วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

5 องค์กรรวมพลังปลุกคนไทยรู้เท่าทันสื่อตอบโจทย์ศตวรรษที่ 21





กองทุนสื่อฯ-สสส.-ม.มหิดล-สดช.-มูลนิธิสื่อเด็กฯ ร่วมลงนาม MOU สำรวจคนไทยรู้เท่าทันสื่อ มุ่งพัฒนาช่องทางสื่อปลอดภัย สร้างสรรค์ ตอบโจทย์ศตวรรษที่ 21 


เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) และมูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน ร่วมการประชุมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสำรวจสถานการณ์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลของประชาชนไทย ปี พ.ศ. 2563–2564 ผ่านการประชุมออนไลน์

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสำรวจสถานการณ์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลของประชาชนไทย ปี พ.ศ. 2563–2564 เป็นการจัดทำข้อมูลกลางการรู้เท่าทันและการเฝ้าระวังของคนไทยทุกกลุ่มวัย รวมถึงก่อให้เกิดความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูล การนำไปใช้ในหน่วยงาน และการพัฒนากลไกคณะทำงานจัดทำฐานข้อมูล MIDL ของประเทศไทย ช่วยสนับสนุนและพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ที่ประกอบด้วย การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) การรู้เท่าทันสารสนเทศ (Information Literacy) และการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy) เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีครบทุกมิติ

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. กล่าวว่า เทคโนโลยีส่งผลต่อสุขภาวะในทุกมิติ คนไทยใช้เวลากับหน้าจอสมาร์ทโฟนเป็นหลัก โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนวัย 8-12 ปี ใช้เวลา 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 3 ชั่วโมง และร้อยละ 60 มีโอกาสเสี่ยงจากภัยออนไลน์ โดยความเสี่ยงและภัยคุกคามต่อชีวิตของเด็กและเยาวชน อาทิ การกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ สื่อลามก ภาวะติดเกม การบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ มุ่งเป้าหมายในการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กเยาวชน ขับเคลื่อนพื้นที่/ช่องทางสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมถึงการพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไป

“สสส.โดยสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญาได้มุ่งพัฒนา “ระบบนิเวศสื่อสุขภาวะ” โดยเสริมพลัง 2 ด้านหลักคือ 1.การพัฒนาประชาชนทุกวัยสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ตื่นรู้  มีความรู้ และทักษะเท่าทันสื่อ เท่าทันตนเอง มีความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถใช้สื่อเป็นเครื่องมือดูแลตนเองและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมให้มีสุขภาวะที่ดี 2.การพัฒนาปัจจัยแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยให้เกิดการสื่อสารสุขภาวะทั้งพื้นที่สร้างสรรค์ ช่องทางสื่อ การสนับสนุนการจัดการความรู้และงานวิชาการ รวมถึงการพัฒนานโยบายและมาตรการที่จะเสริมสร้างระบบนิเวศสื่อสุขภาวะ” ดร.นพ.ไพโรจน์กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จะปฏิวัติหรือปฏิรูปการศึกษาไทยยุคเอไอ

การศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของปัญญาประดิษฐ์ (AI)...