วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
เลขาธิการกปร.มั่นใจ! ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกราะป้องกันยามวิกฤติ
วันที่ 13 พ.ค.2563 นายดนุชา สินธวานนท์ เลขาธิการกปร. กล่าวสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 กับประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติใช้ของปวงชนชาวไทยว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเป็นเสมือนกับภาคเศรษฐศาสตร์ ดังที่ประเทศไทยเคยเจอสภาวะเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 แนวทางนี้เป็นหนึ่งในกลไกที่นำพาประเทศให้หลุดพ้นจากวิกฤติมาได้ แต่ปัจจุบันปี 2563 เป็นสถานการณ์เรื่องของโควิด -19 ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลกทำให้เกิดปัญหาพร้อมกันในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สาธารณสุข สังคม แรงงาน และปัญหาพื้นฐานอีกหลายอย่าง ซึ่งประเทศไทยนับว่าโชคดีกว่าในหลายๆ ประเทศ ด้วยประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมในภาคการเกษตร การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติใช้จึงเห็นผลได้ชัดเจน และประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
“ที่ผ่านมาพบว่ามีหลายภาคส่วนได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติใช้ จนเกิดยุทธศาสตร์ของชาติขึ้นมา ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้หลายๆ ภาคส่วนของสังคมได้รับผลกระทบ มาตรการในการป้องกันและแก้ไขก็คือหยุดการเคลื่อนไหวของผู้คนในสังคม ซึ่งก็ทำให้เกิดการหยุดการผลิตในหลายธุรกิจ ทำให้ระบบเศรษฐกิจหยุดชะงัก ส่งผลกระทบต่อประชากรในการดำรงชีพและเรื่องอาหารการกิน อย่างไรก็ตามสำหรับประชาชนที่อยู่ในต่างจังหวัดหรือชนบทที่ผ่านมามีจำนวนไม่น้อยที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติใช้โดยเฉพาะประชากรที่อยู่ในภาคการเกษตร จึงไม่กระทบในเรื่องของการดำรงชีวิตประจำวัน แม้จะขาดแคลนบ้างในเรื่องส่วนประกอบอื่นๆ แต่เรื่องหลักๆ โดยเฉพาะความอยู่ได้ของชีวิตไม่กระทบ ดังปรากฏให้เห็นในหลายๆ พื้นที่ทั่วประเทศ ที่ผู้คนโดยส่วนใหญ่ยังมีกินมีใช้ และสามารถแบ่งปันแลกเปลี่ยนผลผลิตระหว่างกันได้อีกด้วย” นายดนุชา สินธวานนท์ กล่าว
เลขาฯ กปร. กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า หลังจากวิกฤติโควิด-19 ผ่านไปแล้วการดำรงชีวิตและการทำกินอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง คนหนุ่มสาวจำนวนไม่น้อยที่เดิมเป็นผู้ขายแรงงานในภาคการผลิตอื่นๆ ที่ธุรกิจเหล่านั้นอาจจะฟื้นตัวได้ช้าอาจจะหวนกลับท้องถิ่นไปอยู่กับพ่อแม่ปู่ย่าตายาย ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการหวนกลับสู่การผลิตภาคการเกษตร ก็ย่อมที่จะนำมาซึ่งความมั่นคงในวิถีชีวิตแบบประเทศไทย คืออยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว ช่วยกันทำมาหากินมีชีวิตที่อบอุ่นอย่างไม่ขาดแคลน อันจะทำให้ประเทศไทยและสังคมไทยมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น พร้อมๆ กับการสรุปบทเรียนในการดำเนินชีวิตที่ผ่านมา
“แนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานการณ์ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับประเทศไทยกับสังคมไทย ทุกคนทุกกิจการสามารถน้อมนำไปประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปจนถึงชุมชนและระดับประเทศ ในยามที่ประเทศมีวิกฤติมีปัญหาอย่างในอดีตก็เคยผ่านมาแล้ว ก็สามารถฝ่าฟันผ่านไปได้จากการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ บางอย่างก็อาจจะต้องใช้เวลาที่สำคัญในการเตรียมตัวสำหรับก้าวต่อไปข้างหน้าของผู้คน สังคม และประเทศชาตินั้น การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้จะสามารถเป็นเกราะป้องกันผลกระทบจากสภาวะต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แล้วทุกคนจะยิ้มได้เมื่อภัยมา” นายดนุชา สินธวานนท์ เลขาธิการ กปร. กล่าว
ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือ อาจารย์ยักษ์ นายกสมาคมดินโลก และที่ปรึกษามูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า ศาสตร์พระราชาเป็นทางรอดในทุกวิกฤต ไม่ใช่แค่ภัยธรรมชาติ ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้พบว่า คนที่น้อมนำเอาศาสตร์พระราชา โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่มาใช้ ล้วนแต่ได้รับผลกระทบน้อยกว่าผู้อื่น
“เพราะขณะที่หลายคนขาดรายได้ ขาดแคลนอาหาร แต่คนเหล่านี้ยังมีแหล่งน้ำ แหล่งอาหารเป็นของตนเอง ทั้งยังสามารถนำผลผลิตที่มีไปแจกจ่ายให้ผู้อื่นต่อได้ เช่น คนที่อยู่ภาคเหนือมีผลผลิตพืชผักสวนครัวของตนเอง ก็ส่งไปให้คนที่อยู่ภาคใต้ ส่วนคนภาคใต้มีบ้านอยู่ใกล้ทะเลก็อาจจะส่งกุ้ง หอย ปู ปลา มาให้คนที่อยู่ภาคเหนือ แลกเปลี่ยนผลผลิตกันในเครือข่าย หรืออาจนำไปแจกจ่ายให้กับคนที่ไม่มีกินในพื้นที่อื่น ๆ ได้ ดังนั้น คนที่ทำตามศาสตร์ของพระองค์จะไม่มีทางอดอยาก”
“สำหรับโครงการพลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน เราน้อมนำข้อความใน ส.ค.ส.ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานแก่คนไทยเมื่อปี พ.ศ. 2547 ที่ว่าสามัคคีเป็นพลัง ค้ำจุนแผ่นดินไทย ตรงนี้เป็นคติประจำใจในการดำเนินโครงการมาตลอด โดยข้อความดังกล่าวปรากฏอยู่ตรงกลางรูปแผนที่ประเทศไทย ซึ่งในแผนที่มีรูประเบิดจุดชนวนอยู่ 4 ทิศ อาจตีความได้ว่าประเทศกำลังเผชิญวิกฤต 4 ด้าน ทั้งวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม วิกฤตด้านเศรษฐกิจ วิกฤตด้านความเหลื่อมล้ำทางสังคม และวิกฤตด้านการเมือง ทั้งหมดส่งผลให้เกิดโรคระบาด ภัยแล้ง หมอกควัน ข้าวยากหมากแพง ความอดอยาก เกิดความขัดแย้ง แย่งน้ำ แย่งอาหาร แย่งอำนาจกัน”
“ฉะนั้น พระองค์จึงอยากให้คนไทยสามัคคีกันไว้ เพื่อนำพาให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตดังที่กล่าวมา ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ถือเป็นเสาหลักในการกู้วิกฤตทั้ง 4 ด้าน โดยต้องปรับแนวความคิดการดำเนินชีวิตใหม่ จากการมุ่งเน้นหาเงินทอง เป็นการสร้างพื้นฐานปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค เพื่อให้พอกิน พอใช้ พออยู่ และพอร่มเย็น”
“ดร.วิวัฒน์” กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ศาสตร์พระราชายังสามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพเกษตรกรเป็นเพียงหนึ่งในนั้น โดยจุดเริ่มต้นของคนที่อยากลงมือทำ คือ เริ่มจากศึกษาตัวอย่างของคนที่เขานำมาปรับใช้แล้วประสบผลสำเร็จ จากนั้นจึงหาช่องทางติดต่อเพื่อสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะคนเมือง หรือชนบท ก็สามารถนำศาสตร์พระราชามาปฏิบัติได้ โดยคนเมืองซึ่งมีอยู่ประมาณ 30% เป็นคนที่อยู่คอนโดมิเนียม, อยู่หอพัก หรือคนมีที่ดิน 50 ตารางวา อาจเริ่มด้วยการพึ่งพาตัวเอง เช่น การปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกพืชริมรั้วกินได้ หรือการทำน้ำยาต่าง ๆ ใช้เอง เป็นต้น
“ส่วนอีก 70% เป็นคนที่อยู่ในชนบท ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ก็สามารถปรับพื้นที่ทำการเกษตรตามแนวทางโคก หนอง นา โมเดล เก็บน้ำเพื่อให้มีน้ำกินน้ำใช้เพียงพอตลอดทั้งปี มีอาหารการกินไม่ต้องไปซื้อไปหา ผมจึงมีความเชื่อว่า โครงการรวมพลังคนสร้างสรรค์โลกที่ทำมาตลอด 7 ปี คนที่ทำตามจะมีชีวิตที่มั่นคง เอื้อเฟื้อถึงกันทั้งคนเมือง และชนบท อีกทั้งพระองค์เคยเตือนเอาไว้ด้วยว่า อย่าไปหวังความร่ำรวยฉาบฉวย ถ้าก้าวหน้าอย่างมาก เราจะถอยหลังอย่างน่ากลัว จงให้เราค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำ แล้วเราจะค่อย ๆ ประสบผลสำเร็จ”
“ในภาวะวิกฤตโควิดเช่นนี้ เราควรอยู่ในฐานที่มั่นของตนเอง พึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด สร้างภูมิต้านทานให้ตนเอง ทำให้ร่างกายแข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย กินอาหารที่ดีมีประโยชน์ หากเป็นอาหารที่เราปลูกเองโดยไม่ใช้สารเคมีจะยิ่งดี เพียงเท่านี้ไม่เพียงตัวเองอยู่รอด สังคมก็อยู่รอด ประเทศชาติก็จะอยู่รอดด้วย ผมเชื่อว่าคนรุ่นใหม่มีพลัง ถ้าลุกขึ้นมาศึกษา และไปดูตัวอย่างในพื้นที่จริง จะทำให้พวกเขาสนใจเรื่องนี้มากขึ้น ทั้งยังช่วยส่งต่อเรื่องราวต่าง ๆ กระตุ้นให้คนอยากมาเรียนรู้มากขึ้นด้วย”
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"ชูศักดิ์-นิยม" บินจีน อัญเชิญพระเขี้ยวแก้ววัดหลิงกวง ประดิษฐานท้องสนามหลวง เฉลิมพระเกียรติฯและฉลอง 50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2567 รัฐบาลไทยร่วมกับรัฐบาลจีนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) จากวัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง มาประดิษฐาน ณ มณฑลพ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น