วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

"ยธ."จับมือ"ม.สงฆ์ มจร"สร้างกระบวนการแก้ขัดแย้งรับยุค New Normal


   
"ยธ."จับมือ"ม.สงฆ์ มจร" เสริมสร้างสังคมสันติสุขระดับนโยบายสู่วิถีแห่งการปฏิบัติ เล็งเปิดฝึกอบรมกระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ รับยุค New Normal 

วันที่ 30 พ.ค.2563  พ.ต.ท.พงษ์ธร ธัญญสิริ รองปลัดกระทรวงยุติธรรมและเลขาธิการคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ เข้าพบพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร.  ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อปรึกษาเตรียมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
      
โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย กิจกรรมทางวิชาการ การพัฒนาการฝึกอบรม การใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ กระบวนการยุติธรรมทางเลือก และการจัดการความขัดแย้ง รวมถึงเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองและสมานฉันท์ในพื้นที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือในการแก้ปัญหาความขัดแย้งและเสริมสร้างความสมานฉันท์ 

พระมหาหรรษา  กล่าวว่า เป็นการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันในระดับนโยบายและนำไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ชุมชน องค์กร สังคม ประเทศชาติ เพราะในยุคปัจจุบันเราไม่สามารถทำงานได้เพียงลำพังจะต้องอาศัยเครือข่าย กัลยาณมิตร ร่วมกันทำความดีอย่างมีปัญญา สร้างการมีส่วนร่วมทั้งภายนอกและภายใน ใช้กระบวนการศาสนาและกฏหมาย เพื่อเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน ใช้เพียงกฎหมายอย่างเดียวอาจจะนำไปสู่แพ้ชนะ แต่ถ้านำกระบวนการทางพระพุทธศาสนามาใช้จะนำไปสู่การชนะไปด้วยกัน
    
"ดังนั้น  การนำสิ่งที่เราเป็นมาสร้างบารมีจึงเป็นโอกาสสำคัญ เป็นให้เป็น เป็นในที่นี่หมายถึง เป็นตำแหน่งอะไร ก็นำสิ่งที่เป็นมาสร้างบารมีมาช่วยเหลือสังคมเพื่อเสริมสร้างสังคมสันติสุข จึงขออนุโมทนากับท่าน พันตำรวจโท ดร. พงษ์ธร ธัญญสิริ รองปลัดกระทรวงยุติธรรมและเลขาธิการคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ ในโอกาสนี้" พระมหาหรรษา  กล่าว 



ขณะเดียวกัน หลักสูตรสันติศึกษา มจร ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้าและสำนักงานศาลยุติธรรม   เปิดตัวปริญญาเอก สาขาสันติศึกษาโฉมใหม่รองรับผู้เรียนยุค New Normal โดยแบ่งเป็น หลักสูตรแผน 1.1 เหมาะสำหรับผู้บริหาร และผู้นำด้านสันติภาพ ใช้วุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท  โดยศึกษา 5 รายวิชา มุ่งวิจัยเพื่อสร้างสันตินวัตกรรมในพื้นที่จริง หลักสูตรแผน 1.2 เหมาะสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสันติภาพ โดยใช้วุฒิปริญญาตรีสมัครเรียนระดับปริญญาเอก ต้องผ่านการทำงานด้านสันติภาพอย่างน้อย 10 ปี ต้องศึกษา 5 รายวิชา แล้วทำดุษฎีนิพนธ์เพื่อสร้างสันตินวัตกรรมในชุมชน องค์กร และสังคม และหลักสูตรแผน 2.1 เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่มุ่งพัฒนาทั้งแนวคิดและปฏิบัติการเพื่อสันติสันติภาพ โดยใช้วุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท ต้องศึกษา 12 รายวิชา แล้วทำดุษฎีนิพนธ์เพื่อสร้างสันตินวัตกรรมในชุมชน องค์กร และสังค

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 29 พ.ค.2563ที่ผ่านมา พระเทพปวรเมธี รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร  บรรยายออนไลน์รายวิชามหาวิทยาลัยสงฆ์กับการเสริมสร้างสังคมสันติสุข ภายใต้หัวข้อ "ประวัติ พัฒนาการ ผลงานของวิทยาลัยสงฆ์กับการเสริมสร้างสังคมสันติสุข" ซึ่งเป็นวิชาที่นิสิตปริญญาเอก ของหลักสูตรสันติศึกษาจะต้องเรียนรู้ใน ประวัติ พัฒนาการ ผลงาน พันธกิจ วิสัยทัศน์ ปรัชญา ของมหาจุฬาฯ อันเป็นสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจในมหาจุฬาฯ พร้อมสร้างความเข้าใจในบทบาทของมหาจุฬาฯ  



พระเทพปวรเมธี ได้กล่าว่า ขอชื่นชมหลักสูตรสันติศึกษาว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพ ได้รับความนิยมจากผู้คนในสังคมเป็นอย่างมาก สามารถผลิตมหาบัณฑิต ดุษฏีบัณฑิตให้มีหลักการ วิธีการ และอุดมการณ์ในด้านสันติภาพ สันติวิธี และพระพุทธศาสนาออกสู่สังคม รวมถึงหลักสูตรสันติศึกษามีการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพเพื่อตอบโจทย์ผู้เรียนและสังคมอย่างต่อเนื่อง เท่าทันการเปลี่ยนแปลง

ขณะเดียวกันช่วงเย็นมีสันติเสวนาออนไลน์ เรื่อง "สามมุมมองด้านสันติภาพในยุค New Normal" โดยมีวิทยากรประกอบด้วย นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ นายกสภามหาลัยราชภัฏชัยภูมิ, พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาส ผอ.สำนักสันติวิธี และธรรมภิบาล สถาบันพระปกเกล้า และพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ทางเฟซบุ๊ก "hansa dhammahaso" สามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่คือกระบวนการสร้าง New Peace Nornal ดังนี้ 



1. หลักการ ประกอบด้วย สร้างทัศนคติ เริ่มจากมีสติ เปลี่ยนกรอบความคิดใหม่จากรุึนแรงเป็นสันติ มองขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดา  สร้างองค์ความรู้สันติวิธี  ทักษะการใช้การไกล่เกลี่ย และสร้างเครือข่ายระดับสากล 2. วิธีการ คือ เริ่มจากผู้นำสร้างโครงสร้างสันติภาพในยุค New Normal โดยหาต้นแบบจากพื้นที่ขัดแย้ง  
นำนักการเมืองมาอบรม เปลี่ยนแนวการอภิปราย  อย่าใช้อำนาจทางกาย แต่ใช้อำนาจทางสติปัญญาและอำนาจทางวัฒนธรรมมากขึ้นตามแนวปัญจพละนายแพทย์ประเวศ วะสี สอดคล้องกับพละ 5 ในพระพุทธศาสนาคือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา มองความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ การสื่อสารออนไลน์อย่างสร้างสรรค์
สร้างสันติภาพออนไลน์ เจรจาสันติภาพออนไลน์ ลงพื้นที่เจรจาออนไลน์คือเพจไลท์ นำแฟลตม็อบเป็นเครือสร้างสันติภาพ  เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จะปฏิวัติหรือปฏิรูปการศึกษาไทยยุคเอไอ

การศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของปัญญาประดิษฐ์ (AI)...