒนา จะเข้าใจพระสงฆ์ที่ทำงานด้านการพัฒนาในบริบทต่าง ปัจจุบันเราห่างจากชุมชน เวลาเราเดือดร้อน คนในชุมชนก็ไม่รักษาเรา จึงแสดงให้เห็นว่า เราต้องเป็นหนึ่งเดียวกันชุมชน สถาบันสงฆ์จะอยู่รอด เป้าหมายสูงสุดก็คือ ความเป็นสันติสุขในสังคม
งานพัฒนาต้องสร้างเครือข่ายในการทำงาน
พระสงฆ์นักพัฒนารูปต่อมาคือพระครูโสภณปริยัติกิจ พระสงฆ์นักพัฒนาด้านจัดการสุขภาวะชุมชนแบบยั่งยืน สะท้อนว่านิสิตมหาจุฬาออกไปทำงานเพื่อสังคมมากมีโครงการมากมายแต่ขาดความยั่งยืน ทำอย่างไรจะยั่งยืน เราต้องตั้งคำถามว่า เราจะอะไรเพื่อคนอื่น เราต้องตั้งคำถามเราจะแผนยุทธศาสตร์วัดของเราอย่างไร ? 3 ปีแรกไม่มีการสร้างอะไร แต่สวดมนต์ไหว้พระ ปฏิบัติธรรม เป็นการเตรียมความพร้อม มีการเปิดคลีนิคธรรมะ สอนธรรมะกับแก้ไขปัญหาชีวิต คนมามากเขานึกว่าดูดวง เราต้องเป็นพระที่ฝึกตั้งคำถามอันเป็นไปเพื่อการพัฒนา เราต้องสร้างคนมาพัฒนางาน"เป็นการประมาณตน ประมาณคน นำไปสู่ประมาณงาน
"เราจะพัฒนาวัดด้วยกายภาพ นักพัฒนาจึงมีพรแสวง แสวงหาแนวทางไปเรื่อยในการพัฒนา พระพัฒนาต้องพัฒนาไปถึงทำเพื่อคนอื่นมากกว่าตนเอง เมื่อคนอื่นได้รับเขาจะรักษาเรา พระนักพัฒนาต้องบริหารจัดการให้เป็น เช่น การมีโรงเรียนผู้สูงอายุ ราชการให้การสนับสนุน ฐานของชุมชนจะปกป้องคุ้มครองพระพัฒนา ฉะนั้น จงมีใจรักในการเป็นพระนักพัฒนา"
พระครูวิบูลสิทธิธรรม (หลวงพ่อตูม) พระสงฆ์นักพัฒนาด้านการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน จังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า ชุมชนมีความขัดแย้งเวลาเลือกตั้งก็จะขัดแย้งกัน พวกใครพวกมัน จะตั้งกลุ่มอะไรก็ล้ม ไม่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ในชนบทเราจะขาดพระ พระในชนบทขาดความรู้ความสามารถ แต่ปัจจุบันดีเพราะเรามีมหาจุฬา ทำให้พระมีความรู้ในการบริหาร แต่พอมีความรู้ก็ต่างคนต่างทำ ไม่สามารถทำงานเป็นทีมได้ เราสร้างวัตถุมากกว่าคน ไม่ส่งเสริมการศึกษาให้วัดอย่างจริง บางครั้งพระเป็นผู้รับมากกว่าผู้ให้ พระจะต้องให้ อดีตวัดเป็นเป็นโรงศาลคดีความ ใครมีเรื่องกันก็ให้เจ้าอาวาสหรือหลวงพ่อ เป็นผู้ไกล่เกลี่ยตัดสินคดีความ แต่ปัจจุบันไม่ใช่แบบนี้
ปัจจุบันพระเราเป็นฐานะผู้ประกอบพิธีกรรม ในสื่อออนไลน์ดราม่าว่า " ทำบุญกับพี่ตูนดีกว่าทำบุญกับพระ " กระแสสังคมมาแบบนี้ เราจึงต้องกลับทบทวนว่าจะทำอย่างไร? ปัจจุบันพระสงฆ์เราไม่สามารถเป็นผู้นำได้ ผู้นำมีความสำคัญมาก เราต้องฝึกการเป็นผู้นำ เราต้องเอาส่วนรวมเป็นที่ตั้ง อย่าเอาตนเองเป็นที่ตั้ง การดึงคนเข้าวัดใช้สังคหวัตถุ เช่น งานศพ เราต้องไปช่วยญาติโยม เป็นงานสูญเสียพระจะต้องช่วย ถือว่าเป็นการให้ทาน แบ่งปัน มีปิยวาจา อย่าไปด่าใคร อย่าไปสร้างศัตรู ทำให้เราได้ใจญาติโยม จะทำอะไรญาติโยมจะมาช่วย ในปัจจุบันพระสงฆ์มี 3 ประเภท คือ 1)พระเคร่ง เน้นการปฏิบัติอยู่ในป่าไม่สนใจใครมุ่งปฏิบัติ 2)พระครู พระที่ชอบเรียนส่งเรียน เรียนจบมาทำงานเป็นครู 3)พระเครียด ชีวิตเครียดจึงต้องพาทำก่อสร้าง และคนมี 3 ระดับคือ 1)ต่ำกว่าเรา เราต้องเมตตากัน 2)เสมอกัน ช่วยงานกันและกัน ให้เกียรติกันและกัน 3)สูงกว่าเรา เราต้องเคารพยกย่องเขา ทำงานไม่ติดขัด ผู้ใหญ่ไม่ชอบใครรู้มาก การจะเป็นพระนักพัฒนาจะมีพวกมีเครือข่าย แต่ถ้าอยู่คนเดียวก็ต้องปลีกวิเวก คิดจะทำงานด้านการพัฒนาต้องมีเครือข่าย
ฉะนั้น สิ่งที่ทำจริงๆ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ เอาสัจจะเป็นตั้ง ทุกคนเอาเงินมารวมกัน จะต้องมีสัจจะ คือ ความจริงใจต่อกัน ใครที่ขัดสนก็กู้ไป แต่ต้องมีสัจจะจะต้องจ่ายคืน พร้อมค่าบำรุง ค่าบำรุงนำไปช่วยเหลือคนในชุมชน ปัจจุบันมีเงิน 43 ล้านบาท เพราะมีสัจจะ มีวินัย มีคณะกรรมการ 2 ปีเลือก 1 ครั้ง พอมีกลุ่มสัจจะก็มีกิจกรรมร่วมกัน มีกิจกรรมด้านคุณธรรมบูรณาการหลักธรรมสู่การดำเนินชีวิต ดังนั้น "เราต้องสร้างความเข้มแข็งจากสถาบันพระพุทธศาสนา " เราต้องมาช่วยกัน ผนังเกิดมาจากก้อนอิฐแต่ละก้อน การทำงานด้านการพัฒนาจะต้องอ่อนน้อมต่อพระเถระผู้ใหญ่เพื่อการสนับสนุน พระสงฆ์นักพัฒนาต้องไม่โดดเดี่ยว ญาติโยมจะถามว่า " พระสงฆ์ให้อะไรกับสังคม " นี่คือสิ่งที่สังคมคาดหวังจากพระสงฆ์ มิติเป็นรูปธรรม จะเป็นพระนักพัฒนาต้องมีแผน แผนการพัฒนาร่วมกัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์สีลวีมังสชาดกคุณค่าของศีล
วิเคราะห์สีลวีมังสชาดกในพระไตรปิฎกเล่มที่ 27 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 19 ขุททกนิกาย ชาดก จตุกกนิบาตชาดก ๓. กุฏิทูสกวรรค บทนำ สีลวีมังสชาดก เป็...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น