วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

อะไรคือสาเหตุทำให้สำนักเรียนบาลีหลายสำนัก..ร้าง..อย่างย่อยยับ ?



วันที่ 24 พ.ค.2563   เฟซบุ๊ก Naga King ได้โพสต์้ข้อความว่า อะไรคือสาเหตุทำให้สำนักเรียนบาลีหลายสำนัก..ร้าง..อย่างย่อยยับ ?

สำหรับคนที่เคยเรียนบาลีมาในสำนักที่เปิดสอนบาลีหลายสำนักที่ผ่านมาคงจำบรรยากาศการเรียนการสอนวิชาภาษาบาลีในแต่ละระดับชั้นได้ดี สมัยก่อนบวชเณรหรือบวชพระแล้วเดินทางไปเรียนบาลีในวัดตัวเมืองอย่างลำบากยากเข็ญ กว่าจะได้เข้าไปเป็นพระลูกวัดในสำนักเรียนบาลีแต่ละวัดก็แสนยาก โดยเฉพาะวัดดังๆในอดีตไม่ค่อยมีพื้นที่ให้ลูกหลานชาวไร่ชาวนาได้มาเรียนหนังสือเท่าไหร่แม้ว่าจะเป็นพระภิกษุสามเณรแล้วก็เถอะ

การเรียนภาษาบาลีสมัยก่อนถือว่า "เป็นภาระของคณะสงฆ์"ที่จำเป็นจะต้องจัดต้องทำให้เป็นไปตามนโยบายของฝ่ายปกครองสงฆ์อย่างเคร่งครัด หลายวัดเดิมทีไม่มีคนในใจ แต่พอเปิดเป็นสำนักเรียนบาลีเท่านั้นแหละ มีพระมีเณรสอบได้เป็น "มหา"วัดนั้นก็ดังมีชื่อเสียงขึ้นมาทันที พลอยทำให้ท่านเจ้าอาวาสได้ยศได้ตำแหน่งไปด้วย แต่พอมาถึงยุคนี้อะไรๆก็เปลี่ยนแปลงไปทำให้หลายสำนักต้องปิดตัวเองลง

เอาล่ะผมว่าเรามาลองพิจารณาร่วมกันถึงมูลเหตุของการล่มสลายชองสำนักเรียนบาลีในยุคออนไลน์ในปัจจุบันนี้ว่าที่แท้จริงมันมาจากมูลเหตุอะไรเป็นหลัก ซึ่งผมพอจะประมวลมาให้อ่านได้แบบค่อยเป็นคค่อยไปดังนี้ครับ (เอาแบบสั้นๆได้ใจความ)

(๑) สภาพสังคมเปลี่ยนแปลง สำหรับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในที่นี้ก็เริ่มตั้งแต่สมัยรัฐบาลไทยรักไทย โดยการนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชิณวัตร เริ่มเข้ามาพัฒนาประเทศและมีการปฏิรูปสังคม เศรษฐกิจในด้านต่างๆมากขึ้น โดยรัฐบาลยุคนั้นเน้นในเรื่องของการยกฐานะและพัฒนาคนจนให้ขึ้นไปเป็น "คนที่ลืมตาอ้าปากได้"โดยเน้นให้คนจนแปลงสินทรัพย์เป็นทุนและใช้พื้นที่ทางการเกษตรเพื่อก่อให้เกิดประโชน์มากที่สุด ด้วยการเร่งนโยบายปลูกยางพาราในภาคอีสาน มีโครงการ SME และการผลิตสินค้าระดับตำบลออกจำหน่าย เป็นต้น

ทำให้ประชาชนระดับรากหญ้าสามารถลืมตาอ้าปากได้
เจ้าของสวนยางขายยางแล้วซื้อรถกระบะได้เลย ทำให้คนจนมีชีวิตพลิกฟื้นขึ้นมาใหม่ มีเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก ภาวะที่เกิดเศรษฐีใหม่นี่แหละคือ
ภาวะที่พ่อแม่ของเด็กรุ่นใหม่มีทุนเพียงพอส่งลูกหลานตนเองไปเรียนในเมืองได้ไม่ต้องลำบาก ลูกผู้ชายก็ไม่ต้องไปบวชเรียน แต่สามารถไปเรียนแบบเดียวกับคนรวยในเมืองได้อย่างสบายๆ ทำให้ผู้ที่จะเข้ามาสู่วงจรการเรียนบาลีลดลงในระดับที่ ๑ คือ คนจนกลายเป็นเศรษฐีมีฐานะมากขึ้นก็จะไม่ยอมให้ลูกหลานมาบวชเรียนให้ลำบาก ค่านิยมเรื่องการบวชเรียนจึงเริ่มหายไป เพราะแต่ก่อนอย่าลืมว่าที่เด็กชาวไร่ชาวนามาบวชเพราะพวกเขาจน ไม่มีเงินทุนที่จะไปเรียนต่อ อันนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง

(๒) นโยบายทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป ในระยะของรัฐบาลทักษิณนั่นเองที่ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้นมา จากนั้นรัฐบาลก็ทำการปฏิรูปการศึกษา ในยุคนั้น ดร.รุ่ง แก้วแดง เป็นผู้นำในการดำเนินการปฏิรูปการศึกษาของชาติก็ได้ออกพร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งในพร.บ.ฉบับดังกล่าวบังคับให้เด็กทุกคนต้องเรียนจนจบ ม.๓ เป็นอย่างต่ำ กรณีนี้ก็ทำให้เด็กที่จะมาบวชหายไปอีกระยะหนึ่ง เป็นมูลเหตุที่ ๒ ที่ทำให้นักเรียนบาลีลดลง

(๓) การผุดขึ้นของ "พระปริยัติธรรมแผนกสามัญ"หรือโรงเรียนการกุศลของวัด" คือตัวเลือกของเด็กนักเรียนบาลียุคใหม่ ผมว่าหลายคนคงคิดไม่ถึงว่า ระบบการจัดการศึกษาของสงฆ์เองจะเป็นตัว "บ่อนทำลาย"ระบบการศึกษาภาษาบาลีของตนเองไปในตัวเอง หากยังคิดไม่ออกคนที่เคยอยู่วัดลองหลับตานึกๆให้ดีจะพบว่า "เมื่อครั้งที่ยังไม่มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา คือ โรงเรียนที่เปิดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร ยังไม่มีหรือยังไม่แพร่หลาย จำนวนนักเรียนบาลีและนักธรรมจะมีอยู่จำนวนมาก

แต่พอโรงเรียนพระปริยัติธรมแผนกสามัญแพร่หลายขึ้นเปิดการเรียนการสอนตามวัดต่างๆควบคู่ไปกับโรงเรียนนักธรรมบาลีของคณะสงฆ์ เท่านั้นแหละครับ จำนวนนักเรียนภาษาบาลีจะลดฮวบฮาบบลงทันทีทันใด เด็กจะเลือกไปเรียนโรงเรียนสายสามัญมากกว่าที่จะต้องการเรียนภาาาบาลี เพราะมันยากกว่ากันเยอะ นี่คือเรื่องจริง ยิ่งตอนนี้โรงเรียนพระปริยัติสามัญเริ่มแสวงหานักเรียนมาเรียนให้ได้ตามยอด ยิ่งทำให้ เจ้าสำนักเรียนบาลีไม่อาจจะวิ่งตามทันได้เพราะเจ้าสำนักเรียนบาลีอ้างไม่มีงบเพียงพอบ้าง ใจถอดบ้าง เผลอๆเจ้าสำนักเรียนบาลีเดิมหันมาเปิดเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมเสียนี่ นี่ก็คือจุดจบของสำนักเรียนบาลีเลยแหละ

(๔) เจ้าสำนักใจถอด ประการต่อมาก็คือ "เจ้าสำนักเรียนรุ่นใหม่ใจไม่ถึง"อันนี้พูดกันตรงๆเพราะรุ่นครูบาอาจารย์ท่านสร้างมาด้วยหนึ่งสมองสองมือจากไม่มีเณรก็หาเณรหาครูมาสอนหาเงินมาจ้างครูด้วยตัวท่านเอง พอตกมาถึงยุคลูกศิษย์ "ติดสุข ติดสบาย"วัดก็พอมีชื่อเสียงแล้วไม่เอาดีกว่า อยู่พอให้ตัวเองรอดก็พอไม่อยากยุ่งยาก พอคิดว่ายุ่งยากแล้วท่านก็มีสารพัดเหตุผลที่จะมาอ้างว่าปิดสำนักเรียนทำไม

(๕) นโยบายของฝ่ายปกครองสงฆ์ไม่ชัดเจน ข้อนี้ผมอยากเอาไปไว้เป็นข้อที่ ๑ เพราะว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องหลัก เพราะมูลเหตุทางสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างไรก้ตามนะครับผมว่า หากว่า "คณะสงฆ์ยังยืนหยัดที่จะสอนบาลีและมีนโยบายที่ชัดเจนที่จะให้การศึกษาภาษาบาลีเป็นนโยบายหลักของสงฆ์ไทย" ผมว่าอุปสรรคปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมันไม่ทำให้ "กระแสการเรียนบาลีถึงคราวล่มสลาย" ลงไปได้หรอกครับ

แต่นี่ไม่ได้ว่าท่านนะครับเพราะที่ผ่านมาคณะสงฆ์เราไม่ "ชู"อะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันในการที่จะพัฒนาองค์กรสงฆ์ให้ดำเนินไปในทิศทางที่เราต้องการกันได้เลย เช่น ระยะ ๕ ปีนี้สงฆ์ไทยจะเน้นอะไร อีก ๕ ปีต่อไปจะเน้นอะไร ไม่มีครับไอเดียแบบนี้ไม่มีจริงๆ คณะสงฆ์เราดำเนินกิจการไปตามกระแสโลกแบบไปเรื่อยเปื่อย

เมื่อสำนักเรียนบาลีปิดตัวลงท่านก็ "เฉย" เมื่อโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญผุดขึ้นอย่างกะดอกเห็ด ท่านก็ "นิ่ง"ทั้งๆที่ท่านน่าจะรู้ว่าถ้าจะเอาสำนักเรียนบาลีให้อยุ่จะต้องควบคุมโรงเรียนสายสามัญให้อยู่ในวงที่จำกัด ไม่งั้นมันจะยุ่งก็อย่างๆที่เห็นกัน หรือเมื่อมีกระแสโลกาภิวัฒน์ในโลกออนไลน์แบบนี้คณะสงฆ์จะปรับรูปแบบการเรียนบาลีอย่างไรให้เท่าทันยุคทันสมัย

ผมถามท่านที่ไม่เห็นด้วยกับผมหน่อยว่า "บรรดาท่านเจ้าคุณทั้งหลายท่านทำไหมครับ"ที่ถามนี่ผมถามในระดับที่เป็นฝ่ายนำนะครับ ฝ่ายเบ้ๆไม่เอา คำตอบคือคณะสงฆ์เราไม่มีนโยบายอะไรเลยที่จะมาชัดเจนกับการจัดการเรียนการสอนภาษาบาลี เช่น นโยบาย ๑ จังหวัด ๑ สำนักเรียนบาลี แล้วให้งบประมาณไปเพื่อการพัฒนาครูสอน หรือการหานักเรียนให้กับสำนักนั้นๆ ซึ่งที่ผ่านมาและตอนนี้ก็ยังไม่มีครับผมบอกได้เลย ที่ผ่านมาคณะสงฆ์์ปล่อยให้แต่ละวัดจัดกันเองใครมีความสามารถจัดก็จัดไปจัดไม่ได้ก้ไม่ต้องจัดใครจัดได้ให้ยศ ตำแหน่ง

แต่พอคนจัดได้ตายไป คนที่รับช่วงต่อมาทำไม่ไหว งานก็งอกครับสำนักดับทันที คือฝ่ายนำไม่มีนโยบายเลยว่าจะทำสำนักเรียนบาลีภายใต้การกำกับของ ฝ่ายนำของคณะสงฆ์บ้านเรา ผมว่าแบบนี้ก็มีแต่ตายกับตายเท่านั้นเอง นี่แหละคือเรื่องที่ผมพูดมาทั้งในบทความก่อนและสืบเนื่องมาจนถึงบทความนี้ที่พาดพิงฝ่ายนำคณะสงฆ์ไทย

เอาล่ะทั้งหมดทั้งมวล ๕ ข้อที่ผมว่ามานี้ทั้งหมดนี่แหละมันคือ สภาพปัญหาที่แท้จริงแหละที่ทำให้สำนักเรียนบาลีในสังคมไทยบ้านเรา (๑) ล่มสลายไปปิดตัวลงไป (๒) แปลงสภาพจากสำนักเรียนบาลีดีเด่นของกรมการศาสนาในอดีตมาเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ ซึ่งสองข้อนี้คือสภาพที่เป็นจริงของ "การเรียนการศึกาาภาษาบาลีบ้านเราตอนนี้" ฝากถึงอาจารย์บางท่านที่บ่นน้อยใจว่าไม่ต้องน้อยใจเเมื่อไปพบเห็นสำนักข้างวัดปิดตัวลงครับ "ตถตา" มันเป็นเช่นนั้นจริงๆครับอาจารย์ ไม่เป็นอย่างอื่นเลยครับ

ขอบคุณครับ

Naga King

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: ไม่ไหวก็เดินออกมา

ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌,ai ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno   คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1)  เคยจับมือเดินข้ามคืนวัน หวังว่าสักวันเราคงผ่าน แต่เสียงรอบข้า...