วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561
"มจร"หวังหอสมุดเป็นประทีบส่องทางสังคมไทย
ยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตมากขึ้น การค้นคว้าหาความรู้หรือข้อมูลต่างๆ ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดายผ่านทางโลกอินเทอร์เน็ต ทำให้เดี๋ยวนี้อินเทอร์เน็ตกลายเป็นข้อมูลและคลังความรู้ขนาดใหญ่ที่ใครๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ อย่างไรก็ตาม ห้องสมุดแบบดั้งเดิมที่มีชั้นหนังสือตั้งเรียงรายมากมาย พร้อมกับบรรยากาศอันเงียบสงบที่รอคอยเหล่าคนรักหนังสือแวะเวียนมาทักทาย ก็ยังคงมีกลิ่นอายความคลาสสิคและยังคงสร้างประสบการณ์ที่หาในโลกอินเทอร์เน็ตไม่ได้อยู่ดี และนี่ก็คงกลายเป็นจุดกำเนิดของไอเดียการพัฒนาการให้บริการของห้องสมุดต่างๆ ทั่วโลก
จากแนวคิดพื้นฐานสุ่มาตรฐานสากล
หอสมุดแห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่อยู่คู่กับชาวธรรมศาสตร์และประเทศไทยมายาวนานถึง 84 ปี ได้พัมนาการให้บริการที่มีมาตรฐานระดับสากล และยังนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ควบคู่ไปกับการให้บริการพื้นที่ห้องสมุด รองรับการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา หรือที่เรียกว่า "Ubiquitous Learning" เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและพฤติกรรมการใช้บริการห้องสมุดที่เปลี่ยนแปลงไป ภายใต้มาตรฐาน ISO 9001: 2015 ในทุกๆ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ
ข้อมูลจากหอสมุดแห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า ปัจจุบันนี้เราสามารถแบ่งกลุ่มผู้ใช้งานห้องสมุดตามพฤติกรรมการใช้บริการที่แตกต่างกันออกไปได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่ง ใช้ห้องสมุดเป็นสถานที่ทำงานหรือทำกิจกรรมส่วนตัว, กลุ่มที่สองผสมผสานกันระหว่างการใช้ทรัพยากรห้องสมุดกับการใช้พื้นที่ห้องสมุด และกลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มที่ไม่เคยใช้บริการห้องสมุดเลย แต่ค้นหาข้อมูลผ่านฐานข้อมูลออนไลน์ของห้องสมุดด้วยอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ
ห้องสมุดต้องปรับกระบวนการทำงานอยู่เสมอ
ห้องสมุดจึงต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเสมอ รวมถึงต้องบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น วิสัยทัศน์ในการพัฒนาห้องสมุดของ "หอสมุดแห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" จึงเป็นการปรับปรุงมาตรฐานให้บริการให้มีคุณภาพ และนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการให้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนทุกกลุ่ม ทั้งในเรื่องเารเรียนรู้ การวิจัยและทำงานต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริหารสามารถศึกษาหาความรู้และใช้บริการต่างๆ ของห้องสมุดได้ทุกที่ ทุกเวลา หรือที่เรียกว่าเป็น Ubiquitous Learning
เมื่อห้องสมุดไม่จำเป็นต้องเงียบอีกต่อไป
นอกจากภารกิจในการปรับปรุงการบริการให้เท่าทันเทคโนโลยีแล้ว ปัจจุบันนี้ห้องสมุดยังกลายเป็นพื้นที่เหลาไอเดียของคนช่างฝันทั้งหลาย เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เข้ามาใช้บริการได้อีกด้วย หอสมุดแห่ง ม.ธรรมศาสตร์ จึงมีแนวคิดในการรปับพื้นที่ให้ผู้คนสามารถมาสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้และเรื่องราวต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดมิติใหม่ของการเรียนรู้ได้อีกมากมายอีกด้วย และนี่แหละคือห้องสมุดยุคใหม่ในโลกการเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัด
"มจร"หวังหอสมุดทางพระพุทธศาสนาที่ดีที่สุดของโลก
ขณะที่วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) มุ่งหวังและตั้งใจจะพัฒนาหอสมุดของวิทยาลัย ให้เป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของประชาคม "มจร" สังคมไทย และสังคมโลก เพื่อให้หอสมุดแห่งนี้เป็นเครื่องมือในการนำภูมิปัญญาพระพุทธศาสนาไปสู่การสร้างปัญญาเพื่อชาวโลก (Wisdom for the world) อีก 5 ปีนับจากวันนี้ หากนักวิชาการ นักวิจัย นิสิต และบุคคลทั่วไปคิดถึงหอสมุดด้านพระพุทธศาสนาที่ดีที่สุดของโลกต้องคิดถึงหอสมุดของวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ
...............
(หมายเหตุ : ข้อมูลบางส่วนจาก หนังสือพิมพ์ M2F)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"
กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น