วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2562
'ครูกายแก้ว'ผู้ที่เรืองเวทย์มนต์อาคมยุคพันปี สำนักพุทธาคมบรมครูพ่อปู่ฤาษีจับยาม
อาจารย์สุชาติ รัตนสุข มีความสนใจในเรื่องราวศาสตร์ศิลป์ต่างๆ เริ่มต้นขึ้นเมื่อครั้งที่ท่านยังเด็ก สมัยนั้นอาจารย์สุชาติเป็นเด็กวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร อยู่กับท่านเจ้าคุณแคล้ว พระนักปฎิบัติ จนเมื่ออายุประมาณ 13 ปี อาจารย์สุชาติได้มีโอกาสติดตามลูกพี่ลูกน้องไปที่จังหวัดอยุธยา เพื่อไปหาหลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราชวรวิหาร และเจอหลวงพ่อกำลังทำพิธีขับไล่วิญญาณร้ายอยู่ ทำให้อาจารย์สุชาติในตอนนั้นเกิดความชื่นชมและสนใจใคร่รู้ในทันที จึงขอฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อเทียม ได้วิชาความรู้จากหลวงพ่อมามากมาย
ต่อมาเมื่อถึงวัยทำงานอาจารย์สุชาติก็เริ่มสนใจด้านโหราศาสตร์ จึงร่ำเรียนค้นคว้าตามตำรา จนได้พบกับพระครูปลัดเสริม วัดบูรณะสิริอมาตย์ ซึ่งเป็นนักโหราศาสตร์ที่แม่นยำมาก อาจารย์สุชาติก็ไปร่ำเรียนทั้งที่ยังทำงานปกติควบคู่ไปด้วย จนกระทั่งได้ไปทำงานกับหนังสือพิมพ์ เดลิมิเร่อร์ ในคอลัมน์พยากรณ์ ซึ่งในสมัยนั้นหากนักโหราศาสตร์คนใดได้เขียนคอลัมน์ลงหนังสือพิมพ์ก็ถือว่าดังมากและเก่งจริง
แต่ความมุมานะที่จะร่ำเรียนในด้านที่ตัวเองสนใจของท่านอาจารย์สุชาติก็ไม่จบลงเพียงเท่านี้ ท่านยังคงศึกษาและฝึกปฏิบัติอยู่เสมอ จนกระทั่งได้คัมภีร์ไสยเวทย์ของหลวงปู่แฉ่ง วัดบางพัง จังหวัดนนทบุรี มาจากหลวงพ่อแพ้ว วัดแดง ผู้เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่แฉ่งอีกทีหนึ่ง ซึ่งสืบทอดต่อกันมา
คัมภีร์นั้นนับเป็นขุมทรัพย์ความรู้มหาศาลให้ประโยชน์แก่ท่านอาจารย์สุชาติมากมาย จนได้มีโอกาสรู้จักกับคนมากมาย แลกเปลี่ยนความรู้กันในเรื่องราวต่างๆที่ลึกซึ้งรวมไปถึงได้มีคนเข้ามาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ลูกหามากมาย จวบจนกระทั่งทุกวันนี้ และยังเป็นผู้ที่สืบทอดวิชาครูกายแก้ว มาจากพ่อหวิน หรือจ่าสิบเอกถวิล มิลินทจินดา ครูที่เป็นนักร้องในกรมดุริยางค์ทหารที่มีชื่อเสียงทั้งในเชิงเวทมนต์ ความเก่งด้านดนตรีและเรื่องทางด้านเสน่ห์เมตตา
อาจารย์สุชาติ รัตนสุข เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตั้งศาลเทพต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น พระพิฆเนศ พระตีมูรติ(เซ็นทรัลเวิล์ด)และที่อื่นอีกมากมาย ยังเป็นผู้สร้างครูกายแก้วองค์แรกของประเทศไทยรวมถึงข้อมูลของครูทั้งหมด และเป็นครูผู้ซึ่งมีลูกศิษย์ ลูกหาทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมายหลายร้อยคน
เนื่องจากท่านได้ร่ำเรียนวิชามาหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็น อาบน้ำมนต์ ดูดวง ดูชัยภูมิพื้นที่ วิชาด้านเมตตา คงกระพันชาตรี แก้ดวง พลิกดวง ฯลฯ จึงไม่แปลกใจที่ ใน1วัน จะมีลูกศิษย์ลูกหา มาขอความช่วยเหลือจากท่าน มากมาย ปัจจุบัน อาจารย์สุชาติ รัตนสุข ได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 ท่ามกลางความโศกเศร้าของบรรดาลูกศิษย์ทุกคน
ประวัติของครูกายแก้วนั้น เป็นเรื่องที่ศิษย์ยานุศิษย์ในสายอาจารย์สุชาติ รัตนสุขโดยมากจะทราบกันดีจากคำบอกเล่าของครูบาอาจารย์ โดย อาจารย์สุชาติได้เมตตา เล่าให้พวกเราฟังว่า ครูกายแก้วนั้นเป็นครูวิชาสืบจากรุ่นสู่รุ่น นับช่วงชีวิตไม่ได้ว่าเกิดมากี่รุ่นแล้วมีประวัติความเป็นมาโดยลึกและพิสดาร โดยท่านก็ได้รับฟังมาจากครูบาอาจารย์ของท่านนั่นคือพ่อหวิน หรือจ่าสิบเอกถวิล มิลินทจินดา ครูที่เป็นนักร้องในกรมดุริยางค์ทหารที่มีชื่อเสียงทั้งในเชิงเวทมนต์
ความเก่งด้านดนตรีและเรื่องทางด้านเสน่ห์เมตตา โดยครูกายแก้วนั้นพ่อสุชาติได้รับต่อจากพ่อหวินมาอีกทอดหนึ่ง ซึ่งในสมัยก่อนนั้นพ่อหวินจะมีอาจารย์อยู่ท่านหนึ่งซึ่งเป็นพระธุดงค์ จากนครลำปาง โดยท่านเป็นพระผู้เรืองเวทย์กฤตยาคมเป็นพระอาจารย์ของท่าน ได้มอบครูกายแก้วไว้ให้ โดยรูปลักษณ์ของครูนั้น ดั้งเดิมที่มีลักษณะเป็นท่านั่งยองๆกอดเข่าองค์ขนาดเท่าหัวแม่โป้ง
ประวัติของครูจากคำบอกเล่าของพ่อหวินผ่านอาจารย์สุชาติ ได้กล่าวเอาไว้ว่า ครูคือผู้ที่เรืองเวทย์มนต์อาคมในสมัยก่อน ย้อนกลับไปนับเป็นพันปี โดยครูนั้นเป็นผู้ที่เรืองตบะ จิตวิญญาณมิได้ตายและสลายไปตามร่างกาย หากแต่ที่ยังคงสืบทอดอยู่ในผู้ที่แสวงหาและเล่นวิชาทางเฉพาะสายวิชาของครูนั้นจะอยู่กับผู้ที่สืบทอดในสายวิชาเท่านั้น
จนกระทั่งผ่านการเวลาตกทอดมาเรื่อยๆจนไม่ทราบรุ่นของชั่วอายุคน ครั้งหนึ่งมีพระธุดงค์ท่านนี้ได้ไปต่อวิชาและได้ครูกายแก้วกลับมาส่งมอบให้พ่อหวินจนมาถึงรุ่นอาจารย์สุชาติ รัตนสุข
โดยปัจจุบันอาจารย์สุชาติ รัตนสุข ได้จัดสร้าง รูปหล่อของครูกายแก้วไว้ สามปางด้วยกัน คือ ปางนั่งมือจับเข่า ปางยืน และปางนั่งยอง ซึ่งปางนั่งยองนี้ได้อนุญาต ให้อาจารย์แอม ไอศวรรยา ลูกศิษย์ที่อาจารย์สุชาติ รัตนสุขได้ถ่ายทอด วิชาครูกายแก้ว ให้ทั้งหมด เก็บรักษาและเป็นผู้ดูแล ปัจจุบันอยู่ที่ สำนักพุทธาคมบรมครูพ่อปู่ฤาษีจับยาม ลาดพร้าว 43
สำหรับอาจารย์แอมไอยศวรรยา อริยะวัฒนา พื้นเพ เกิดที่เพชรบุรี เป็นผู้ชื่นชอบด้านคาถาอาคมและพระเวทย์อยู่ตั้งแต่จำความได้ เพราะปู่ย่าตาทวดนั้นเป็นอาจารย์และมีวิชาอยู่แล้ว จึงได้ซึมซับมาตั้งแต่เด็ก ครั้งหนึ่งได้มีโอกาสแสดงหนังเป็นนางเอก ภาพยนตร์เรื่อง บทเพลงสุดท้าย จนโด่งดังได้รับรางวัลและเป็นที่รู้จักทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ
จนกระทั่งได้มีโอกาสพบเจอกับ อาจารย์สุชาติ รัตนสุข ด้วยความที่ชื่นชอบด้านพระเวทย์คาถาอาคมอยู่แล้วจึงได้มีโอกาสต่อวิชาที่เคยได้ร่ำเรียนมากับอาจารย์สุชาติ และได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ สายตรงของอาจารย์สุชาติ โดยได้รับความไว้วางใจ ถ่ายทอดวิชาการเวก และวิชาของครูกายแก้วทั้งหมด โดยวิชาครูกายแก้วนี้อาจารย์สุชาติ รัตนสุขเคยให้สัมภาษณ์กับสื่อทีวีที่หนึ่งไว้ว่า
วิชาครูกายแก้วนี้ถ้าไม่ใช่ลูกไม่ใช่หลานไม่ใช่ลูกศิษย์ที่กูให้วิชา กูก็ไม่อนุญาตให้ใครนำครูกายแก้วไปทำวัตถุมงคลใดๆทั้งสิ้นเพราะครูกายแก้วท่านจะไม่ไปไหนท่านจะอยู่กับกูและคนที่กูถ่ายทอดวิชาและอนุญาตให้เท่านั้น เมื่อได้รับการถ่ายทอดวิชาของครูกายแก้วทั้งหมดแล้วอาจารย์สุชาติจึงได้อนุญาตให้อาจารย์แอมดำเนินการจัดสร้างครูกายแก้ว ปางนั่งยอง ซึ่งเป็นปางแรกที่อาจารย์สุชาติได้รับมอบจากจ่าสิบเอกถวิล มิลินทจินดา
โดยอาจารย์สุชาติเป็นผู้ควบคุมการสร้างและทำการปลุกเสกด้วยตัวท่านเอง ปัจจุบันปางนี้ได้อยู่ที่สำนักพุทธาคมบรมครูพ่อปู่ฤาษีจับยาม ลาดพร้าว 43 เนื่องด้วยปัจจุบันปี2562 ครูกายแก้วเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงมีบุคคลไม่หวังดีนำครูกายแก้วออกหากินหลอกลวงทั้งๆที่ไม่ได้ร่ำเรียนวิชาในสายของอาจารย์สุชาติ รัตนสุข ทางอาจารย์แอม ไอยศวรรยา อริยะวัฒนาในฐานะลูกศิษย์สายตรงไม่ได้นิ่งนอนใจ
จึงมีการจัดสร้าง ครูกายแก้ว รุ่น บูชาครู 62 ขึ้น เพื่อใช้วิชาที่ได้ร่ำเรียนมาจากอาจารย์สุชาติ รัตนสุข คอยช่วยเหลือลูกศิษย์ที่ศรัทธาในองค์ครูกายแก้ว โดย มีมวลสารศักดิ์สิทธ์มากมายที่อาจารย์แอม ไอศวรรยา เก็บสะสมมานานหลายสิบปี เช่น
1.ตะกรุดเก่าหลากหลายคณาจารย์
2.แผ่นจารหมูทองแดง
3.ผงตะไบและเนื้อเก่าองค์พระศักดิ์สิทธิ์
4.กริชเก่าและแร่ธาตุสุริยันราชา จากพระอาจารย์พิจารย์ เจ้าอาวาส วัดโพธิ์ผักไห่ อยุธยาและมวลสารอื่นๆอีกมากมาย
โดยรายละเอียดการจัดสร้างมีดังต่อไปนี้
ครูกายแก้ว ขนาดบูชา 3 นิ้ว เนื้อ บรอนซ์ จำนวนการสร้าง 69 องค์
ครูกายแก้ว ขนาดห้อยคอ 1.1 เซ็นติเมตร จำนวนการสร้าง เนื้อ บรอนซ์ 2600 องค์
ครูกายแก้ว ขนาดห้อยคอ 1.1 เซ็นติเมตร จำนวนการสร้าง เนื้อ นวะ 300 องค์
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่สำนักพุทธาคมบรมครูพ่อปู่ฤาษีจับยาม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต
วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น