วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2561

มส.แนะพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนต้องพัฒนาที่จิตใจคน






พระพรหมบัณฑิต มส.แนะพัฒนาประเทศต้องพัฒนาที่คน หากให้ยั่งยืนต้องพัฒนาที่จิตใจ



วันที่ 22 ม.ค.2561 พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม  อธิการบดีมหวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) กล่าวอวยพรปีใหม่ตามที่บัณฑิตวิทยาลัยจัดว่า วันนี้เป็นการปรารภเรื่องมงคล 2 เรื่อง คือ การฉลองห้องประชุมบัณฑิตวิทยาลัย โดยจิตศรัทธาท่านเจ้าภาพ  2  คณะ และทำบุญปีใหม่ด้วยการส่งความสุขให้กัน เป็นการทำของผู้มีปัญญา จึงมีความเจริญรุ่งเรืองของบัณฑิตวิทยาลัย



"เราได้เห็นความรุ่งเรืองมาตามลำดับ 30 ปี ในช่วง 30 ปี มีผู้บริหารหลายท่าน ในฐานะเป็นผู้ก่อตั้งบัณฑิตวิทยาลัย ถือว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน คำว่า วุฑฺฒิกโร หมายถึง ผู้สร้างผู้พัฒนาให้เจริญ สมกับฉายาคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ทำอย่างไรการพัฒนาจะเกิดยั่งยืนในมหาจุฬาฯ ทำไมจึงยั่งยืน ดูจากการเจริญเติบโตแนวทั้งและแนวราบ การเจริญในแนวราบ คือ มองขนานไปกับภาคพื้นเป็นการขยายตัว ด้วยปริมาณเพิ่มขยาย เราเริ่มจากวัดมหาธาตุตอนนี้เราขยายออกไปเป็นสาขาจำนวนมาก"  อธิการบดี มจร กล่าวและว่า



เมื่อไม่กี่วันเดินไปวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มีการสร้างขยายใหญ่โตใช้งบประมาณ 300  ล้านบาทขึ้นไป เป็นตัวอย่างการเติบโตเป็นแนวราบ รวมถึงที่จังหวัดขอนแก่นมีการพัฒนาไปมาก ส่วนบัณฑิตวิทยาลัยเป็นการพัฒนาแนวตั้ง เพราะคุณภาพของมหาบัณฑิตดุษฏีบัณฑิตและคุณภาพของงานวิจัย เป็นการผสมผสานทั้งปริมาณและคุณภาพ การเจริญเติบโตในแนวตั้งทำได้อย่างไร? เราจะถอดโมเดลนี้ไปใช้อย่างไร โมเดลการพัฒนาของพระพรหมบัณฑิต คือถ้าเราจะพัฒนาอะไรต้องจับเรื่องเดียวเป็นฐานการพัฒนา



ยกตัวอย่างการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนในพระศาสนา เราเห็นการสร้างวัตถุใหญ่โต พอเปลี่ยนมือก็ไม่มีการพัฒนาต่อเนื่อง ทำให้เกิดความเหี่ยวเฉา เรามุ่งเน้นพัฒนาอาคารสถานที่ แต่มหาจุฬาไม่ได้ให้ความสำคัญกับอาคารสถานที่เท่าไหร่ แต่เราให้ความสำคัญในการสร้างคนพัฒนาคน บัณฑิตรุ่นแรกของมหาจุฬาฯจบ 6 รูป สืบทอดมหาจุฬาฯมาถึงปัจจุบัน เช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ เป็นต้น



จะพัฒนาชาติต้องเริ่มที่คน เราต้องพัฒนาคนก่อน แล้วคนจะกลับมาพัฒนา ซึ่งตรงกับองค์การสหประชาชาติระบุว่า "มนุษย์เป็นศูนย์กลางการพัฒนา" โดยองค์การสหประชาชาติจึงถวายรางวัลสำคัญในหลวงรัชกาลที่ 9  คือ การพัฒนามนุษย์มนุษย์เป็นตัวตั้งการพัฒนา มนุษย์จึงเป็นตัวตั้งของการพัฒนามหาจุฬา เราเรียกว่าการศึกษา พระพุทธเจ้าเรียกว่า ไตรสิกขา มหาจุฬาฯจึงมีวงจรการพัฒนามนุษย์ เราต้องพัฒนาแก่น คือ พัฒนามนุษย์ เรามุ่งพัฒนาแต่เปลือกนอกคือวัตถุ ใครจะคิดว่าบัณฑิตวิทยาลัยจะเดินมาถึงวันนี้ ขอให้มีคุณภาพ คุณภาพจะประกาศตนของตนเอง เราถือว่าคนเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา คนที่เคยได้รับการพัฒนาจากบัณฑิตวิทยาลัย เพราะเห็นคุณค่าจึงกลับมาพัฒนา เป็นการขับเคลื่อนไม่รู้การจบ บัณฑิตวิทยาลัยต้องจับการพัฒนามนุษย์โดยเน้นคุณภาพ



"เรามาจัดเรื่องปีใหม่แบบนี้ถือว่าเราก็ไม่หลงประเด็น แก่นของความสุขในปีคืออะไร ? เราจะสร้างความสุขอย่างยั่งยืน เราต้องสร้างความสุขอย่างยั่งยืนในชีวิตมาเรียนมหาจุฬาฯต้องทราบ เรามองว่าความสุขเป็นอารมณ์ดีก็มีความสุข คนอื่นสร้างให้เรา หรือเราสร้างเอง ใครมาเรียนพระพุทธศาสนาจะต้องทราบว่า ความสุขเป็นเวทนา ความสุขไม่ได้เกิดจากสมอง ความสุขสร้างโปรแกรมไม่ได้ เพราะไม่ได้สร้างจากสมอง แต่ตัวสัญญาเป็นการรับรู้ สุขทุกข์เป็นผลของการรับรู้ของจิต รับรู้เกิดเวทนาเกิดสังขารการปรุงแต่งทำให้เราสุขทำให้เราทุกข์ แม้ตัวเวทนาก็สร้าง ผัสสะก่อให้เกิดเวทนาในปฏิจจสมุปบาท เมื่อเกิดสัมผัสรับรู้จึงเกิดเวทนา คอมพิวเตอร์รักเกลียดทำไม่ได้ มีสำหรับมนุษย์เท่านั้น เวทนามีผลจากสัมผัส เราคิดอะไรเราก็รู้สึกตามนั้น คิดดีมีความสุข คิดไม่ดีมีความทุกข์ คิดบวกเรามีความหวังเกิดปีติ เกิดมาจากเราคาดหวัง แค่ทราบว่าสอบดุษฏีนิพนธ์ผ่าน สร้างห้องประชุมทำให้เกิดปีติอิ่มใจ เราพูดถึงให้เกิดการพัฒนาทำให้เกิดปีติ เเต่พอมีใครมาพูดลบๆ ทำให้เราทุกข์ เราเลือกคิดเลือกผัสสะเรียกว่า โยนิโสมนสิการ เหมือนนักมวยต่อยในประเทศคนเชียร์มาก แต่พอไปต่อยในต่างประเทศถูกต่อยเสียเชียร์เงียบ ทำให้จิตตก นักมวยที่ไปต่อยต่างประเทศจึงแพ้ เพราะฟังเสียงเชียร์ นักมวยจึงต้องฝึกจิตอย่าฟังเสียงเชียร์ แต่มุ่งมั่นจิตใจแน่วแน่"  พระพรหมบัณฑิตกล่าวและว่า



ดังนั้น เจ้าภาพมีความสุขปีติก่อนทำ ขณะทำและหลังทำ เกิดความสุขว่า สิ่งที่เราทำเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน เรานึกถึงสิ่งดีๆ เราก็มีความสุข เพราะ " สุขหรือทุกข์ก็อยู่ใจมิใช่หรือ " เราเลือกเอาว่าเราจะสุขหรือทุกข์ เราจะสุขทั้งปี ถ้าเราคิดเป็นเป็นโยนิโสมนสิการ จากนั้นอธิการบดี มจร ให้พรบัณฑิตวิทยาลัย และผู้มาร่วมงานทุกท่าน ขอให้มีสติปัญญาพัฒนามนุษย์ให้เกิดความยั่งยืน



................

(หมายเหตุ : ข้อมูลจาก Pramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...