วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561
"มจร"มอบวิทยานิพนธ์สันติศึกษาแก่สถาบันพระปกเกล้า
ผอ.สันติศึกษา"มจร" นำคณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนิสิต เข้าพบผู้บริหาร อาจารย์สถาบันพระปกเกล้า รับการปลุกเร้าสร้างสังคมสันติสุขแก่สังคม พร้อมมอบวิทยานิพนธ์สาขาสันติศึกษา
วันที่ 31 มกราคม 2561 พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า ด้วยความเป็นศิษย์เก่าของสถาบันพระปกเกล้า ทั้งหลักสูตรการจัดการความขัดแย้งฯ และหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ (ปปร.15) จึงได้รับการปลุกเร้าให้มีธรรมฉันทะ มุ่งมั่นทำงานรับใช้สังคมในวิถีที่เหมาะสมกับสมณะ ที่สำคัญยิ่ง คือ การได้รับการปลูกฝังจากครูบาอาจารย์ และผู้บริหารจากสถาบันพระปกเกล้า ที่เข้ามาทำหน้าที่ประคับประคองนักศึกษาของสถาบันรุ่นแล้วรุ่นเล่า อาศัยเหตุดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการร่วมมือกันสร้างสรรค์สังคมสันติสุขในรูปแบบต่างๆ
"จึงได้นำคณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนิสิต สันติศึกษา เข้าพบปะพูดคุย และแลกเปลี่ยนแนวทางการทำงานในการพัฒนาหลักสูตรสันติศึกษา และมอบวิทยานิพนธ์ สาขาสันติศึกษา แก่ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ภายใต้การลงนามความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรสันติศึกษาระหว่างมหาจุฬาฯ สำนักงานศาลยุติธรรม และสถาบันพระปกเกล้า MOU จึงเป็นเหมือนเครื่องมือคอยเตือนใจคนทำงานให้ระมัดระวังการบริหารจัดการหลักสูตรว่า ต้องมีคุณภาพ และได้มาตรฐานตามแนวทางที่คณะกรรมการอุดมศึกษาได้วางกรอบเอาไว้" ผอ.หลักสูตรสันติศึกษา มจร กล่าวและว่า
สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนทำงานอุ่นใจ คือ "ความเป็นลูกศิษย์" ที่มีครูบาอาจารย์อยู่ในสถาบันทั้ง 2 นั่นเอง และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น คณาจารย์เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็น ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ศ.วุฒิสาร ตันไชย อาจารย์วิทวัส ชัยภาคภูมิ พลเอกเอกชัย ศรีวิลาศ ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ดร.ถวิลวดี บุรีกุล อาจารย์ศุภณัฐ อาจารย์อดุลย์ ขันทอง อาจารย์ปรัชญา อยู่ประเสริฐ คือ กัลยาณมิตรที่ดีอย่างยิ่งยวดในการช่วยเป็นหูเป็นตา และคอยย้ำเตือนวิถีในการทำงาน รวมถึงการเข้ามาช่วยเติมเต็มการพัฒนาหลักสูตรสันติศึกษาให้สามารถเป็นหลักสูตรที่จะช่วยสร้างทางรอดให้แก่สังคมไทยตามวิถีที่เหมาะสมแก่เหตุและปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อการดำเนินการ
การนำมวลศิษย์สันติศึกษามาพบครูบาอาจารย์เหล่านี้ จึงนับเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทิตาธรรม เพื่อหวังผลในการน้อมนำข้อคิดความเห็น รวมถึงข้อห่วงใยต่างๆ ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรสันติศึกษาให้สมกับความมุ่งมั่นและตั้งใจของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย หากไม่มีหลักสูตรต่างๆ ที่ได้เรียนจากสำนักงานศาลยุติธรรม และหลักสูตรต่างๆ จากสถาบันพระปกเกล้า ชีวิตนี้ คงมองไม่เห็นช่องทาง และแนวในการทำงานรับใช้สังคมตามที่ได้รับการบ่มเพาะจากสองสถาบันแห่งนี้ และที่สำคัญ วันนี้คงไม่มี "หลักสูตรสันติศึกษา ทั้งภาคภาษาไทยและอินเตอร์" ขออนุโมทนาขอบคุณพระธรรมที่มีอยู่ในครูบาอาจารย์ทุกตย
พร้อมกันนี้ พระมหาหรรษา ยังได้ ยกพุทธภาษิตที่ว่า ยาตานุยายี จ ภวาหิ มาณว อลฺลญฺจ ปาณึ ปริวชฺชยสฺสุ มา จสฺสุ มิตฺเตสุ กทาจิ ทุพฺภิ มา จ วสํ อสตีนํ นิคจฺเฉติฯ (ขุ.ชา.28/994/348) พร้อมบทประพันธ์โดยพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร.กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดี มจร ความว่า เดินตามรอยคนดีที่อยู่หน้า มือเคยเลี้ยงเรามาจงอย่าเผา อย่าทำร้ายพวกพ้องมิตรของเรา อีกคนเขลาไร้สติอย่าริตามฯ
ก้าวสู่ TQR มุ่งพัฒนามาตรฐานหลักสูตรอย่างยั่งยืน
พระมหาหรรษา กล่าวด้วยว่า จะทราบได้อย่างไรว่า หลักสูตรได้มาตรฐานสากลจนทำให้ผู้รับบริการเกิดความมั่นใจ ถ้าไม่มีผู้เชี่ยวมารับรองมาตรฐานหลักสูตร" หลักสูตรสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย และวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ก้าวสู่ TQR มุ่งพัฒนาหลักสูตรอย่างยั่งยืน" ระหว่าง 1-2 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 08:30 เป็นต้นไป ณ ห้องพุทธเมตตา อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี รศ.ดร.สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์ กรรมการ TQR จากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นวิทยากรนำสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
"สำหรับวัตถุประสงค์สำคัญในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการนั้น เพื่อมุ่งนำหลักสูตรสาขาสันติศึกษา ภาคภาษาไทย และอินเตอร์ ทั้งปริญญาโท และปริญญาเอก หลักสูตรสาขาพระพุทธศาสนา ภาคอินเตอร์ ทั้งปริญญาโท และปริญญาเอก ขึ้นทะเบียนในฐานข้อมูล หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุคมศึกษาแห่งชาติ (TQR : Thai Qualifications Register) ทั้งนี้ หลักสูตรดังกล่าว จะเป็นหลักสูตรนำร่องของมหาวิทยาลัยที่จะก้าวสู่การขึ้นทะเบียนในฐานข้อมูล TQR ของสำนักคณะกรรมการอุดมศึกษาต่อไป"
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น