วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2561
ติวเข้มพระวิทยากร เสริมศาสตร์ศิลป์ สร้างสันติภาพสังคมไทย
ติวเข้มพระวิทยากร เสริมศาสตร์ศิลป์ สร้างสันติภาพสังคมไทย : พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท วิทยากรกระบวนการธรรมะโอดี รายงาน
ร่วมเป็นพระวิทยากรฝึกอบรมพัฒนาพระสงฆ์นักเผยแผ่จากทั่วประเทศจำนวน 60 รูป ณ สวนป่าทิพย์มงคลแสงธรรมอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานเปิดโครงการอบรมพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรจิตโพธิสัตว์ รุ่นที่ 1 จัดโดย พอ.นพ.พงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา ประธานมูลนิธิจิตเป็นผู้ให้ ใจเป็นนิพพาน โดยมูลนิธิตั้งขึ้นเพื่อเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้า จึงมีการพัฒนาพระวิทยากรเพื่อออกไปเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้า มีทักษะการเป็นวิทยากรมืออาชีพ สอนให้เยาวชน ประชาชนเกิดความกตัญญูเกิดสันติภาพในสังคมไทย ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีกล่าวว่า พอ.นพ.พงษ์ศักดิ์ถือว่าเป็นต้นแบบของการนักพูดที่นำศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาและศาสตร์ทางโลกมาบูรณาการ ทำให้คนสนใจการบรรยายของคุณหมอเป็นจำนวนมาก
ถือว่าเป็นการถวายความรู้การเป็นวิทยากรรุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 17 - 20 มกราคม 2561 ซึ่งจะมีการอบรมถึง 10 รุ่น โดยมีวิทยากรระดับประเทศมาถวายความรู้ โดย พอ.นพ.พงศ์ศักดิ์ ตั้งคณา อาจารย์วสันต์ พงษ์สุประดิษฐ์ อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ อาจารย์สมชาย หนองฮี อาจารย์สมภาคย์ ชูโชติ พระอาจารย์ศักดา สุนทโร และพระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท วิทยากรกระบวนธรรมะโอดี ดังนั้น จึงมีการพัฒนาวิทยากรมืออาชีพในการเผยแผ่ธรรม เพราะวิธีการพูดสำคัญกว่าเรื่องที่พูด หัวใจแห่งโพธิสัตว์ คือ"สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันติ " พระวิทยากรที่จะออกไปทำงานเผยแผ่ธรรมจึงต้องมีทักษะ ความรู้ แรงบันดาลใจในการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้า ภายใต้ "วิชายอด จรณะเยี่ยม เปี่ยมด้วยกรุณา หยิบยื่นดวงตาแก่ชาวโลก" สืบไป
พลังแห่งวาทะหยุดแม่น้ำทุกสายย้ายภูเขาทั้งลูก
พลังของคำพูดสำคัญสำหรับวิทยากร โดยอาจารย์วสันต์ พงษ์สุประดิษฐ์ นักพูดมืออาชีพระดับประเทศ กล่าวว่าปรัชญาเซ็นกล่าวว่า "เมื่อนักเรียนพร้อม ครูจะปรากฏตัว"แสดงว่าผู้เรียนต้องมีความพร้อม อยากจะเรียนรู้ มิใช่แค่วิทยากรพร้อมเท่านั้น การพูดเป็นศาสตร์และศิลป์ ศาสตร์สอนกันได้ ศิลป์เป็นเรื่องเฉพาะตัว เราละท่านมีลีลาไม่เหมือนกัน ท่าน ว.วชิรเมธี เน้นคำคมๆ ไม่เน้นสนุกมากนัก ไพเราะ ข้อคิดมุมมอง ลีลาแต่ละรูปต่างกัน การพูดจึงเป็นศิลปะ โลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาพระสงฆ์จึงต้องเท่าทันการเปลี่ยนแปลง การสอนธรรมะจึงมีการประยุกต์ การสอนของศาสนาคริสต์จะมีการสอนที่ทันสมัย คนหนุ่มสาวไปจำนวนมากในวันอาทิตย์ มีการจัดกิจกรรมร่วมกัน ด้วยการใช้ศิลปะการพูดของผู้สอนมีวาทศิลป์ในการสื่อสาร เราต้องสื่อสารให้เข้ากับวัยของผู้ฟัง
การพูดเป็นพลังเพราะเป็นศาสตร์และศิลป์แห่งการพูดในที่ชุมชน ทำให้เกิดคำคมว่า " ด้วยพลังแห่งวาทะหยุดแม่น้ำทุกสาย ย้ายภูเขาทั้งลูก " การเรียนการพูดจะต้องมีการฝึก พระสงฆ์ได้เปรียบเพราะทำงานเผยแผ่อย่างต่อเนื่อง การพูดต้องหาจุดสำคัญของเรื่อง แก่นของพูดจริงๆ นั้น ปราชญ์โรมันกล่าวว่า " ถ้ามีความคิดแล้วคำพูดมาเอง " โดยไม่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการพูด แต่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการคิด บางครั้งเราติดกับรูปแบบการพูดจนลืมรูปแบบการคิด ความสัมพันธ์ของกระบวนการสื่อสาร จะต้อง " คิด พูด ทำ "จึงมี 4 ขั้นตอนในการพูด คือ " มีเรื่องที่พูด อยากพูด กล้าพูด พูด " สุดท้ายต้องพูดเท่านั้น
ฆราวาสเวทีน้อย ส่วนพระสงฆ์เวทีมาก ต้องหาเวทีให้ตนเองในการพูด เราต้องอยากจะพูดอยากจะสอน เราจะพูดได้ดีเมื่อเรามีกระบวนการคิดที่ดีอยู่ในสมอง การสอนธรรมะเป็นศิลปะ หัวใจคือ "ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย" มีการย่อยให้ง่าย มีการยกตัวอย่างที่ใกล้ตัว ผู้ฟังสามารถเข้าถึงได้ ส่วนเรื่องที่ง่ายก็ทำให้น่าสนใจ พระสงฆ์ที่ยกตัวอย่างได้ดีคือ หลวงพ่อพยอม มีการหยิบข่าวปัจจุบันมาบูรณาการในการบูรณาการ เรื่องอารมณ์ขันไม่สามารถได้ทุกคน เราไม่จำเป็นต้องสอนสนุกตลอดเวลา แต่เราควรหาประโยคที่โดน เราต้องมีข้อมูลที่ง่าย "เขาจะฟังทุกอย่างที่เราพูด แต่เขาจะเชื่อทุกอย่างที่เราทำ" เราต้องพูดให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราเป็น ซึ่งพระสงฆ์มีจริยวัตรที่งดงามทำให้เราได้เปรียบกว่าฆราวาสที่เป็นวิทยากร จึงย้ำว่า " คนอื่นอาจฟังทุกอย่างที่ท่านพูด แต่เขาจะเชื่อทุกอย่างที่ท่สนทำ "
อัมบราฮัม ลินคอนกล่าวว่า " ท่านอาจโกหกคนบางคนได้ทุกเวลา ท่านอาจโกหกคนทุกคนได้บางเวลา แต่ท่านไม่สามารถโกหกคนทุกคนและทุกเวลาได้ ซึ่งการพูดจะบ่งบอกถึงว่าคนนั้นฉลาดหรือโง่ ดั่ง “โคลงโลกนิติ” ว่า ก้านบัวบอกลึกตื้นชลธาร มารยาทส่อสันดาน ชาติเชื้อ โฉดฉลาดเพราะคำขานควรทราบหย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ บอกร้าย แสลงเดิน พระพุทธเจ้าสอนเรื่องในใบไม้ในกำมือ เป็นการกลั่นกรองเรื่องเป็นเรื่องง่ายๆ ซึ่งขั้นตอนการพูด 7 ประการ คือ "มีเรื่องพูด อยากพูด กล้าพูด พูด หยุดพูด ฟัง "
วิทยากรต้องมีการเชื่อมทางโลกกับธรรมเข้าด้วยกัน ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายเป็นหัวใจของการเป็นวิทยากร การพูดประกอบด้วย 2 ส่วน คือ " รูปแบบ กับเนื้อหา " จากการประเมินผลการสอน วิทยากรที่ยืนสอนจะมีการประเมินได้ดีกว่านั่งสอน เพราะเกิดความสนใจมากกว่าการฟัง รูปแบบของการพูด คือ " ลีลา วิธีการ บุคลิกภาพ น้ำเสียง สายตา ท่าทาง " น้ำเสียงสำคัญมากในการพูด นักจิตวิทยาการประสิทธิภาพสื่อสารคำพูดมีอิทธิพลต่อผู้ฟัง 10 % น้ำเสียงมีอิทธิพล มีอิทธิพลต่อผู้ฟัง 30% (มีเสียงสูงต่ำหนักเบามีจังหวะ) ภาษาท่าทางมีอิทธิพลต่อผู้ฟัง 60% (บอกขนาด ใหญ่ เล็ก ทิศทาง จำนวน) ยกมือประกอบขยับบ้างให้เหมาะกับสมณสารูปไม่มากหรือน้อยเกินไป รูปแบบถือว่ามีความสำคัญนักพูดต้องเปิดฉาก เพราะมีสมองส่วนรับ บางครั้งคนสนใจในตัวคนพูดมากกว่าในสิ่งที่เขาพูด
ดังนั้นเนื้อหาเปรียบเหมือนใบไม้ในกำมือที่พระพุทธเจ้าสอน เราจะเลือกใบไม้ใดมาสอน อย่ายกมาทั้งป่า ควรเลือกให้เหมาะกับผู้ฟัง โอกาส วัย การศึกษา ประกอบด้วย "เนื้อเรื่อง โครงเรื่อง คุณค่า ตัวอย่างอารมณ์ขัน ภาษา สำนวนโวหาร" ถ้าเราแต่งคำกลอนได้เองยิ่งจะดี ถ้าแต่งไม่ได้ให้เราหยิบของบุคคลสำคัญมาประกอบแต่ต้องบอกผู้แต่ง ถือว่าเป็นการสะสมข้อมูล ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย จากนั้นมีการฝึกการพูดแล้วประเมินจากวิทยากรระดับมืออาชีพ สิ่งสำคัญระวัง "เอ้อเสียเวลา อ้าเสียคน" การเรียนการพูดต้องต้องลงมือปฏิบัติเท่านั้น
อารมณ์ขันเครื่องมือของวิทยากรมืออาชีพ
การสร้างวิทยากรมืออาชีพมีความจำเป็นต้องมีเครื่องมือหลากหลายเพื่อปรับศาสตร์เข้าหาพระพุทธศาสนา โดยท่านอาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ นักพูดมืออาชีพระดับประเทศ กล่าวว่า สิ่งที่คนต้องการคือความรู้วิชาการแต่อารมณ์ขันจะส่วนสำคัญในการเปิดหัวใจ อยากจะฟัง อยากจะเรียนรู้ สิ่งหนึ่งจะทำให้การพูดประสบความสำเร็จคือ การแทรกอารมณ์ขันในการพูด วิทยากรท่านใดที่มีอารมณ์ขันคนจะจดจำได้ไว้และยาวนาน ชาวบ้านมองว่าธรรมะต้องไม่เครียด อารมณ์ขันต้องเข้ามาบทบาทถือว่าเป็นศิลปะ อารมณ์ขันเป็นเรื่องของสากล ทุกคนต้องการอารมณ์ขัน เราจะสามารถสร้างขึ้นได้อย่างไร?
การสร้างและแทรกอารมณ์ขันในการพูด อารมณ์ขันเป็นเครื่องมือสำคัญของวิทยากร อารมณ์ขันจะจำให้คนจำจดเรา คุณสมบัติของอารมณ์ขันต้องมีศิลปะและเทคนิคในการพูด อารมณ์ขันอาศัยเทคนิคในการพูด ต้องมีการชื่นชอบในอารมณ์ขัน คาถาความสำเร็จในการพูด คือ " ปากไว ใจกล้า หน้าด้าน ขยันพูด " เราต้องเท่าทันโลกว่าปัจจุบันเกิดอะไรขึ้น เราต้องเท่าทันเหตุการณ์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีไหวพริบปฏิภาณ คือ " รู้ทันและโต้ตอบกลับได้ โต้วาทีจะถูกฝึกให้มีไหวพริบปฏิภาณ เราต้องอารมณ์ดีก่อน ทำเรื่องยากๆให้เป็นเรื่องง่าย ธรรมะจะต้องง่ายๆ สาเหตุที่ทำให้เรื่องราวฟังยากเข้าใจยาก ต้องไม่เคยรู้ ไม่เคยได้ยิน องค์ประกอบการพูดเรื่องยากให้เข้าใจง่าย คือ ความรู้ความเข้าใจของผู้พูด และ ความรู้ความเข้าใจของผู้ฟัง ใช้ถ้อยคำภาษาที่เข้าใจง่าย
คนที่สร้างอารมณ์ขันได้ดี คือ ต้องมองหาสิ่งที่เราหัวเราะ ต้องเป็นคำพูดของเราพูดโดยเป็นธรรมชาติ เหมาะสมกับกาลเทศะวัฒนธรรม เทคนิคการพูดอารมณ์ขัน "หักมุมการพูด เสียดสีตนเอง พูดผิดหรือเข้าใจผิด พูดแซวหรือการเล่นคำ พูดคำที่มีความรู้สึกเหมือนๆ กัน ต้องทีจังหวะในการลงตัว ต้องหาแนวร่วมสนุกสนาน" ถ้าเราเปิดรับอารมณ์ขันเราก็สามารถสร้างอารมณ์ขัน อารมณ์ขันเป็นตัวแทรกในการพูดไม่ใช่เรื่องหลักในการเป็นวิทยากร อารมณ์ขันต้องฝึก จะทำให้คนเข้าถึงธรรมะได้ง่าย การเรียนรู้ต้องมีความสนุกสนาน (Enjoy Learning)
อับราฮัม ลินคอน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกากล่าวว่า " ทุกคนต้องเรียนรู้และต้องการความสนุกสนานจากเรียนรู้ ไม่ว่าเขาจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่" พระพยอม กัลยาโณ ใช้คำว่า " การรื่นเริงในธรรม หรือ ความสนุกสนานที่ได้จากการฟังธรรม " ท่านพุทธทาสกล่าวว่า"แม้แต่พระอรหันต์ผู้หมดสิ้นกิเลสแล้ว ก็ยังต้องการความสนกสนานจากการเรียนรู้ด้วยการสนุกกับการเล่นฌาน "
ดังนั้น การเรียนรู้จึงควบคู่กับความสนุกสนานตามทฤษฏี 3 ช. คือ " ชอบ เชื่อ ช่วย "เพื่อการพัฒนาเป็นนักพูดระดับศาสดา ระดับศิลปิน ระดับพิธีการ ระดับผู้บรรยาย และระดับเอตทัคคะ วิทยากรกับการสร้างอารมณ์ขันจึงมีความสำคัญ จุดมุ่งหมายของการพูดของมนุษย์คือ ต้องการความสนุกสนานเพื่อผ่อนคลายความเครียด อารมณ์ขันสร้างศรัทธาและกระตุ้นให้ผู้เข้าอบรมเกิดการเรียนรู้ เทคนิคการสร้างอารมณ์ขัน มี 5 ขั่นตอน คือ " การมองโลกในแง่ดี มีความแหลมคม สะสมจดจำ นำมาดัดแปลง และแสดงถูกกาลเทศะ "
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น