วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

กรมการศาสนา (ศน.) บูรณะฟื้นฟูศาสนสถานประสบภัยในพื้นที่ 58 จังหวักว่า 600 แห่ง



วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566  นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 การดำเนินงานตามนโยบาย “9 ดี 12 เดือน 12 เด่น นำธรรมะสู่ใจประชาชน” ที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนให้ศาสนสถานทุกศาสนาเป็นศูนย์กลางของประชาชน ส่งเสริมสนับสนุนให้ศาสนิกชนเข้าไปประกอบศาสนกิจตามศาสนาที่ตนนับถือ ซึ่งศาสนสถานนั้นควรมีสภาพที่มั่นคง ปลอดภัย สะอาดและสวยงาม เหมาะสมสำหรับการเข้าไปประกอบกิจกรรมทางศาสนา แต่เมื่อมีการใช้ศาสนสถานเป็นเวลานานย่อมเกิดความเสียหาย ทรุดโทรม และเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา อีกทั้ง ความเสียหายที่เกิดจากภัยพิบัติต่าง ๆ เช่น อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือเหตุอื่นที่ส่งผลให้ไม่สามารถใช้ศาสนสถานประกอบศาสนกิจได้ตามปกติ จึงได้ดำเนิน “โครงการเงินอุดหนุนการบูรณะศาสนสถาน” เพื่อสมทบในการบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานที่มีอยู่แล้ว ให้สามารถใช้ในการประกอบศาสนกิจได้ตามความเหมาะสม คุ้มค่า โดยไม่จำเป็นต้องสร้างศาสนสถานขึ้นใหม่ สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการจัดสรรเงินอุดหนุนบูรณะศาสนสถานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 58 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 678 แห่ง ประกอบด้วย ศาสนสถานของศาสนาอิสลาม 560 แห่ง ศาสนาคริสต์ 115 แห่ง ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 1 แห่ง และศาสนาซิกข์ 2 แห่ง 

อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการประชุมพิจารณาแนวทางการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยจะสำรวจและรวบรวมแบบคำขอรับเงินอุดหนุนบูรณะศาสนสถานทั่วประเทศ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ อีกทั้ง ในช่วงต้นปีงบประมาณที่ผ่านมา หลายพื้นที่ของประเทศไทยได้รับผลกระทบจากมรสุม และสถานการณ์พายุโนรู (NORU) ทำให้มีฝนตกหนักพร้อมกับมีลมแรง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำท่วมขัง เป็นเหตุให้บ้านเรือนประชาชน และศาสนสถานของศาสนาอื่น ๆ ที่ทางราชการรับรองได้รับความเสียหาย กรมการศาสนาได้ขอความร่วมมือสำนักงานวัฒนธรรมทุกจังหวัด สำรวจข้อมูลศาสนสถานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยในครั้งนั้น พบว่า มีศาสนสถานที่ประสบภัยขอรับการสนับสนุน 14 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ ฉะเชิงเทรา ชัยภูมิ เชียงใหม่ นครนายก บุรีรัมย์ พระนครศรีอยุธยา ร้อยเอ็ด ระยอง เลย ศรีสะเกษ สตูล สมุทรปราการ และอุบลราชธานี สำหรับศาสนสถานได้รับผลกระทบทั้งสิ้น จำนวน 34 แห่ง ประกอบด้วยศาสนสถานของศาสนาอิสลาม 23 แห่ง และศาสนาคริสต์ 11 แห่ง ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนศาสนสถาน กรณีประสบภัยแล้ว และจะได้สนับสนุนงบประมาณในการบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานให้กลับมามีสภาพพร้อมใช้สำหรับการประกอบศาสนกิจทางศาสนาต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ธรรมะกับประชาธิปไตยไยห่วงใยสถาบันศาสนา

การวิเคราะห์ประชาธิปไตยในปริบทพุทธสันติวิธีชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในระบอบประชาธิปไตย เพื่อลดความขัดแย้ง สร้างควา...