วันศุกร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2561

เจาะลึกอาชีพเว็บนักดิจิทัลรุ่นใหม่




          ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเฉพาะเยาวชนรุ่นใหม่ หลายๆ หน่วยงานจึงให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เราสังเกตได้จากการจัดกิจกรรมเพื่อเยาวชน เช่น “โครงการ TYC เด็กไทยมีดี ใช้ไอที เพื่อชุมชน” โครงการยูธสปาร์ค สร้างผู้ประกอบการเยาวชนไทยด้วยไอที
          หนึ่งในนั้นคือโครงการ "young webmaster camp" เป็นหนึ่งสุดยอดค่ายเจาะลึกวิชาชีพเว็บสำหรับนักศึกษา
          ซึ่งในปีนี้มีนักศึกษาหลากหลายสถาบันส่งใบสมัครเข้ามาถึง 1,111 คน และคัดเลือกเหลือ 80 คน นักศึกษาทั้ง 80 คน จะได้รับทั้งความรู้ภาคทฤษฎีจากวิทยากรแถวหน้าของวงการเว็บไทย ได้ลงมือปฏิบัติด้วยการพัฒนาเว็บไซต์ขึ้นมาจริงๆ โดยแบ่งฐานการเรียนรู้ในวิชาชีพเว็บมาสเตอร์ 4 สาขา ไม่ว่าจะเป็น
          สาขาการพัฒนาเนื้อหา (Web Content) เน้นให้เยาวชนเรียนรู้การดึงดูดคนเข้าเว็บไซต์ ด้วยวิธีการนำเสนอเนื้อหาที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย สดใหม่ทันเหตุการณ์ และสร้างสรรค์ผลงานที่โดดใจ น่าสนใจ และชวนให้ติดตาม
          สาขาการออกแบบ (Web Design) เน้นการสร้างสรรค์เว็บไซต์ให้สวยงามสะดุดตาดึงคนให้เข้ามาในเว็บไซต์ควบคู่กับการออกแบบให้ตรงตามการใช้งาน ดึงจุดเด่นออกมา และจัดวางอย่างมีสไตล์
          สาขาการตลาด (Web Marketing) เน้นให้เยาวชนสร้างยอดผู้เข้าชมระดับแสนได้เพียงข้ามคืน ผ่านกลยุทธ์การตลาดและการวางแผนเพื่อดึงคนเข้าเว็บไซต์ด้วยช่องทางต่างๆ รวมถึงกลเม็ดเคล็ดลับที่ทำให้ยอดผู้ชมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
          สาขาการพัฒนาเว็บไซต์ (Web Programming) เน้นการสร้างเว็บไซต์ให้เกิดขึ้นจริงด้วยทักษะทางด้านโปรแกรมที่ผ่านการฝึกฝน และพัฒนาฝีมือมา ก่อเกิดเป็นเว็บไซต์ที่พร้อมใช้งานได้จริง และพร้อมต้อนรับทุกคนที่เปิดเข้าชม
          “เติ้ล” ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน
          “เติ้ล” ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตัวแทนฐานการเรียนรู้สาขา Web Content
          เล่าว่า โครงการ young webmaster camp เป็นโครงการที่มีมานาน ซึ่งเขาติดตามการเคลื่อนไหวของโครงการทางเพจสมาคมเว็บไทย พอเห็นว่ามีโอกาส คุณสมบัติตรงกับเงื่อนไข จึงตัดสินใจสมัครเข้ามา อีกทั้งเขายังได้แรงบันดาลใจจากค่าย Junior Webmaster Camp เมื่อ 2 ปีก่อน ทำให้เขาตัดสินใจมาค่ายนี้
          “เติ้ล” เล่าต่อว่า สำหรับสาขา Content ทางโครงการให้เขียนผลงานส่งโดยที่ไม่จำกัดรูปแบบการนำเสนอ ซึ่งให้เลือกหัวข้อที่สนใจ ตอนที่เขาเลือกมี 2 หัวข้อคือ เรื่อง Cyberbullying การกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ และเรื่องการเสพติดโชเซียล เขานำเสนอในรูปแบบภาพชุดลงสื่อ facebook จะมีภาพปกหนึ่งภาพและภาพอื่นๆ สามารถเลื่อนได้
          ปัจจุบัน “เติ้ล” ดูแลเว็บไซต์ด้านเนื้อหาทั้งหมด 3 เว็บ ได้แก่เว็บไซต์ MacThai.com เขาจะเขียนเนื้อหาเกี่ยวกับ Apple เช่น บทความเกี่ยวกับ apple การเปิดตัวสินค้าใหม่ หรือข่าวเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยี
          ต่อมาเป็นบล็อกส่วนตัวชื่อว่า Nutn0n.com เขียนเรื่องทั่วไป ความชอบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์
          และเว็บไซต์ Spaceth.co เป็นเว็บเกี่ยวกับข่าวอวกาศ เช่น ยานอวกาศลำไหนไปสำรวจดาวอะไร หรือว่าในปัจจุบันมีการปล่อยยานอะไรขึ้นไปแล้วบ้าง แนวโน้มการพัฒนาในอนาคตเป็นอย่างไรทำไม่บริษัทเอกชนจึงต้องมาสำรวจอวกาศ
          "เติ้ล" เล่าต่อว่า
          ปัจจุบันการทำเนื้อหาไม่ว่าในสื่ออะไรก็ตามต้องทำการปรับตัว เพราะว่าอยู่ในยุคดิจิทัล เราจะเห็นได้จากการปิดตัวของนิตยสาร ทีวีก็ต้องเลิกจ้างพนักงานบางส่วน เนื่องจากพฤติกรรมการเสพข่าวสารของผู้ใช้เปลี่ยนไปส่วนใหญ่จะมาอยู่บนโลกดิจิทัลมากขึ้น คราวนี้ก็เป็นหน้าที่ของคนทำเนื้อหา ที่จะต้องทำให้ตรงกับจริตของผู้อ่านออนไลน์ก็คือจะต้องมีความรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ มีความกระชับ อ่านง่าย เป็นการย่อยเนื้อหาให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่าย โดยที่ใช้ตัวอักษรน้อยที่สุด
          “อยากเข้ามาโครงการนี้นานแล้ว เพราะอยากเป็นส่วนหนึ่งของผู้พัฒนาเว็บไซต์ นักพัฒนาเว็บไซต์ และเมื่อจบจากค่ายนี้แล้วเติ้ลจะนำสิ่งที่ได้จากค่ายนำไปปรับใช้กับเว็บที่ตัวเองดูแลอยู่ ส่วนหนึ่งจะเอาไปเป็นความรู้ไว้บอกเล่าให้กับเพื่อนๆ ในทีมต่อไป” เติ้ล กล่าว
          “ฟาง” อภิญญา วิญญูชัย
          “ฟาง” อภิญญา วิญญูชัย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาออกแบบเว็บและสื่อโต้ตอบ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตัวแทนฐานการเรียนรู้สาขา Web Design เล่าว่า ที่เข้ามาในโครงการนี้เพราะว่าถนัดในด้านการออกแบบ และอยากจะพัฒนาให้ตนเองเก่งขึ้น เมื่อทราบข่าวจากอาจารย์ บวกกับรุ่นพี่ที่เคยเข้าร่วมโครงการนี้เมื่อปีที่แล้วเล่าประสบการณ์และจุดเด่นให้ฟัง เธอจึงตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการ
          “ฟาง” เล่าต่อว่า สำหรับสาขา
          Web Design
          ทางโครงการให้ออกแบบเว็บ คสช. เธอทำเป็น Responsive เป็นเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายและรายการ คสช. แต่ไม่ค่อยมีฟังก์ชันอะไรเยอะ เพราะยังขาดประสบการณ์และการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทำให้เธอสนใจโครงการนี้เป็นอย่างมาก
          “เป้าหมายที่มาโครงการนี้ เพื่อหาประสบการณ์ใหม่ๆ และเรียนรู้การใช้ฟังก์ชันในการทำงาน โดยเฉพาะการออกแบบ เนื่องจากกการออกแบบมันเป็นหน้าตาของทุกสิ่งอยู่แล้ว ต้องทำให้มันออกมาดูดี และใช้งานง่ายต่อการเข้าถึงของกลุ่มเป้าหมาย” ฟาง กล่าว
          วโรรส
          โรจนะ
          วโรรส
          โรจนะ นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังคงต้องการคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถและประสบการณ์ตรงด้วยการสร้างสรรค์ผลงานบนพื้นฐานของจริยธรรม ซึ่งในแต่ละปีจะเห็นได้ว่านิสิต นักศึกษาแต่ละรุ่นจะมีศักยภาพมากขึ้นทุกๆ ปี ทั้งทำงานให้กับประเทศและต่างประเทศ ด้วยเหตุผลนี้เราจึงจัดโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อเพาะบ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้เป็นนักดิจิทัลที่สร้างผลงานให้กับประเทศได้
          “นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการแต่ละรุ่นต่างมีไฟในตัวเองกันทั้งนั้น แค่เราเติมเต็มความรู้ และการปฏิบัติงานจริงเข้าไป ผมเชื่อว่าพวกเขาจะเติบโตและสร้างผลงานให้กับประเทศแน่นอน อีกทั้งพวกเขาจะเป็นนักดิจิทัลที่มีความเชี่ยวชาญในทุกฐานความรู้ที่เราจัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สาขาการพัฒนาเนื้อหา สาขาการออกแบบ สาขาการตลาด และสาขาการพัฒนาเว็บไซต์ อย่างแน่นอน ” วโรรส
          กล่าว
          บัญญัติ คำนูณวัฒน์
          บัญญัติ คำนูณวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ.ซีพี ออลล์
          กล่าวว่า ซีพี ออลล์ ได้เข้าไปสนับสนุนโครงการ young webmaster camp เป็นปี 3 แล้ว เพื่อมุ่งหวังให้เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ด้านการพัฒนาเว็บไซต์อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งเนื้อหา วิธีการใช้งานและจริยธรรมในการทำงาน พร้อมเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆจากผู้เชี่ยวชาญ
          รวมถึงวิทยากรชื่อดังในวงการไอทีอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เยาวชนเหล่านี้เติบโตขึ้นเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนและสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ
          ให้วงการไอทีบ้านเราก้าวขึ้นสู่การเป็นเว็บมาสเตอร์มืออาชีพระดับโลก

          ที่มา: www.komchadluek.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...