วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2561

มส.ห่วง!สังคมไทยไลฟ์สดฆ่าตัวตาย




มส.ห่วง!สังคมไทยไลฟ์สดฆ่าตัวตาย ชี้เหตุขาดความรักความอบอุ่นความเห็นใจ แนะดูสิงคโปร์เป็นตัวอย่าง ยิ่งพัฒนาด้านวัตถุ จิตใจยิ่งตกต่ำ ปัจจุบันเริ่มมองหาศาสนาเป็นทางแก้ตั้งอยู่บนฐานะของเมตตา





วันที่ 5 ม.ค.2561 พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) กล่าวในงานร่วมพิธีทำบุญฉลองเทศบาลปีใหม่ 2561 ของบุคลากรมหาจุฬาฯว่า ในโอกาสอันเป็นมงคลในปีใหม่  2561 ในฐานะที่เราเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูง เราจะบอกสังคมเรื่องอะไร? มองง่ายๆ เพียงแค่สร้างความสามัคคี แต่ลึกๆ เราได้ทำบุญร่วมกันในการต้อนรับปีใหม่๒๕๖๑ มองในส่วนตัวเราจัดเพื่ออะไร? ในรอบปีที่ผ่านมาเราคุยกันเรื่องไทยแลนด์ 4.0 มหาวิทยาลัยสงฆ์จะมีส่วนขับเคลื่อนประเทศได้อย่างไร เรารู้เท่าทันทางสังคม เป็นผู้นำด้านจิตใจและสติปัญญา เรามีอะไรต้องบอกกล่าวสังคม



เรามีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0  เรามีกับดักอะไร เราควรตั้งคำถามว่าประเทศที่เจริญแล้วมีกับดักหรือไม่ อย่างไร ? เราต้องศึกษาแล้วป้องกันกับดัก เรากำลังเผชิญกับดักอะไรในการพัฒนาบุคลากร ชีวิตของเราจะไปไหน เพื่ออะไร อะไรคือคุณค่าของชีวิต เราพัฒนาเพื่อให้มีรายได้สูง เราได้อะไร เราเสียอะไร เราต้องเหลียวหลัง แลหน้าในชีวิตของเรา มหาจุฬาของเรากำลังเผชิญอะไร ในฐานะเราเป็นสถาบันการศึกษาด้านศาสนาเราต้องเตือนสติสังคม



สมัยรุ่นเก่าๆ บุคลากรและครูบาอาจารย์ยังยากจน เราจะพูดถึงนิตถิปัจจัย แต่ปัจจุบันเราไม่พูดถึงแล้ว ซึ่งในช่วงที่มหาวิทยาลัยยากจนทำให้เรารักกัน สามัคคีกัน พอเรามีความมั่นคง มีหน้ามีตาทำให้เราแข่งขันกัน โอกาสที่จะเชื่อมประสานมันลดลง เรามีช่องว่างมากขึ้น ความอบอุ่นน้อยลง เราเป็นสังคมที่โดดเดี่ยวเดียวดาย ขาดความรักความเมตตา อดีตคนไทยไม่เอากันตาย พูดคำว่า ไม่เป็นไรขอกันกินมากกว่านี้ แต่ปัจจุบันเราเอากันตายไปข้าง ในอดีตแอร์การบินสิงคโปร์ต้องเข้าคอร์ดการฝึกยิ้ม เพราะมันเครียด



"คนไทยเราก็กำลังจะเอาแบบอย่างด้วยไลฟ์สดถ่ายภาพฆ่าตัวตาย เพราะขาดความรักความอบอุ่นความเห็นใจ มหาวิทยาลัยสงฆ์ในฐานะสถาบันการจะต้องให้สติทางสังคม เราต้องเป็นแบบอย่าง"  อธิการบดี มจร กล่าวและว่า



สิงคโปร์มีการแข่งขันกันสูงมาก ปัจจุบันคนสิงคโปร์มองหาศาสนา ยิ่งพัฒนาด้านวัตถุ จิตใจยิ่งตกต่ำ รวยทรัพย์แต่จนทางจิตใจ เพราะมีการแข่งขันสูง ทำให้เกิดความเครียด คนเริ่มตั้งคำถามว่า ความหมายของชีวิต สะท้อนถึงสังคมสิงคโปร์ว่า ซึ่งเป็นหมอโดยกล่าวว่า เราถูกหล่อหลอมกระตุ้นให้สำเร็จของชีวิต ความสำเร็จวัดกันด้วยความมั่งคัง มีทรัพย์ภายนอกเยอะ แต่ความจริงหมอเกี่ยวกับจักษุไม่สู้หมอที่เสริมความงาม



คนสิงคโปร์ยินดีจ่ายเสริมความงาม ทำให้คุณหมอรวยมาก เปิดสาขาเพิ่มในอินโดนีเชีย ส่วนตัวคุณหมอท่านนี้ชอบซื้อรถหรู ทานอาหารแพงๆ ทำให้ชีวิตดีมีความสุข มาวันหนึ่งปวดหลัง หมอตรวจปรากฏว่าเป็นมะเร็งปอด เพราะสูบบุหรี่มาก หมอที่ตรวจบอกว่าอยู่ได้ไม่กี่เดือน ทำให้คุณหมอเครียดมาก ทำไมต้องมาตายช่วงอายุ 40 เท่านั้น คุณหมอจึงควรคิดว่า ต้องเล่าเรื่องนี้สู่สังคมเพราะได้สติ เริ่มตั้งคำถามว่า "ความหมายของชีวิตคืออะไร " ยามเจ็บป่วยวัตถุภายนอกไร้ความหมาย สิ่งที่ทำให้คุณหมอมีความสุข คือ เพื่อนมนุษย์ ทำให้ชีวิตมีความหมาย ตลอดชีวิตวิ่งหาความสุขทางด้านวัตถุ



จึงออกมาเตือนคนในสังคมสิงคโปร์ และเตือนหมอด้วยกัน ว่า เราต้องปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์อย่างนุ่มนวลมิใช่แค่ทางผ่าน ครูอาจารย์ต้องปฏิบัติต่อนิสิตอย่างเพื่อนมนุษย์ อย่าสอนเพียงพอผ่าน เพราะนิสิตมีความหวังมีชีวิตจิตใจ ผู้บริหารปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเพื่อนมนุษย์ความเป็นพี่เป็นน้องสำคัญที่สุด



พระพรหมบัณฑิต กล่าวด้วยว่า ความเมตตามีคุณค่าเหนือกว่าสิ่งอื่น แต่ต้องเป็นเมตตาเจโตวิมุติ พระพุทธศาสนาให้คุณค่าแก่เมตตา รักโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ใครจะเดินสายโพธิสัตว์ต้องมีเมตตาเป็นฐาน พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ เมตตาเป็นพื้นฐานของกรุณา เรามีจัดงานปีใหม่เราให้ทานด้วยเมตตา ใครได้ได้มีสุขเราก็มุทิตา เมื่อเราว่ากล่าวตักเตือนเป็นอุเบกขาแต่มีเมตตาเป็นฐาน เราจัดงานวันนี้เพราะมีเมตตาธรรมเป็นฐาน สร้างสายใยสัมพันธ์ในการ ชีวิตมีความหมายเมื่อมีกัลยาณมิตร ผู้เป็นมิตรคือคนที่มีเมตตา ในยามที่เรามีความสุขเรามารวมกัน ในยามที่สูญเสียเรามีน้ำใจต่อกัน เพื่อสะท้อนไปสู่สังคม เราจึงไม่ติดกับดัก เราต้องไม่เป็นองค์กรที่เเล้งน้ำใจระหว่างครูอาจารย์กับศิษย์ และเพื่อนร่วมกัน เราขาดเมตตาธรรมไม่ได้ในการอยู่ร่วมกัน


.................


(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจาก Pramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท  นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา  มจร)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...