วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2565

กมธ.ศาสนาฯสภาฯพร้อมคณะสงฆ์เชียงใหม่ เยี่ยมชมพุทธมณฑลนครสวรรค์ ต้นแบบพุทธอุทยานบูรณาการ"โคก หนอง นาโมเดล"



เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา ที่พุทธอุทยานนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย นายสัมพันธ์ เสริมชีพ อนุกรรมาธิการฯ นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการฯ นายประกรเกียรติญาณหาร เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ ได้นำพระเทพปริยัติ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่พระเทพสิงหวราจารย์ รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ คณะสำนักงานพระพุทธศาสนาเชียงใหม่ และคณะทำงาน เพื่อเข้าศึกษาดูงานพุทธอุทยานนครสวรรค์ ที่ 999 หมู่ 6 ตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีพระเทพปริยัติเมธี, รศ.ดร. เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ ให้การต้อนรับ


พระเทพปริยัติเมธี กล่าวว่า โครงการก่อสร้างพุทธอุทยานนครสวรรค์ จัดสร้างโดยคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ ข้าราชการ ประชาชน และพุทธศาสนิกชนจังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ให้ มีใจ ใช้ปัญญา เสียสละ อดทน กตัญญู และรักมั่นสถาบันชาติ พระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นหนึ่งเดียวกันก่อสร้างพุทธอุทยานนครสวรรค์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ตอบแทนคุณพระพุทธศาสนา ตอบแทนคุณแผ่นดิน และเฉลิมพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศลแด่ราชจักรีวงศ์ เป็นศูนย์กลางพุทธบูรณาการแห่งการเรียนรู้ วิชาความรู้ วิชาเลี้ยงชีพ วิชาธรรมะปฏิบัติ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 



โดยมีวิสัยทัศน์ว่า "พุทธอุทยานนครสวรรค์บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาสู่นวัตกรรมเชิงพุทธอย่างยั่งยืน มีแนวปฏิเวธ (ภูมิปัญญา) ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ศูนย์กลางฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่การบริหารจัดการน้ำท้องถิ่นอย่างบูรณาการ (SGB) มีฐานการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ พัฒนาระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง (SGB) จำนวน 14 ฐานการเรียนรู้ มีศูนย์กลางฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่สมาร์ทฟาร์ม และโคก หนอง นา และเกษตรพอเพียง มีฐานการเรียนรู้โคก หนอง นา ขนาด 25 ไร่ และฐานการเรียนรู้สมาร์ทฟาร์ม ชนิดฟาร์มเปิด และฟาร์มปิด มีศูนย์กลางแหล่งน้ำ มีการบริการแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่ และชุมชน โดยมีแหล่งเก็บน้ำแก้มลิง 3 แหล่ง ความจุขนาด 1.6 ล้าน ลบ.ม. เป็น "แหล่งน้ำเพื่อชุมชน" มีงบประมาณอื่นๆ และมูลนิธิพระพุทธศรีสัพพัญญู อุปถัมภ์ในศูนย์กลาง วิชาความรู้ วิชาเลี้ยงชีพ วิชาธรรมะปฏิบัติ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้มีหลักปริยัติ (ภูมิรู้) ศูนย์กลางการเรียนรู้ ศูนย์กลางการศึกษาระดับประกาศนียบัตร ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก 

โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ มีศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพร ตามคัมภีร์ใบลาน และแพทย์สมุนไพรไทยปัจจุบัน ต่อยอดสู่ฐานเศรษฐกิจชุมชน อีกทั้งมีหลักปฏิบัติ (ภูมิธรรม) เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติธรรม ศูนย์กลางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ของภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน สำหรับ หน่วยงานราชการ นิสิต นักศึกษา นักเรียน และประชาชนทั่วไป ทั้งในส่วนอาคารพระพุทธศรีสัพพัญญู และวัดภัทรสิทธาราม เป็นศูนย์กลางการบริการของคณะสงฆ์ "บวร" สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ ศูนย์กลางพิธีกรรมทางศาสนา ปฏิบัติธรรมและประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญของจังห ท่องเที่ยวทางธรรมะ และเป็นสถานที่พักผ่อนด้านร่างกาย และจิตใจของประชาชน

ด้านนายเพชรวรรต กล่าวว่า จากการที่ได้มาศึกษาดูงานพุทธอุทยานนครสวรรค์ ในครั้งนี้ เพื่อให้ได้เกิดการแลกเปลี่ยนแนวความคิดการพัฒนากันในระหว่างคณะสงฆ์ ซึ่งพุทธมณฑล ถือเป็นสิ่งสำคัญ หากพัฒนาและสร้างให้เป็นแหล่งศูนย์กลาง ทั้งภาคราชการ และหน่วยงานสงฆ์ ก็จะมีเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมั่นคง ซึ่งจากที่ทราบ ทางจังหวัดเชียงใหม่ ก็จะพัฒนาพุทธมณฑล จ. เชียงใหม่ ในเร็วๆ นี้เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: ทางแห่งสันติ

คลิก ฟังเพลงที่นี่  (The Path of Peace) (ท่อนแรก) บนหนทางที่ลมพัดมา กลางพสุธาที่โศกเศร้า ฝุ่นคลุ้งฟ้าหม่นหมองเทา แสงแห่งธรรมยังน...