วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

มีอะไรใหม่! "หญิงหน่อย"แนะรัฐพลิกวิกฤต"โควิด-19" อย่าโดดเดียวเกษตรกรในสงครามทุนนิยม



วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2563  คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ Sudarat Keyuraphan แนะรัฐบาลควรพลิกวิกฤต COVID-19 สู่โอกาสในอนาคตของประเทศไทย ด้วยการแบ่งเงินกู้ 1.9 ล้านล้าน มาทำ "โครงสร้างพื้นฐาน" สำหรับรองรับธุรกิจในอนาคตหลัง COVID-19 โดยเฉพาะการทำ "โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข" เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว การบริการและการส่งออกอาหาร รวมทั้ง "โครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร" ให้ไทยเป็น "ศูนย์กลางอาหารปลอดภัย" ป้อนคนทั้งโลก ทำให้คนทั่วโลกเชื่อมั่นว่า "เที่ยวไทยปลอดโรค อาหารไทยปลอดภัย"
          
COVID-19 ได้กลายโรคระบาดใหญ่ของโลกในรอบ 100 ปีนี้ โดยต่อจากนี้เราต้องยอมรับความจริง 2 ประการ คือ
          
1.COVID-19 จะต้องอยู่กับเราอีกระยะหนึ่ง ซึ่งยาวพอสมควร จนกว่าเราจะมีวัคซีน หรือยารักษาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งคาดว่าจะสำเร็จใช้ได้ในไตรมาส 2 ปีหน้า
          
2.โลกหลัง COVID-19 จะเปลี่ยนบริบทการใช้ชีวิตและการทำธุรกิจของผู้คนทั่วโลก ที่เราเรียกว่า New Normal ทุกคน ทุกธุรกิจต้องปรับตัว รวมทั้งประเทศไทยและคนไทย
          
New Normal หลัง COVID-19 คนทั่วโลกจะให้ความสำคัญกับ "สุขภาพ"&"ควาสะอาด" (Health & Hygienity), การใช้ Online มากขึ้น, การ Work from home มากขึ้น นักวิเคราะห์ต่างประเทศมองว่า ความสำเร็จของการทำธุรกิจ และการดำเนินชีวิตจะขึ้นอยู่กับ 3 สิ่งนี้ คือ ความรวดเร็ว (Agility) ความยืดหยุ่น (Scalability) และความเป็นอัตโนมัติ (Automation)
          
แม้แต่บริบทของความมั่นคงของประเทศก็จะเปลี่ยนไป ศัตรูของประเทศจะไม่ใช่การรบด้วยอาวุธแบบ Conventional war fare ที่เราต้องสะสมและทุ่มซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์และมีกำลังพลมากมายอีกต่อไป แต่ศัตรูของคนทั้งโลกกลายเป็นเชื้อโลกตัวเล็กๆ ซึ่งมีอยู่ทั่วโลก และพร้อมจะเกิดโรคระบาดครั้งใหม่ได้เสมอ เราจึงต้องเสริมโครงสร้างพื้นฐาน และกองทัพสาธารณสุขให้เข้มแข็ง
          
รัฐบาลไทยจึงต้องมีความรู้และเข้าใจความเปลี่ยนแปลงใหญ่ของโลกหรือ New Normal ครั้งนี้อย่างแท้จริง และต้องมีความสามารถในการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสของคนไทย
          
โดยพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยรับ New Normal ให้ได้ ถ้าเราวางยุทธศาสตร์ให้ดี วิกฤต COVID-19 จะเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย โดยยึดสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่ประเทศไทยเรามีความเข้มแข็ง คือการเกษตร, การท่องเที่ยวการบริการ, รวมทั้งการส่งออก เมื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ กำลังซื้อภายในประเทศจะกลับมา ธุรกิจอื่นๆ ก็จะดีขึ้นตามกันมา
          
สิ่งที่รัฐบาลไทยต้องลงทุน เพื่อช่วยธุรกิจไทยหลัง COVID-19 คือ การลงทุน "สร้างโครงสร้างพื้นฐาน" (Infrastructure) สำหรับรองรับ New Normal ของการใช้ชีวิตของผู้คนและธุรกิจ โดยให้ความสำคัญกับ "สุขภาพอนามัย"และ"ความสะอาด" การใช้เทคโนโลยี, การใช้ ระบบ Online ในหลายภาคส่วน และต้องตระหนักว่าระบบ Work from home จะเป็นประโยชน์มากแก่แรงงานที่มีทักษะ แต่จะมีแรงงานทั่วไปจะตกงานเป็นจำนวนมาก
          
ดังนั้น เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาท นอกจากจะมาแก้ไขเฉพาะหน้าในการเยียวยาผู้เดือดร้อนและกู้วิกฤตเศรษฐกิจ ดังที่ดิฉันได้เขียนไว้ใน Post ที่แล้ว รัฐบาลต้องใช้เงินกู้นี้ เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ "ธุรกิจในอนาคตของไทย" ด้วย แต่ดิฉันไม่เห็นว่ารัฐบาลจัดงบเพื่อการนี้เลย
          
ประการแรก ดิฉันเห็นว่า รัฐบาลต้องใช้เงินกู้นี้มาทำ "โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข" เพราะโครงสร้างทางสาธารณสุขของไทย ค่อนข้างดีอยู่แล้ว จากการพัฒนาต่อเนื่องมายาวนานและความเข้มแข็งของบุคลากรทั้งแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แต่เราต้องสร้างความเข้มแข็งให้ Infrastructure ทางสาธารณสุขของเราให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพทั้งการดูแลสุขภาพคนไทย หากเกิดโรคระบาดใหม่เกิดขึ้น และเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจของคนไทย โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ส่งออกในกลุ่มอาหารและเกษตร ถ้าเรามี Infrastructure ทางสาธารณสุขดี ก็จะทำให้นักท่องเที่ยวและลูกค้าของไทย เชื่อมั่นในการมาท่องเที่ยว และซื้อสินค้าจากประเทศไทย ว่าปลอดภัยต่อสุขภาพ และปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆ
          
นำความแข็งแกร่งด้านสาธารณสุขมาเป็นจุดแข็งในการพลิกฟื้นธุรกิจท่องเที่ยว บริการ และส่งออกของไทย เราสามารถทำ แคมเปญ "เที่ยวไทยปลอดโรค อาหารไทยปลอดภัย" ได้เลย
          
อีกประการที่สำคัญคือ การสร้าง "โครงสร้างพื้นฐานด้วยเกษตร" เพราะประเทศไทยมีพื้นฐานด้านการเกษตรที่ดีอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาเราได้ปล่อยให้เกษตรต่อสู้ลำพังในระบบทุนนิยม จึงไปไม่รอด ถึงเวลาพลิกวิกฤตครั้งนี้ให้เป็นโอกาสในการทำให้ประเทศไทยเป็น "ศูนย์กลางการผลิตอาหารปลอดภัยป้อนโลก"
          
เงินกู้จำนวนนี้ต้องนำมาลงทุนสร้าง อนาคตให้เกษตรกรไทย, อุตสาหกรรมอาหารของไทย เพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้เกษตรกร
          
โดยต้องลงทุนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนหน้าดิน ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย ช่วยลดต้นทุนการผลิต และสร้างคุณภาพให้ผลผลิตของเกษตรกร พร้อมหาตลาดที่เหมาะสม ซึ่งรัฐบาลควร ลงทุน "โครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร" ให้เกษตรกรจากเงินกู้ครั้งนี้ อย่าปล่อยให้เขาต้องยืนต่อสู้ลำพัง ท่ามกลางระบบทุนนิยม
          
จะทำให้"เกษตรกร"ที่เราเคยมองว่าเป็นภาระ กลายเป็นผู้สร้างรายได้ให้ประเทศ
          
วิกฤตครั้งนี้ รัฐบาลที่ชาญฉลาด มีวิสัยทัศน์ทันโลก จะสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสให้กับประเทศได้ ถ้าเข้าใจบริบทของประเทศว่า จุดอ่อนจุดแข็งอยู่ตรงไหน และสามารถวางยุทธศาสตร์ ตลอดจนมาตรการต่างๆ ได้อย่างถูกต้องทันเวลา ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกหลังยุค COVID-19

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: กลิ่นธรรม

 ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno   คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1)   ยามเช้าแสงทองจับขอบฟ้า ไอหมอกบางพัดพาเบา ๆ หอมกลิ่นบุปผา…อาบใจ...