วันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561

พระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาลกราบสังฆราชลาว




วันที่ 16 ม.ค.2561 พระธรรมโพธิวงศ์ หัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย เนปาล เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดียว ได้นำคณะสงฆ์พระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล และดร. สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 และคณะกรรมการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 เข้ากราบสักการะ พระอาจารย์ใหญ่มหางอน ดำลงบุญ เจ้าอาวาสวัดใหญ่ไชยะพูม เมืองไกสอนพมวิหาร แขวงสะหวันนะเขต  ประธานศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว (อพส.) (พระสังฆราชลาวรูปที่ 5) ที่ให้การอุปถัมภ์และร่วมโครงการ "ธรรมยาตรา 5 แผ่นดิน ตามรอยพระอริยสงฆ์ลุ่มน้ำโขง"




ทั้งนี้สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 มีวัตถุประสงค์การทำงาน เพื่อหนุนเสริมการเผยแผ่และปกป้องพระพุทธศาสนา ผลงานที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น โครงการส่งเสริมพระสงฆ์ไปศึกษาและปฏิบัติธรรมเชิงลึก ณ แดนพุทธภูมิ อินเดีย-เนปาล ซึ่งได้จัดไปแล้วทั้งหมด 6 รุ่น มีพระธรรมทูตในโครงการที่ผ่านการอบรมหลักสูตร "พุทธภูมิศึกษา" จากประเทศไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม จำนวนทั้งหมด 176 รูป และจัดอบรมหลักสูตรเตรียมพระธรรมทูต เพื่อสร้างให้พระสงฆ์มีศรัทธาตั้งมั่นในการปฏิบัติศาสนกิจในประเทศอินเดีย-เนปาล ได้ในแนวทางงานของพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล




สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980  จัดการเสวนาพุทธพลิกโลก ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนกันยายน 2558 ที่รร. โชฟิเทล เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา ในครั้งนั้นพระอาจารย์ใหญ่ พระมหาผ่อง สะมาเลิก อดีตประธาน อพส. ได้ปรารภกับผู้เข้าร่วมสัมมนาว่า ชาวพุทธควรร่วมกันจัดธรรมยาตรา 5 ดินแดนพุทธ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงด้านพระพุทธศาสนาระหว่างพระสงฆ์และฆราวาสของ 5 ดินแดนพุทธ



ในการนี้ คณะผู้บริหารสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ได้รับหลักการและรับสานต่อแนวคิดของพระอาจารย์ใหญ่ พระมหาผ่องให้เป็นรูปธรรม จึงได้จัดโครงการ "ธรรมยาตรา 5 แผ่นดิน ตามรอยพระอริยสงฆ์ลุ่มน้ำโขง" ขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม -4 มิถุนายน .2560 ที่ผ่านมาได้รับผลสำเร็จอย่างงดงาม คือการเชื่อมความสัมพันธ์และหาแนวทางทำงานเผยแผ่และปกป้องพระพุทธศาสนาร่วมกันในดินแดนึลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อความสงบสุขของประชาชน สร้างความร่วมมือ เสริมสร้างความสามัคคี แลกเปลี่ยนความรู้ วัฒนธรรม ประเพณี ระหว่างพุทธบริษัทชาวพุทธในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงหรือประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อทำงานพระพุทธศาสนาให้ขับเคลื่อน ให้สอดคล้องกับนโยบาย 3 เสาหลักอาเซียน โดยมุ่งเน้นเสาที่ 3 คือ การสร้างประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...