วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565

ผลวิจัย "วช."หนุนระบุชัด! ภาคธุรกิจท่องเที่ยวคนตัวเล็กรอดได้ เพราะแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

วันที่  30 กันยายน 2565  สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนโครงการวิจัยการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ต่อแรงงานที่เคลื่อนย้ายกลับสู่ท้องถิ่นในภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินโครงการโดย รศ.ดร เจริญชัย เอกมาไพศาล คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ทั้งนี้จากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ที่พัก รวมถึงร้านอาหารต่าง ๆ ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก ทั้งผู้ประกอบการและลูกจ้าง หรือ พนักงาน จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการและลูกจ้างต้องปรับตัวเองเพื่อความอยู่รอด ทำให้ธุรกิจต้องปรับการบริหารจัดการแบบยืดหยุ่นในช่วงภาวะวิกฤต มีความหลากหลายในด้านบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า นำหลักบริหารแบบครอบครัวมาปรับใช้เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีมีความเห็นอกเห็นใจกันทั้งนายจ้างและลูกจ้างเพื่อความอยู่รอด ในขณะที่ลูกจ้าง หรือพนักงานที่ต้องเจอมรสุมออกจากงานกลับถิ่นฐานจะต้องปรับตัวเองนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ มีความรู้ทักษะในการหารายได้ในยุคดิจิตอล


ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า จากวิกฤตด้านสาธารณสุขที่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยต้องเผชิญจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้หลายภาคธุรกิจแทบตั้งหลักไม่ทัน ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ทั้งปิดกิจการ ลดพนักงาน รวมถึงปรับปรุงการบริการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ มีนวัตกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหลายโครงการที่ทาง วช. ได้ให้การสนับหนุนเพื่อนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชน รวมไปถึงงานวิจัยที่นำเสนอโดยทีมวิจัยจากคณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในเรื่องการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจต่อแรงงานที่เคลื่อนย้ายกลับสู่ท้องถิ่นในภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำองค์ความรู้นี้ไปปรับใช้ให้ผู้ประกอบการและพนักงานลูกจ้างฝ่ามรสุมวิกฤตนี้ไปให้ได้


รศ.ดร. เจริญชัย เอกมาไพศาล อาจารย์คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปิดว่า ธุรกิจขนาดใหญ่ที่วางโครงสร้างไว้ดีแม้จะต้องปรับตัวเองหลายด้านแต่ก็สามารถฝ่าวิกฤตไปได้ แต่มีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่ต้องปิดตัวลง ส่งผลให้มีการเลิกจ้างพนักงาน ซึ่งผลจากการวิจัยพบว่าจากสถานการณ์โควิด -19 ทำให้ลูกค้าน้อยลง รายได้ลดลงมาก  ส่วนของพนักงานหรือลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 มีจำนวนไม่น้อยต้องกลับถิ่นฐานเดิม และพยายามหารายได้มาเลี้ยงชีพ ซึ่งในกลุ่มนี้จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีทักษะที่หลากหลายในยุคดิจิตอล การสร้างรายได้บนมือถือหรือที่เรียกว่าการขายของออนไลน์ ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่ง การเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยี เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะของตลาดในยุคปัจจุบัน 


ที่สำคัญคือการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ ต้องรู้จักประมาณตน มีการวางแผนการดำเนินชีวิต ประหยัดรู้จักออม เพื่อสามารถนำเงินมาใช้ในคราวจำเป็นเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตต่าง ๆ เนื่องจากปัญหาแรงงานไทยจะประสบปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เยอะมาก ต้องปรับพฤติกรรมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง ซึ่งผลจากการวิจัยนี้เชื่อว่าเป็นองค์ความรู้ในการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจในระยะยาว เมื่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับตลาดแรงงาน สินค้าและบริการ ต้องปรับกลยุทธ์รับมือเพื่อความอยู่รอด


ขอบคุณข้อมูลจากเพจสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ


ชูนโยบายกองทุนสร้างอนาคตไทย แก้ปัญหา 3 น. ช่วยพัฒนาเกษตรกรยั่งยืน

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2565  ศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ รองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย กล่าวถึงนโยบายเปลี่ยนวิถีชีวิตเกษตรกรไทย เพื่อนำไปสู่การสร้างอนาคตเกษตรกรไทยว่า วันนี้ การปฏิรูปคงไม่พอสำหรับภาคการเกษตร แต่ต้องปฏิวัตินโยบายภาคการเกษตร ที่ออกแบบนโยบายโดยมองจากปัญหาของเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง (Farmer Centric Policy) และต้องเป็นนโยบายที่มีเป้าหมายในการเพิ่มเงินได้สุทธิ (Gross Domestic Income: GDI) ของเกษตรกร ว่าเกษตรกร ทำเกษตรกรรมแล้วหลังหักต้นทุน ต้องมีเงินได้สุทธิเท่าไร ถึงสามารถปลดหนี้ มีเงินเหลือเพียงพอ ที่จะทำให้เกษตรกรและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


ทั้งนี้ ตนมองว่าสถานการณ์ของภาคการเกษตรมีความย้อนแยังกันมาก โดยด้านหนึ่งประเทศไทยเป็นแชมป์การส่งออกข้าว ขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวกลับติดกับดักปัญหาหนี้สินสืบทอดกันมาทุกช่วงอายุเหมือนมรดกบาป ซึ่งทำให้ตนเกิดคำถามว่า ภาครัฐจะภูมิใจไปทำไมว่าประเทศไทย เป็นแชมป์ส่งออกข้าว แชมป์ส่งออกยาง ในเมื่อเกษตรกรไทยยังเป็นหนี้เป็นสิน ในเมื่อเกษตรกรรมไทยยังเป็นอาชีพที่ผลตอบแทนต่ำแต่ความเสี่ยงสูง ในเมื่อเกษตรกรไทยยังต้องส่งลูกหลานไปทำงานในเมืองใหญ่ เพื่อส่งเงินกลับมาให้ครอบครัวเพื่อใช้หนี้เกษตรกร


ศ.ดร.กำพล กล่าวต่อว่า แนวทางการแก้ปัญหาหลักของเกษตรกรต้องมี  3 น. ได้แก่ หนี้ น้ำ และ หนังสือเอกสารทำกิน ซึ่งหนี้สินเกษตรกร ณ ปี 2564 ยอดกว่า 6 แสนล้านบาท โดยค่าเฉลี่ยต่อครัวเรือนรายภาค ณ ปี 2564 ได้แก่ กรุงเทพ 96,610 บาท ภาคกลาง 346,267 บาท ภาคเหนือ 313,752 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 264,471 บาท ภาคใต้ 395,112 บาท

ขณะที่น้ำ: 58% ของพื้นที่ ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการการเกษตร และสุดท้ายหนังสือเอกสารทำกิน: 40% ของครัวเรือนเกษตรกร ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน ต้องเช่าที่ดินเพื่อทำการเกษตร


ทั้งนี้ พรรคสร้างอนาคตไทย มองว่าแนวทางสำคัญในการสร้างอนาคตให้เกษตรกรไทย ต้องมุ่งเน้นการใช้องค์ความรู้จากศาสตร์พระราชา ปราชญ์ชาวบ้าน เกษตรผสมผสาน  ผนวกกับส่งเสริม AgriTech Startup ให้นำองค์ความรู้ด้าน Big Data, Data Analytics, AI, Digital Technology รวมถึงนวัตกรรมด้านการเงิน มาออกแบบนโยบายด้านการเกษตร เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร เพื่อเพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย ลดความเสี่ยง เพิ่มโอกาสการเข้าถึงสิทธิในที่ดินทำกิน รวมถึงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร โดยมุ่งเพิ่มเงินได้สุทธิของเกษตรกรไทย และพัฒนาภาคการเกษตรของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน


ซึ่งแนวคิดดังกล่าว พรรคจะขับเคลื่อนภายใต้นโยบายตั้งกองทุนสร้างอนาคตไทย 3 แสนล้านบาท ซึ่งกองทุนนี้สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาหนี้ ทั้งการพักหนี้และเติมทุน เพื่อต่อลมหายใจให้กับเกษตรกร รวมถึงการส่งเสริมเกษตรกรในด้านต่างๆ ทั้งด้านส่งเสริมองค์ความรู้ การเข้าถึงเทคโนโลยีและปัจจัยการผลิตผ่านระบบเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) การสร้างบ่อน้ำเพื่อการเกษตร เป็นต้น  เพื่อทำให้เกษตรกรสามารถยืนด้วยขาของตัวเอง 


ด้านการลดต้นทุนและสร้างรายได้เสริม ทางพรรคสร้างอนาคตไทย มีนโนยาย 4 โซลาร์ ประกอบด้วย 1.โซลาร์รูฟท็อป ที่สามารถสร้างรายได้และลดรายจ่ายให้เกษตรกร 2.โซลาร์ฟาร์มบนมิติโรงไฟฟ้าชุมชน ที่สามารถผสมผสานพลังงานเกษตรและแสงอาทิตย์ 3.โซลาร์สูบน้ำบาดาลทั่วทั้งประเทศ ทำให้เกษตรกรมีน้ำเพื่อการเกษตรด้วยแสงอาทิตย์ และ 4.โซลาร์ลอยน้ำ เพื่อเพิ่มศักยภาพและความมั่งคงด้านพลังงานของประเทศ


 


วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565

เวที SX 2022 ศูนย์สิริกิติ์"พุทธ-คริสต์-อิสลาม" ชูชุมชน "กะดีจีน-คลองสาน" ต้นแบบศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 29 กันยายน2565 ที่ผ่านมา ในงาน Sustainability Expo 2022 หรือ SX 2022 มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่สุดในอาเซียน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 40,000 ตารางเมตร ของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  ระหว่างวันที่ 26 กันยายน ถึง 2 ตุลาคม 2565 มีการเสวนาเรื่อง "ศาสนากับความยั่งยืนของชุมชน" โดยมีผู้แทนจาก 3 ศาสนา ทั้งพุทธ คริสต์ และอิสลาม ประกอบด้วย พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม และอุปนายกสภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) มงซินญอร์ ดร.วิษณุ ธัญญอนันต์ รองเลขาธิการสภาประมุขบาทหลวง โรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย และฮัจยี อุมัร กาญจนกูล (วาสุเทพ กาญจนกูล) ผู้แทนชุมชนมุสลิมย่านกะดีจีน-คลองสาน ดำเนินรายการโดยนายสุรพล เศวตเศรนี ที่ปรึกษาคณะกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชนและประธานจัดงาน Water & River Festival มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  


พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) กล่าวเปิดวงสนทนาว่า สำหรับศาสนากับความยั่งยืนของชุมชนนั้น คำว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้เริ่มมีการพูดถึงและใช้เมื่อ 30 ปีก่อนเป็นครั้งแรก โดยให้ความหมายว่า เป็นการพัฒนาที่เอื้อต่อคนรุ่นต่อๆ ไป ซึ่งเป็นความหมายที่เน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะว่าทุกคนได้มีการหยิบยืมทรัพยากรธรรมชาติจากรุ่นลูกหลานมาใช้ จึงไม่ควรใช้อย่างสิ้นเปลือง และเหลือไว้ให้คนรุ่นลูกหลานได้ใช้บ้าง  แต่องค์การสหประชาชาติได้ขยายคำว่า ความยั่งยืน ให้มีความหมายมากกว่านั้น โดยในปี 2555 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ว่า ภายในปี 2568-2571 โลกจะต้องบรรลุเป้าหมาย 17 ข้อ แต่เป้าหมายที่ควรทำได้ มี 3 เรื่อง คือ สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ สรุปแล้วการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงไม่ได้มีเพียงแค่สิ่งแวดล้อมเท่านั้น


สำหรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 ยังคงหลักเป้าหมายทั้ง 3 เรื่อง ที่องค์การสหประชาชาติได้เน้นย้ำไว้อยู่ แต่ได้มีการนำวัฒนธรรมเข้ามา ซึ่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้มีแนวคิดที่จะนำไปสู่ความสมดุล ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม แต่เนื่องจากสังคมและวัฒนธรรมเป็นเรื่องเดียวกัน องค์การสหประชาชาติจึงควบรวมเป็นเรื่องเดียวกัน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ในปี 2549 สำนักเลขาธิการสหประชาชาติจึงนำรางวัล UN Human Development Lifetime Achievement Award ซึ่งเป็นรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ ทูลเกล้าฯ ถวาย ในหลวง รัชกาลที่ 9


"หลังจากองค์การสหประชาติประกาศเป้าหมายความยั่งยืนทั้ง 17 ข้อ ฝ่ายศาสนาก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้จัดการประชุมผู้นำศาสนาที่นครรัฐวาติกัน ในปี 2562 ซึ่งมีหนึ่งประโยคที่รู้สึกประทับใจ คือ ประโยคที่ว่า 'No man left behind.' การพัฒนาที่ยั่งยืนจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ไม่ว่าจะเป็นผู้ด้อยโอกาส หรือคนยากคนจน ซึ่งเป็นพระดำรัสของพระสันตปาปา


"ทั้งนี้ ตัวผู้พูดได้มีส่วนร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนในการประชุมครั้งนี้ และมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายฝ่าย รวมถึงคุณฐาปน สิริวัฒนภักดี (กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ไทยเบฟเวอเรจ) ก็ได้เข้าร่วมพูดคุยในครั้งนี้ด้วย โดยมีท่าน มงซินญอร์ ดร.วิษณุ ธัญญอนันต์ เป็นผู้ประสานงานครั้งนี้" พระพรหมบัณฑิต กล่าวและว่า


การประชุมดังกล่าวได้ข้อสรุปพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนว่า ต้องมี 5 Ps ได้แก่ People คุณภาพชีวิตของผู้คน, Prosperity ความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน, Planet ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, Peace สันติภาพ และ Partnership การมีส่วนร่วมเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งทั้งหมดจะต้องเกิดขึ้นพร้อมเพรียงกันและจับมือไปด้วยกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และได้มีการยกตัวอย่างชุมชนย่านกะดีจีน-คลองสาน ที่ชุมชนชาวพุทธ คริสต์ และอิสลาม ได้ร่วมจับมือกันเป็นต้นแบบ


พระพรหมบัณฑิต  กล่าวถึงชุมชนต้นแบบว่า ผู้นำชุมชนย่านกะดีจีน-คลองสาน มีอยู่ 6 ชุมชนด้วยกัน ทั้งวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ที่เป็นหน้าด่านของชาวพุทธ ตามด้วยชุมชนวัดกัลยาณมิตร ชุมชนวัดบุปผาราม ชุมชนโรงพราหมณ์ ชุมชนมัสยิดกุดีขาวเป็นอิสลาม รวมถึงชุมชนกะดีจีนที่เป็นคริสต์ เรียกได้ว่าใน 6 ชุมชน มีถึง 3 ศาสนาอยู่ด้วยกัน ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องยากที่จะติดต่อประสานงานให้ทำงานร่วมกันจนสำเร็จได้ แต่ก็เกิดขึ้นได้และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี


"วิธีการทำงานจึงใช้ บ้าน วัด ราชการ เป็นแกนหลักในการประสานงาน เริ่มจากชุมชนพุทธจับมือกับชุมชนอื่นๆ ในย่านกะดีจีน โดยนำผู้นำศาสนาอื่นมาร่วมเวทีแลกเปลี่ยนความคิด และจากการสืบค้นทางประวัติศาสตร์พบว่า ชุมชนพุทธ คริสต์ อิสลาม เหล่านี้เริ่มสร้างชุมชนร่วมกันมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งหากนับตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบันก็นับได้ว่า คนในชุมชนมีความผูกพัน และนับญาติกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน"


การแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ มีองค์กรจากภาคเอกชนมาร่วมสนับสนุน โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแกนนำ ยกตัวอย่างเช่น ด้านวัฒนธรรมที่จัดร่วมกัน คือ การจัดงานลอยกระทง ที่เริ่มต้นเมื่อปี 2553 จนมาถึงปัจจุบัน โดยให้ประชาชนนำกระทงมาลอยได้ที่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ชุมชนมัสยิดกุดีขาว และย่านชุมชนกะดีจีน ภายในงานมีขนมและอาหารขึ้นชื่อของคนในชุมชนมาวางจำหน่าย โดยที่วัดไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งปฏิบัติเช่นนี้มานานกว่า 10 ปี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน และเป็นจุดเริ่มต้นของวิสาหกิจชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง


สำหรับกิจกรรมอื่นๆ อย่างการประกวดอาหาร 3 ศาสนา ได้มีการประกวดกันอย่างละ 1 วัน การรณรงค์ไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในศาสนสถาน และการรณรงค์เรื่องการเก็บขยะให้เป็นที่เป็นทาง รวมถึงการจัดงานศิลป์ในซอยเมื่อปี 2557 ที่ได้กลายเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีเยาวชนในชุมชนเป็นมัคคุเทศก์น้อยพานักท่องเที่ยวเดินชมชุมชน และกลายเป็นการท่องเที่ยวเชิงพหุวัฒนธรรมไปโดยปริยาย วิธีการพัฒนาดังกล่าวเริ่มจากที่คนในชุมชน ได้ตื่นพร้อม ตื่นรู้ สร้างสรรค์ และกระจายสู่ภายนอกจนประสบความสำเร็จ โดยมีผู้นำชุมชนเป็นคนสำคัญในการประสานงาน จากชุมชนกะดีจีนได้พัฒนาไปถึงคลองสาน และกลายเป็นต้นแบบการพัฒนาชุมชนตัวอย่างของกรุงเทพมหานคร


ทั้งนี้ พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) กล่าวทิ้งท้ายว่า การพัฒนาชาติให้เริ่มที่ประชาชน และการพัฒนาคนให้เริ่มที่ใจ จะพัฒนาอะไรให้เริ่มที่ตัวเรา ดังนั้น หากนำศาสนามาขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนา คือ เติมส่วนที่ขาดให้เต็ม เติมที่เต็มให้พอ และถ้าพอให้แบ่ง ที่แบ่งให้เป็นธรรม จะทำให้ทุกพื้นที่ทุกแห่งในสังคมไทยกลายเป็นสวรรค์บนดินที่น่าอยู่ จากพลังการแบ่งปันของศาสนาสืบไป


ด้าน มงซินญอร์ ดร.วิษณุ ธัญญอนันต์ กล่าวเสริมว่า สำหรับภาคปฏิบัติของชุมชนคาทอลิก เมื่อวันที่ 14-16 กันยายนที่ผ่านมา มีการประชุมผู้นำโลกที่อัสตานา ประเทศคาซัคสถาน ที่ผู้นำศาสนาได้นั่งร่วมวงสนทนาพูดคุยกันในหัวข้อ"ศาสนาเป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างความยั่งยืนของโลก ดังนั้น การแก้ไขปัญหานี้ต้องเริ่มจากผู้นำศาสนาในชุมชน ต้องแสวงหาจุดร่วมและสงวนจุดต่างของผู้คนที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน ส่วนที่น่ากังวลอีกประการ คือ คนที่นำเอาศาสนามาเป็นเรื่องสุดโต่ง หรือชาตินิยมจัด" มงซินญอร์ ดร.วิษณุ กล่าวและว่า


นอกจากนี้ สิ่งที่พระสันตปาปาฟรานซิสทรงห่วงที่สุด คือ กลัวคนรุ่นใหม่จะลืมเลือนประวัติศาสตร์ แต่โชคดีที่สมาชิกชุมชนวัดคาทอลิกที่ซางตาครู้สกว่า 1,000 คน ไม่หลงลืมประวัติศาสตร์และช่วยรักษาวัฒนธรรมของชุมชน ผ่านการประสานงานของผู้นำศาสนาและชุมชนอื่นๆ ในบริเวณโดยรอบ ซึ่งชุมชนคริสต์คาทอลิกอยู่ตรงบริเวณนี้กว่า 253 ปีแล้ว อยู่ติดกับวัดพุทธและศาลเจ้าจีน รวมถึงพี่น้องมุสลิมทางคลองหลวง แสดงถึงความเป็นพหุวัฒนธรรมในย่านนี้ได้เป็นอย่างดี


ฮัจยี อุมัร กาญจนกูล (วาสุเทพ กาญจนกูล) ผู้แทนชุมชนมุสลิมย่านกะดีจีน-คลองสาน กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของมัสยิดกูวติลอิสลาม หรือมัสยิดตึกแดง ว่า ย่านกะดีจีน-คลองสาน เป็นการต่อยอดและพัฒนาสู่ความยั่งยืน โดยคำว่า อิสลาม แปลว่า สันติ กล่าวคือศาสนอิสลามมีสันติ อิสรภาพ และภราดรภาพ โดยภราดรภาพนี้ ทำให้มัสยิดตึกแดงอยู่ร่วมชุมชนกะดีจีน-คลองสานมาได้อย่างเนิ่นนานแล้ว ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา


"มัสยิดตึกแดงอยู่ใกล้กับศาลเจ้าพ่อกวนอู และวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ซึ่งมีศรัทธาและความเชื่อที่แตกต่างกัน แต่อิสลามสอนให้มีมารยาทที่ดีงาม ให้เกียรติทุกศาสนาและความเชื่อที่แตกต่าง อีกทั้งไม่มีคำสอนใดอนุญาตให้ทำไม่ดีต่อคนอื่นแต่อย่างใด จึงทำให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน โดยสิ่งสำคัญคือ ดุลยภาพ ที่เป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกัน จะทำให้ชุมชนมีความยั่งยืนได้อย่างแน่นอน"  ผู้แทนชุมชนมุสลิมย่านกะดีจีน-คลองสาน กล่าว


วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2565

มหาดไทยโชว์ผลผลิตโคกหนองนาสดจากพื้นที่ ในงาน SX 2022 "พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก" ศูนย์สิริกิติ์

วันพุธที่ 28 กันยายน 2565 เวลา 16.00 น. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงกิจกรรม Live Action จากในพื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งจัดขึ้นภายในงานแสดงนิทรรศการนานาชาติ "การขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ในงาน Sustainability EXPO 2022 หรือ SX 2022 ในระหว่างวันที่ 26 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่ากิจกรรมดังกล่าวได้รับความนิยมจากผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก และได้มีการดำเนินการถ่ายทอดสดผ่านทางเพจ Facebook กระทรวงมหาดไทย PR ด้วย 

ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กิจกรรมภายในบูธของกระทรวงมหาดไทย ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 นิทรรศการผลการดำเนินงาน/โครงการสำคัญที่ทุกกรม รัฐวิสาหกิจ และทุกจังหวัดร่วมดำเนินการ กิจกรรมที่ 2 Live Action จากในพื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จในเรื่องต่าง ๆ กิจกรรมที่ 3 การฝึกปฏิบัติ “พึ่งตน เพื่อโลก เพื่อเรา” และกิจกรรมที่ 4 มหาดไทยปันสุข โดยนำผลผลิตเกษตรอินทรีย์ สินค้าจากชุมชน จาก เครือข่าย ปันบุญ ปันน้ำใจ มาร่วมแบ่งปัน ให้กับผู้เข้าร่วมงาน

สำหรับกิจกรรมที่ 2 Live Action จากในพื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จในเรื่องต่าง ๆ นั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 11 เรื่อง 65 โครงการ ประกอบด้วย (1) ชุมชน SDGs จำนวน 6 โครงการ (2) โคก หนอง นา จำนวน 5 (3) ผ้าไทยใส่ให้สนุก จำนวน 11 โครงการ (4) OTOP นวัตวิถี จำนวน 6 โครงการ (5) งาน บ ว ร จำนวน 2 โครงการ (6) การจัดการขยะและถังขยะเปียกลดโลกร้อน จำนวน 3 โครงการ (7) คลองสวยน้ำใส จำนวน 4 โครงการ ( อำเภอนำร่อง 4 ภูมิภาค 17 อำเภอ (9) อปท. ต้นเเบบศูนย์บริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ จำนวน 4 โครงการ (10) สนามเด็กเล่นสร้างปัญญา จำนวน 5 โครงการ และ (11) จัดที่ดินสาธารณประโยชน์ที่มีการบุกรุกเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ จำนวน 2 โครงการ 


ทั้งนี้ ประชาชนผู้สนใจชมงานในส่วนของกิจกรรมที่ 2 Live Action จากในพื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จในเรื่องต่าง ๆ สามารถเข้าไปเยี่ยมชมโครงการต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง ผ่านการถ่ายทอดสดจากพื้นที่จริง ตั้งแต่เวลา 10.30 – 18.00 น. ระหว่างวันที่ 26 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 โดยในแต่ละวันจะมีตารางการถ่ายทอดสดในแต่ละโครงการสลับสับเปลี่ยนและหมุนเวียนกันไปจบครบทุกโครงการ อย่างไรก็ตาม หากท่านไม่สะดวกเดินทางมายังศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ก็สามารถร่วมรับชมการถ่ายทอดสดได้ทางเพจ Facebook กระทรวงมหาดไทย PR ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการรับชมกิจกรรม Live Action ดังกล่าว 


นายสุทธิพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า การถ่ายทอดสดกิจกรรม Live Action จากสถานที่ Best Practice ต่าง ๆ ข้างต้น ถือเป็นเครื่องเตือนใจ และเป็นการตอกย้ำว่า “คนมหาดไทย ผู้นำท้องที่ และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” คือบุคคลสำคัญผู้เสียสละ อุทิศตนเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และนำพาสิ่งที่ดีที่สุดมาสู่ประชาชนคนไทยทั่วทั้งประเทศ ซึ่งเราขอสัญญาไว้ ณ ที่นี้ว่า จะไม่หยุดการสร้างความสำเร็จไว้เพียงแค่วันที่ 2 ตุลาคม 2565 ในงาน SX2022 แต่เท่านั้น แต่จะยังคงมุ่งมั่นอย่างไม่หยุดยั้งที่จะร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนาไปพร้อมกับพี่น้องภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาและยกระดับภารกิจที่ทำอยู่ในวันนี้ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ประเทศไทยได้ก้าวไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อการพัฒนาคน ให้ได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิตที่มั่นคงและยั่งยืนในทุกมิติ นำเสนอสร้างการรับรู้ให้กับสาธารณชนและสายตาประชาคมโลกได้รับทราบ เข้าใจ และมีส่วนร่วมในทุกระดับ 


พร้อมกันนี้ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกคนเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน Sustainability EXPO 2022 (SX2022) ในระหว่างวันที่ 26 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อร่วมกันแสดงพลังทำให้โลกรู้ว่า คนไทยทุกคนเป็นส่วนหนึ่งขับเคลื่อนให้ประเทศไทยไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และจะร่วมกันขยายผลความสำเร็จ เพื่อ Change for Good สู่เป้าหมายเพื่อการพัฒนาคนในทุกช่วงวัยโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง บนพื้นฐานวิถีชีวิตที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ และผนึกกำลังเป็นภาคีเครือข่ายในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ สู่การพัฒนาที่เป็นรูปธรรมในทุกมิติอย่างยั่งยืน ใน 76 จังหวัด 76 คำมั่นสัญญา เพื่อการพัฒนา เพื่อความเท่าเทียม เพื่อความยั่งยืน เพื่อคนไทยกว่า 69 ล้านคน “โลกนี้เพื่อเรา”

"อุตตม" แนะ 3 แนวพัฒนาเกษตรกรไทยหายจน เป็นฐานแก้วิกฤตอาหารโลกยั่นยืน

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงปัญหาความมั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้ โดยชี้ให้เห็นว่าถือเป็นโอกาสของประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกอาหารอันดับ 13 ของโลก แสวงหาโอกาสในวิกฤตโลกครั้งนี้ ทั้งในระยะสั้น และวางรากฐานให้ไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารโลกได้อย่างแท้จริงในระยะยาว ที่สำคัญสุดก็คือ เกษตรกรผู้ผลิตต้องได้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นนี้ด้วย โดยในระยะสั้น ภาครัฐต้องเร่งช่วยลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร โดยเฉพาะต้นทุนปุ๋ยที่ราคาสูงขึ้น แต่ราคาผลผลิตกลับวิ่งตามไม่ทันต้นทุน ขณะเดียวกันภาครัฐต้องร่วมกับเอกชนผู้ส่งออกใช้โอกาสนี้เปิดตลาดประเทศใหม่ๆ ที่มีความต้องการสินค้าเกษตรทดแทนประเทศที่มีปัญหา เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกของไทย


นายอุตตม ระบุต่อว่า หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากเกิดสถานการณ์อาหารขาดแคลนและมีราคาแพง ต้นเหตุมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน เพราะทั้ง 2 ประเทศเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญโดยเฉพาะข้าวสาลี และรัสเซียยังเป็นผู้ส่งออกปุ๋ยรายใหญ่ เมื่อปุ๋ยขาดแคลนก็กระทบต่อปริมาณการผลิตอีกทอดหนึ่ง นอกจากนี้ยังเป็นปัญหาจากความเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก ที่กำลังเป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวงในแหล่งผลิตอาหารทั่วโลก


“ผมจึงขอชวนทุกท่านมาร่วมกันคิดต่อว่า เมื่อหลายประเทศทั่วโลกมีปัญหาขาดแคลนอาหาร ขณะที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับ 13 ของโลก มูลค่ากว่า 1.1 ล้านล้านบาทต่อปี ดังนั้นจึงต้องคิดว่าเราจะทำอย่างไรเพื่อแสวงหาโอกาสในวิกฤตโลกครั้งนี้ ทั้งในระยะสั้นและวางรากฐานให้ไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารโลกได้อย่างแท้จริงในระยะยาว สุดท้ายที่สำคัญสุดก็คือ เกษตรกรผู้ผลิตต้องได้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นนี้ด้วย” นายอุตตม ระบุ


นายอุตตม ระบุด้วยว่า สำหรับระยะสั้นผมคิดว่าสิ่งที่ควรทำในทันทีคือ ภาครัฐต้องเร่งช่วยลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร โดยเฉพาะต้นทุนปุ๋ยที่ราคาสูงขึ้นจากปีก่อนถึงเท่าตัว แต่ราคาผลผลิตกลับวิ่งตามไม่ทันต้นทุน ซึ่งหมายความว่าเกษตรกรจะไม่ได้ประโยชน์จากสถานการณ์นี้เลย ขณะเดียวกันภาครัฐต้องร่วมกับเอกชนผู้ส่งออกใช้โอกาสนี้เปิดตลาดประเทศใหม่ๆ ที่มีความต้องการสินค้าเกษตรทดแทนประเทศที่มีปัญหา เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกของไทย



หัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย ระบุอีกว่า ประเด็นที่ควรทำในระยะกลางและยาว เพื่อให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารของโลกได้อย่างแข็งแกร่งนั้น ต้องทำ 2 เรื่องสำคัญ คือ 1. ยกระดับคุณภาพและปริมาณผลผลิตต่อไร่ และ 2. ยกระดับสู่การเกษตรสมัยใหม่ เป็นอุตสาหกรรมการเกษตรที่ตอบสนองความต้องการตลาดในโลกปัจจุบัน


นายอุตตม เปิดเผยด้วยว่า เมื่อวันที่ 25 ก.ย.65 พรรคสร้างอนาคตไทยได้จัดเวทีเสวนา “สร้างอนาคตเกษตรกรไทยอย่างไรให้ยั่งยืน” โดยนายกำพล ปัญญาโกเมศ ประธานฝ่ายวิชาการ พรรคสร้างอนาคตไทย ซึ่งมีแง่มุมที่จะสนับสนุนให้เกษตรกรไทยยั่งยืน 3 ประเด็น


คือ 1.รัฐต้องเร่งช่วยลดต้นทุนปัจจัยการผลิตสำคัญ ประกอบด้วย เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และพลังงาน เพื่อเพิ่มกำไรจากการขายผลผลิตให้กับเกษตรกร เช่น สนับสนุนเมล็ดพันธุ์คุณภาพ การส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง รวมทั้งส่งเสริมการใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ ในการทำเกษตร เป็นต้น


2.รัฐต้องปรับโครงสร้างการเกษตร พร้อมทั้งสร้างกลไกที่เท่าเทียมและเป็นธรรมในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเกษตร เพื่อส่งเสริมการเติบโตของเกษตรกร รวมทั้งเพิ่มองค์ความรู้ใหม่ๆโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี ซึ่งจะช่วยยกระดับให้เกษตรกรกลายเป็นผู้ประกอบการ


และ 3.แก้ไขปัญหาเกษตรกรไทยที่สะสมมาหลายสิบปี 3 ด้าน คือ ปัญหาหนี้สิน, ปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และปัญหาไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกิน


“เราต้องแก้ปัญหาเหล่านี้เพื่อให้เกษตรกรหลุดออกจากกับดักวงจรความยากจน เป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาสู่ความยั่งยืนในอนาคต และเชื่อว่าช่วงวิกฤตอาหารโลกในขณะนี้ หากเราสามารถดำเนินการตามแนวคิดข้างต้นได้อย่างรวดเร็ว ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสทางการส่งออกสินค้าเกษตร และส่งผลดีต่อเนื่องถึงพี่น้องเกษตรกร ซึ่งพรรคสร้างอนาคตไทยจะนำแนวคิดทั้งหมดนี้ไปประมวลเป็นนโยบายของพรรคต่อไป” นายอุตตม ระบุ.

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565

"กทม."จับมือสิบทิศ Kick Off! นำร่องแก้จนคนเมืองเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

เมื่อวันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา เวลา 09.00 น. ที่ห้องพัชราวดี ชั้น 11 อาคาร 2 โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Kick Off) โครงการวิจัย “การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำกรุงเทพมหานคร” ระดับพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย  

ปลัดกรุงเทพมหานครกล่าวว่า เชื่อว่าทุกคนที่นี่มีหัวใจที่อยากจะทำให้คนอื่นมีความสุข มีหัวใจที่อยากจะทำให้บ้านเมืองนี้ดีขึ้น และมีหัวใจที่อยากจะทำให้สังคมนี้มีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้นในในอนาคต วันนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่กรุงเทพมหานคร ได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ในการสร้างโอกาสดี ๆ ให้กับชุมชน ให้กับกลุ่มเปราะบาง อีกทั้งยังเป็นโอกาสดีที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายได้เริ่มก่อนเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับเขตอื่น ๆ ในการทำโครงการวิจัยฯ เพื่อดูแลพี่น้องประชาชนชาวกรุงเทพฯ ให้มีความสุขที่สุด มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและเท่าเทียมกัน 

การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Kick Off) โครงการวิจัย “การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำกรุงเทพมหานคร” ระดับพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ซึ่งมีการดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2563 ในพื้นที่ 20 จังหวัด มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลครัวเรือนยากจน จำแนกกลุ่มเป้าหมาย ระบุปัญหาความต้องการ และหาวิธีการในการแก้ไขปัญหาที่เบ็ดเสร็จและแม่นยำ 

ในการนี้ คณะผู้วิจัยจะนำความสำเร็จดังกล่าวมาใช้ในการศึกษาเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของกรุงเทพมหานครผ่านการปฏิบัติงานจริง เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีต้นแบบระบบข้อมูลครัวเรือนคนจนที่สามารถนำไปใช้ได้จริง รวมถึงมีแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาความยากจนของกรุงเทพมหานครที่เบ็ดเสร็จและแม่นยำ แต่การดำเนินงานเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์นั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ การสร้างความเข้าใจต่อเป้าหมาย การสร้างการรับรู้ต่อภารกิจและบทบาทของแต่ละภาคส่วนจึงมีความสำคัญ

ทั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่เขตป้อมปราบฯ เป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องที่จะใช้ในการศึกษาและถอดบทเรียน กิจกรรมในวันนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งต่อพี่น้องประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ ต่อสำนักงานเขตที่เป็นหน่วยหน้าในการประสานและดำเนินการแก้ไขปัญหา และต่อกรุงเทพมหานครในการปรับปรุงรูปแบบการบริหารราชการที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชน เพราะทุกภาคส่วนกำลังจะร่วมกันออกแบบทิศทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งจะสะท้อนไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อไป


สำหรับผู้ร่วมพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย ผู้บริหารสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล คณะผู้แทนชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม คณะทำงานโครงการการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำกรุงเทพมหานคร และผู้เกี่ยวข้อง


"บสย." ชู 3 แนวทางแก้หนี้ยั่งยืน ผ่าน บสย. F.A.Center ปรับโครงสร้างหนี้

27 กันยายน 2565 นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า บสย. พร้อมดำเนินมาตรการช่วยลูกหนี้ SMEs ในงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ : มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่ อย่างยั่งยืน” ซึ่งเป็นมหกรรมแก้หนี้ ครั้งยิ่งใหญ่ โดยมีสถาบันการเงิน กลุ่ม Non Bank บริษัทบริหารสินทรัพย์ เข้าร่วมกว่า 60 แห่ง ร่วมบรรเทาความเดือดร้อนลูกหนี้ ที่ประสบปัญหาการชำระหนี้ ทั้งภาคประชาชน และลูกหนี้ธุรกิจ

ทั้งนี้ บสย. จะร่วมในกิจกรรม “มหกรรมแก้หนี้สัญจร”  5 จังหวัด ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 – มกราคม 2566 ร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มุ่งเน้นการช่วยเหลือลูกหนี้ค้ำประกัน 3 แนวทางหลัก ได้ 1.ปรับโครงสร้างหนี้ 2.การเติมสินเชื่อใหม่ (ผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อ) 3.การให้ความรู้ทางการเงิน เน้นช่วยลูกหนี้ให้เข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อช่วยให้ลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้ และช่วยให้ SMEs กลับมาดำเนินธุรกิจได้โดยเร็ว

นอกจากนี้ ทีมที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs ในส่วนของ บสย. F.A.Center จะช่วยให้คำแนะนำ ปรับโครงสร้างหนี้ และแนะนำวิธีการขอสินเชื่อธุรกิจ รวมถึงช่วยหาทางออกแก่ให้กับลูกหนี้ ที่กำลังประสบปัญหาชำระหนี้ค้ำประกัน ผ่านมาตรการ บสย. พร้อมช่วย เพื่อลดภาระหนี้และลดต้นทุนหนี้ โดยการตัดเงินต้น ซึ่งเป็นมาตรการที่นำไปสู่การแก้หนี้ยั่งยืนที่ประสบความสำเร็จอย่างดี นับตั้งแต่เริ่มใช้มาตรการในเดือน เมษายน 2565 โดยได้ช่วยให้ลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วกว่า 2,000 ราย และยังอยู่ในระหว่างการรอเข้ากระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และเจรจาหนี้อีกกว่า 3,000 ราย

ทั้งนี้ ลูกหนี้ทุกประเภท และ ลูกหนี้ค้ำประกัน บสย. สามารถลงทะเบียนขอรับคำปรึกษาฟรี ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผ่านเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย www.bot.or.th/debtfair เท่านั้น เพื่อป้องกันการหลอกลวง โดยไม่มีค่าลงทะเบียน ค่าค้ำประกัน ค่าปลดล็อก SMS ใดๆ

https://www.nationtv.tv/news/economy-business/378887840


วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565

เริ่มงานทันที! "กรณ์-สุวัจน์" ผนึกกำลังชูซอฟท์พาวเวอร์ "ผ้าไหมไทยผ้าไหมโลก"

"กรณ์-สุวัจน์" ผนึกกำลังชูซอฟท์พาวเวอร์ "ผ้าไหมไทยผ้าไหมโลก"  ยึดหัวหาดใช้โคราชเป็นศูนย์กลางของอีสาน เล็งจับมือแบรนด์ระดับโลกพัฒนาดีไซน์ให้เป็นผ้าไหมสากล  

เริ่มต้นทำงานทันที หลังประกาศความร่วมมือกันอย่างเป็นทางการภายใต้ชื่อพรรคใหม่ “ชาติพัฒนากล้า” ของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรคฯ และ นายกรณ์ จาติกวณิช กรรมการบริหารพรรคเมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา โดยทั้งสองได้พูดคุยกันถึงการผลักดันของดีโคราช คือ ผ้าไหม ซึ่งมีอัตตลักษณ์โดดเด่น สวยงามเป็นที่ยอมรับของชาวไทยและต่างประเทศ แต่การจำหน่ายยังอยู่ในวงที่จำกัด ซึ่งในแง่ทางเศรษฐกิจสามารถพัฒนาได้อีกมากจึงได้เรียกนายศักดา แสงกันหา มิสเตอร์ผ้าไหม-โคราช เข้ามาสอบถาม เนื่องจากเป็นคนที่คลุกคลีกับผ้าไหมมาตั้งแต่เด็ก โดยมองถึงความเป็นไปได้ ที่จะผลักดันให้ผ้าไหมไทยเป็นผ้าไหมของโลก มีคุณภาพมาตรฐาน โดยนายศักดา มองว่าขณะนี้ประเทศไทยเป็นรองแค่ประเทศจีนเท่านั้น ในเรื่องของปริมาณการผลิต ซึ่งแน่นอนด้วยพื้นที่และประชากร แต่เรื่องความสวยงามผ้าไหมโคราชและผ้าไหมของภาคอีสานไม่เป็นสองรองใคร สามารถพัฒนาโคราชให้เป็นศูนย์กลางผ้าไหมของภาคอีสาน และเป็นแหล่งผ้าไหมของโลกได้

 

“ผ้าไหมไทยเป็นศิลปะวัฒนธรรม เป็นหนึ่งใน ซอฟต์ พาวเวอร์ ของคนไทย ที่สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้ความสนพระทัยเป็นอย่างมาก พระองค์ทรงส่งเสริมให้มีการสร้างอาชีพจากการทอผ้า ในช่วงแรกพระองค์ทรงรับซื้อไว้เพื่อสร้างขวัญกำลังให้กับชาวบ้านทรงมีพระราชดำรัชว่า "ขาดทุนแต่เป็นกำไรให้กับประชาชน" พระองค์ทรงนำผ้าไหมเหล่านั้นนำไปเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก จนทุกวันนี้ในระดับสากลผ้าไหมของไทยได้รู้จักและเป็นที่ยอมว่าเป็นผ้าไหมไทยเป็นผ้าที่มีความสวยสดงดงามประณีตละเอียดมาก ปัจจุบันผ้าไหมได้สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับพี่น้องในภาคอีสาน เป็นมูลค่ามหาศาลรวมทั้งชุมชนของผมด้วย” นายศักดา กล่าว  


ด้านนายวรวุฒิ อุ่นใจ อดีตประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย หนึ่งในสมาชิกพรรคชาติพัฒนากล้า กล่าวว่า ก่อนอื่นต้องทำให้คนไทย หันมาใช้ผ้าไหมไทยของโคราชก่อน ขณะนี้เดียวกันก็ต้องพัฒนาคุณภาพการผลิตและดีไซน์ ให้เป็นสากล เพื่อผลักดันให้โครงการผ้าไหมไทยเป็นผ้าไหมโลก โดยเริ่มที่ จ.นครราชสีมาเป็นจริง และขั้นตอนต่อไปคือ สร้างตลาดในประเทศ และส่งออก ซึ่งทั้งสองอย่างสามารถทำควบคู่กันไปได้เพราะในภาวะปกติ ก็มีนักท่องเที่ยวเข้ามาประเทศไทยมหาศาลอยู่แล้วในแต่ละปี เราต้องจัดเกรด ตั้งระดับมาตรฐานผ้าไหม หาตลาด พัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ถ้าทำพวกนี้ได้ ผ้าไหมไทยก็จะเป็นผ้าไหมของโลกได้สำเร็จ และอาจต้องร่วมมือกับแบรนด์ดังระดับโลกเพื่อส่งผ้าไหมไทยสู่สากล ซึ่งทั้งหมดปลายทางคือ ชาวบ้าน เกษตรกรผู้เลี้ยงไหม จะมีรายได้เพิ่ม 


สอดคล้องกับ นายวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ หรือ นายกอุ๊ ประธานโอทอปเทรดเดอร์ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า เรื่องของผ้าไหมเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับวิถีชุมชน คือ ชาวบ้าน ซึ่งพื้นฐานของคนโคราช ทอผ้าไหม สาวไหม และทำไว้ใช้เองอยู่แล้ว การที่จะเพิ่มรายได้ให้กับเขา ก็ต้องไปดูในเรื่องของกลางน้ำกับปลายน้ำ เราต้องสร้างตลาดของผ้าไหมให้มากกว่าที่คนไทยใช้ ต้องทำให้ผ้าไหมสามารถที่จะเป็นผ้าสากลที่ใช้กันทั่วโลก และทั่วโลกมีความต้องการในผ้าไหมของคนไทย ซึ่งมันจะย้อนกลับมาสู่เรื่องของการพัฒนา การออกแบบดีไซน์ การเพิ่มมูลค่าและเพิ่มคุณภาพของผ้าไหม ให้เขามีความรู้สึกว่าเป็นผ้าไหมโคราช ผ้าไหมไทย เป็นผ้าไหมดีมีคุณภาพ เป็นแบรนด์เนม มาเมืองไทยต้องซื้อกลับไปเป็นของฝากที่มีราคาและมีคุณค่าที่สุดของเขา เราต้องไม่ขายแค่ผ้าไหมแต่ต้องขายแบรนด์ของผ้าไหม 


“พอมีผ้าไหมมีมูลค่า มีคุณค่า มันจะย้อนกลับไปที่ต้นทางทันทีคือ ชาวบ้าน ครัวเรือนต่าง ๆ ที่บรรดา แม่ ๆ ป้า ๆ ทั้งหลาย ที่สาวไหม เลี้ยงไหม และเป็นวิถีชีวิต ผูกพันกับเส้นไหม เขาจะมีเงินในกระเป๋ามากขึ้น โดยที่เขายังใช้ชีวิตอยู่เหมือนเดิม ซึ่งวิธีการเหล่านี้ พรรคชาติพัฒนากล้า ต้องพัฒนา สนับสนุนและส่งเสริม โดยยกระดับโคราชให้เป็นเมืองผ้าไหมไทย เป็นเมืองผ้าไหมโลกได้ ซึ่งไม่ใช่ส่งผลดีแต่เฉพาะโคราชเท่านั้น แต่อีสานทั้งภาคจะได้ประโยชน์ด้วย เป็นภูมิภาคของผ้าไหม พี่น้องชาวอีสานทุกคนจะได้ประโยชน์จากโครงการ ผ้าไหมไทยสู่ผ้าไหมโลก ตลาดกลางเส้นใยไหม การเดินแบบระดับโลกการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต้องเกิดขึ้นที่โคราช เพราะฉะนั้นพี่น้องชาวอีสาน ต้องร่วมมือกัน เรื่องเหล่านี้สำคัญ ที่เราต้องช่วยกัน ที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายก็จริง แต่ไม่ได้โฟกัสจุด มันฟุ้งจนหาธีมไม่เจอ ต้องให้โคราชเป็นหัวขบวนรถไฟความเร็วสูงเรื่องของผ้าไหม เพื่อเชื่อมไปสู่ถนนสายผ้าไหมในอนาคต” ประธานโอทอปเทรดเดอร์ประเทศไทย กล่าว


"มูลนิธิชัยพัฒนา-กปร."เซ็น MOU ขยายผลองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาสู่เยาวชน ในงาน SX 2022 ศูนย์สิริกิติ์

เมื่อวันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2565  ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  วันแรกของงาน Sustainability Expo 2022 หรือ SX 2022 มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่สุดในอาเซียน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 40,000 ตารางเมตร ของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  ระหว่างวันที่ 26 กันยายน ถึง 2 ตุลาคม 2565 โดยเวลา 11.00 น. สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในโครงการขยายผลองค์ความรู้โครงการตามแนวพระราชดำริสู่เยาวชน เพื่อให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปสามารถนำองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริ มาปรับเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินชีวิตให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น และส่งมอบรถโมบายล์ เพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนที่อยู่ห่างไกลได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาโครงการในพระราชดำริ


การลงนามดังกล่าว มี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา พร้อมด้วย นายลลิต ถนอมสิงห์ เลขาธิการ กปร. นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ สพฐ. และ นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ไทยเบฟเวอเรจ เป็นผู้แทนจากแต่ละหน่วยงาน ร่วมลงนาม MOU ทั้ง 4 หน่วยงาน ได้ร่วมจัดทำโครงการดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ห่างไกลได้มีความรู้ความเข้าใจในแนวพระราชดำริ ด้วยการเชื่อมโยงองค์ความรู้การพัฒนาจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สังเคราะห์ให้สอดคล้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้ได้รับความรู้ในรูปแบบ Play and Learn


ความร่วมมือนี้ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา จะสนับสนุน แนะนำ การจัดทำองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริ ประสานงานเครือข่ายในการจัดทำองค์ความรู้ และขยายผลไปยังกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่โครงการ ขณะที่ สำนักงาน กปร. จะกำหนดและกำกับการนำเสนอองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริ เพื่อจัดทำสื่อการเรียนการสอน พร้อมทั้งสนับสนุนข้อมูล ให้คำแนะนำ ในการจัดทำสื่อองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริ


สพฐ. จะเผยแพร่สาระความรู้และขยายผลองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริไปสู่โรงเรียนในสังกัด รวมถึงขยายผลองค์ความรู้ไปยังโรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 แห่ง ศูนย์สาขา โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ รวมถึงกำกับดูแลการจัดการเรียนการสอน พัฒนาศักยภาพครูผู้สอนและนักเรียน ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ ตลอดจนติดตามและประเมินผลการถ่ายทอดองค์ความรู้


ไทยเบฟเวอเรจ จะสนับสนุนการจัดทำสื่อองค์ความรู้ ผลิตสื่อ อุปกรณ์ ในการเผยแพร่องค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริ รวมถึงสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการผลิตสื่อ อุปกรณ์สำหรับครูและนักเรียน พร้อมสนับสนุนการขยายผลองค์ความรู้การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ เพื่อบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนเครือข่ายที่ทำงานร่วมกับไทยเบฟเวอเรจ โดยผลิตสื่อและอุปกรณ์ที่ทันสมัย สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการเรียนรู้ได้ตามยุคสมัย บรรจุในรถยนต์ (Mobile Unit) ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ห่างไกลได้ง่ายขึ้น


เลขาธิการ กปร. ในฐานะแกนหลักในการดำเนินโครงการ เผยว่า ความร่วมมือระหว่าง 4 หน่วยงานครั้งนี้ มีเป้าหมายให้ประชาชนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้โครงการตามแนวพระราชดำริ มีกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ โรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 แห่ง และศูนย์สาขา โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล รวมถึงเยาวชนและประชาชนทั่วไปที่อยู่ในเขตพื้นที่โรงเรียน ที่มีการจัดทำโครงการความร่วมมือเพื่อการขยายผลองค์ความรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เข้ามาเรียนรู้ร่วมกันเพิ่มมากขึ้น


ภายใต้กรอบความร่วมมือระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี ทั้ง 4 หน่วยงานจะร่วมกันพัฒนาสื่อ องค์ความรู้ผลิตสื่อ และอุปกรณ์ ในการเผยแพร่ขยายผลองค์ความรู้โครงการตามแนวพระราชดำริไปสู่โรงเรียนในกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ของโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


เลขาธิการ กปร. กล่าวว่า โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 4,000 โครงการ ก่อกำเนิดขึ้นตามแนวพระราชดำริ ใน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้ประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง


"โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 6 แห่ง ที่ได้จัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริ เพื่อเป็นแหล่งทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย วิธีการพัฒนาด้านต่างๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับภูมิสังคมที่แตกต่างกัน ความรู้ผลิตสื่อ และอุปกรณ์ ในการเผยแพร่ขยายผลองค์ความรู้โครงการตามแนวพระราชดำริไปสู่โรงเรียนในกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ของโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


เลขาธิการ กปร. กล่าวว่า โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 4,000 โครงการ ก่อกำเนิดขึ้นตามแนวพระราชดำริ ใน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้ประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง


"โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 6 แห่ง ที่ได้จัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริ เพื่อเป็นแหล่งทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย วิธีการพัฒนาด้านต่างๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับภูมิสังคมที่แตกต่างกัน


"ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงเปรียบเสมือน'พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต' และ 'ต้นแบบ' ของความสำเร็จ ที่จะเป็นแนวทางและตัวอย่างให้พื้นที่อื่นๆ ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่จริงได้" นายลลิตกล่าว พร้อมเผยว่า


ด้วยเหตุนี้ ทั้ง 4 หน่วยงาน จึงรวมพลังเพื่อขับเคลื่อนขยายผลองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามพระราชปณิธานใน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนที่จะเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต


SX 2022 จัดโดย 5 องค์กรชั้นนำด้านความยั่งยืนของไทย ได้แก่ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ จีซี, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจี, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) พร้อมผนึกกำลังกับพันธมิตรชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 100 องค์กร และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญกว่า 100 รายจากทั่วโลก นำเสนอประเด็นเรื่องความยั่งยืน ผ่านนิทรรศการ 7 โซนหลัก เวทีเสวนา เวิร์กช็อป ฯลฯ โดยมุ่งหมายให้เป็น 'collaboration platform' ให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมทั้งไทยและต่างประเทศ เครือข่าย Thailand Supply Chain Network (TSCN) และสถาบันการศึกษา ได้มาพบปะพูดคุย ร่วมกันพัฒนาสังคมในภาพรวม พร้อมเดินหน้าเรื่องความยั่งยืนอย่างจริงจังต่อเนื่อง


ติดตามรายละเอียดงาน SX 2022 ได้ทางเฟซบุ๊กhttps://www.facebook.com/SX.SustainabilityExpo/ และเว็บไซต์ https://sustainabilityexpo.com


วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565

วัดและชุมชนฉะเชิงเทราเกื้อหนุนสร้างความสุขอย่างยั่งยืนตามเป้า TPMAP

วันที่ 25 กันยายน 2565 ที่วัดวังเย็น ตำบลวังเย็น อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา พระราชภาวนาพิธาน วิ. เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธาน kick off โครงการขับเคลื่อนความร่วมมือดังกล่าว โดยมีทุกภาคส่วนเข้าร่วม ทั้งนี้ท่านเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรากล่าวว่า ในการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวระยะต่อไป มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย TPMAP เน้นในมิติ 2 อันดับแรก ได้แก่ มิติด้านรายได้ และมิติด้านการศึกษา 

โดยมีกระบวนการและกิจกรรมการขับเคลื่อนฯ ทั้งต้นทาง กลางทาง และปลายทาง อาทิ การฝึกอบรม/ให้ความรู้การทำเกษตรแบบผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การฝึกอบรม ให้ความรู้ด้านการจัดทำบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่า การประสานความร่วมมือกับวัดโสธรวรารามวรวิหาร และกลุ่มเกษตรกรในชุมชนวังเย็นพัฒนาแปลงเกษตรให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวชุมชนเชิงเกษตรหรือเป็นศูนย์เรียนรู้ การจัดให้มีกิจกรรมการคัดแยกขยะ หรือส่งเสริมการปลูกต้นไม้แก่เด็กนักเรียน กิจกรรมจิตอาสา Big Cleaning Day การพัฒนาทักษะอาชีพโดย MOU กับวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา รวมถึงมีระบบดูแลช่วยเหลือเยี่ยมเยียนบ้านเด็กนักเรียน และการสำรวจรายได้ของครอบครัวนักเรียนเพื่อให้ความช่วยเหลือตรงตามเป้าหมาย เป็นต้น

ประเมินผล"มจร"ร่วมแก้จนตามแนวพอเพียง ประเทศไทยร่ำรวยวัฒนธรรมและนวัตกรรมกำลังจะเกิด

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2565 พระสุธีรัตนบัณฑิต,ดร. (สุทิตย์ อาภากโร) เจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Suthito Aphakaro ความว่า ประเทศไทยร่ำรวยวัฒนธรรม และนวัตกรรมกำลังจะเกิด U2T@MCU


วันที่ 25 กันยายน 65 เดินทางร่วมงาน U2T for BCG ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์และวิทยาลัยสงฆ์กำแพงเพชร ในฐานะประธานขับเคลื่อนโครงการ U2T ของมหาจุฬาฯ


โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T เป็นโครงการ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เกิดขึ้นเพื่อยกระดับการพัฒนาสินค้าและนวัตกรรมสร้างสรรค์ของ 7000 กว่าตำบลทั่วประเทศโดยให้มหาวิทยาลัยเป็นแกนนำในการพัฒนาศักยภาพสินค้าและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯได้รับการดูแล ลงไปพัฒนาจำนวน 84 ตำบล


ผลของการพัฒนา สามารถยกระดับสินค้าของชุมชนเป็นนวัตกรรมสร้างสรรค์มากกว่า 150 ผลิตภัณฑ์และมีกระบวนการเชิงการท่องเที่ยว การจัดการชุมชน การส่งเสริมการเรียนรู้อีกจำนวนมาก นับว่าเป็นความสำเร็จของคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯที่สามารถนำพาชุมชนไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์จนเป็นต้นแบบสามารถต่อยอด OTOP ของประเทศได้อย่างดี โดยเฉพาะนครสวรรค์และกำแพงเพชร ต้องขอขอบคุณมาก ทุกวิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ที่ร่วมงาน


จากการเดิมชมบูธ นิทรรศการของตำบลต่างๆ พบว่าประชาชนและบัณฑิตที่เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ U2T สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ได้ระดับดีมากขึ้น จึงเป็นความหวังว่าในอนาคตทุกทุกตำบลของสังคมไทย สามารถพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ให้มากขึ้นนอกจากความร่ำรวยทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว


การนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของชุมชน สามารถนำไปสู่การสร้างแบนสินค้าในระดับชาติและนานาชาติได้เหมือนประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอีกหลายประเทศที่ประสบผลสำเร็จจากการเริ่มสร้างนวัตกรรมของชุมชนจนกลายเป็นแบรนด์ ระดับโลก ดังนั้น การที่ประเทศไทยนำแนวคิด BCG มาใช้คือ


B BioEconomy พัฒนาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหาร ยา เวชภัณฑ์ จากความหลากหลายทางชีวภาพที่มีจำนวนมากในประเทศไทย


C Circular Economy การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มาจากภูมิปัญญาและวัฒนธรรม เช่น การพัฒนาออกแบบสิ่งทอ เครื่องจักรสาน บทเพลง ศิลปะ และการสร้างสรรค์อื่นๆ


G Green Economy การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะพลังงานจากแสงแดดและธรรมชาติที่มีมากมายในสังคมไทยซึ่งจำเป็นต้องใช้ความรู้บนฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


จึงนับว่าเป็นกรอบคิดการพัฒนาประเทศที่ดี


ที่ผ่านแนวคิด BCG เป็นนโยบายสำคัญของหลายรัฐบาลนับตั้งแต่สมัยอดีตนายกทักษิณ ชินวัตรจนมาถึงรัฐบาลปัจจุบันที่มองว่าประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพในระดับสูง มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในระดับที่ดีมาก มีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่สนใจในระดับโลก เพียงแต่เราขาดการสร้างสรรค์นำสิ่งเรานั้นมาเป็นนวัตกรรมให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าในระดับสูงได้


การขับเคลื่อนภายใต้กรอบแนวคิดนี้จึงผลักดันผ่านโครงการ OTOP และโครงการ U2T ในรอบนี้ แต่สิ่งที่ได้เห็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมสร้างสรรค์ในสังคมไทยยังขาดปัจจัยอีก 2 ส่วนสำคัญคือวิทยาศาสตร์และระบบการขนส่ง (Science and Logistics )


ดังนั้น หากเราทุ่มเทกับการสร้าง สรรค์ การพัฒนานวัตกรรมภายใต้กรอบคิด BCG จึง ควรเพิ่มความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและระบบการขนส่งโดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมโยงคนและนักท่องเที่ยวไปทั่วประเทศ


BCG + SL (Science and Logistics)


คาดว่า ผู้นำจะคิดและทบทวนเรื่องราวเหล่านี้ ในการพัฒนาประเทศต่อไป


มหาวิทยาลัยมหาจุฬา จะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนานวัตกรรมและวัฒนธรรมสร้างสรรค์


เราไม่เพียงแต่ร่ำรวยวัฒนธรรม


แต่เราจะพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ให้ดียิ่งขึ้น


เพื่อทุกคนในสังคมไทย


U2T @ MCU We creative to the Future


Based on BCG+ SL


ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมชุมชน 84 ตำบล


ภายใต้ U2T @ MCU


1. สำรวจสินค้าและภูมิปัญญาชุมชน


2. ชวนคิดและสร้างสรรค์


3. พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์


4. พัฒนามาตรฐานสินค้า


5. พัฒนาระบบและกลไกการตลาด


6. ยกระดับเป็นนวัตกรรมชุมชน


7. ส่งเข้าสู่ Platform online


8. พัฒนาบุคลากรต่อเนื่อง


9. ลงนาม mou กับภาคเอกชน (บริษัท NeemMall) Platform online กับเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศและยกระดับสู่นานาชาติ


10. พัฒนาระบบวิสาหกิจของมหาจุฬา ให้สามารถพึ่งพาตนเองและสร้างสรรค์ (หลักสูตรผู้ประกอบการวิสาหกิจวิถีพุทธ)

ผลสัมฤทธิ์ U2Tขัยนาท! ปชช.ปลื้มถนนคนเดินหันคา กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก

 ประชาชน ปลื้ม ถนนคนเดิน อำเภอหันคา ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ด้านนายอำเภอหันคา เร่งหารือภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ผลักดันให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากอย่างต่อเนื่อง


เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2565 เวลา 16.00 น. ณ หอประชุมโรงเรียนอนุบาลหันคา อำเภอหันคา จังหวัดขัยนาท นายอดิศร เกิดโต นายอำเภอหันคา ร่วมพิธีปิดโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) และรับมอบโล่รางวัลเกียรติยศ จากพลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ประธานคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา ประธานในพิธี โดยมีท่านมณเฑียร สงฆ์ประชา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยนาท เขต 2 ท่านจิรดา สงฆ์ประชา สมาชิกวุฒิสภา ผู้กำกับการ สภ. หันคา ผู้บริหาร และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และพี่น้องประชาชนเข้าร่วมในพิธีปิด


นายอดิศร เกิดโต นายอำเภอหันคา กล่าวว่า โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)" หรือโครงการ "มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG" โดยได้เปิดรับบัณฑิตจบใหม่ และประชาชนในพื้นที่ 7,435 ตำบล 77 จังหวัด กว่า 68,350 คน เข้าทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยรัฐ 70 กว่าแห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชน 20 แห่ง ตลอดจนภาคประชาสังคม หน่วยงานในพื้นที่ และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนโครงการ U2T for BCG และยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งกระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) และมีการดำเนินโครงการอำเภอนำร่อง "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" แบบบูรณาการ และสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง กระทรวงมหาดไทย โดยอำเภอหันคา ได้มีการจัดทำแผนพัฒนาเสรษฐกิจในพื้นที่ แบ่งเป็น แผนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในพื้นที่แบบพุ่งเป้า ซึ่งจะใช้ข้อมูลในระบบ ThaiQM และ TPMAP และแผนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในภาพรวม ซึ่งในส่วนนี้ ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายภาควิชาการ (มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม) ผู้นำท้องที่ และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการช่วยขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรม "ถนนคนเดิน อำเภอหันคา" เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก


นายอดิศร กล่าวต่อว่า "ถนนคนเดิน อำเภอหันคา" เกิดจากความร่วมมือของทีมผู้นำนักขับเคลื่อน อำเภอนำร่อง"บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" เริ่มตั้งแต่ช่วงกลางเดือน กรกฎาคม จนถึงเมื่อวานนี้ (24 ก.ย. 65) วันสุดท้าย จัดกิจกรรมทุกวันเสาร์เวลาตั้งแต่ 14.00 น. - 24.00 น. ภายในงานจะมีการนำสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและของกินอร่อยแต่ละตำบลของอำเภอหันคาและอำเภอใกล้เคียงมาจำหน่าย รวมถึงมีลานดนตรีจัดแสดงตลอดงาน กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนภายในอำเภอหันคา ตามเป้าหมายการพัฒนารายได้และเศรษฐกิจในภาพรวม ตามแผนงานของอำเภอนำร่อง "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" ถือเป็นการนำหลักการกลไก 3 5 7 (3 ระดับ 5 กลไก 7 ภาคีเครือข่าย) มาขับเคลื่อนก่อให้เกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับกระแสตอบรับจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างดี และจะร่วมหารือกับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนกิจกรรมดี ๆ แบบนี้ในโอกาสต่อไป


สำหรับพิธีปิดประกอบไปด้วย กิจกรรม การมอบโล่เกียรติยศให้กับภาคีเครือข่ายความร่วมมือโครงการขับเคลื่อน เศรษฐกิจฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 8 แห่ง ในพื้นที่อำเภอหันคา และอำเภอหนองมะโมงเข้าร่มรับมอบโล่รางวัล พิธีมอบโล่เกียรติยศให้กับภาคีเครือข่ายความร่วมมือโครงการสำคัญของ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นเพื่อรองรับ สังคมสูงวัยในจังหวัดชัยนาท) จำนวน 20 แห่ง และพิธีมอบเกียรติบัตรให้กับผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้สูงอายุใน สังคมสูงวัย จำนวน 641 คนหลังจากเสร็จพิธี ประธานในพิธีและแขกผู้มีเกียรติ ได้ร่วมรับชมรำการแสดงรำมะนา (ศิลปะพื้นบ้านประจำจังหวัดชัยนาท) โดยผู้สูงอายุจังหวัดชัยนาท จำนวน 641 คน และเดินเยี่ยมชมบูธแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์ ชุมชนของตำบลต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) หรืองานถนนคนเดินหันคา บริเวณวงเวียนอำเภอหันคา

มหาดไทยพร้อมแล้ว! นำผลผลิตโคกหนองนา ปันสุขกลางกรุงศูนย์สิริกิติ์ 26 ก.ย.-2 ต.ค.นี้

พร้อมแล้วกับกิจกรรม “มหาดไทยปันสุข” สุดปลื้ม “เครือข่าย ปันบุญ ปันน้ำใจ” ฟื้นฟูวิถีการให้ ร่วมส่งผลผลิตจาก โคก หนอง นา ของครัวเรือนและชุมชนต้นแบบ และผลผลิตจากเครือข่ายอีกมากมาย ในงาน SX 2022 ระหว่างวันที่ 26 ก.ย. – 2 ต.ค. นี้


วันที่ 25 กันยายน 2565  เวลา 18.00 น. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงกิจกรรมมหาดไทยปันสุขของกระทรวงมหาดไทยที่จะจัดขึ้นภายในงานแสดงนิทรรศการนานาชาติ "การขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ในงาน Sustainability EXPO 2022 หรือ SX 2022 ในระหว่างวันที่ 26 ก.ย. – 2 ต.ค. 65 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่าขณะนี้ได้รับผลผลิตจากแปลงโคก หนอง นา และผลผลิตอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากมาจากภาคีเครือข่ายของกระทรวงมหาดไทยทั่วประเทศแล้ว

 

นายสุทธิพงษ์  กล่าวว่า กิจกรรม “มหาดไทยปันสุข” ของกระทรวงมหาดไทย เป็นกิจกรรมการกุศลผ่าน “เครือข่าย ปันบุญ ปันน้ำใจ” โดยได้รับการสนับสนุนผลผลิตจากแปลงโคก หนอง นา และผลผลิตอื่น ๆ จากภาคีเครือข่าย ทั้งเกษตรกร โคก หนอง นา กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มผู้นำชุมชนต้นแบบ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ มีทั้ง ผัก ผลไม้ ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ไม้ดอก ไม้ประดับ กล้วยไม้ ผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ เช่น น้ำพริกมะขาม กล้วยไส้มะขามอบเทียน สบู่น้ำผึ้งชาโคล ผงถ่านจากไม้ไผ่ เป็นต้น เพื่อให้ทุกท่านที่เข้าเยี่ยมชมงานสามารถนำไปบริโภค รับประทาน หรือนำไปฝากพี่ ๆ น้อง ๆ ญาติผู้ใหญ่ ได้โดยไม่ต้องซื้อ เพียงร่วมบริจาคตามกำลังศรัทธาแทน ทั้งนี้ขอให้พกถุงผ้ามาด้วย เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก โดยจะนำรายได้จากการร่วมบริจาคทั้งหมด ไปสมทบทุนโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ประจำปี พ.ศ. 2565 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เรียกได้ว่า อิ่มทั้งกายและอิ่มทั้งใจ ทั้งจากเครือข่ายผู้ให้ และผู้รับที่เข้าร่วมเยี่ยมชมงาน


ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่กระทรวงมหาดไทย ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรมมหาดไทยปันสุข เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมในครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จที่เป็นเสียงสะท้อนจากพื้นที่ ด้วยการแสดงพลังแห่งการให้ตามฐานะและกำลัง มีน้อยให้น้อย มีมากให้มาก ส่งผลผลิตจากแปลงโคก หนอง นา และผลผลิตอื่น ๆ มาแบ่งปันให้กับผู้เข้าชมงาน อาทิ พระพิพัฒน์วชิโรภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ และที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทยพระนักพัฒนา จากจังหวัดอุบลราชธานี ที่เป็นพื้นที่มหานครโคก หนอง นา ท่านก็ได้ส่งผลผลิตจากแปลงโคก หนอง นา เข้ามาร่วมในงานครั้งนี้ด้วย 

.

ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวทิ้งท้ายว่า ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน Sustainability EXPO 2022 (SX2022) ในระหว่างวันที่ 26 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และเชิญรับน้ำใจในกิจกรรม “มหาดไทยปันสุข” จากพี่น้องภาคีเครือข่ายในพื้นที่ทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด “Our Loss is Our Gain ขาดทุน คือ กำไร ยิ่งให้ไป ยิ่งได้มา” และอย่าลืมพกถุงผ้ามาด้วย 


พร้อมแสดงพลังทำให้โลกรู้ว่า คนไทยทุกคนเป็นส่วนหนึ่งขับเคลื่อนให้ประเทศไทยไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และจะร่วมกันขยายผลความสำเร็จ เพื่อ Change for Good สู่เป้าหมายเพื่อการพัฒนาคนในทุกช่วงวัยโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง บนพื้นฐานวิถีชีวิตที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ และผนึกกำลังเป็นภาคีเครือข่ายในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ สู่การพัฒนาที่เป็นรูปธรรมในทุกมิติอย่างยั่งยืน ใน 76 จังหวัด 76 คำมั่นสัญญา เพื่อการพัฒนา เพื่อความเท่าเทียม เพื่อความยั่งยืน เพื่อคนไทยกว่า 69 ล้านคน “โลกนี้เพื่อเรา”

เชียงรายเริ่มแล้ว! เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงดอยฮาง พัฒนาพื้นที่พัฒนาคุณภาพชีวิตแก้หนี้หายจน

วันที่ 25  กันยายน 2565 นายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นายวิทยา ชุมภูคำ พัฒนาการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “การต่อยอดการพัฒนาศูนย์เรียนรู้โคกหนองนา พช.ดอยอินทรีย์และสร้างเครือข่ายอาชีพสู่การเป็นแม่แบบเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง” กิจกรรมส่งเสริมทักษะอาชีพเพาะพันธุ์กล้าไม้  อาชีพแปรรูปสมุนไพรและอาชีพแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ณ ศูนย์ประสานงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัย ศูนย์เรียนรู้โคกหนองนา พัฒนาชุมชน CLM 15 ไร่ ดอยอินทรีย์

โดยมีนางสาวชาลิสา กาปัญญา พัฒนาการอำเภอเมืองเชียงราย กล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงมหาดไทย ตามโครงการการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดำริ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ พร้อมทั้งพัฒนาพื้นที่ ตามโมเดลเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง สู่เป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sufficiency Economy Development Zone for Sustainable Development Goals (SEDZ for SDGs) ในพื้นที่ตำบลดอยฮาง อำเภอเมืองเชียงราย ซึ่งมีจำนวนเป้าหมาย เข้าร่วมโครงการ 12 รุ่น รุ่นละ 50 คน รวม 600 คน


โอกาสเดียวกันนี้ พระอาจารย์วิบูลย์  ธัมมเตโช ที่ปรึกษาเจ้าอาวาสวัดพุทธอุทธยานดอยอินทรีย์ ได้เมตตาปาฐกถาธรรมแก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติตามทฤษฎีบันได 9 ขั้น สู่ความยั่งยืน


ทั้งนี้ จังหวัดเชียงราย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากกระทรวงมหาดไทย จำนวน 7 โครงการ โดยเป็นโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาศูนย์เรียนรู้และเครือข่าย สู่การเป็นพื้นที่ต้นแบบ การส่งเสริมทักษะและศักยภาพสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและรายได้ และการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร ในศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งสิ้น 2,791 คน ผู้ได้รับประโยชน์ 58,960 คน

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2565

"ชวน" เปิดศูนย์สังคมสงขลาปันสุข ทต.สำนักขาม ช่วยกลุ่มกลุ่มเปราะบางฐานข้อมูล TPMAB แก้จนตามแนวพอเพียง

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2565  ที่เทศบาลตำบลสำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เป็นประธานเปิดศูนย์ช่วยเหลือสังคมสงขลาปันสุข เทศบาลตำบลสำนักขาม โดยมี นายธนสุนทร สว่างสาลี รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการ จ.สงขลา นางดาเรศ จิตรัตน์ นายกเหล่ากาชาด จ.สงขลา นางวิไลวรรณ สุวรรณรักษา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.สงขลา นายสุรินทร์ สุริยะวงศ์ นายอำเภอสะเดา นายสาธิต ลิ่ววัฒนะโชตินันท์ นายก ทต.สำนักขาม หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลสำนักขาม และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วม


สำหรับ จ.สงขลาได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม ไปแล้ว 140 ศูนย์ เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยเป็นความร่วมมือของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.สงขลากับ ทต.สำนักขาม ที่ร่วมกันดำเนินการขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมระดับตำบล ให้ครอบคลุมภารกิจในการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ เด็ก เยาวชน สตรี คนพิการผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส เพื่อการเข้าถึงการบริการต่างๆ ของภาครัฐได้อย่างทั่วถึง


"ที่ผ่านมาศูนย์ฯ ได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนไปแล้ว 318 คน ซึ่งอยู่ในระหว่างการบันทึกข้อมูลลงระบบฐานข้อมูล และในปีงบประมาณ 2566 สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสงขลา มีแผนจะดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางโดยการเชื่อมโยงจากฐานข้อมูล TPMAB ตำบล จำนวน 149 คน โดยแยกเป็นเด็ก 32 ราย คนพิการ 39 ราย 2,446 ครัวเรือน" นายชวนกล่าว


ทั้งนี้ มีแผนจะดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางโดยการเชื่อมโยงจากฐานข้อมูล TPMAB ตำบลสำนักขาม 149 คน โดยแยกเป็นเด็ก 32 ราย คนพิการ 39 ราย ผู้สูงอายุ 78 ราย ในเรื่องที่อยู่อาศัย รายได้ สุขภาพ การศึกษา การเข้าถึงบริการของรัฐ โดยการช่วยเหลือประชาชนสามารถทำได้หลายช่องทาง เช่น ผ่านระบบ Website ศูนย์ช่วยเหลือสังคม บริการ E-sevice 1300


นายชวน กล่าวอีกว่า การจัดตั้ง "ศูนย์ช่วยเหลือสังคมสงขลาปันสุข ทต.สำนักขาม" จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บริการแก่ประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่ ต.สำนักขามแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง รวดเร็ว และโปร่งใส รวมทั้งสอดคล้องและตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมมุ่งสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง


วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2565

"อลงกรณ์" ดัน "นครชัยบุรินทร์" เป็นฮับอุตสาหกรรมอาหารเกษตรพอเพียง

“อลงกรณ์”ประกาศยกระดับโคราชเป็นฮับอุตสาหกรรมเกษตรอาหารกลุ่ม”นครชัยบุรินทร์”พร้อมเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนทุกตำบล


 เมื่อวันที่ 23 กันยายน  2565   นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และคณะลงพื้นติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ ศูนย์เรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา โดยมี นายพิเชษฐ์ พัฒนโชติ อดีตรองประธานวุฒิสภา นายภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสมศักดิ์ พานิชกุล ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน3อำเภอ(ห้วยแถลง จักราช เฉลิมพระเกียรติ)พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ เกษตรกรในพื้นที่และทีมงานพรรคประชาธิปัตย์ภาคอีสานได้แก่ นายจิตติ เชิดชู ดร.พงศธร งานไว นางราณี นิวงศ์ษานางยุพาวรรณ จักรพิมพ์ นางกาญจนา บุญมีศิริทิพงศ์ นายวันชัย ก้องเจริญพานิชย์ จ.ส.ต.เฉลิม เทียนขุนทด นายวิมล มะลิลา นายประทีป สังข์สวัสดิ์ นางอุบลวรรณ อัศวนาวิน ร่วมให้การต้อนรับ


ทั้งนี้นายอลงกรณ์กล่าวว่าพร้อมเดินหน้าให้การสนับสนุนการยกระดับศักยภาพของจังหวัดนครราชสีมาและกลุ่มจังหวัด”นครชัยบุรินทร์”(นครราชสีมา-ชัยภูมิ-บุรีรัมย์-สุรินทร์) โดยสนับสนุนให้จังหวัดนครราชสีมาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเกษตรอาหารภายใต้การขับเคลื่อนโครงการ”1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร”โดยคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ.กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กรกอ.)ที่วางเป้าหมายสนับสนุนส่งเสริมให้ครบ18กลุ่มจังหวัดทั่วประเทศเพื่อเป็นฐานเศรษฐกิจใหม่ของการแปรรูปสู่เกษตรมูลค่าสูงกระจายการลงทุนการะจายโอกาสกระจายรายได้ลดความเหลื่อมล้ำแก้ปัญหาหนี้สินความยากจนมุ่งพัฒนาทุกจังหวัดทุกภูมิภาคอย่างเท่าเทียม พร้อมกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล7,255ตำบลทั่วประเทศรวมถึง289ตำบลใน32อำเภอของจังหวัดนครราชสีมาเป็นกลไกการปฏิรูปภาคเกษตรเชิงลึกของกระทรวงเกษตรฯ.เป็นครั้งแรกของประเทศ


ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน “บริหารโดยชุมชน เป็นของชุมชน และเพื่อชุมชน”บูรณาการทำงานร่วมกับ อบต. กำนันผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครเกษตร สภาเกษตรกรแห่งชาติ สภาพลเมืองเศรษฐกิจพอเพียงแห่งชาติ ศพก. เกษตรแปลงใหญ่สหกรณ์ เกษตรกรรุ่นใหม่ กลุ่มแม่บ้านเกษตร วิสาหกิจชุมชน ปลัดอำเภอ เกษตรตำบลผนึกพลังภาครัฐภาคเอกชนและทุกภาคส่วนในตำบลหมู่บ้านประสานกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีโดยมีคณะกรรมการเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล ทำหน้าที่จัดทำและขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรแบบยั่งยืนระดับตำบล


อย่างไรก็ตามต้องขอชื่นชม ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร(ศพก.)อำเภอห้วยแถลง มีนายสุบรร อันอินทา เป็นประธานศูนย์ฯเป็นศูนย์ที่ได้รับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (ข้าวและพืชผัก) มีจุดเด่นในด้านการลดต้นทุนการผลิตเช่นใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพในการแก้ไขปัญหาปุ๋ยเคมีแพงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและพรรคประชาธิปัตย์ยังเดินหน้านโยบายประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ปาล์มและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ปี2562เป็นต้นมาจนเข้าปีที่4ในปีนี้ซึ่งมีเกษตรกรหลายล้านคนได้รับเงินหลายแสนล้านบาทจากโครงการดังกล่าวด้วย


 นอกจากนี้ นายอลงกรณ์และคณะยังได้เปิดเวทีรับฟังปัญหาการผลิตการตลาดและข้อเสนอแนะจากเกษตรกรหลายกลุ่มเช่นกลุ่มปศุสัตว์ได้แก่ เกษตรแปลงใหญ่โคเนื้อโคขุน กลุ่มเลี้ยงแพะ กลุ่มไก่เนื้อโคราช อำเภอห้วยแถลง ซึ่งจังหวัดนครราชสีมา มีโคเนื้อ จำนวน 247,242 ตัว โคนม จำนวน  53,352 ตัว กระบือ จำนวน  70,542 ตัว  โดยอำเภอห้วยแถลง นั้น มีโคเนื้อ จำนวน 34,261 ตัว กระบือ จำนวน 6,970 ตัว รวมทั้งกลุ่มปัญหาที่ดินทำกิน


จากนั้น ในช่วงบ่ายนายอลงกรณ์และคณะได้เดินทางไปยังอ่างเก็บน้ำลำฉมวก อำเภอจักราช เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร โดยมี นายธงชัย โอฬารพัฒนะชัย นายอำเภอจักราชกล่าวรายงานสถานการณ์ในพื้นที่ พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญบ้าน อสม. ประชาชนในพื้นที่ร่วมให้การต้อนรับ ด้วย

 


วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2565

"อภัยภูเบศร" ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย เวิร์คช็อปชุมชนเครือข่ายสลัมสี่ภาคเขตกทม. สาธิตทำยาสมุนไพรใช้เอง

"อภัยภูเบศร" ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย  จัดเวิร์คช็อป ให้ความรู้และสาธิตทำยาสมุนไพรใช้เอง ให้กับชุมชนเครือข่ายสลัมสี่ภาคในเขตกทม. ให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี  


เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการดูแลสุขภาพทางเลือกโดยการใช้แพทย์วิถีไทย ให้กับชุมชนในเครือข่ายสลัมสี่ภาค ในเขตกรุงเทพมหานคร กว่า 30 คน โดยเชิญ วิทยากรจากมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร นำโดย พท.ป.ณิชนันท์ ปุ่มเพชร และ พท.ป.ปนัดดา จรัสรัตนโชติ แพทย์แผนไทยประยุกต์ ร่วมบรรยายและให้ความรู้สมุนไพรขั้นพื้นฐาน เพื่อดูแล รักษาเบื้องต้นในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ เป็นหวัด ก็จะใช้สมุนไพรเช่น มะขามป้อม ฟ้าทะลายโจร มะนาว มะแว้ง ขมิ้นชัน กระชาย หูเสือ ฯลฯ ซึ่งเป็นกลุ่มสมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน ระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องผูก ท้องเสีย เบื่ออาหาร ปวดฟัน ก็จะใช้ สมุนไพร ขมิ้นชัน กล้วย ชุมเห็ดเทศ ขี้เหล็กแมงลัก ฝรั่ง มังคุด ขิง ยอ ฯลฯ 


ระบบกล้ามเนื้อกระดูก เช่น ปวดเมื่อย ปวดข้อ กระดูก ก็จะใช้สมุนไพร เถาวัลย์เปรียง กระดูกไก่ดำ ไพล เพชรสังฆาต พลับพลึง ระบบผิวหนัง เช่น ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ภูมิแพ้ ผื่นคัน ก็จะใช้สมุนไพร พญายอ พลู กระเทียม ว่านหางจระเข้ บัวบก ระบบอื่น ๆ ก็ใช้สมุนไพรพื้นบ้าน รางจืด บัวหลวง หญ้าปักกิ่ง หญ้าหนวดแมว มะระขี้นก บอระเพ็ด ช้าพลู กระเจี๊ยบแดง ดอกคำฝอย ฯลฯ โดยสมุนไพรแต่ละชนิด มีผลงานวิจัยรองรับว่าใช้ได้ผลจริงจากการทดสอบในคนมาแล้ว โดยสมุนไพรที่ใช้ทุกระบบสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่ม อาหารได้หลากหลายเมนู รวมถึงเป็นยาเม็ดแคปซูล และลูกกลอนได้ด้วย นอกจากนี้ ยังมีการฝึกปฏิบัติทำยาดมสมุนไพรและพิมเสนน้ำ 


นางสาวนพพรรณ พรหมศรี เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย กล่าวว่า มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย ร่วมกับ สสส. ดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไร้บ้านและคนจนเมือง โดยพบว่าคนไร้บ้านและคนจนเมือง ที่ทางมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยดำเนินงานอยู่ มีปัญหาเรื่องความ ไม่เข้าใจในการใช้พืชผัก สมุนไพร และการยาสมุนไพร อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งโดยส่วนใหญ่ในชุมชนจะมีพืชผักที่ปลูกไว้หน้าบ้านมีความหลากหลาย ตามสภาพพื้นที่ และถ้าชุมชนมีความรู้ในการนำพืชผักเหล่านั้นมาใช้ไม่ว่าจะเป็นยาหรือเป็นอาหาร การดูแลสุขภาพ หรือการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรได้ ก็จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านสุขภาพ อันส่งผลจะทำให้สมาชิกในชุมชนมีสุขภาพดีมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยเช่นกัน ดังนั้นมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยจึงได้จัดอบรมในครั้งนี้ขึ้น


"ปลัดมท." ยกศูนย์เรียนรู้พอเพียงลำพะยายะลา ต้นแบบความสำเร็จบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชน

ปลัด มท. ยกศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ รูปแบบ “โคก หนอง นา” ตำบลลำพะยา จังหวัดยะลา เป็นต้นแบบ ชี้ นี่คือความสำเร็จในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข อย่างเป็นรูปธรรม ให้แก่พี่น้องประชาชน


วันอังคารที่ 20 กันยายน 2565 เวลา 10.00 น. ณ ห้องรับรองปลัดกระทรวงมหาดไทย อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เปิดเผยถึงความสำเร็จของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ รูปแบบ “โคก หนอง นา” ตามโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ณ บ้านเลขที่ 10/1 หมู่ที่ 3 ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา โดย นางธีรนุช  แก้วเจริญ ซึ่งในปัจจุบันมีผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม สามารถช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจให้แก่พี่น้องประชาชนได้อย่างแท้จริง ตามวัตถุประสงค์ที่กระทรวงมหาดไทยมุ่งมั่นและทุ่มเทเพื่อการขับเคลื่อนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ โดยได้มีการน้อมนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ รูปแบบ “โคก หนอง นา” มาใช้ในการดำเนินการดังกล่าวอย่างจริงจัง เพื่อขยายผลไปสู่การช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนให้แก่กลุ่มคนเปราะบาง ครัวเรือนตกเกณฑ์ จปฐ. ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ TPMAP และผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ของตำบลลำพะยา

 

สำหรับศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ รูปแบบ “โคก หนอง นา” โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ณ หมู่ที่ 3 ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา นั้น ตั้งอยู่บนพื้นที่ ขนาด 2 ไร่ 2 งาน ดำเนินการโดย นางธีรนุช  แก้วเจริญ ผู้นำสตรีในพื้นที่ตำบลลำพะยา ซึ่งมีความสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา” ขนาด 1 ไร่ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 โดยก่อนหน้านี้ได้ทำการขุดบ่อลงพันธุ์ปลาที่สามารถหาตลาดรองรับได้ และเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ปลาบ้า ปลานิล ปลาสวาย ปลาทับทิม เป็นต้น ส่วนในบริเวณรอบๆ พื้นที่นั้นได้ปลูกพืชผักผลไม้ ได้แก่ เงาะ ทุเรียน มะยงชิด ลำใยคริสตัล มะพร้าวน้ำหอม กล้วย ขนุน มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ มะนาว สะตอ ชะอม ไผ่หวาน ไผ่ตงลืมแล้ง อ้อย มะเขือ มะเขือพวง ต้นรา ตะไคร้ และตำลึง ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 – กรกฎาคม 2565 ได้มีการจับปลาไปจำหน่ายเพื่อเป็นการช่วยเหลือครัวเรือนในพื้นที่ให้มีโอกาสซื้อปลาในราคาที่ถูกกว่าในท้องตลาด และในส่วนของพืชผักต่างๆ ก็ได้นำไปแจกจ่ายให้แก่ครัวเรือนตกเกณฑ์ TPMAP กลุ่มคนเปราะบาง ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ถูกผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ของตำบลลำพะยาด้วย เนื่องจากตำบลลำพะยาได้เกิดเหตุการณ์จากการยิงถล่มป้อมเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา จึงทำให้ประชาชนในพื้นที่ขาดขวัญและกำลังใจเป็นอย่างมาก เกิดหวาดระแวง มีความกังวลเมื่อจะต้องออกจากพื้นที่ไปซื้ออาหารจากภายนอกพื้นที่ ประกอบกับในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ประชาชนในพื้นที่ไม่สามารถออกจากพื้นที่ไปซื้ออาหารได้ตามปกติ จึงได้นำผลิตผลจากแปลงโคก หนอง นา ไปแจกจ่ายให้ความช่วยเหลือ ซึ่งทำให้ประชาชนในพื้นที่รอดพ้นจากวิกฤตของทั้ง 2 สถานการณ์ได้เป็นอย่างดีสิ่งนี้จึงถือเป็นความสำเร็จอย่างเห็นได้ชัดของโครงการฯ ตามที่กระทรวงมหาดไทยมุ่งมั่นขับเคลื่อนดำเนินการเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้แก่พี่น้องประชาชนคนไทยอย่างแท้จริง ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าว  

 

ปัจจุบันแปลงโคก หนอง นา แห่งนี้ ได้พัฒนากลายเป็นศูนย์กลางกระจายก้อนเพาะเห็ดให้แก่กลุ่มคนเปราะบาง ครัวเรือนตกเกณฑ์ จปฐ. ครัวเรือนตกเกณฑ์ TPMAP และครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลลำพะยา ในการนำผลผลิตไปกระจายให้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือน และสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร พร้อมส่งเสริมให้ภาคครัวเรือนลดรายจ่าย และมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการนำผลผลิตไปจำหน่ายหากบริโภคในครัวเรือนไม่หมด โดยได้รับส่งเสริม สนับสนุนจากภาครัฐบางส่วน และได้มีการนำพลังงานโซลาเซลล์มาใช้ในแปลงเพื่อรดน้ำต้นไม้เป็นการลดรายจ่ายด้วย พร้อมกันนี้ นางธีรนุช  แก้วเจริญ เจ้าของแปลง โคก หนอง นา ยังได้สร้างที่พักภายในศูนย์เรียนรู้ดังกล่าวฯ เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้เต็มรูปแบบด้วย โดยผลผลิตจากการเพาะเห็ดขณะนี้สามารถเก็บไปจำหน่ายได้วันละ 15 – 30 กิโลกรัม เพื่อนำไปส่งขายในตลาดของหมู่บ้าน และตลาดของตำบลใกล้เคียง และในส่วนของเห็ดที่ไม่สวยงามก็ได้นำมาแปรรูปเป็นแหนมเห็ด เพื่อเป็นการถนอมอาหาร ซึ่งจะได้มีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ยังได้มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อลงบัญชีรายรับ – รายจ่าย โดยนำเงินปันไว้ 1 ส่วน เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ครัวเรือนเปราะบาง ครัวเรือนตกเกณฑ์ จปฐ. ครัวเรือนตกเกณฑ์ TPMAP และครัวเรือนผู้ถูกผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อถุงยังชีพ และผ้าอ้อมสำเร็จรูปให้แก่ผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งถือเป็นการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และอำเภอนำร่องบำบัดทุกข์ บำรุงสุข “จาโปตาแง แก้จน คนเมืองยะลา” ที่กำลังขับเคลื่อนอยู่ในพื้นที่ของอำเภอเมืองยะลาในปัจจุบันด้วย ซึ่งเป็นการขยายผลน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่มาประยุกต์ใช้​ เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาคนและพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน​ และเป็นการ​ Change​ for Good. ที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง​ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวทิ้งท้าย

 


วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2565

วิจัยพระธรรม! พุทธอารยเกษตรแก้หนี้แก้จนเขตเศรษฐกิจพอเพียง

เมื่อวันที่ 19  กันยายน 2565 เพจพระปัญญาวชิรโมลี นพพรได้โพสต์ข้อความว่า เตรียมงานวิจัยพุทธอารยเกษตร Smart Intensive Farming กำลังวางแผนร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่โคกอีโด่ยวัลเล่ย์แหล่งวิจัยและนวัตกรรมด้านพลังงาน และการเกษตร ซึ่งมีนวัตกรรมที่ต้องทดลอง 1) โกโก้เกษตรเพอร์มาร์คัลเจอร์แบบใช้ถ่านไปทั่วบริเวณแปลงพุทธอารยเกษตร  2)โพนผักหวานป่า ในแปลงพุทธอารยเกษตรที่เตรียมใช้นวัตกรรมการปลูกป่าแบบเพอร์มาร์คัลเจอร์ผสมผสานไปกับป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และ 3) อโวคาโด้โคกอีโด่ย 


ทุกแปลงทดลองจะมีกระเจียวหวานกับ ปทุมมา เสริมตามโพนรอบต้นผักหวานป่า ให้น้ำทีเดียวได้ทั้งป่า มีไผ่เป็นแนวกันลม กับไม้ยืนต้นราดเชื้อเห็ดเป็นโครงการปลูกเห็ดเจ็ดชั่วโคตรในพื้นที่ตัวอย่างทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา พุทธอารยเกษตร


การสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จากชุดพญาแล้งลงหนอง มีธนาคารน้ำใต้ดินเสริมความชื้นใต้ดิน และกักน้ำไว้ใช้นอกฤดูร่วมกับ หนอง คลองไส้ไก่ กับหลุมขนมครก ระบบให้น้ำจากรากไม่รดน้ำที่โคนต้นไม้เหมือนในอดีต เพราะน้ำไหลนี และระเหยไปก่อนจะซึมถึงราก ถ้าเราจ่ายตรงให้รากไม้เลยจะตัดวงจรพ่อค้าคนกลาง ลดการสูญเสียไปได้อีก

Smart Intensive Farming ในแปลงพระราชทานโคก หนอง นา พุทธอารยเกษตร วัดป่าศรีแสงธรรม เป็นโครงการใหญ่ในพื้นที่ร้อยกว่าไร่ เพื่อทำการทดลองวิจัยสัมมาชีพให้กับชุมชนในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจครัวเรือน ภาระหนี้สินนับวันจะสูงขึ้นนับเป็นความทุกข์อย่างหนึ่ง “การกู้หนี้เป็นทุกข์ในโลก” การนำทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่่โคก หนอง นา พุทธอารยเกษตร ให้มีรายได้ในแต่ละวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายสามเดือน หกเดือน รายปี ห้าปี สิบปี ซึ่งต้องใช้สรรพกำลังภาคีเครือข่ายช่วยกัน


ขณะนี้กำลังระดมทุนบริจาคเพื่อจ่ายค่าที่ดิน และจะเป็นงบพัฒนาพื้นที่ตามบัญชาของท่านนายกรัฐมนตรีที่มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย มีท่านปลัดสุทธิพงษ์ จุลเจริญ และอ.โก้ อ.หน่า จาก สจล เป็นหัวแรง ออกแบบและดูแล ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ยังรับภาคีเครือข่ายในการพัฒนาพื้นที่โคกอีโด่ยแห่งนี้ให้เป็น ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ พุทธอารยเกษตร ให้มั่นคง และยั่งยืนต่อไป 


ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมบริจาค สนับสนุนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเขตเศรษฐกิจพอเพียง ขออนุโมทนาขอบคุณมา ณ โอกาสนี้  

"ไทยสร้างไทย" พบผู้ก่อตั้งธนาคารคนจน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2565 ดร. สุวดี พันธุ์พานิช  ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม.เขต 1 พรรคไทยสร้างไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวความว่า ต้อนรับ ศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนูส Muhammad Yunus ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีน ธนาคาร ซึ่งให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมและเศรษฐกิจจากเบื้องล่าง จากแนวคิดไมโครเครดิต หรือ การให้กู้โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ไม่มีดอกเบี้ย และไม่กำหนดระยะเวลาใช้คืน ขจัดความเชื่อที่ว่า คนจนหนีหนี้ ไม่มีเงินจ่าย โดยพบว่าเมื่อพวกเขามีความพร้อมชำระ ทุกคนมีความรับผิดชอบ โครงการนี้ทำให้ ศ.ยูนูส ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ซึ่งแนวคิดนี้ตรงกับแนวคิดของ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ Sudarat Keyuraphan พรรคไทยสร้างไทยในการเสนอนโยบายกองทุนเครดิตประชาชน เพื่อให้คนไทยมีสิทธิกู้ได้โดยไม่ต้องค้ำประกัน เพื่อช่วยให้คนไทยมีโอกาสลืมตาอ้าปาก

 

จากแนวคิดในการพัฒนาธนาคารกรามีนนั้น ศาสตราจารย์ยูนูส ยังพัฒนาและสนับสนุนระบบสาธารณสุขในประเทศบังกลาเทศ โดยให้ครอบครัวร่วมจ่ายเดือนละ 4 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ  หรือประมาณ 150 บาท เพื่อดูแลสุขภาพทุกคนในครอบครัว  นำหมอไปรักษาใกล้บ้าน และผลิตหมอใกล้ชุมชน รวมถึงจะร่วมกับเครือ รพ.ธนบุรีในการพัฒนาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาของประชาชน รวมไปถึงการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมส่วนรวม โดยให้ภาคประชาชน หรือภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคม (Social Business) 

 

ถือเป็นโอกาสดีที่ ได้มารับฟังและแลกเปลี่ยนความคิด เพื่อนำมาพัฒนานโยบาย ให้สอดคล้องกับประเทศไทยและเป็นประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องทุกคนค่ะ

#สุขภาพดีมีนิคดูแล

#พรรคไทยสร้างไทย


สปก. หนุน 'ยุวลี ถาริวงษ์' สร้างชีวิตที่มั่นคง ด้วยการปลูกผักอินทรีย์ ที่นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อ.วังน้ำเขียว

 สปก. หนุน 'ยุวลี ถาริวงษ์' สร้างชีวิตที่มั่นคง ด้วยการปลูกผักอินทรีย์ ที่นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อ.วังน้ำเขียว

 

"ตอนเริ่มต้นที่มาเข้าร่วมนั้น มาคนเดียว พร้อมกับกระเป๋าใส่เสื้อผ้า 1 ใบ แต่ในวันนี้ ชีวิตได้เปลี่ยนไปมาก สามารถอยู่ได้อย่างมั่นคง มีทุกอย่าง มีบ้าน มีรถ ทุกวันนี้ เพราะ ส.ป.ก. ได้ช่วยสานฝัน ช่วยสร้างอาชีพ บนผืนดินทองคำแห่งนี้ จึงทำให้ชีวิตมีความสุขมาก โดยเฉพาะการได้ปลูกผักอินทรีย์คุณภาพดีให้กับผู้บริโภค ได้อยู่กับลูก ได้อยู่กับครอบครัว" นางยุวลี ถาริวงษ์ เลขานุการวิสาหกิจชุมชนผักอินทรีย์แปลงใหญ่นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวังน้ำเขียว กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของชีวิต จากการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนิคมเศรษฐกิจพอเพียงวังน้ำเขียว ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก.

นางยุวดี กล่าวว่า เดิมนั้นตนเองมีอาชีพเป็นช่างเย็บผ้า ต่อมาในปี 2549 ได้สมัครเข้าร่วมโครงการกับ ส.ป.ก. และได้รับการคัดเลือก โดย ส.ป.ก. ได้จัดสรรที่ดินทำกินให้จำนวน 2.5 ไร่ พร้อมสนับสนุนให้ปลูกผักอินทรีย์ ด้วยการฝึกอบรมด้านความรู้ และสนับสนุนปัจจัยการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง จนนำมาสู่การรวมกลุ่มของเกษตรกรเป็นวิสาหกิจชุมชนผักอินทรีย์แปลงใหญ่ ดำเนินการผลิตผักสลัดอินทรีย์ เช่น เคล กรีนโอ้ค เรดโอ๊ค คอส เป็นสินค้าหลัก ส่งจำหน่ายให้กับห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ สามารถสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี

ด้าน ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กล่าวว่า นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา เป็นโครงการที่ ส.ป.ก. ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ด้วยการจัดสรรพื้นที่ทำกินให้แก่เกษตรกรยากจน และผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพเกษตรกรรม พร้อมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างเป็นระบบ สร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้แก่เกษตรกร บนพื้นฐานของหลักการเศรษฐกิจพอเพียง

"จากการดำเนินงานของ ส.ป.ก. โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครราชสีมา ได้ส่งผลให้ปัจจุบัน นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อ.วังน้ำเขียว เป็นตัวอย่างความสำเร็จของการขับเคลื่อนโครงการด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน เกษตรกรมีการผลิตสินค้าตามหลักการตลาดนำการผลิต โดยเฉพาะตลาดสินค้าอินทรีย์ สามารถสร้างรายได้เฉลี่ย35,000บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน และที่สำคัญพื้นที่นิคมฯ ได้รับการฟื้นฟูระบบนิเวศ ทั้ง ป่า ดิน และน้ำ มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จนชุมชนนิคมเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวังน้ำเขียว มีชื่อเสียงในการเป็นพื้นที่สีเขียวของอำเภอ"ดร.วิณะโรจน์ กล่าว

ทั้งนี้ ในปี 2562 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้คัดเลือกให้ นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวังน้ำเขียว ได้รับรางวัลเลิศรัฐ สาขาบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทสัมฤทธิ์ผลประชาชนมีส่วนร่วม ระดับดี โดย "รางวัลเลิศรัฐ" ถือเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศที่มอบให้หน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูหน่วยงานที่ได้มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จมีความเป็นเลิศแห่งหน่วยงานภาครัฐ ในด้านการพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม และความโดดเด่นในการบริหารจัดการ

https://siamrath.co.th/n/383779

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565

"ศานนท์" เปิดงาน AI Robotics for All Expo 2022 ย้ำ กทม. พร้อมร่วมมือและนำ AI ขับเคลื่อนสังคมให้เห็นผลจริง

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2565 นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดงาน AI Robotics for All Expo 2022 “ในวันที่ AI ขับเคลื่อนสังคมไทย” และมอบรางวัลให้ตัวแทนประเทศไทยที่เข้าร่วมการแข่งขัน RoboCup Junior 2022 และผู้ที่ผ่านเข้ารอบ 4 ทีมสุดท้าย การแข่งขัน KidBright OnStage 2022 

 รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ในวันที่ AI ขับเคลื่อนสังคมไทย AI ก็กำลังขับเคลื่อนกรุงเทพมหานคร (กทม.) ด้วย ทั้ง AI Robotics และเทคโนโลยีมีความสำคัญกับการพัฒนาเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ มี 3 เรื่อง คือ 1. AI Robotics กำลังช่วยให้ประสิทธิภาพของเมืองดีขึ้น จะเห็นได้ว่าตอนนี้มีการใช้ทราฟฟี่ฟองดูว์ การใช้เซ็นเซอร์ดูระดับน้ำ ในทราฟฟี่ฟองดูว์มีการถ่ายรูปและ AI ช่วยวิเคราะห์ว่าปัญหานั้นเป็นปัญหาด้านไหน ได้ความร่วมมือจากอาจารย์หลายท่าน มีโจทย์อีกมากมายที่ AI และนักวิชาการสามารถร่วมมือได้ 2. โอกาสและความเหลื่อมล้ำ กทม. มี 437 โรงเรียน มีนักเรียนประมาณ 270,000 คน มีเด็กนักเรียนอีกมากมายที่ยังไม่มีโอกาสเข้าถึงความรู้ในเชิง Robotics หรือว่า AI และโครงการ AI/Robotics for All ก็มีโครงการ เช่น KidBright ที่สามารถนำเข้าสู่โรงเรียนได้ ถ้าสามารถ AI Robotics หรือเรื่องเหล่านี้เข้าสู่โรงเรียนได้ จะเป็นโอกาสของเด็กและเยาวชนนำไปสู่การพัฒนาสังคมได้ด้วย 3. การทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่ดึงดูดคนเก่งเข้ามาอยู่ในเมือง เชื่อว่าคนที่อยู่ในแวดวง AI Robotics มีโอกาสทางสังคมโลกเยอะมาก หลายคนสามารถเลือกประเทศ เลือกเมืองที่จะอยู่ได้ กทม. ต้องพัฒนาว่าทำอย่างไรจะดึงดูดผู้เชี่ยวชาญหรือคนเก่งด้านต่าง ๆ เข้ามา โครงการ AI/Robotics for All จะสามารถทำให้คนเก่ง ๆ เข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้น 


 “กทม. มีการขับเคลื่อนทางด้านเทคโนโลยีและ AI มีการตั้งคณะกรรมการ Open Bangkok ดูแลเรื่อง Open Data และ Open Innovation เชื่อว่า บพค. และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีผู้เชี่ยวชาญ มีนักเรียนที่มีความรู้มากมาย อาจร่วมมือกันนำโจทย์ที่ กทม. มีอยู่จริง เช่น จราจร ฝุ่นละออง ซึ่งเป็นโจทย์ที่ไม่ใช่แค่เรียนรู้แต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกันได้จริงในอนาคต” รองผู้ว่าฯ ศานนท์ กล่าว


สำหรับงาน AI Robotics for All Expo 2022 “ในวันที่ AI ขับเคลื่อนสังคมไทย” เป็นงานที่จัดขึ้นภายใต้หน่วยงาน อาทิ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดยมีขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 กันยายน 2565 ณ ลานกิจกรรมชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 9 เขตห้วยขวาง


ภายในงานนี้มีการนำผลงาน AI มาประชันอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงนำผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัลมาแสดงให้ประชาชนได้เรียนรู้ โดยประกอบด้วย 5 โครงการย่อย ดังนี้ 1. AI ไทยสามารถ 2. AI@SCHOOL หรือ KidBright 3. Super AI Engineer 4. FIBO Robotics for All 5. SMART AGRICULTURALROBOT CONTEST โครงการแข่งขันหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติสำหรับการเกษตรอัจฉริยะ มุ่งเน้นในการส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษา มีความสนใจการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติและระบบปัญญาประดิษฐ์ สำหรับการเกษตร ผู้สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมทาง https://www.aiforall.or.th/.../airoboticsforall-expo2022/


สันติภาพวิถีพอเพียง

 สันติภาพนานาพากันเบ่ง

ไล่ข่มเห่งคู่อริติดข้างฝา

สันติภาพที่ว่ามีแต่จินตา

ขอจริงคือสันติภาพวิถีพอเพียง

 พอเพียง หมายถึง การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ความพอประมาณ

 'วิถี' หมายถึง ศาสตร์และศิลป์สำหรับจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีพลัง และเกิดการเรียนรู้เชิงลึกที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ทั้งในเชิงทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้เรียน ตลอดจนความสัมพันธ์ภายในกลุ่มหรือองค์กร

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2565

"ดร.สุวิทย์"ฟังธง 7-8 ปีที่ผ่านมาปฏิรูปน้อยมาก แนะแนวพัฒนา Soft Power ตาม BCG มีคุณธรรมพอเพียงเป็นฐาน

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565  ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ มีการจัดเวที “เปิดโลกทัศน์ เตรียมความพร้อม เติมความรู้ ผู้ปฏิบัติงาน พอช.” โดยมี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “Thailand’s Soft Power กับ BCG Economy Model พลังการเปลี่ยนแปลงเพื่อการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น” โดยมีการถ่ายทอดผ่านระบบ ZOOM เพื่อให้เจ้าหน้าที่ พอช. ผู้บริหาร และผู้นำชุมชนทั่วประเทศได้รับชม


ดร.สุวิทย์กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยพยายามขับเคลื่อนผ่านยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี ตลอดจนแผนปฏิรูปฯ ต่างๆ แต่ปรากฏว่าในช่วงเวลา 7-8 ปีที่ผ่านมา การขับเคลื่อนเหล่านี้มีความคืบหน้าน้อยมาก


“ยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปเป็นเรื่องไกลตัวประชาชน ทำอย่างไรให้เป็นเรื่องใกล้ตัว จับต้องได้ และทำให้ประชาชนทุกภาคส่วนต้องการมีส่วนร่วม ภาครัฐคิดว่าตัวเองเป็นคุณพ่อรู้ดี แต่ไม่เคยมีแผนบอกประชาชนว่าเกี่ยวอะไรกับเขา ใกล้ตัวเขาหรือไม่ ? ”


แผนปฏิรูปและวาระส่วนใหญ่คิดโดยรัฐและขับเคลื่อนโดยส่วนกลาง ดังนั้นต้องทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในรูปแบบ โดยอาจจะเริ่มต้นที่ส่วนกลาง แต่หัวใจต้องอยู่ที่พื้นที่ เพราะอัตลักษณ์พื้นที่ถ้ามีโอกาสขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเองจะเติบโตเป็นดอกเห็ดและดีกว่าขับเคลื่อนด้วยกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง ซึ่งการปฏิรูปในส่วนนี้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ พอช. มีความเกี่ยวข้องโดยตรง


ดร.สุวิทย์ กล่าวว่า BCG (Bio-Circular-Green Economy) จะเป็น New Growth Engine ของประเทศไทยหลังโควิด เพราะถ้าย้อนดูที่ผ่านมา ประเทศไทยแต่ละช่วงจะมี Growth Engine ที่แตกต่างกัน อย่างยุคเปลี่ยนวิกฤติพลังงานสู่ยุคโชติช่วงชัชวาล คือ Eastern Seaboard ต่อมาเจอภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ จนประกาศเปลี่ยนแนวคิดสนามรบเป็นสนามการค้า แต่ ณ วันนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 4.0 จึงต้องใช้โมเดล BCG ซึ่งตั้งบนหลักคิด 3 ประการ ดังนี้


1.สร้างความเข้มแข็งจากภายใน เชื่อมไทยสู่ประชาคมโลก 2.เดินหน้าไปด้วยกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 3.น้อมนำหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียง สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน


นอกจากนี้ BCG ยังเป็นโมเดลที่เน้นการเติบโตที่สมดุล ทั่วถึงและยั่งยืน รายละเอียด ดังนี้ 1.อาศัยจุดแข็งของความหลากหลายเชิงชีวภาพและวัฒนธรรม 2.การกระจายตัวของสาขายุทธศาสตร์และอุตสาหกรรมเป้าหมายในจำนวนพอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยเกินไป 3.การกระจายตัวของผู้ประกอบการ ครอบคลุมผู้ประกอบการในระดับฐานราก วิสาหกิจชุมชน เอสเอ็มอี ผู้ประกอบการรายใหญ่และสตาร์ทอัพ 4.การเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น เศรษฐกิจภูมิภาค ระดับประเทศ และเศรษฐกิจโลก 5.สร้างสมดุลระหว่างการนำเข้าเทคโนโลยีกับการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศ


ดร.สุวิทย์ กล่าวต่อว่า โมเดล BCG จะช่วยให้ประเทศไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง กับดักความเหลื่อมล้ำ และกับดักความขัดแย้งไปพร้อมกัน เนื่องจาก BCG ไปตอบโจทย์ความมั่นคง 4 ด้าน ได้แก่ สุขภาพ อาหาร พลังงาน และรายได้-การมีงานทำ ขณะเดียวกันในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ BCG จะทำให้เกิดผู้เล่นใหม่ๆ ตั้งแต่รายย่อยจนถึงระดับกลาง และระดับใหญ่ โดยแบ่งเป็นการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ ดังนี้


ภาคเหนือ เช่น การยกระดับข้าวด้วยนวัตกรรม, ระบบเกษตรปลอดภัยสำหรับการส่งออก, ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเชื่อมโยงวัฒนธรรม, นำวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ เช่น วัฒนธรรมล้านนามาสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ พัฒนาสินค้าและบริการ


ภาคอีสาน เช่น โปรตีนทางเลือกจากแมลง, ระบบแก้ไขปัญหาและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับ, ระบบบริหารจัดการแหล่งน้ำชนาดเล็ก, ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามวิถีวัฒนธรรม


ภาคตะวันออก เช่น พัฒนาผลผลิตทางด้านการเกษตรโดยเฉพาะกลุ่มไม้ผล, การพัฒนาต่อยอดสู่อุตสาหกรรมอนาคต, สร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่


ภาคกลาง เช่น ประเทศไทยไร้ขยะ, นวัตกรรมเพื่อสังคมสูงวัย, นวัตกรรมเพื่อการต่อยอดกิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่


ภาคใต้ เช่น นวัตกรรมด้านฮาลาล, การท่องเที่ยวมูลค่าสูงใน 3 จังหวัดภาคใต้, นวัตกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ Precision Aquaculture, นำเสนอเรื่องราวของปักษ์ใต้ยุคใหม่ พัฒนาพื้นที่และกิจกรรมสร้างสรรค์เชิงพหุวัฒนธรรม


“BCG เป็นการให้การเติบโตทางเศรษฐกิจลงไประดับพื้นที่ ภาค จังหวัด และชุมชน ถ้าระบบราชการโดยเฉพาะ อบต. อบจ. ผู้ใหญ่บ้าน สามารถทำในระบบ BCG ได้ดีจะเกิดความยั่งยืนในตัวของมันเอง เกิดชุมชน BCG ตามนิยามของผม คือ มีระบบน้ำ พลังงานไฟฟ้าชุมชน แหล่งน้ำชุมชน นวัตกรรม ปลูกไม้มีค่า เอาธุรกิจชุมชนและคนรุ่นใหม่มาทำมาหากิน ตลาดกลาง BCG และกองทุน BCG ทุกคนมีบ้าน มีที่ดินทำกิน เพราะรากฐานของประเทศคือความเข้มแข็งของชุมชน”


จากนี้ไปตัวขับเคลื่อนสำคัญคือทุนของมนุษย์และเทคโนโลยี ในบริบทของ พอช. คือ จะทำอย่างไร ให้ลงทุนในทุนมนุษย์ ทุนสังคม ฟื้นฟูทุนมนุษย์ให้มาอยู่ที่ระดับชุมชน และในขณะเดียวกันก็ต้องทำให้เทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีที่เข้าถึง ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป


ดร.สุวิทย์กล่าวต่อว่า BCG คือการต่อจิ๊กซอว์หลายส่วน ตั้งแต่เกษตรที่ยึดโยงอาหาร พลังงาน และสุขภาพ บางส่วนยึดโยงกับการท่องเที่ยว ทั้งหมดจะต้องมีอุตสาหกรรมพื้นฐานในพื้นที่ เช่น สุขภาพ การแพทย์ ท่องเที่ยว บริการ การค้า และธุรกิจดิจิทัลเพื่อให้เชื่อมต่ออุตสาหกรรมต่างๆ


“หัวใจของ BCG คือชุมชน ถ้าเราทำให้ชุมชนในประเทศไทยแข็งแรงขึ้นมาได้ สานพลังชุมชน จะก่อให้เกิดพลังอันมหาศาล ในวิกฤติมีโอกาสเสมอ หากประเทศไทยสามารถผลักดันการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจการเมือง ควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างจริงจัง โอกาสที่ประเทศไทยจะเป็นประเทศในโลกที่หนึ่ง เป็นประเทศที่พัฒนาอย่างยั่งยืน ก็จะอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม”


ดังนั้นเราจะต้องมาพิจารณาว่าประเทศไทยมี Soft Power หรือไม่ หากว่ามีจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร หรือหากไม่มีจะสร้างขึ้นมาได้อย่างไร โอกาสในการสร้าง Soft Power ของไทยมีอย่างน้อยใน 3 ช่องทางด้วยกัน คือ


1.ชูจุดเด่น : ด้วยการนำคุณค่าของอัตลักษณ์ถิ่นหรือมรดกทางวัฒนธรรมแปลงให้เป็นมูลค่า จะทำอย่างไรให้ People, Place และ Product ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว เพื่อสร้าง Attraction ของการเป็น Place to Invest, Product to Buy หรือ People to Work With


2.หาจุดร่วม : พัฒนาจุดร่วมเชื่อมกับประชาคมโลกในประเด็นสำคัญ ๆ อาทิ Rule of Law,Low Carbon Society, Climate Agenda และResponsible Investment Principle อย่าง ESG


3.สร้างจุดเริ่ม : ผลักดันความคิดริเริ่มใหม่ ๆ นวัตกรรมเชิงนโยบายที่ยังไม่มีในโลก อย่าง SEP for SDGs ที่เชื่อมโยงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือการผลักดัน BCG for SDGs ในเวทีการประชุมเอเปค เป็นต้น


ดร.สุวิทย์ กล่าวในตอนท้ายว่า Thailand Soft Power เป็นการถักทออดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งผู้ที่จะสานต่อเรื่องนี้ได้ดีที่สุดก็คือ “เยาวชน” เนื่องจากพลังเยาวชนเป็นพลังที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมต่าง ๆ ได้อีกมากมาย


“ดังนั้นเราต้องช่วยกันสร้าง Youth Empowerment Ecosystem ให้เยาวชนสามารถเปล่งพลังและปลดปล่อยศักยภาพของพวกเขาออกมา ให้เยาวชนได้ Amplify Their Voices, Amplify Their Ideas และ Amplify Their Impact เพื่อเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อน Thailand Soft Power ผ่าน Youth Power ขับเคลื่อน Soft Power ต่อไป”




"พช." เฟ้นหา "พัฒนกร" รุ่นใหม่ ต้องเป็นคนมีคุณธรรมพอเพียง พร้อมพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก้จน

วันที่ 12 กันยายน 2565 นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย มอบหมายให้ นายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ในตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ (พัฒนากร) ตำแหน่งนายช่างโยธาปฏิบัติงาน ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน และตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน สังกัดกรมการพัฒนาชุมชน โดยมี นายนพรัตน์ ธำรงทรัพย์ ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ และคณะทำงานกองการเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมฯ ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร


นายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมการพัฒนาชุมชน ได้ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ในตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ (พัฒนากร) ตำแหน่งนายช่างโยธาปฏิบัติงาน ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน และตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน สังกัดกรมการพัฒนาชุมชน เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 จำนวนทั้งสิ้น 1,255 คน ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ (พัฒนากร) จำนวน 1,167 คน 2) ตำแหน่งนายช่างโยธาปฏิบัติงาน จำนวน 2 คน 3) ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน จำนวน 70 คน และ 4) ตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน จำนวน 16 คน 


บัดนี้ กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (สอบสัมภาษณ์) โดยแบ่งการสอบสัมภาษณ์ออกเป็น 2 วัน โดยก่อนเริ่มการสอบสัมภาษณ์ นายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ประธานกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งฯ ได้เดินตรวจความเรียบร้อยของกระบวนการสอบสัมภาษณ์ และให้กำลังใจกับผู้เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ฯ อีกด้วย


ด้าน นายนพรัตน์ ธำรงทรัพย์ ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ กล่าวว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กรมการพัฒนาชุมชน ได้มีทิศทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนตามวิสัยทัศน์กรมการพัฒนาชุมชน "เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" มุ่งเน้นการทำงานครบทุกมิติ ในกระบวนการ "งาน งบ ระบบ คน" เพื่อมุ่งสู่ชุมชนเข้มแข็ง (ตำบลเข้มแข็ง) "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ มีเศรษฐกิจฐานราก และมีความสุขมวลรวม ผ่านโครงการต่างๆ ของกรมการพัฒนาชุมชน อาทิ การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (เดิม) ขยายผลหมู่บ้านใหม่ ขับเคลื่อนและต่อยอดพื้นที่ต้นแบบ โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน ด้วยหลัก 5 P ยกระดับศูนย์เรียนรู้ชุมชน ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน เสริมสร้างความเข้มแข็งกองทุนแม่ของแผ่นดิน ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนธรรมาภิบาล และงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ในด้านเศรษฐกิจฐานราก มีการกระตุ้นส่งเสริมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ทั้งผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์ ภูมิปัญญาผ้าไทย และช่องทางการตลาด ส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยเครือข่ายภาคี โดยมีตัวชี้วัดงบประมาณ คือ 1. ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนเป้าหมายมีความสุขมวลรวม (GVH) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 85 2. มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 60 ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชนจะได้คัดเลือกบุคลากรรุ่นใหม่ ที่มีความรู้ความสามารถ มีทัศนคติและมีความพร้อมมาร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจงานดังกล่าวในพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มุ่งไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไป


ทั้งนี้ กรมการพัฒนาชุมชนจะประกาศขึ้นบัญชีรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ ทางเว็บไซต์กองการเจ้าหน้าที่ กรมการพัฒนาชุมชน www.personnel.cdd.go.th หรือเว็บไซต์ https://cdd.thaijobjob.com และขอให้ผู้มีสิทธิเข้าสอบแข่งขันฯ อย่าได้หลงเชื่อผู้ที่แอบอ้างว่าสามารถช่วยเหลือผู้เข้าสอบสัมภาษณ์โดยวิธีการต่างๆ เพราะในการดำเนินการสอบของกรมการพัฒนาชุมชน ได้มีมาตรการป้องกันทุจริตอย่างเข้มงวดและเคร่งครัดมาโดยตลอด เพื่อให้การสอบเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ได้คนดีมีความรู้คู่คุณธรรม โปร่งใสและตรวจสอบได้ และขอแจ้งเตือนเกี่ยวกับการทุจริตในการสอบแข่งขันดังกล่าว ซึ่งมีทั้งโทษตามประมวลกฎหมายอาญา เช่น ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ความผิดฐานฉ้อโกง ความผิดฐานเป็นตัวการ ความผิดฐานเป็นผู้ใช้ และความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน รวมถึงความรับผิดทางแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีเกิดความเสียหายจากการทุจริต ตลอดจนความผิดทางปกครอง หรือกรณีผู้กระทำผิดเป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ซึ่งจะต้องรับโทษทางวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการหรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ระดับโทษไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ ดังนั้นหากพบเห็นหรือทราบพฤติการณ์ดังกล่าว ขอให้แจ้งศูนย์ดำรงธรรม กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย หมายเลขโทรศัพท์ 02-1416047 และ 02-1438905-7 หรือทางระบบ Online : ดำรงธรรม พช. Online เว็บไซต์ http://cddata.cdd.go.th/apps/crm/ โดยกรมการพัฒนาชุมชนจะดำเนินการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัดต่อไป


วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2565

มรภ.นครศรีธรรมราชรุกพัฒนาท้องถิ่น ชู “9โครงการ 53 กิจกรรม ยุทธศาสตร์ราชภัฏ ดันชุมชนเติบโตมั่นคงยั่งยืน”

“มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช มีวิสัยทัศน์ชัดเจนว่าเราเป็นมหาวิทยาลัย เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประทีปถิ่น ประเทืองไทย ก้าวไกลสู่สากล” โดยเราต้องการนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย อยู่ในคณะต่างๆ อยู่ในหลักสูตรต่างๆ  และอยู่ในตัวอาจารย์ นักศึกษา ต่างๆ ไปเป็นเครื่องมือ เพื่อไปใช้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ร่วมกับภาคีเครือข่าย เพราะเราอยากจะให้มหาวิทยาลัยเป็นที่พึ่งของท้องถิ่นอย่างแท้จริง”    


มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (มรภ.นศ.) นับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นสามารถตอบโจทย์การพัฒนาตามเจตนารมณ์ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 มาตรา 7 และมาตรา 8 ระบุว่า “ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างปัญญาของท้องถิ่น ที่สร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน…..” โดยเฉพาะนโยบายสภามหาวิทยาลัย และ Vision แผนพลิกโฉมมหาวิทยาลัย Reinventing สู่การเป็น Smart University ฯลฯ อันจะนำพาไปสู่แนวทางในการกำหนดจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)


รองศาสตราจารย์ดร.วิชัย แหวนเพชร  นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ทรงให้ความสำคัญ มหาวิทยาลัยราชภัฎมานาน พระองค์ท่านพระราชทานปริญญาบัตรให้กับบัณฑิตไม่น้อยกว่า 30 ปี ด้วยพระมหากรุณาธิคุณและสายพระเนตรอันยาวไกลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ที่ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษา และทรงมุ่งหมายให้การศึกษาสร้างคนไทย ให้มีคุณลักษณะ 4 ประการ ได้แก่ มีทัศนคติที่ดี และถูกต้อง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็ง มีอาชีพ มีงานทำ และเป็นพลเมืองดีมีระเบียบวินัย อันเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ และก็ทรงมองว่าการที่จะพัฒนาประชาชนให้กินดีอยู่ดีนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏมีส่วนสำคัญเพราะเห็นเป็นมหาวิทยาลัยที่ใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุด และพระองค์พระราชทานพระบรมราโชบาย ให้ท่านองคมนตรี โดยเฉพาะ ท่าน พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ประสาน ตามตาม สนุน มหาวิทยาลัยราชภัฎมาโดยตลอด 


ด้านดร.สมปอง รักษาธรรม รองอธิการบดี รักษาราชการแทนอธิการบดี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช เรามีวิสัยทัศน์ชัดเจนว่าเราเป็นมหาวิทยาลัย เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยหลักคิดของมหาวิทยาลัย คือ เราต้องการนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย อยู่ในคณะต่างๆ อยู่ในหลักสูตรต่างๆ  และอยู่ในตัวอาจารย์ต่างๆ ไปเป็นเครื่องมือ เพื่อไปใช้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ร่วมกับภาคีเครือข่าย ซึ่งตรงนี้เรามีเป้าหมาย และทิศทางที่ชัดเจนที่อยากจะให้มหาวิทยาลัยเป็นที่พึ่งของท้องถิ่นอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ถือเป็นพันธกิจหลักในอันที่จะพัฒนาท้องถิ่นตามจุดเน้นของมหาวิทยาลัย ตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย ตาม พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ราชภัฏ พ.ศ. 2547 สอดคล้องกับพระราชปณิธาน พระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวในการส่งเสริม สนับสนุนและสนองงานตามพระราชดำริเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ครอบคลุมมิติ สังคม การศึกษา เศรษฐกิจ และทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ให้คนในชุมชนท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นอย่างสมดุล ยั่งยืน 


“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ทรงเข้าพระทัยลึกซึ้งถึงแก่นแท้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่เป็นแหล่งความรู้วิชาการ เป็นปราชญ์แห่งการพัฒนาท้องถิ่นอันเป็นกลไกสำคัญที่จะสามารถเข้าถึงต้นตอแห่งปัญหาของพสกนิกรของพระองค์ในแต่ละท้องที่ และสามารถดำเนินการแก้ไข และพัฒนาอย่างมุ่งเป้าเพื่อให้ประชาชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุกด้าน ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งเป็น “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน” จักมุ่งมั่นและตั้งใจปฏิบัติงานตามพระบรมราโชบายของพระองค์ท่านและตามข้อแนะนำของท่านองคมตรี ท่าน พล.อ. ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ที่พระองค์ทรงมอบหมาย โดยคำนึงถึงบริบทที่แท้จริงของพื้นที่บริการ โดย จัดทำแผนงานโครงการและกิจกรรม อย่างพินิจ พิเคราะห์ ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสื่อสาร บูรณาการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งภายใน ภายนอก มหาวิทยาลัย ร่วมกันขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายยกยกระดับคุณภาพการศึกษา และ พัฒนาท้องถิ่นด้วยองค์ความรู้อย่างเต็มภาคภูมิ”

 

ขณะที่ผศ.ดร.ดำรงค์พันธ์ ใจห้าววีระพงศ์  รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในปีงบประมาณ 2565 มีทั้งหมด 9 โครงการหลัก ประกอบด้วย 1.โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น 2.การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานรากพัฒนา 3.โครงการส่งเสริมความรัก สามัคคี  4.โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลตำบลในจังหวัด (Big Data) 5.โครงการสนับสนุนสื่อวีดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอน (DLTV)เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนครูให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก  6.โครงการยกระดับการเรียนรู้ด้านการอ่านการเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 7.โครงการเสริมสร้างสมรรถนะภาคีเครือข่ายการวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ระดับตำบล  8.โครงการพัฒนาความรู้ทักษะด้านภาษาอังกฤษ และ  9.โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการยุทธศาสตร์ ด้วยงบประมาณ 23 ล้านบาทเศษ         


ในปีงบประมาณ 2565  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ดำเนินการใน 9 โครงการหลัก 53 กิจกรรมย่อย ใน 11 อำเภอ 25 ตำบล 74 ชุมชน/หมู่บ้าน 29 โรงเรียน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และตรัง ประชาชนได้รับประโยชน์จากการพัฒนาท้องถิ่นดังกล่าว จำนวน 1,200 คน ผู้ประกอบการชุมชน จำนวน 60  ราย สินค้าชุมชน จำนวนกว่า 80 รายการ นักเรียน 750  คน นักศึกษา จำนวนกว่า 5,700 คน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (อพ.สธ.) จำนวน 20 โครงการย่อย และโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ประกอบด้วย 93 ตำบล ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง และจังหวัดกระบี่ และเกิดการจ้างงานประชาชน และบัณฑิตจบใหม่ กว่า 875 อัตรา เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ครบกระบวนการอันนำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก และคุณภาพชีวิตในพื้นที่จังหวัดที่รับผิดชอบ


นางจุไรวรรณ ศรีพุฒ ประธานวิสาหกิจกลุ่มสวนขันเกษตรยั่งยืน กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฎเข้ามาหาชาวบ้านหลายคณะ มาสอนให้เรียนรู้ว่าจะต้องใช้สีธรรมชาติ ในการทำผ้าบาติก ซึ่งไม่เป็นอันตรายกับสิ่งแวดล้อมและไม่เป็นอันตรายกับผู้สวมใส่  รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเดิมเราใช้ถุงกระดาษหรือถุงพลาสติก เหมือนท้องตลาดทั่วไป มีการเพิ่มลวดลายในถุงกระดาษเป็นรูปเจดีย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้เห็นว่ามาจากวิสาหกิจกลุ่มสวนขัน ซึ่งเราได้ความรู้มากมาย เราตั้งเป้าว่าจะทำให้วิสาหกิจกลุ่มสวนขันเกษตรยังยืนที่ได้ 4 ดาว จะทำอย่างไรให้ได้ 5 ดาว   


นายทักษิณ หมินหมัน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านแหลมโฮมสเตย์อำเภอท่าศาลาจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ถ้าถามว่ามหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราชช่วยอะไรเราบ้างตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ที่เราก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจขึ้นมา เราขับเคลื่อนมาส่วนหนึ่ง ได้จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ที่มาบริการงานวิชาการในเรื่ององค์ความรู้ต่างๆ การท่องเที่ยว เรื่องการบริหารจัดการโฮมสเตย์ การตั้งปลุกผลิตภัณฑ์และการวิจัยผลิตภัณฑ์ในชุมชนที่ประสบความสำเร็จล้วนแล้วแต่ มาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ซึ่งสโลแกนของพวกเราก็คือคิดอะไรไม่ออก ให้บอกราชภัฏนครศรีธรรมราช เพราะที่นี่มีทุกอย่างที่ชุมชนอยากได้ และชุมชนจะเดินขับเคลื่อนกระบวนการไม่ได้หลักๆ คือ ชุมชนจะต้องตั้งขึ้นมาด้วยความเข้มแข็ง และได้องค์ความรู้จากนักวิชาการ รวมถึงงบประมาณจากหน่วยงานของภาครัฐมาส่งเสริมในสิ่งที่ชุมชนต้องการ และเข้าสู่กระบวนการต่อยอดไปเองโดยอัตโนมัติ 


นางปรารถนา กล้าอยู่ สมาชิกวิสาหกิจกลุ่มชุมชนท่องเที่ยวอนุรักษ์บ้านบางดี กล่าวว่า ตอนนี้ได้จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้น ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้นและได้นำผลิตภัณฑ์ในบ้านของเรามาแปรรูปเป็นสินค้าขายตามช่องทางออนไลน์ได้ ขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นอย่างยิ่ง ขอบคุณพระองค์ท่านที่ส่งให้มหาวิทยาลัยราชภัฏให้มาดูและชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ แทนพระเนตรพระกรรณของพระองค์ท่าน น้อมนำลึกในพระบรมมหากรุณาธิคุณยิ่ง     


ฟากน.ส.ภัทรภร อินทรพฤกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏคนของพระราชา ทำให้เราได้เรียนรู้ ได้พัฒนา นำสิ่งที่ท่านถ่ายทอดจากนอกห้องเรียนนำไปสู่การปฏิบัติจริง แทนที่จะได้แค่องค์ความรู้ มันสามารถนำไปใช้ร่วมในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมนำ ร่วมประสาน ร่วมสร้างนวัตกรรม เพื่อสร้างความความแข้มแข็ง ให้กับชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะชุมชนที่หนูเองได้เกิดที่นี้ และต้องการทำที่นี้ให้ดี พี่น้องหนู มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม และ บัดนี้หนูได้ทำมันแล้ว พี่น้องหนูในชุมชน รู้สึกว่ามันดีขึ้น ขอบคุณมหาวิทยาลัย ขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขอบคุณที่พระองค์ท่านไม่ทิ้งพวกเราชาวชุมชน เล็กๆ ที่ให้ราชภัฏมาดูแลชาวชุมชน มีรายได้ มีคุณภาพชีวิต มีการศึกษาที่ดีขึ้นมากๆ 


ทั้งหมดทั้งปวงนี้บอกได้คำเดียวว่า มรภ.นศ.มีเป้าประสงค์เพื่อให้คนท้องถิ่นในชุมชนยืนด้วยลำแข้งตัวเอง พึ่งพาตัวเองได้อย่างมั่นคง พอเพียง รวมทั้งให้เกิดความยั่งยืนทั้งในมิติรายได้ ภายใต้อัตลักษณ์ของท้องถิ่น สอดประสานความร่วมมือ และมิตรภาพของชุมชน เป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น” และยังก้าวดำเนินการต่อไป เพื่อสร้างและผลิตบุคคล ควบคู่ไปกับการสร้างชุมชนท้องถิ่นให้แข้มแข็ง สมดุล ยั่งยืน ตามพระบรมราโชบายอย่างแท้จริง เต็มภาคภูมิ



"บิ๊กป้อม" แนะบริหารจัดการแร่ ยึดหลัก "พอเพียง-SDGs-BCG Model-ธรรมาภิบาล"

พล.อ.ประวิตรประชุม คกก."แร่แห่งชาติ" เน้นการมีส่วนร่วมปชช.  ยึดหลักธรรมาภิบาล  เห็นชอบแผนแม่บทแร่ ฉบับ2(ปี66-70) มุ่งรักษาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการลงทุนพัฒนา ศก. และประเทศชาติ ได้ประโยชน์คุ้มค่า ยั่งยืน



เมื่อวันพุธที่ 14 กันยายน 2565  เวลา 10.00 น.  พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รองนายกรัฐมนตรี​ เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี​  ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ ครั้งที่2/2565  ณ ห้องประชุม 301  ตึกบัญชาการ 1  ทำเนียบรัฐบาล


ที่ประชุมได้รับทราบ มติ ครม. เมื่อ 15 ก.พ.65 เห็นชอบให้แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ พ.ศ.2560-2564 มีผลใช้ได้จนถึง 31ธ.ค.65 และรับทราบ มติ ครม.เมื่อ 2 ส.ค.65 เห็นชอบหลักการต่อนโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และก.อุตสากรรมประสานความร่วมมือกับ ก.ทรัพย์ฯ และก.การอุดมศึกษาฯ ในการกำหนดมาตรการที่เหมาะสม ต่อไป


จากนั้นที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณา เห็นชอบ(ร่าง)แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่2 (พ.ศ. 2566-2570) โดยให้เน้นการมีส่วนร่วม และสร้างการรับรู้ให้สาธารณะชนทราบอย่างต่อเนื่อง พร้อมเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ และมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ทรัพยากรแร่ อย่างคุ้มค่า และยั่งยืนโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ,การพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs) ,BCG Model และหลักธรรมาภิบาล


พล.อ.ประวิตร ยังได้กำชับ ก.อุตสาหกรรม(กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่) และกรมทรัพยากรธรณี เร่งรัดการปรับปรุงแก้ไข (ร่าง)แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่2 ให้เสร็จโดยเร็ว พร้อมเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ทุกภาคส่วน อย่างจริงจัง และให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อประเทศชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ


"ดร.นฤมล" แนะทางรอดคนมีหนี้นอกระบบ พึ่งสินเชื่อรัฐหนีกับดักความยากจน

เมื่อวันพุธที่ 14 กันยายน 2565 ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) โพสต์ Facebook เห็นถึงปัญหาหนี้นอกระบบที่เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักกับดักความยากจนของคนไทย โดยมีปัจจัยหลักที่ประกอบด้วย 1. คนที่มีหนี้นอกระบบ ส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อยอยู่แล้ว เข้าไม่ถึงเงินกู้ธนาคาร 


2. ดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบที่สูงมาก ทำให้ผู้กู้รับภาระผ่อนชำระไม่ไหว หันไปหาเงินกู้นอกระบบเพิ่มมาชำระหนี้เดิม จริงอยู่ที่ทุกฝ่ายบอกว่าต้องเริ่มแก้ที่ตัวผู้กู้ ที่ควรวางแผนการใช้จ่ายของตนไม่ให้เกินรายได้ แต่ผู้มีรายได้น้อยส่วนมาก ไม่ได้มีรายรับคงที่ หรือคาดการณ์ได้ในทุกเดือน เช่น เกษตรกร ที่มีรายได้ตามฤดูกาลและแปรผันตามราคาสินค้าเกษตร หรือ คนทำอาชีพรับจ้าง ที่รายได้มีความผันผวนสูง เมื่อเกิดค่าใช้จ่ายจำเป็นบางห้วงเวลา จึงจำเป็นต้องกู้ยืม เกษตรกรจำนวนมากต่างกู้เงินเพื่อไปลงทุนทำการเกษตร ขายผลผลิตได้เงินแล้ว จึงนำมาใช้หนี้ วนเป็นวัฎจักรเช่นนี้


ศ.ดร.นฤมล ระบุว่า หากยังมีความจำเป็นต้องกู้เงิน อยากย้ำหรือแนะนำให้พยายามใช้สินเชื่อจากธนาคารของรัฐ เช่น ออมสิน ธกส. ต่างมีโครงการสินเชื่อช่วยแก้หนี้นอกระบบแบบครบวงจร ซึ่งมาตรการระยะหลังมีการผ่อนปรนมากพอสมควรเพื่อช่วยเหลือผู้กู้ นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และกระทรวงการคลัง ได้พยายามเข้าไปกำกับดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบ ผ่านการขึ้นทะเบียนผู้ให้สินเชื่อ ทั้งนาโนไฟแนนซ์ และพิโกไฟแนนซ์ โดยกำหนดให้คิดดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 36% ต่อปี เพื่อหลีกเลี่ยงเงินกู้ดอกเบี้ยโหด สามารถเข้าไปดูผู้ให้บริการสินเชื่อได้ตามลิงค์


สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ https://www.1213.or.th/App/MCPD/ProductApp/NanoFinance


สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ https://1359.go.th/picodoc/

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2565

"ม.มหิดล"เนรมิต "สวนผักลอยฟ้า" สู้วิกฤติเศรษฐกิจ - มลพิษกลางกรุง

ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้ดาดฟ้าไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ติดตั้งจานดาวเทียม แต่สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย และอาจเนรมิตให้กลายเป็น "แปลงเกษตรของคนเมือง" ได้ดั่งใจฝัน 


รองศาสตราจารย์ ดร.มณฑา เก่งการพานิช หัวหน้าภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะหัวหน้าโครงการ "แม่บ้านสร้างสุขด้วยสองมือเรา" หรือ "สวนผักแม่บ้านสร้างสุข" ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม ได้พิสูจน์แล้วว่าดาดฟ้าที่ปล่อยว่าง สามารถนำมาสร้างสรรค์ให้เป็น "ดาดฟ้ากินได้" พื้นที่สีเขียวลดโลกร้อนและพื้นที่เรียนรู้ให้แก่นักศึกษา จากการรวมพลังของเหล่าแม่บ้านทำความสะอาด ซึ่งเป็น "ฟันเฟืองหลัก" ของโครงการฯ


จากดินนับตันที่คำนวณน้ำหนักแล้วว่าปลอดภัยต่อตัวอาคารทะยอยส่ง "มือต่อมือ" ขึ้นสู่ดาดฟ้า  จากชั้น 1 ขึ้นไปยังชั้น 7 เพื่อร่วมเนรมิตความฝันที่จะร่วมสร้างแปลงปลูกผักตาม"ศาสตร์พระราชา" ที่ว่าด้วย "เกษตรอินทรีย์" เพื่อส่งเสริม"เศรษฐกิจพอเพียง" ของชาวคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล บนดาดฟ้าให้กลายเป็นจริง


ทำให้ทุกวันนี้ชาวคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งนับเป็น "ด่านหน้า" แห่งการวางรากฐานของการป้องกันและส่งเสริมสุขภาวะของไทย ได้มี "ต้นแบบ" ของการสร้างสุขภาพดีกันถ้วนหน้า จากการมี "แหล่งอาหารปลอดภัย" และช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดียิ่งให้แก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย นับตั้งแต่ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ จากสถานการณ์COVID-19 ที่ผ่านมา


จากดาดฟ้าที่ปล่อยร้าง กับจานดาวเทียมที่หลงยุคสมัย ณตึกแห่งหนึ่งของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ปัจจุบันเรียงรายไปด้วยพืชผักสวนครัวที่เติบโตในแปลง ถุงปุ๋ย และ กระถางกว่า 10 ชนิด  โดยไม่ต้องไปซื้อหา


ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่บรรดาพืชที่สามารถนำเอาไปทำเป็นผักจิ้มผักแนม และประกอบอาหารไทยยอดนิยมต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นมะเขือเปราะ มะเขือม่วง มะเขือยาวมะเขือเทศ แตงร้าน บวบ ตำลึง ถั่วฝักยาว เห็ดนางฟ้า ชะอมแค คะน้า สะเดา กวางตุ้ง กะเพรา โหระพา พริกหยวก มะกรูดมะนาว ตะไคร้ สะระแหน่ ฯลฯ หรือแม้แต่พืชยอดฮิตอย่างต้นมะละกอกินใบ หรือ "ผักไชยา" ที่สามารถใช้แทนผงชูรส


"ดาดฟ้ากินได้" นี้ ไม่เพียงสามารถสร้างสุขจากการช่วยประหยัด "ค่ากับข้าว" ให้กับชาวคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล แต่ยังกลายเป็น "ที่พักผ่อนหย่อนใจ" สำหรับทุกชีวิตในอาคารให้สามารถหลีกหนีมลพิษของกรุงเทพฯ ขึ้นไปสูดโอโซนจากพืชผักที่ช่วยฟอกอากาศให้บริสุทธิ์สดชื่น


รวมทั้งให้ประโยชน์ทางการศึกษา ให้นักศึกษาโภชนวิทยาของคณะฯ สามารถเรียนรู้ผักชนิดต่างๆ และนักศึกษาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับพื้นที่สีเขียว การลดโลกร้อน เป็นต้น


นอกจากนี้ ยังเป็นเหมือน "ห้องเรียนทางการเกษตร" สำหรับผู้รักการปลูกพืชให้ได้ทดลองทำ "ปุ๋ยหมักจากธรรมชาติ" ที่รวบรวมเอาเศษไม้ใบหญ้าจากภายในคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาหมักแบบ "พลิกกลับกอง" เพื่อนำไปใช้บำรุง "สวนผักแม่บ้านสร้างสุข" ให้เจริญงอกงาม และเกิดความยั่งยืน โดยมีชาวคณะฯ ร่วมแรงร่วมใจกันรดน้ำ พรวนดิน ดูแลด้วยสองมือและแรงใจ โดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีทางการเกษตรใดๆ อีกด้วย


ซึ่งความสุขที่ได้ ไม่ใช่เพียงการได้ร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กับพี่น้องชาวคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำ"กิจกรรมสีเขียว" ในช่วงวิกฤติ COVID-19 ยังได้ชื่นชมกับผลผลิตจาก "สวนผักแม่บ้านสร้างสุข" ที่เจริญงอกงามร่วมกัน


หากแต่อีกหนึ่งคุณค่า คือ การส่งต่อแนวคิด "เศรษฐกิจพอเพียง" ที่เปรียบเหมือน "สมบัติอันล้ำค่า" จากล้นเกล้าพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ร.9) ปวงพสกนิกรชาวมหาวิทยาลัยมหิดลตั้งปณิธานที่จะบำรุง"ต้นไม้ของพ่อ" ให้งอกงาม แตกขยายกิ่งก้านสาขาผลิดอกออกใบต่อไปยังทุกดวงใจและสายโลหิตแห่งปวงชนชาวสยาม


ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล


โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก"

โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก" 1. บทนำ เปิดเรื่อง : สันติสุข ชายหนุ่มนักเขียนนิยายธรรมะที่ต้องการค้นหามิติใหม่ของการเล่าเรื่องธรรม...