วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

"บิ๊กป้อม" ลงพื้นที่ขอนแก่นและชัยภูมิ ติดตาม โครงการกักเก็บน้ำ ต้นทุนทั้ง น้ำบนดิน น้ำใต้ดิน



เมื่อวันที่ 6  กุมภาพันธ์ 2566   พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และคณะ เดินทางลงพื้นที่ภาคอีสาน จังหวัดขอนแก่น และชัยภูมิ เพื่อประเมินสถานการณ์น้ำภาพรวม และตรวจติดตามความคืบหน้าโครงการกักเก็บน้ำต้นทุน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นและชัยภูมิ เลขาสทนช.อธิบดีกรมชลประทาน และ หน.ส่วนราชการต่างๆ ให้การต้อนรับ

 โดยรับฟังการบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคอีสาน  ปัจจุบันความจุกักเก็บน้ำภาพรวมอยู่ที่ 60-70%  พื้นที่กักเก็บน้ำยังไม่พอ มีพื้นที่เสี่ยงน้ำน้อยนอกเขตชลประทานจากฝนทิ้งช่วง ความคืบหน้าการบริหารจัดการน้ำ ปี 61-65  จว.ขอนแก่น ได้รับงบประมาณบริหารจัดการน้ำรวมกว่า 7,500 ล้านบาท มีพื้นที่รับประโยชน์ กว่า 180,000 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ กว่า 120,181 ครัวเรือน ความจุกักเก็บน้ำเพิ่ม 123.4 ล้าน ลบ.ม. และ จว.ชัยภูมิ มีพื้นที่รับประโยชน์ กว่า 105,111 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ กว่า 100,393 ครัวเรือน ความจุกักเก็บน้ำเพิ่ม 37 ล้าน ลบ.ม. ต่อจากนั้น ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมชมความคืบหน้าโครงการแก้มลิงแก่งน้ำต้อน ต.ดอนช้าง เป็นแหล่งเก็บกักน้ำรองรับแม่น้ำชีล้น เพื่อบรรเทาน้ำล้นตลิ่งและกักเก็บน้ำไว้ใช้ฤดูแล้ง  พร้อมทั้งพบปะและรับฟังปัญหาจากประชาชนในพื้นที่ โดยประชาชนขอให้พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ต่อเนื่อง โดยชื่นชมการบริหารจัดการน้ำปัจจุบัน เข้าถึงประชาชนในพื้นที่มากขึ้นต่อเนื่องมา


 พล.อ.ประวิตร’ ย้ำการแก้ปัญหาน้ำ ถือเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ที่มุ่งมั่นดำเนินการอย่างจริงจังมาต่อเนื่อง โดยกำชับ ทส. สทนช.กรมชลประทาน และ หน.ส่วนราชการต่างๆ กักเก็บน้ำให้ได้มากที่สุดปลายฤดูฝน เพ่งเล็งพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำจากฝนทิ้งช่วง ย้ำอีสานต้องไม่ให้ขาดแคลนน้ำ  จึงขอให้ดำเนินการ 10 มาตรการรับฤดูแล้ง และเร่งรัดความคืบหน้าโครงการแหล่งกักเก็บน้ำต้นทุนทั้งน้ำบนดินและน้ำใต้ดิน พร้อมทั้งบริหารระบบกระจายน้ำให้ทั่วถึง ซึ่งต้องเร่งทำคู่กันกับการฟื้นฟูป่าต้นน้ำและแหล่งแก้มลิงที่มีอยู่เดิม เพื่อให้พื้นที่เสี่ยงขาดน้ำมีน้ำใช้อย่างเพียงพอเชื่อมโยงกับการบริหารจัดการน้ำจากลำนำ้สายหลักในระยะยาว 

 บ่ายวันเดียวกัน พล.อ.ประวิตร’ ได้เดินทางไป จว.ชัยภูมิ ตรวจติดตามการบริหารจัดการน้ำ ความคืบหน้าโครงการก่อสร้างและการเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำ พร้อมทั้งพบปะรับฟังปัญหาจากประชาชนในพื้นที่

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: เขียนธรรม

เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: เขียนธรรม แนวคิดหลัก: หนังสือ "เขียนธรรม" เป็นการผสมผสานระหว่างการเล่าเรื่องราวของตัวละครกับแนวคิดธรร...